พบผลลัพธ์ทั้งหมด 149 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์หนังสือและการพิจารณาข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ รวมถึงการประเมินค่าเสียหาย
ขณะที่โจทก์เขียนหนังสือพิพาททั้งสองเล่มนั้น โจทก์มีหน้าที่โดยตรงในการประเมินผลการฝึกอบรมของหน่วยงานราชการ ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจัดทำเอกสารหรือเขียนตำราทางวิชาการเพื่อใช้ในการฝึกอบรม การที่โจทก์เขียนหนังสือดังกล่าวขึ้นจึงไม่ถือว่าเป็นงานที่โจทก์ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ในกรอบงานของโจทก์ และหน่วยงานราชการที่โจทก์สังกัดก็มิได้มีคำสั่งให้โจทก์เขียนหนังสือดังกล่าวหรือมีการจ่ายค่าตอบแทนให้ อีกทั้งโจทก์เขียนหนังสือดังกล่าวนอกเวลาราชการ จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้ทำหรือก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ขึ้นเอง
ในการเขียนหนังสือของโจทก์ โจทก์ได้กำหนดเค้าโครงการเขียน และได้คิดกำหนดสารบัญรวมทั้งได้เขียนอธิบายเนื้อหาสาระและรายละเอียดต่าง ๆ แต่ละประเด็นโดยใช้ถ้อยคำและคำอธิบายของโจทก์ใหม่ทั้งหมดตามความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ของโจทก์โดยตรง จึงเป็นงานนิพนธ์ที่โจทก์ทำขึ้นโดยไม่ได้ลอกเลียนงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โจทก์จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมหนังสือพิพาททั้งสองเล่มนั้น หาใช่หน่วยราชการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯมาตรา 14 ไม่
แนวความคิด ทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้ไม่ใช่สิ่งที่กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 6 วรรคสอง บุคคลสามารถที่จะนำแนวความคิดทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ตราบเท่าที่การใช้ประโยชน์ของบุคคลนั้นไม่เป็นการทำซ้ำ ดัดแปลงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นกล่าวคือหากนำแนวความคิด ทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้ของบุคคลอื่นไปสร้างสรรค์งานวรรณกรรมของตน ก็จะต้องสร้างสรรค์งานนั้นขึ้นมาโดยมีเนื้อหารายละเอียดและลักษณะการแสดงออกซึ่งความคิดของตนเองมิใช่เพียงแต่คัดลอกหรือเลียนแบบงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นในส่วนอันเป็นสาระสำคัญซึ่งถือว่าเป็นการทำซ้ำ หรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 15(1) หากกระทำไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ การกระทำดังกล่าวย่อมเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 27(1)แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน เมื่อปรากฏว่าหนังสือของจำเลยมีข้อความที่เหมือนและคล้ายกับข้อความที่ปรากฏอยู่ในหนังสือของโจทก์ทั้งสองเล่มในส่วนอันเป็นสาระสำคัญของงานประมาณ 30 หน้า จากจำนวนประมาณ 150 หน้า โดยข้อความบางตอนมีลักษณะเกือบเหมือนกันคำต่อคำ บางตอนมีลักษณะดัดแปลงให้ต่างกันเล็กน้อยและบางตอนก็เพียงแต่ปรับเปลี่ยนหัวข้อเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งยากที่จะเกิดขึ้นได้โดยบังเอิญ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำซ้ำ และดัดแปลงงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อจำเลยกระทำไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์
จำเลยเป็นผู้ทำซ้ำและดัดแปลงงานวรรณกรรมอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ และได้เผยแพร่งานดังกล่าวทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานราชการที่จำเลยสังกัด แม้ตั้งราคาจำหน่ายใกล้เคียงกับต้นทุน ไม่ได้หากำไรเท่าธุรกิจเอกชนก็เป็นการกระทำเพื่อหากำไร โดยรู้อยู่แล้วว่างานนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์
การที่หน่วยงานราชการที่จำเลยสังกัด จัดพิมพ์ตำราต่าง ๆ ตามระเบียบภายในของหน่วยงานดังกล่าวตามขั้นตอน จึงย่อมจะเป็นเหตุให้ไม่อาจทราบในเบื้องต้นได้ว่าหนังสือที่เขียนขึ้นละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์ และต่อมาได้หารือกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้วเห็นว่าหนังสือของจำเลยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์และจำเลยจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานที่ตนสร้างสรรค์ขึ้นมา และจำเลยจะทำละเมิดลิขสิทธิ์ในหนังสือสองเล่มของโจทก์หรือไม่ ยังเป็นปัญหาที่มีเหตุผลของแต่ละฝ่ายที่หน่วยงานราชการที่จำเลยสังกัดก็ได้ใช้ความพยายามในการแสวงหาข้อยุติอย่างเต็มที่แล้ว ทั้งได้จัดจำหน่ายหนังสือของจำเลยโดยเปิดเผย จึงฟังไม่ได้ว่าหน่วยงานราชการที่จำเลยสังกัดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าหนังสือที่จำเลยเขียนขึ้นโดยการละเมิดลิขสิทธิ์ในวรรณกรรมของโจทก์ แล้วจำหน่ายหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งหนังสือดังกล่าวเพื่อการค้าอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯมาตรา 31(1) และ (2)
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ในกรณีที่อ้างว่าเป็นการวิจัยและใช้เป็นเอกสารประกอบการสอนโดยไม่ได้แสวงหากำไร โดยมีการอ้างอิงที่มาของข้อความไว้แล้วนั้นประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการคือ (1) เป็นการกระทำต่าง ๆ ตามที่มาตรา 32วรรคสอง และมาตรา 33 บัญญัติไว้ (2) การกระทำนั้นต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และ (3) การกระทำนั้นต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควรเมื่อปรากฏว่าจำเลยได้กระทำการถึงขั้นจัดพิมพ์เพื่อจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไปโดยได้รับค่าตอบแทนงานเขียนดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อหากำไรแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าว ส่วนข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 33นั้น แม้จะปรากฏว่าจำเลยคัด ลอก หรือเลียนงานวรรณกรรมของโจทก์ประมาณ 30 หน้าจากทั้งหมดประมาณ 150 หน้า อันถือได้ว่าเป็นงานบางตอนก็ตาม แต่ปรากฏว่าล้วนเป็นส่วนของเนื้อหาสาระที่สำคัญ และมีปริมาณงานเป็นจำนวนมาก จึงถือได้ว่าเป็นการคัด ลอก หรือเลียนงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเกินสมควร ส่วนการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโจทก์นั้น หนังสือของจำเลยดังกล่าวเป็นหนังสือขนาด 8 หน้ายกซึ่งจำเลยสามารถที่จะแสดงการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำเชิงอรรถหรือกล่าวถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เมื่อนำข้อความของงานนั้นมาเขียนไว้ในหนังสือของจำเลย การที่จำเลยเพียงแต่อ้างอิงชื่อโจทก์และบุคคลอื่นพร้อมงานเขียนไว้ในหัวข้อเอกสารอ้างอิงท้ายเล่ม ผู้อ่านย่อมไม่สามารถทราบได้ว่าข้อความส่วนใดของงานดังกล่าวเป็นงานเขียนของโจทก์ซึ่งจำเลยคัดลอกมา จึงยังไม่เพียงพอที่จะถือได้ว่าเป็นการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโจทก์ อันจะถือได้ว่าเข้าหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 33 ประการแรก ทั้งภายหลังเมื่อมีการฟ้องคดีนี้แล้ว จำเลยก็มิได้ดำเนินการให้ระงับการจำหน่ายหนังสือที่จำเลยทำขึ้น จึงเป็นการแบ่งตลาดของผู้บริโภคซึ่งจะซื้อหนังสือประเภทดังกล่าวออกไปส่วนหนึ่ง อันเป็นการขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของโจทก์ และกระทบถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของโจทก์เกินสมควร จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์สองประการหลังของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 32 วรรคหนึ่ง ด้วย
จำเลยให้การว่าการจัดพิมพ์หนังสือดังกล่าว จำเลยมิได้แสวงหากำไรทางการค้าแต่กลับอ้างในอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการของหน่วยราชการที่จำเลยสังกัด ในข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์นอกเหนือคำให้การและเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 38 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ในการเขียนหนังสือของโจทก์ โจทก์ได้กำหนดเค้าโครงการเขียน และได้คิดกำหนดสารบัญรวมทั้งได้เขียนอธิบายเนื้อหาสาระและรายละเอียดต่าง ๆ แต่ละประเด็นโดยใช้ถ้อยคำและคำอธิบายของโจทก์ใหม่ทั้งหมดตามความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ของโจทก์โดยตรง จึงเป็นงานนิพนธ์ที่โจทก์ทำขึ้นโดยไม่ได้ลอกเลียนงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โจทก์จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมหนังสือพิพาททั้งสองเล่มนั้น หาใช่หน่วยราชการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯมาตรา 14 ไม่
แนวความคิด ทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้ไม่ใช่สิ่งที่กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 6 วรรคสอง บุคคลสามารถที่จะนำแนวความคิดทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ตราบเท่าที่การใช้ประโยชน์ของบุคคลนั้นไม่เป็นการทำซ้ำ ดัดแปลงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นกล่าวคือหากนำแนวความคิด ทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้ของบุคคลอื่นไปสร้างสรรค์งานวรรณกรรมของตน ก็จะต้องสร้างสรรค์งานนั้นขึ้นมาโดยมีเนื้อหารายละเอียดและลักษณะการแสดงออกซึ่งความคิดของตนเองมิใช่เพียงแต่คัดลอกหรือเลียนแบบงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นในส่วนอันเป็นสาระสำคัญซึ่งถือว่าเป็นการทำซ้ำ หรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 15(1) หากกระทำไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ การกระทำดังกล่าวย่อมเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 27(1)แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน เมื่อปรากฏว่าหนังสือของจำเลยมีข้อความที่เหมือนและคล้ายกับข้อความที่ปรากฏอยู่ในหนังสือของโจทก์ทั้งสองเล่มในส่วนอันเป็นสาระสำคัญของงานประมาณ 30 หน้า จากจำนวนประมาณ 150 หน้า โดยข้อความบางตอนมีลักษณะเกือบเหมือนกันคำต่อคำ บางตอนมีลักษณะดัดแปลงให้ต่างกันเล็กน้อยและบางตอนก็เพียงแต่ปรับเปลี่ยนหัวข้อเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งยากที่จะเกิดขึ้นได้โดยบังเอิญ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำซ้ำ และดัดแปลงงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อจำเลยกระทำไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์
จำเลยเป็นผู้ทำซ้ำและดัดแปลงงานวรรณกรรมอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ และได้เผยแพร่งานดังกล่าวทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานราชการที่จำเลยสังกัด แม้ตั้งราคาจำหน่ายใกล้เคียงกับต้นทุน ไม่ได้หากำไรเท่าธุรกิจเอกชนก็เป็นการกระทำเพื่อหากำไร โดยรู้อยู่แล้วว่างานนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์
การที่หน่วยงานราชการที่จำเลยสังกัด จัดพิมพ์ตำราต่าง ๆ ตามระเบียบภายในของหน่วยงานดังกล่าวตามขั้นตอน จึงย่อมจะเป็นเหตุให้ไม่อาจทราบในเบื้องต้นได้ว่าหนังสือที่เขียนขึ้นละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์ และต่อมาได้หารือกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้วเห็นว่าหนังสือของจำเลยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์และจำเลยจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานที่ตนสร้างสรรค์ขึ้นมา และจำเลยจะทำละเมิดลิขสิทธิ์ในหนังสือสองเล่มของโจทก์หรือไม่ ยังเป็นปัญหาที่มีเหตุผลของแต่ละฝ่ายที่หน่วยงานราชการที่จำเลยสังกัดก็ได้ใช้ความพยายามในการแสวงหาข้อยุติอย่างเต็มที่แล้ว ทั้งได้จัดจำหน่ายหนังสือของจำเลยโดยเปิดเผย จึงฟังไม่ได้ว่าหน่วยงานราชการที่จำเลยสังกัดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าหนังสือที่จำเลยเขียนขึ้นโดยการละเมิดลิขสิทธิ์ในวรรณกรรมของโจทก์ แล้วจำหน่ายหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งหนังสือดังกล่าวเพื่อการค้าอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯมาตรา 31(1) และ (2)
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ในกรณีที่อ้างว่าเป็นการวิจัยและใช้เป็นเอกสารประกอบการสอนโดยไม่ได้แสวงหากำไร โดยมีการอ้างอิงที่มาของข้อความไว้แล้วนั้นประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการคือ (1) เป็นการกระทำต่าง ๆ ตามที่มาตรา 32วรรคสอง และมาตรา 33 บัญญัติไว้ (2) การกระทำนั้นต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และ (3) การกระทำนั้นต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควรเมื่อปรากฏว่าจำเลยได้กระทำการถึงขั้นจัดพิมพ์เพื่อจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไปโดยได้รับค่าตอบแทนงานเขียนดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อหากำไรแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าว ส่วนข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 33นั้น แม้จะปรากฏว่าจำเลยคัด ลอก หรือเลียนงานวรรณกรรมของโจทก์ประมาณ 30 หน้าจากทั้งหมดประมาณ 150 หน้า อันถือได้ว่าเป็นงานบางตอนก็ตาม แต่ปรากฏว่าล้วนเป็นส่วนของเนื้อหาสาระที่สำคัญ และมีปริมาณงานเป็นจำนวนมาก จึงถือได้ว่าเป็นการคัด ลอก หรือเลียนงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเกินสมควร ส่วนการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโจทก์นั้น หนังสือของจำเลยดังกล่าวเป็นหนังสือขนาด 8 หน้ายกซึ่งจำเลยสามารถที่จะแสดงการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำเชิงอรรถหรือกล่าวถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เมื่อนำข้อความของงานนั้นมาเขียนไว้ในหนังสือของจำเลย การที่จำเลยเพียงแต่อ้างอิงชื่อโจทก์และบุคคลอื่นพร้อมงานเขียนไว้ในหัวข้อเอกสารอ้างอิงท้ายเล่ม ผู้อ่านย่อมไม่สามารถทราบได้ว่าข้อความส่วนใดของงานดังกล่าวเป็นงานเขียนของโจทก์ซึ่งจำเลยคัดลอกมา จึงยังไม่เพียงพอที่จะถือได้ว่าเป็นการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโจทก์ อันจะถือได้ว่าเข้าหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 33 ประการแรก ทั้งภายหลังเมื่อมีการฟ้องคดีนี้แล้ว จำเลยก็มิได้ดำเนินการให้ระงับการจำหน่ายหนังสือที่จำเลยทำขึ้น จึงเป็นการแบ่งตลาดของผู้บริโภคซึ่งจะซื้อหนังสือประเภทดังกล่าวออกไปส่วนหนึ่ง อันเป็นการขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของโจทก์ และกระทบถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของโจทก์เกินสมควร จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์สองประการหลังของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 32 วรรคหนึ่ง ด้วย
จำเลยให้การว่าการจัดพิมพ์หนังสือดังกล่าว จำเลยมิได้แสวงหากำไรทางการค้าแต่กลับอ้างในอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการของหน่วยราชการที่จำเลยสังกัด ในข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์นอกเหนือคำให้การและเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 38 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์: การทำซ้ำ ดัดแปลง และจำหน่ายหนังสือโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้มีวัตถุประสงค์ทางการศึกษา ก็ไม่เข้าข้อยกเว้น
ขณะที่โจทก์เขียนหนังสือ "คู่มือการประเมินผลการฝึกอบรมสำหรับผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม/สัมมนา" และหนังสือ "คู่มือการประเมินและติดตามผลการฝึกอบรมสำหรับผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม/สัมมนา" โจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดสำนักงานก.พ. มีหน้าที่โดยตรงในการประเมินผลการฝึกอบรม แต่ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจัดทำเอกสารหรือเขียนตำราทางวิชาการเพื่อใช้ในการฝึกอบรม การที่โจทก์เขียนหนังสือดังกล่าวขึ้นจึงไม่ถือว่าเป็นงานที่โจทก์ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ในกรอบงานของโจทก์ และสำนักงานก.พ. ซึ่งโจทก์สังกัดก็มิได้มีคำสั่งให้โจทก์เขียนหนังสือดังกล่าวหรือมีการจ่ายค่าตอบแทนให้ โจทก์เขียนหนังสือทั้งสองเล่มนอกเวลาราชการ โจทก์ได้กำหนดเค้าโครงการเขียนและสารบัญรวมทั้งได้เขียนอธิบายเนื้อหาสาระและรายละเอียดต่าง ๆ แต่ละประเด็นโดยใช้ถ้อยคำและคำอธิบายของโจทก์ใหม่ทั้งหมดตามความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ของโจทก์โดยตรง จึงเป็นงานนิพนธ์ที่โจทก์ทำขึ้นโดยไม่ได้ลอกเลียนงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โจทก์เป็นผู้ทำหรือก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรมในหนังสือดังกล่าวจึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ มิใช่สำนักงาน ก.พ. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 14
แนวความคิด ทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้ไม่ใช่สิ่งที่กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 6 วรรคสอง บุคคลสามารถที่จะนำแนวความคิด ทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ตราบเท่าที่การใช้ประโยชน์ของบุคคลนั้นไม่เป็นการทำซ้ำ ดัดแปลงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น หากจำเลยที่ 1 นำแนวความคิด ทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการประเมินและติดตามผลการฝึกอบรมของบุคคลอื่นรวมทั้งของโจทก์ไปสร้างสรรค์งานวรรณกรรมของตน จำเลยที่ 1 จะต้องสร้างงานนั้นขึ้นมาโดยมีเนื้อหารายละเอียดและลักษณะการแสดงออกซึ่งความคิดของจำเลยที่ 1 เอง ไม่ใช่เพียงแต่คัดลอกหรือเลียนแบบงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นในส่วนอันเป็นสาระสำคัญซึ่งถือว่าเป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 15(1) ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ย่อมเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 27(1)
หนังสือ "กลยุทธ์ในการฝึกอบรม" ของจำเลยที่ 1 มีข้อความที่เหมือนและคล้ายกับข้อความที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ "คู่มือการประเมินผลการฝึกอบรมสำหรับผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม/สัมมนา" และ "คู่มือการประเมินและติดตามผลการฝึกอบรมสำหรับผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม/สัมมนา" ของโจทก์ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญของงานประมาณ 30 หน้า จากจำนวนประมาณ 150 หน้า ข้อความบางตอนมีลักษณะเกือบเหมือนกันคำต่อคำบางตอนมีลักษณะดัดแปลงให้ต่างกันเล็กน้อย และบางตอนก็เพียงแต่ปรับเปลี่ยนหัวข้อเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งยากที่จะเกิดขึ้นได้โดยบังเอิญ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการทำซ้ำและดัดแปลงงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์
จำเลยทั้งสองให้การว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดพิมพ์หนังสือขึ้นโดยมิได้แสวงหากำไรทางการค้า แต่จำเลยที่ 1 กลับอ้างในอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการของมหาวิทยาลัยจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้ จึงเป็นอุทธรณ์นอกเหนือคำให้การและเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 38 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
มหาวิทยาลัยจำเลยที่ 2 เผยแพร่ตำราและสิ่งตีพิมพ์ตั้งราคาจำหน่ายหนังสือใกล้เคียงกับต้นทุน ส่วนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอาจารย์สังกัดจำเลยที่ 2 ได้รับค่าตอบแทนจากงานเขียน แสดงว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการกระทำเพื่อหากำไรแล้ว แม้จะไม่ได้หากำไรเท่าธุรกิจเอกชนก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำซ้ำและดัดแปลงงานวรรณกรรมอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ การจำหน่ายหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งหนังสือ "กลยุทธ์ในการฝึกอบรม" ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยรู้อยู่แล้วว่างานนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ (1) เป็นการกระทำต่าง ๆ ตามที่มาตรา 32 วรรคสอง และมาตรา 33 บัญญัติไว้ (2) การกระทำนั้นต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และ (3) การกระทำนั้นต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร แม้จำเลยที่ 1 เขียนหนังสือ"กลยุทธ์ในการฝึกอบรม" เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการสอนและเป็นผลงานทางวิชาการที่จำเลยที่ 1 ใช้ประกอบการพิจารณาขอรับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ อันอาจถือได้ว่าเป็นการวิจัยงานหรือทำซ้ำและดัดแปลงโดยผู้สอนเพื่อแจกจ่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา โดยไม่ได้หากำไรซึ่งจะเข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 32 วรรคสอง (1) และ (7) แต่จำเลยที่ 1 ได้กระทำการถึงขั้นจัดพิมพ์เพื่อจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป โดยจำเลยที่ 1 ได้รับค่าตอบแทนงานเขียนดังกล่าว แม้จะได้รับในอัตราต่ำสุดก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อหากำไรแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว
การคัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอันอาจจะเข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จะต้องเป็นการกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์บางตอนตามสมควรและมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะคัด ลอกหรือเลียนงานวรรณกรรมของโจทก์จำนวนประมาณ 30 หน้า จากจำนวนทั้งหมดประมาณ 150 หน้า อันถือได้ว่าเป็นงานบางตอนแต่การนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์มาบางตอนดังกล่าวล้วนเป็นส่วนของเนื้อหาสาระที่สำคัญและมีปริมาณงานเป็นจำนวนมาก จึงถือได้ว่าเป็นการคัด ลอก หรือเลียนงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเกินสมควร
หนังสือ "กลยุทธ์ในการฝึกอบรม" ของจำเลยที่ 1 เป็นหนังสือคำอธิบายเกี่ยวกับการฝึกอบรมขนาด 8 หน้ายก ซึ่งจำเลยที่ 1 สามารถที่จะแสดงการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการทำเชิงอรรถหรือกล่าวถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เมื่อจำเลยที่ 1 นำข้อความของงานนั้นมาเขียนไว้ในหนังสือของจำเลยที่ 1 ดังที่จำเลยที่ 1ได้กระทำแล้วในส่วนอื่น ๆ ของหนังสือดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 เพียงแต่อ้างอิงถึงชื่อโจทก์และบุคคลอื่นพร้อมงานเขียนรวม 26 รายการ ไว้ในหัวข้อเอกสารอ้างอิงที่ท้ายเล่มผู้อ่านย่อมไม่สามารถที่จะทราบได้ว่าข้อความส่วนใดของงานดังกล่าวเป็นงานเขียนของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 1 คัดลอกมา จึงยังไม่เป็นการเพียงพอที่จะถือได้ว่าเป็นการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโจทก์ อันจะถือได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 33
หนังสือ "กลยุทธ์ในการฝึกอบรม" มีการจัดพิมพ์จำหน่ายรวม 2 ครั้ง ครั้งที่ 1จำนวน 500 เล่ม และครั้งที่ 2 จำนวน 1,000 เล่ม มีวางจำหน่ายที่ร้านขายหนังสือในราคาเล่มละ 165 บาท โดยจำเลยที่ 1 ได้ทำซ้ำและดัดแปลงข้อความและสาระสำคัญต่าง ๆ จากหนังสือของโจทก์จำนวนประมาณ 30 หน้า จากจำนวนทั้งหมดประมาณ 150 หน้า เมื่อจำเลยที่ 1 จัดทำหนังสือซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกับงานที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นออกจำหน่าย จึงเป็นการแบ่งตลาดของผู้บริโภคซึ่งจะซื้อหนังสือประเภทดังกล่าวออกไปส่วนหนึ่ง อันเป็นการขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของโจทก์และกระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของโจทก์เกินสมควร การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537มาตรา 32 วรรคหนึ่ง
แนวความคิด ทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้ไม่ใช่สิ่งที่กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 6 วรรคสอง บุคคลสามารถที่จะนำแนวความคิด ทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ตราบเท่าที่การใช้ประโยชน์ของบุคคลนั้นไม่เป็นการทำซ้ำ ดัดแปลงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น หากจำเลยที่ 1 นำแนวความคิด ทฤษฎี และตัวข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการประเมินและติดตามผลการฝึกอบรมของบุคคลอื่นรวมทั้งของโจทก์ไปสร้างสรรค์งานวรรณกรรมของตน จำเลยที่ 1 จะต้องสร้างงานนั้นขึ้นมาโดยมีเนื้อหารายละเอียดและลักษณะการแสดงออกซึ่งความคิดของจำเลยที่ 1 เอง ไม่ใช่เพียงแต่คัดลอกหรือเลียนแบบงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นในส่วนอันเป็นสาระสำคัญซึ่งถือว่าเป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 15(1) ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ย่อมเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 27(1)
หนังสือ "กลยุทธ์ในการฝึกอบรม" ของจำเลยที่ 1 มีข้อความที่เหมือนและคล้ายกับข้อความที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ "คู่มือการประเมินผลการฝึกอบรมสำหรับผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม/สัมมนา" และ "คู่มือการประเมินและติดตามผลการฝึกอบรมสำหรับผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม/สัมมนา" ของโจทก์ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญของงานประมาณ 30 หน้า จากจำนวนประมาณ 150 หน้า ข้อความบางตอนมีลักษณะเกือบเหมือนกันคำต่อคำบางตอนมีลักษณะดัดแปลงให้ต่างกันเล็กน้อย และบางตอนก็เพียงแต่ปรับเปลี่ยนหัวข้อเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งยากที่จะเกิดขึ้นได้โดยบังเอิญ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการทำซ้ำและดัดแปลงงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์
จำเลยทั้งสองให้การว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดพิมพ์หนังสือขึ้นโดยมิได้แสวงหากำไรทางการค้า แต่จำเลยที่ 1 กลับอ้างในอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการของมหาวิทยาลัยจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้ จึงเป็นอุทธรณ์นอกเหนือคำให้การและเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 38 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
มหาวิทยาลัยจำเลยที่ 2 เผยแพร่ตำราและสิ่งตีพิมพ์ตั้งราคาจำหน่ายหนังสือใกล้เคียงกับต้นทุน ส่วนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอาจารย์สังกัดจำเลยที่ 2 ได้รับค่าตอบแทนจากงานเขียน แสดงว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการกระทำเพื่อหากำไรแล้ว แม้จะไม่ได้หากำไรเท่าธุรกิจเอกชนก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำซ้ำและดัดแปลงงานวรรณกรรมอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ การจำหน่ายหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งหนังสือ "กลยุทธ์ในการฝึกอบรม" ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยรู้อยู่แล้วว่างานนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ (1) เป็นการกระทำต่าง ๆ ตามที่มาตรา 32 วรรคสอง และมาตรา 33 บัญญัติไว้ (2) การกระทำนั้นต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และ (3) การกระทำนั้นต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร แม้จำเลยที่ 1 เขียนหนังสือ"กลยุทธ์ในการฝึกอบรม" เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการสอนและเป็นผลงานทางวิชาการที่จำเลยที่ 1 ใช้ประกอบการพิจารณาขอรับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ อันอาจถือได้ว่าเป็นการวิจัยงานหรือทำซ้ำและดัดแปลงโดยผู้สอนเพื่อแจกจ่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา โดยไม่ได้หากำไรซึ่งจะเข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 32 วรรคสอง (1) และ (7) แต่จำเลยที่ 1 ได้กระทำการถึงขั้นจัดพิมพ์เพื่อจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป โดยจำเลยที่ 1 ได้รับค่าตอบแทนงานเขียนดังกล่าว แม้จะได้รับในอัตราต่ำสุดก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อหากำไรแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว
การคัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอันอาจจะเข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จะต้องเป็นการกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์บางตอนตามสมควรและมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะคัด ลอกหรือเลียนงานวรรณกรรมของโจทก์จำนวนประมาณ 30 หน้า จากจำนวนทั้งหมดประมาณ 150 หน้า อันถือได้ว่าเป็นงานบางตอนแต่การนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์มาบางตอนดังกล่าวล้วนเป็นส่วนของเนื้อหาสาระที่สำคัญและมีปริมาณงานเป็นจำนวนมาก จึงถือได้ว่าเป็นการคัด ลอก หรือเลียนงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเกินสมควร
หนังสือ "กลยุทธ์ในการฝึกอบรม" ของจำเลยที่ 1 เป็นหนังสือคำอธิบายเกี่ยวกับการฝึกอบรมขนาด 8 หน้ายก ซึ่งจำเลยที่ 1 สามารถที่จะแสดงการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการทำเชิงอรรถหรือกล่าวถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เมื่อจำเลยที่ 1 นำข้อความของงานนั้นมาเขียนไว้ในหนังสือของจำเลยที่ 1 ดังที่จำเลยที่ 1ได้กระทำแล้วในส่วนอื่น ๆ ของหนังสือดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 เพียงแต่อ้างอิงถึงชื่อโจทก์และบุคคลอื่นพร้อมงานเขียนรวม 26 รายการ ไว้ในหัวข้อเอกสารอ้างอิงที่ท้ายเล่มผู้อ่านย่อมไม่สามารถที่จะทราบได้ว่าข้อความส่วนใดของงานดังกล่าวเป็นงานเขียนของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 1 คัดลอกมา จึงยังไม่เป็นการเพียงพอที่จะถือได้ว่าเป็นการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของโจทก์ อันจะถือได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 33
หนังสือ "กลยุทธ์ในการฝึกอบรม" มีการจัดพิมพ์จำหน่ายรวม 2 ครั้ง ครั้งที่ 1จำนวน 500 เล่ม และครั้งที่ 2 จำนวน 1,000 เล่ม มีวางจำหน่ายที่ร้านขายหนังสือในราคาเล่มละ 165 บาท โดยจำเลยที่ 1 ได้ทำซ้ำและดัดแปลงข้อความและสาระสำคัญต่าง ๆ จากหนังสือของโจทก์จำนวนประมาณ 30 หน้า จากจำนวนทั้งหมดประมาณ 150 หน้า เมื่อจำเลยที่ 1 จัดทำหนังสือซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกับงานที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นออกจำหน่าย จึงเป็นการแบ่งตลาดของผู้บริโภคซึ่งจะซื้อหนังสือประเภทดังกล่าวออกไปส่วนหนึ่ง อันเป็นการขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของโจทก์และกระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของโจทก์เกินสมควร การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537มาตรา 32 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6537/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีละเมิดลิขสิทธิ์และจำหน่ายสื่อลามก ศาลฎีกาพิจารณาองค์ประกอบความผิดและขอบเขตการอุทธรณ์
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ มีองค์ประกอบแห่งความผิดที่แตกต่างกันทั้งเจตนาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวสามารถแยกต่างหากจากกันได้ จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา)
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งวิดีโอซีดีลามก เป็นความผิดต่อกฎหมายต่างฉบับกัน มีองค์ประกอบแห่งความผิดที่แตกต่างกัน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดก็สามารถแยกต่างหากจากกันกับความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตได้ จึงเป็นความผิดอีกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากความผิดสองฐานดังกล่าว
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 เป็นความผิดที่มีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อความผิดดังกล่าวศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ลงโทษจำเลยปรับไม่เกิน 5,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 39 (4) (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา)
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งวิดีโอซีดีลามก เป็นความผิดต่อกฎหมายต่างฉบับกัน มีองค์ประกอบแห่งความผิดที่แตกต่างกัน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดก็สามารถแยกต่างหากจากกันกับความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตได้ จึงเป็นความผิดอีกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากความผิดสองฐานดังกล่าว
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 เป็นความผิดที่มีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อความผิดดังกล่าวศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ลงโทษจำเลยปรับไม่เกิน 5,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 39 (4) (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6147/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์: การพิจารณาความผิดกรรมเดียวแต่ผิดหลายบท และการลงโทษตามกฎหมายที่บทมีโทษหนักที่สุด
ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์กล่าวหาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ละเมิดลิขสิทธิ์โดยทำซ้ำงานสิ่งบันทึกเสียงซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (1) และละเมิดลิขสิทธิ์โดยการทำซ้ำงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 4 เป็นความผิดตามมาตรา 30 (1) ซึ่งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องแสดงให้เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 กระทำผิดดังกล่าวโดยมีเจตนาแยกต่างหากจากกัน จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 มีเจตนาเดียวกันในการทำซ้ำงานต่าง ๆ ดังกล่าว การกระทำจึงเป็นกรรมเดียว แต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องปรับบทความผิดทุกบท แต่การลงโทษต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ตาม ป.อ. มาตรา 90
การละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (1) และมาตรา 30 (1) เพื่อการค้า ต้องระวางโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง มาตราเดียวกัน ย่อมมีโทษเท่ากัน และสมควรลงโทษตามมาตรา 30 (1) ประกอบด้วยมาตรา 69 วรรคสอง
การละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (1) และมาตรา 30 (1) เพื่อการค้า ต้องระวางโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง มาตราเดียวกัน ย่อมมีโทษเท่ากัน และสมควรลงโทษตามมาตรา 30 (1) ประกอบด้วยมาตรา 69 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์: การละเมิดลิขสิทธิ์โดยการมีแผ่นภาพยนตร์ละเมิดไว้เพื่อขาย แม้ไม่มีการขายจริงก็ถือเป็นความผิด
บริษัท ซ. เพียงแต่ได้รับสิทธิในการทำซ้ำ เผยแพร่และจัดจำหน่ายภาพยนตร์ของโจทก์ร่วมในประเทศไทยแต่ผู้เดียว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งบริษัท ซ. คงมีลิขสิทธิ์เฉพาะในงานที่ได้ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์วิดีโอซีดีและวิดีโอเทปและมีสิทธิทำซ้ำ เผยแพร่ต่อสาธารณชนกับจัดจำหน่ายภาพยนตร์อันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมในประเทศไทยได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ของโจทก์ร่วม เพราะได้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์จากโจทก์ร่วมแล้วเท่านั้น จึงไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในงานของผู้สร้างสรรค์เดิมที่ถูกดัดแปลง ดังนั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ร่วมยังคงเป็นเจ้าของในงานภาพยนตร์ตามคำฟ้องในฐานะผู้สร้างสรรค์อยู่ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 11 โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายคดีนี้และมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้
การที่แผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีของกลางถูกนำมาเก็บไว้ในสถานประกอบการค้าของจำเลยและจำเลยมิได้สั่งซื้อแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีของกลางจากผู้มีสิทธิดัดแปลงทำซ้ำในประเทศไทยหรือตัวแทนจำหน่ายโดยตรง เป็นพฤติการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าจำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีของกลางทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เมื่อจำเลยมีแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีของกลางไว้เพื่อขายอันเป็นการกระทำเพื่อการค้าโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นภาพยนตร์วิดีโอซีดีที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธ์ของโจทก์ร่วม แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เสนอขายและขายแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีของกลางให้ผู้อื่นด้วย การกระทำของจำเลยตามที่ได้ความดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นการมีไว้เพื่อขายซึ่งแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอันเป็นการกระทำเพื่อการค้าซึ่งเป็นความผิดฐานหนึ่งตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 (1) ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง และกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยได้กระทำโดยมีเจตนาทุจริตหรือไม่ เพราะความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้มีองค์ประกอบว่าผู้กระทำความผิดจะต้องกระทำโดยมีเจตนาทุจริตด้วยไม่
การที่แผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีของกลางถูกนำมาเก็บไว้ในสถานประกอบการค้าของจำเลยและจำเลยมิได้สั่งซื้อแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีของกลางจากผู้มีสิทธิดัดแปลงทำซ้ำในประเทศไทยหรือตัวแทนจำหน่ายโดยตรง เป็นพฤติการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าจำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีของกลางทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เมื่อจำเลยมีแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีของกลางไว้เพื่อขายอันเป็นการกระทำเพื่อการค้าโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นภาพยนตร์วิดีโอซีดีที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธ์ของโจทก์ร่วม แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เสนอขายและขายแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีของกลางให้ผู้อื่นด้วย การกระทำของจำเลยตามที่ได้ความดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นการมีไว้เพื่อขายซึ่งแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอันเป็นการกระทำเพื่อการค้าซึ่งเป็นความผิดฐานหนึ่งตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 (1) ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง และกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยได้กระทำโดยมีเจตนาทุจริตหรือไม่ เพราะความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้มีองค์ประกอบว่าผู้กระทำความผิดจะต้องกระทำโดยมีเจตนาทุจริตด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์: การมีแผ่นภาพยนตร์ละเมิดเพื่อขายถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ แม้ไม่มีการเสนอขาย
บริษัท ซ. เพียงแต่เป็นผู้ได้รับสิทธิในการทำซ้ำ เผยแพร่และจัดจำหน่ายภาพยนตร์ของโจทก์ร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 ในประเทศไทยแต่ผู้เดียว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งบริษัท ซ. คงมีลิขสิทธิ์เฉพาะในงานที่ได้ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์วิดีโอซีดีและวิดีโอเทปและมีสิทธิทำซ้ำเผยแพร่ต่อสาธารณชน กับจัดจำหน่ายภาพยนตร์อันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมที่ 1 ถึงที่ 6ในประเทศไทยได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ของโจทก์ร่วมที่ 1 ถึงที่ 6เพราะได้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์จากโจทก์ร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 แล้วเท่านั้น จึงไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในงานของผู้สร้างสรรค์เดิมที่ถูกดัดแปลง ดังนั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 ยังคงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ตามคำฟ้องในฐานะผู้สร้างสรรค์อยู่ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 11โจทก์ร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้
จำเลยมีแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีไว้เพื่อขายอันเป็นการกระทำเพื่อการค้าโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นภาพยนตร์วิดีโอซีดีที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งเจ็ด แม้จำเลยไม่ได้เสนอขายและขายแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีให้ผู้อื่นด้วยก็ถือได้ว่าเป็นการมีไว้เพื่อขายซึ่งแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเป็นการกระทำเพื่อการค้าซึ่งเป็นความผิดฐานหนึ่งตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31(1) ประกอบด้วยมาตรา 70 วรรคสอง แล้ว และกรณีไม่จำต้องมีเจตนาทุจริตเพราะความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้มีองค์ประกอบว่าผู้กระทำความผิดจะต้องกระทำโดยมีเจตนาทุจริตด้วยไม่
จำเลยมีแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีไว้เพื่อขายอันเป็นการกระทำเพื่อการค้าโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นภาพยนตร์วิดีโอซีดีที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งเจ็ด แม้จำเลยไม่ได้เสนอขายและขายแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีให้ผู้อื่นด้วยก็ถือได้ว่าเป็นการมีไว้เพื่อขายซึ่งแผ่นภาพยนตร์วิดีโอซีดีที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเป็นการกระทำเพื่อการค้าซึ่งเป็นความผิดฐานหนึ่งตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31(1) ประกอบด้วยมาตรา 70 วรรคสอง แล้ว และกรณีไม่จำต้องมีเจตนาทุจริตเพราะความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้มีองค์ประกอบว่าผู้กระทำความผิดจะต้องกระทำโดยมีเจตนาทุจริตด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4085/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โจทก์จ้างนักสืบซื้อสินค้าเองแล้วฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ ศาลยกฟ้อง เพราะโจทก์มีส่วนเป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด
เมื่อเกิดกรณีละเมิดลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะดำเนินคดีแก่ผู้ทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้ทั้งทางแพ่งและทางอาญา ซึ่งมีวิธีพิจารณาคดีและการชั่งน้ำหนักรับฟังพยานหลักฐานที่แตกต่างกัน เมื่อโจทก์เลือกดำเนินคดีอาญา จึงต้องนำ ป.วิ.อ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้นนอกจากโจทก์จะต้องสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ให้ศาลเห็นโดยปราศจากเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำความผิดจริงตามคำฟ้อง ยังต้องได้ความว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย ที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้อีกด้วย
เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังฟังไม่ได้แน่ชัดว่าฝ่ายจำเลยมีเจตนากระทำความผิดอยู่ก่อนแล้ว และโจทก์เป็นผู้ว่าจ้างนาย ฟ. ไปทำการล่อซื้อ จึงเท่ากับว่าโจทก์มีส่วนเป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามคำฟ้องขึ้นเอง โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะกล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังฟังไม่ได้แน่ชัดว่าฝ่ายจำเลยมีเจตนากระทำความผิดอยู่ก่อนแล้ว และโจทก์เป็นผู้ว่าจ้างนาย ฟ. ไปทำการล่อซื้อ จึงเท่ากับว่าโจทก์มีส่วนเป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามคำฟ้องขึ้นเอง โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะกล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์การหยุดละเมิดลิขสิทธิ์: ศาลต้องไต่สวนเพื่อความยุติธรรม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทำละเมิดสิทธิ์ต่อโจทก์ การที่จำเลยได้ยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีก็เป็นเรื่องที่ฝ่ายจำเลยใช้สิทธิตามที่กฎหมายวิธีพิจารณาความตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้นมิได้หมายความว่าหลังจากใช้สิทธิตามกฎหมายดังกล่าวแล้วฝ่ายจำเลยจะต้องทำละเมิดลิขสิทธิ์ของฝ่ายโจทก์ตลอดมา เพราะฝ่ายจำเลยอาจไม่กล้าเสี่ยงที่จะดำเนินธุรกิจที่มีข้อพิพาทนี้ต่อไปหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีนี้แล้วก็เป็นได้ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นงดไต่สวนพยานหลักฐานของฝ่ายจำเลยแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยยังคงทำละเมิดต่อโจทก์ตลอดมาและได้หยุดกระทำละเมิด ณ วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษาให้จำเลยหยุดกระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนพยานหลักฐานทั้งสองฝ่าย แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดีนั้น จึงต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา แต่ที่ศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งว่าจำเลยหยุดการทำละเมิด ณ วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกามาด้วยนั้นยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์วันหยุดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้ฝ่ายจำเลยใช้สิทธิทางกฎหมาย
จำเลยยื่นคำแถลงลงวันที่ 23 กันยายน 2540 ต่อศาลชั้นต้นว่าศาลชั้นต้นออกคำบังคับระบุจำนวนค่าเสียหายรายเดือนที่จำเลยต้องชำระไม่ถูกต้อง เพราะจำเลยหยุดการทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์หลังจากวันที่ 31 ธันวาคม 2532 แล้ว แต่โจทก์แถลงคัดค้านว่า จำเลยเพิ่งหยุดการทำละเมิดลิขสิทธิ์เมื่อวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คือวันที่ 1 มีนาคม 2538 เมื่อต่างฝ่ายต่างกล่าวอ้างเช่นนี้ ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังเป็นที่ยุติได้ การที่หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จำเลยยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์ยื่นฎีกาจำเลยก็ยื่นคำแก้ฎีกาว่ามิได้ทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ ยังไม่เพียงพอที่จะให้ฟังว่าจำเลยเพิ่งหยุดทำละเมิดลิขสิทธิ์นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเนื่องจากกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยใช้สิทธิตามกฎหมายวิธีพิจารณาความบัญญัติไว้เท่านั้น มิได้หมายความว่าหลังจากใช้สิทธิตามกฎหมายดังกล่าวแล้วจำเลยจะต้องทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ตลอดมา จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายให้สิ้นกระแสความเสียก่อน แล้วจึงมีคำสั่งในเรื่องนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3826/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ การลงโทษต้องสอดคล้องกับพฤติการณ์และข้อกฎหมายที่ถูกต้อง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมและสิ่งบันทึกเสียงซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย ไม่ได้บรรยายว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการกระทำเพื่อการค้า การกระทำของจำเลยทั้งสี่ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (1) , 69 วรรคหนึ่ง การที่ศาลทรัพย์สินฯ พิพากษาว่าจำเลยทั้งสี่มีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้า ลงโทษตาม มาตรา 28 (1) , 69 วรรคสอง จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสี่ไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้