คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ละเลยหน้าที่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกจดทะเบียนรับโอนทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียวโดยไม่แบ่งปันให้ทายาทอื่น ถือเป็นละเลยหน้าที่และมีเหตุถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
จำเลยในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกไปจดทะเบียนรับโอนที่พิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายมาเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียวโดยไม่แบ่งปันให้แก่ทายาทเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการละเลยไม่กระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดก จึงมีเหตุถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้าง กรณีละเลยหน้าที่ทวงหนี้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ติดตามทวงถามลูกหนี้และผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แก่โจทก์ ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ปล่อยปละละเลยจนคดีขาดอายุความ ทำให้โจทก์เสียหายและเรียกค่าเสียหาย เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นได้ เมื่อสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อนาย ส. ขาดอายุความตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2525 และสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อคู่กรณีที่ขับรถชนรถยนต์ของโจทก์ขาดอายุความตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2524 ดังนี้ โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้นับแต่วันที่หนี้แต่ละรายดังกล่าวขาดอายุ-ความ โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 24 มีนาคม 2536 จึงเป็นเวลาเกิน 10 ปี คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ควบคุมงานละเลยหน้าที่ก่อสร้างผิดแผน ทำให้มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
จำเลยทั้งสองได้ทำหนังสือแสดงความยินยอมเป็นผู้ควบคุมงานเจ้าพนักงานท้องถิ่นอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารได้โดยระบุว่ามีจำเลยทั้งสองเป็นผู้ควบคุมงาน จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องไปควบคุมการก่อสร้าง แต่ละเลยไม่ไปควบคุมการก่อสร้างจนเป็นเหตุให้มีการก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจะถือว่าการก่อสร้างอาคารที่ผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตดังกล่าว มิใช่เป็นการกระทำของจำเลยทั้งสองตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 วรรคสองตอนท้ายไม่ได้ แต่ต้องถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยทั้งสองตามมาตรา31 วรรคสองตอนแรก ถือว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกระทำความผิดฐานจัดให้มีการก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตดังฟ้อง ตามหนังสือขอก่อสร้างอาคาร หนังสือแสดงความยินยอมเป็นผู้ควบคุมงานของจำเลยทั้งสองและใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารระบุว่าเพื่อใช้เป็นอาคารพาณิชย์-พักอาศัยและอาคารที่เกิดเหตุเป็นตึกแถวสามชั้นซึ่งปกติใช้เพื่อการพาณิชยกรรมได้ ถือได้ว่าอาคารที่เกิดเหตุเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4289/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกโดยผู้จัดการที่ละเลยหน้าที่และโอนทรัพย์สินโดยมิชอบ ทายาทมีสิทธิขอถอนผู้จัดการและแบ่งมรดก
จำเลยอ้างว่ามีสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจึงรับฟังตามข้อต่อสู้ไม่ได้ เพราะ ป.พ.พ. มาตรา 851หมายความรวมถึงการต่อสู้คดีด้วยไม่ว่าจะมีการปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้วหรือไม่ก็ตาม จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้โอนมรดกเป็นของตนเอง เป็นการละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ และมีพฤติการณ์แสดงว่าจะจัดการมรดกไปในทางที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทายาท อันมีเหตุที่จะถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการตามมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 โจทก์ในฐานะทายาทจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องขอให้ถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะศาลแรงงาน, อายุความสัญญาจ้าง, การฟ้องแย้ง, สิทธิในการนำสืบ, ความรับผิดจากละเลยหน้าที่
การนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษาผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเท่า ๆ กัน เป็นองค์คณะพิจารณาตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 และมาตรา 31แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานโดยอนุโลม ดังนั้น ถ้าจำเลยเห็นว่าศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดี อันเป็นการผิดระเบียบ จำเลยจะต้องยื่นคัดค้านเสียภายใน 8 วัน ตามมาตรา 27แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลแรงงานกลางได้นั่งพิจารณาในวันที่ 21 สิงหาคม 2533 และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 17 กันยายน 2533 ถ้าผู้พิพากษาสมทบมิได้นั่งพิจารณาและลงลายมือชื่อในวันนั่งพิจารณานั้นจำเลยย่อมทราบแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบควรคัดค้านเสียภายใน 8 วัน เมื่อจำเลยมิได้คัดค้าน จะอุทธรณ์โต้แย้งว่าการพิจารณาไม่ชอบหาได้ไม่ ตามฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมาฟ้องบังคับจำเลยทั้งสอง เช่นนี้เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในการที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติงานฝ่าฝืนระเบียบทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ส่วนคดีก่อน จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ว่า จำเลยที่ 1ถูกโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ให้โจทก์รับจำเลยที่ 1 กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม กับขอให้ใช้ค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินบำเหน็จซึ่งเป็นคนละประเด็นกับคดีนี้ การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ วันนัดพิจารณา ศาลบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 3ตุลาคม 2532 ว่า โจทก์ให้การปฏิเสธฟ้องแย้ง และได้กำหนดประเด็นข้อพิพาท ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม 2532 โจทก์ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ศาลอนุญาตและรับคำให้การ สำเนาให้จำเลยจำเลยที่ 2 รับสำเนาแล้ว มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำให้การเกี่ยวกับรายละเอียดต่อสู้ฟ้องแย้งแต่ในฟ้องโจทก์มีรายละเอียดตามประเด็นที่พิพาทกัน คำให้การแก้ฟ้องแย้งก็เป็นเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 โจทก์ย่อมมีสิทธิสืบในรายละเอียดว่าไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแย้งได้ จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานคุมยาสูบตรี มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบในการบรรทุกบุหรี่และควบคุมรถบรรทุกบุหรี่ระหว่างเดินทางจนถึงผู้รับปลายทาง จำเลยที่ 2 ละทิ้งหน้าที่ไม่เฝ้าบุหรี่ เป็นเหตุให้คนร้ายลักรถและบุหรี่ไป โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายค่าบุหรี่แก่โรงงานยาสูบเป็นเงิน 1,512,394.81 บาท ทั้งต้องซ่อมรถที่คนร้ายงัดอีก 7,820 บาทนับได้ว่าเกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างร้ายแรงในผลการกระทำของจำเลยที่ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5795/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ-สถาบันการเงิน-ละเลยหน้าที่-ความรับผิด-ค่าเสียหาย-ค่าทนายความ
สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 (ผู้ให้เช่าซื้อ) กับจำเลยที่ 2(ธนาคารผู้รับจำนองที่ดินที่ให้เช่าซื้อ) มีข้อตกลงว่า จำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 รับเงินมัดจำ และเงินค่าเช่าซื้อจากผู้เช่าซื้อทุกงวดแทนจำเลยที่ 1 ได้ และเมื่อผู้เช่าซื้อรายใดชำระเงินตามสัญญาเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 2 ยอมปลดจำนองให้แก่ผู้เช่าซื้อรายนั้นทันที เช่นนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก เมื่อปรากฏว่าสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำขึ้นเป็น3 ฉบับ โดยโจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถือไว้คนละฉบับแสดงว่าจำเลยที่ 2 ได้รู้แล้วว่าโจทก์เป็นผู้เช่าซื้อที่ดินจึงถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 2ที่เป็นลูกหนี้แล้วว่าจะถือเอาประโยชน์จากข้อสัญญาดังกล่าวจำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 เมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนและแจ้งให้จำเลยที่ 2 ปลดจำนอง เพื่อให้จำเลยที่ 1โอนที่ดินให้โจทก์แล้ว แต่จำเลยที่ 2 เพิกเฉยไม่ดำเนินการให้ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ใช่คู่สัญญากับโจทก์โดยตรง แต่ก็ยอมผูกพันตนในอันที่จะปลดจำนองและจัดการให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้เช่าซื้อที่ชำระราคาให้แก่จำเลยที่ 2 ครบถ้วนแล้ว ตามสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ดังนี้เมื่อโจทก์เป็นผู้เช่าซื้อที่ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยที่ 2 ครบถ้วนแล้ว และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ปลดจำนองเพื่อจะได้รับโอนโฉนดที่ดินแปลงที่เช่าซื้อแต่จำเลยที่ 2 บ่ายเบี่ยงและต่อมากลับปลดจำนองให้จำเลยที่ 1โดยไม่จัดการให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญา จึงถือได้ว่า จำเลยที่ 2 ละเลยในการปฏิบัติการเพื่อร่วมชำระหนี้ตามสัญญาต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่ได้รับโอนที่ดินที่เช่าซื้อ จำเลยที่ 2ย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย และเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินที่โจทก์เช่าซื้อให้แก่บุคคลอื่นไปทำให้สภาพแห่งการบังคับชำระหนี้ตามสัญญาไม่อาจบังคับได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1รับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ไม่ได้รับโอนที่ดินตามสัญญา
การที่โจทก์ไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาเช่าซื้อเป็นเพราะจำเลยที่ 2 ทำผิดหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกดังกล่าว ความเสียหายของโจทก์ที่เกิดจากการไม่ได้ที่ดินตามที่เช่าซื้อทั้งหมดจึงเป็นความเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญาของจำเลยที่ 2 โดยตรง จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดร่วมกับจำเลยที่ 1 มิใช่รับผิดเพียงไม่เกินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 2 รับไว้เท่านั้น
เจตนาของโจทก์ที่เช่าซื้อที่ดินก็ต้องการได้ที่ดินไว้เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเป็นสำคัญ การที่โจทก์ไม่อาจบังคับตามสัญญาเพื่อให้ได้ที่ดินนั้นมาตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ย่อมเห็นได้ว่า โจทก์เสียหายมากกว่าจำนวนเงินค่าเช่าซื้อที่ชำระไปแล้วศาลย่อมมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์มากกว่าจำนวนเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระไปแล้วดังกล่าวได้
ค่าฤชาธรรมเนียมนั้น ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 วรรคแรกเมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 2 หวังว่าจะได้รับค่าเช่าซื้อ แต่ไม่ยอมรับรู้หน้าที่ตามสัญญาที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องทั้ง ๆ ที่การที่โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อเพราะความเชื่อถือจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่อยู่ในความไว้วางใจของประชาชน แต่จำเลยที่ 2 กลับบ่ายเบี่ยงเลี่ยงละหน้าที่จนเกิดความเสียหายแก่โจทก์เช่นนี้ เมื่อปรากฏว่าคดีมีทุนทรัพย์ถึง 513,300 บาท การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้ใช้ค่าทนายความเป็นเงิน 20,000 บาท ย่อมเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5789/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนผู้จัดการมรดก กรณีละเลยหน้าที่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกตามกฎหมาย
ศาลได้มีคำสั่งถึงที่สุดให้ตั้งผู้ร้อง และผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันจึงเป็นหน้าที่อันสำคัญที่ผู้จัดการมรดกดังกล่าวจะพึงตรวจสอบจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ฟังคำสั่งศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1728,1729 ฉะนั้น เมื่อปรากฏว่าเหตุที่ไม่ได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกแสดงต่อศาลภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด เพราะผู้คัดค้านปฏิเสธร่วมทำบัญชีกับผู้ร้อง โดยอ้างว่าต้องแบ่งทรัพย์สินของผู้ตายให้ผู้คัดค้านครึ่งหนึ่งก่อนจึงจะยอมทำบัญชีทรัพย์มรดกดังนี้ จึงเป็นการละเลยไม่กระทำตามหน้าที่ผู้จัดการมรดก มีเหตุสมควรที่ศาลจะถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามป.พ.พ. มาตรา 1731.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5520/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัยเนื่องจากละเลยหน้าที่ปล่อยคนเข้าโรงงาน แม้ไม่ร้ายแรง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าว
โจทก์เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัทจำเลย ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานโดยปล่อยให้บุคคลภายนอกเข้ามาภายในบริเวณโรงงานของจำเลย แม้จะเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ก็ตาม ก็เป็นการที่โจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ โดย มิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางแพ่งจากละเลยหน้าที่ – การตรวจสอบบัญชีเงิน – อายุความฟ้องร้อง
การสอบสวนทางวินัยเพราะเหตุบกพร่องต่อหน้าที่ราชการเป็นคนละกรณีกับการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่ง เพราะการบกพร่องต่อหน้าที่ราชการอาจไม่ถึงขนาดที่จะต้องรับผิดในทางแพ่งรองผู้บัญชาการทหารอากาศทำการแทนผู้บัญชาการทหารอากาศได้ทราบเรื่องที่ผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 มีคำสั่งลงทัณฑ์จำเลยที่ 2 เหตุบกพร่องต่อหน้าที่ราชการทำให้เกิดทุจริตในเรื่องการเงินดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่โจทก์ทราบถึงกรณีที่จำเลยที่ 2 ถูกลงทัณฑ์ทางวินัย เมื่อโจทก์ได้ทราบตัวผู้รับผิดทางแพ่งนับถึงวันฟ้องยังไม่เกินหนึ่งปีคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448.
จำเลยที่ 2 ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายการเงินมีหน้าที่ควบคุมดูแลการรับจ่ายเงินให้ถูกต้องตรงตามหลักฐาน รับผิดชอบในการทำบัญชีเงิน ควบคุมดูแลในการทำบัญชีลูกหนี้เจ้าหนี้ให้ตรงกับความเป็นจริง ควบคุมดูแลกิจการร้านค้าที่เกี่ยวกับการเงินและการบัญชีทั้งปวงให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย การที่จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องประมาทเลินเล่อไม่ตรวจสอบ ทำให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหัวหน้าหมวดการเงินยักยอกเงินไปได้ จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3489/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหัวหน้าแผนกจากการละเลยหน้าที่จนเกิดการทุจริตของผู้ใต้บังคับบัญชา และการค้ำประกัน
จำเลยที่ 4 เป็นพนักงานของโจทก์ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกการเงินมีหน้าที่รับผิดชอบในการรับเงินและจ่ายเงินให้ถูกต้อง ตลอดจนการฝากเงิน ถอนเงินธนาคาร และรวบรวมเงินที่คงเหลือทุกวันส่งผู้ช่วยหัวหน้ากองบัญชีและการคลังฝ่ายการเงิน เพื่อตรวจสอบและเก็บรักษาไว้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นพนักงานการเงินของโจทก์และเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำเลยที่ 4 ได้ร่วมกันกระทำการทุจริตเงินที่ผ่านเข้ามาในแผนกการเงินตามสายงานหลายครั้งต่อเนื่อง กันเป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือน ทำให้เงินของโจทก์ขาดหายไปรวม 1,394,049.85 บาท วิธีการทุจริตส่วนใหญ่เป็นเรื่องรับเงินมาแล้วไม่ลงบัญชี ไม่ออกใบรับเงิน ทำหลักฐานว่านำเงินไปฝากธนาคารแต่ความจริงไม่ได้ฝาก พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เหล่านี้ถ้าหากจำเลยที่ 4 ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามคำสั่งของโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็ไม่อาจทุจริตได้ การที่จำเลยที่ 4 ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ตนมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติ จนเป็นเหตุให้เงินของโจทก์ขาดหายไปโดยการทุจริตของผู้ใต้บังคับบัญชาเช่นนี้เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 4 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 มาตรา 29บัญญัติให้ผู้ว่าการเป็นผู้บริหารกิจการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะกรรมการกำหนดและมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง มาตรา 30 บัญญัติว่า ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้ผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและเป็นผู้กระทำการแทนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ส่วนคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้นมาตรา 23 บัญญัติให้มีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลกิจการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนี้ การบริหารก็คือการปกครองและดำเนินการหรือการจัดการ และการฟ้องคดีในนามของนิติบุคคลก็คือการจัดการหรือการดำเนินการนั่นเอง หาใช่การควบคุมดูแลกิจการของนิติบุคคลไม่ อำนาจฟ้องในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงเป็นอำนาจของผู้ว่าการไม่ใช่อำนาจของคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผู้ว่าการของโจทก์จึงมีอำนาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีในนามของโจทก์ได้ เดิมโจทก์มีคำสั่งจ้างจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างรายวัน ต่อมาจึงได้มีคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของโจทก์ จำเลยที่ 7 ที่ 8 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าทำงาน เป็นลูกจ้างรายวัน เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการบรรจุและ แต่งตั้งเป็นพนักงานประจำแล้วมิได้มีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่อีก คดีได้ความว่าลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานจะต้อง ยื่นใบสมัครและ ทำสัญญาค้ำประกันอีก เช่นนี้ ที่จำเลยที่ 7 ที่ 8 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ไว้นั้น คู่สัญญามีเจตนา ให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ในฐานะลูกจ้างรายวันเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานประจำ ไม่ได้มีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่อีก และจำเลยที่ 2 ทำละเมิด ต่อโจทก์ในระหว่างเป็นพนักงานประจำ โจทก์จะนำสัญญาค้ำประกัน ดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะ ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไม่ได้
of 8