พบผลลัพธ์ทั้งหมด 90 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5924/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่การงาน: การกระทำร่วมกันของลูกจ้างและผู้บังคับบัญชา การลงโทษทางวินัย
การที่ผู้คัดค้านไม่ได้ไปทำงานคงนั่งล้อมวงดู อ.และส.เล่นหมากรุก กันอยู่ จนเวลา 13 นาฬิกาเศษ น. ผู้จัดการแรงงานสัมพันธ์ของผู้ร้องมาพบทั้งสามคนจึงได้แยกย้ายกันไปทำงานเห็นได้ว่า เมื่อถึงเวลาทำงานแล้ว ผู้คัดค้านและ อ.กับส.มิได้ไปทำงานตามหน้าที่ การไม่ทำงานตามหน้าที่ในเวลาทำงานเช่นนี้เป็นการละทิ้งหน้าที่การงานอย่างหนึ่ง การที่ อ.และส.ซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องสั่งให้ผู้คัดค้านทำงานละทิ้งหน้าที่ไม่ไปทำงานตามเวลานั้น ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่ผู้คัดค้านซึ่งจะต้องทำงานที่จะละทิ้งหน้าที่การงานไปด้วยไม่ ในเมื่อทั้งสามคนร่วมกันไม่ปฏิบัติงานตามเวลาทำงานในหน้าที่ กรณีจึงต้องถือว่าละทิ้งหน้าที่การงานด้วยกัน ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะลงโทษผู้คัดค้านได้ ตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) เมื่อผู้คัดค้านเป็นกรรมการลูกจ้าง ผู้ร้องมีอำนาจที่ร้องขอให้ลงโทษได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 52.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4290/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ละทิ้งหน้าที่แม้ยังไม่เกิดความเสียหายร้ายแรง ก็ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบกรณีร้ายแรงได้
การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไป 1 วัน จะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่ไม่ใช่พิจารณาเพียงเฉพาะตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าได้ระบุไว้ให้ถือว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่ หรือการที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปนั้นได้ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแล้วอย่างไรหรือไม่ แต่จะต้องพิจารณาถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการละทิ้งหน้าที่ของโจทก์ประกอบด้วย โจทก์มีหน้าที่ควบคุมหม้อกำเนิดไอน้ำ หากเครื่องหม้อกำเนิดไอน้ำเกิดขัดข้องขึ้นและไม่มีผู้ใดปิดเครื่อง อาจทำให้พลังไอน้ำที่อยู่ในเครื่องดัน ให้ หม้อน้ำระเบิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของจำเลยและชีวิตของลูกจ้างอื่นของจำเลยได้ การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปนั้นจึงอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแม้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจะไม่ได้ระบุว่าการละทิ้งหน้าที่ของโจทก์ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่และการละทิ้งหน้าที่ของโจทก์ยังไม่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5005/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการหักเงินประกันของนายจ้างเมื่อลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ และการจ่ายค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี
จำเลยมีระเบียบเกี่ยวกับเงินประกันความว่า "หากมีความเสียหายเกิดขึ้นอันอยู่ในความรับผิดชอบตามหน้าที่ของพนักงาน ไม่ว่าจะโดยเจตนา ไม่เจตนา ประมาทเลินเล่อ อันเป็นความผิดจากการกระทำของพนักงาน โรงพยาบาลมีสิทธิหักค่าเสียหายออกจากเงินประกันได้ทันทีตามความเป็นจริง และพนักงานต้องไม่กระทำความผิดสถานร้ายแรงตามกฎหมาย และถูกเลิกจ้างตามความผิดนั้นโรงพยาบาลจะคืนเงินประกันให้" การที่โจทก์ขาดงานอันเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นเวลาติดต่อกันถึงห้าวัน ย่อมเป็นการเสียหายแก่จำเลยอยู่ในตัว และถือได้ว่าเป็นการร้ายแรง เมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะเหตุนี้ จึงเข้าเกณฑ์ตามระเบียบดังกล่าว ซึ่งจำเลยมีสิทธิหักเงินประกันได้
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทและบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า สำหรับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้โดยชัดแจ้งจึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการกำหนดประเด็นไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทและบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า สำหรับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้โดยชัดแจ้งจึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการกำหนดประเด็นไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5005/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหักเงินประกันความเสียหายจากละทิ้งหน้าที่ และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทค่าจ้าง
จำเลยมีระเบียบเกี่ยวกับเงินประกันความว่า "หากมีความเสียหายเกิดขึ้นอันอยู่ในความรับผิดชอบตามหน้าที่ของพนักงาน ไม่ว่าจะโดยเจตนา ไม่เจตนาประมาทเลินเล่อ อันเป็นความผิดจากการกระทำของพนักงานโรงพยาบาล มีสิทธิหักค่าเสียหายออกจากเงินประกันได้ทันทีตามความเป็นจริง และพนักงานต้องไม่กระทำความผิดสถานร้ายแรงตามกฎหมาย และถูกเลิกจ้างตามความผิดนั้น โรงพยาบาลจะคืนเงินประกันให้" การที่โจทก์ขาดงานอันเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นเวลาติดต่อกันถึงห้าวัน ย่อมเป็นการเสียหายแก่จำเลยอยู่ในตัวและถือได้ว่าเป็นการร้ายแรง เมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะเหตุนี้จึงเข้าเกณฑ์ตามระเบียบดังกล่าว ซึ่งจำเลยมีสิทธิหักเงินประกันได้ ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทและบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า สำหรับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้โดยชัดแจ้งไม่เป็นประเด็นข้อพิพาท จำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการกำหนดประเด็นไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5005/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานละทิ้งหน้าที่ และสิทธิในการได้รับเงินประกัน/ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน
จำเลยมีระเบียบเกี่ยวกับเงินประกันความว่า "หากมีความเสียหายเกิดขึ้นอันอยู่ในความรับผิดชอบตามหน้าที่ของพนักงาน ไม่ว่าจะโดยเจตนา ไม่เจตนา ประมาทเลินเล่อ อันเป็นความผิดจากการกระทำของพนักงาน โรงพยาบาลมีสิทธิหักค่าเสียหายออกจากเงินประกันได้ทันทีตามความเป็นจริง และพนักงานต้องไม่กระทำความผิดสถานร้ายแรงตามกฎหมาย และถูกเลิกจ้างตามความผิดนั้นโรงพยาบาลจะคืนเงินประกันให้"การที่โจทก์ขาดงานอันเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นเวลาติดต่อกันถึงห้าวัน ย่อมเป็นการเสียหายแก่จำเลยอยู่ในตัวและถือได้ว่าเป็นการร้ายแรง เมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะเหตุนี้จึงเข้าเกณฑ์ตามระเบียบดังกล่าว ซึ่งจำเลยมีสิทธิหักเงินประกันได้ ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทและบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า สำหรับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้โดยชัดแจ้งจึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการกำหนดประเด็นไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างแม้ไม่มีงานมอบหมาย ศาลตัดสินเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัยมีหน้าที่ปฏิบัติงานประจำอยู่ตามสถานที่ที่จำเลยสั่งให้ไปปฏิบัติงาน เดิมโจทก์ปฏิบัติงานอยู่ที่โรงแรมในกรุงเทพมหานคร ต่อมาจำเลยสั่งให้ไปปฏิบัติงานที่โรงงานสุราจังหวัดนครปฐม แต่โจทก์ไม่ไป ขอทำงานในกรุงเทพมหานคร เพราะภริยาโจทก์ป่วยเป็นคนพิการเดินไม่ได้ แม้หลังจากที่โจทก์ไม่ไปปฏิบัติงานที่โรงงานสุรา จังหวัดนครปฐม ตามคำสั่งของจำเลยและโจทก์ไม่มีหน้าที่ใดที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานที่บริษัทจำเลยโจทก์ก็ยังมีหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานที่ต้องทำงานให้แก่จำเลย คือต้องมาที่บริษัทจำเลยเพื่อรับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ ให้แก่จำเลย ซึ่งหากไม่มา จำเลยก็ไม่อาจมีคำสั่งให้โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยได้ ดังนั้น การที่โจทก์ไม่มาที่บริษัทจำเลยเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างและการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างไม่มาปฏิบัติงานตามที่นายจ้างสั่ง
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่ง พนักงานรักษาความปลอดภัยมีหน้าที่ปฏิบัติงานประจำอยู่ตาม สถานที่ที่จำเลยสั่งให้ไปปฏิบัติงานเดิม โจทก์ปฏิบัติงานอยู่ที่โรงแรมในกรุงเทพมหานคร ต่อ มาจำเลยสั่งให้ไปปฏิบัติงานที่โรงงานสุราจังหวัด นครปฐม แต่ โจทก์ไม่ไปขอทำงานใน กรุงเทพมหานคร เพราะภริยาโจทก์ป่วยเป็นคนพิการเดิน ไม่ได้ แม้หลังจากที่โจทก์ไม่ไปปฏิบัติงานที่โรงงานสุราจังหวัด นครปฐม ตาม คำสั่งของจำเลยและโจทก์ไม่มีหน้าที่ใด ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานที่บริษัทจำเลยโจทก์ก็ยังมีหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานที่ต้อง ทำงานให้แก่จำเลย คือต้อง มาที่บริษัทจำเลยเพื่อรับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ ให้แก่จำเลย ซึ่ง หากไม่มาจำเลยก็ไม่อาจมีคำสั่งให้โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยได้ ดังนั้นการที่โจทก์ไม่มาที่บริษัทจำเลยเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อ กันจึงเป็นการละทิ้งหน้าที่โดย ไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดย ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่และการวินิจฉัยคดี: จำเป็นต้องพิสูจน์เหตุผลของการขาดงาน
คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่สามวันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ เมื่อศาลสอบโจทก์ โจทก์เพียงแต่แถลงรับว่าโจทก์ขาดงานเป็นเวลาสามวันติดต่อกันโดยมิได้แจ้งหรือยื่นใบลาต่อจำเลย ไม่ได้แถลงรับว่าการที่โจทก์ขาดงานนั้นเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร คดีจึงยังมีปัญหาต้องวินิจฉัยอีกว่า การที่โจทก์ขาดงานนั้นเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ คำแถลงรับของโจทก์ดังกล่าวยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีได้ ที่ศาลแรงงานกลางสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่สามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางปฏิบัติไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาเห็นควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาคดีใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควร: ศาลต้องสืบข้อเท็จจริงก่อนวินิจฉัย
คดีมีประเด็นต้อง วินิจฉัยว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่สามวันติดต่อกันโดย ไม่มีเหตุสมควรหรือไม่ การที่โจทก์แถลงรับว่าโจทก์ขาดงานเป็นเวลาสามวันติดต่อ กันโดย มิได้แจ้งหรือยื่นใบลาต่อ จำเลยนั้นคดีจึงยังมีปัญหาต้อง วินิจฉัยอีกว่า การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่นั้นเป็นการละทิ้งหน้าที่โดย ไม่มีเหตุสมควรหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่โจทก์แถลงรับดังกล่าว จึงยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีได้ดังนี้ การที่ศาลแรงงานกลางสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ติดต่อ กันสามวันโดย ไม่มีเหตุสมควรจึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางปฏิบัติไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่: ศาลต้องพิจารณาเหตุผลประกอบการวินิจฉัย ไม่สามารถวินิจฉัยจากข้อเท็จจริงเพียงการขาดงาน
คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่สามวันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุสมควรหรือไม่ การที่โจทก์แถลงรับว่าโจทก์ขาดงานเป็นเวลาสามวันติดต่อกันโดยมิได้แจ้งหรือยื่นใบลาต่อจำเลยนั้นคดีจึงยังมีปัญหาต้องวินิจฉัยอีกว่า การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่นั้นเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควรหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่โจทก์แถลงรับดังกล่าว จึงยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีได้ ดังนี้การที่ศาลแรงงานกลางสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ติดต่อกันสามวันโดยไม่มีเหตุสมควรจึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางปฏิบัติไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่