พบผลลัพธ์ทั้งหมด 224 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8799/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การพิสูจน์ทรัพย์สินและหนี้สินของลูกหนี้ร่วม, การสันนิษฐานภาวะล้มละลาย
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ดำเนินธุรกิจเพื่อหากำไร หากโจทก์ตรวจสอบทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ให้ดีก่อนฟ้องแล้ว โจทก์ย่อมทราบว่าจำเลยที่ 2 มีที่ดินที่จำนองแก่โจทก์อีก 5 แปลง ซึ่งสามารถยึดมาชำระหนี้จำนองและยังมีเงินเหลือที่จะนำมาชำระหนี้โจทก์ได้อีก ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด
การมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน แม้หนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดเป็นหนี้ร่วมและจำเลยที่ 2 มีทรัพย์สินเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้โจทก์ได้ทั้งหมดก็ตามแต่โจทก์สามารถเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ได้เต็มจำนวนเมื่อจำเลยที่ 1ไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 1มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(5)นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ไม่เคยติดต่อขอชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใดพฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย
การมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน แม้หนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดเป็นหนี้ร่วมและจำเลยที่ 2 มีทรัพย์สินเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้โจทก์ได้ทั้งหมดก็ตามแต่โจทก์สามารถเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ได้เต็มจำนวนเมื่อจำเลยที่ 1ไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 1มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(5)นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ไม่เคยติดต่อขอชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใดพฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกันตัวหลายคน: ลูกหนี้ร่วมหรือรับผิดตามส่วน
การที่ผู้ประกันหลายคนยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยผู้ประกันทุกคนรวมกันมายื่น ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวก็เพราะเห็นว่าหากผู้ประกันผิดสัญญาประกันหลักทรัพย์และหลักประกันด้วยบุคคลรวมกันแล้วเป็นเงินจำนวนเพียงพอที่จะบังคับเอาชำระหนี้ได้ตามสัญญาประกัน มิได้แยกให้ผู้ประกันแต่ละคนรับผิดภายในวงเงินที่ระบุราคาทรัพย์หรือราคาประกันเท่านั้น เป็นกรณีที่ผู้ประกันทุกคนร่วมกันยื่นขอปล่อยจำเลยชั่วคราว และศาลชั้นต้นตีราคาประกันของผู้ประกันทุกคนรวมกันในวงเงินที่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ทั้งในสัญญาประกันก็มีข้อความระบุให้ศาลมีอำนาจบังคับผู้ประกันให้ใช้เบี้ยปรับเต็มตามจำนวนในสัญญาประกัน ผู้ประกันทุกคนจึงต้องร่วมกันรับผิดตามจำนวนในสัญญาประกันอย่างลูกหนี้ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกันตัวหลายคน: ลูกหนี้ร่วมหรือรับผิดตามส่วน?
การที่ผู้ประกันหลายคนยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดย ผู้ประกันทุกคนรวมกันยื่นมา และที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อย จำเลยชั่วคราวก็เพราะเห็นว่าหากผู้ประกันผิดสัญญาประกัน หลักทรัพย์และหลักประกันด้วยบุคคลรวมกันแล้วเป็นเงินจำนวน เพียงพอที่จะบังคับเอาชำระหนี้ได้ตามสัญญาประกัน มิได้แยกให้ ผู้ประกันแต่ละคนรับผิดภายในวงเงินที่ระบุราคาทรัพย์หรือราคาประกันเท่านั้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ประกันทุกคนร่วมกันยื่นขอปล่อยจำเลย ชั่วคราว และศาลชั้นต้นตีราคาประกันของผู้ประกันทุกคนรวมกัน ในวงเงิน 500,000 บาท ทั้งในสัญญาประกันข้อ 6 ก็มีข้อความ ระบุให้ศาลมีอำนาจบังคับผู้ประกันให้ใช้เบี้ยปรับเต็มตามจำนวนในสัญญาประกัน ดังนั้น ผู้ประกันทุกคนจึงต้องร่วมกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกันหลายคนในสัญญาประกันตัว: ลูกหนี้ร่วมหรือไม่
การที่ผู้ประกันหลายคนยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยผู้ประกันทุกคนรวมกันมายื่น ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวก็เพราะเห็นว่าหากผู้ประกันผิดสัญญาประกันหลักทรัพย์และหลักประกันด้วยบุคคลรวมกันแล้วเป็นเงินจำนวนเพียงพอที่จะบังคับเอาชำระหนี้ได้ตามสัญญาประกัน มิได้แยกให้ผู้ประกันแต่ละคนรับผิดภายในวงเงินที่ระบุราคาทรัพย์หรือราคาประกันเท่านั้น เป็นกรณีที่ผู้ประกันทุกคนร่วมกันยื่นขอปล่อยจำเลยชั่วคราว และศาลชั้นต้นตีราคาประกันของผู้ประกันทุกคนรวมกันในวงเงินที่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ทั้งในสัญญาประกันก็มีข้อความระบุให้ศาลมีอำนาจบังคับผู้ประกันให้ใช้เบี้ยปรับเต็มตามจำนวนในสัญญาประกัน ผู้ประกันทุกคนจึงต้องร่วมกันรับผิดตามจำนวนในสัญญาประกันอย่างลูกหนี้ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2130/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกหนี้ร่วมเมื่ออีกฝ่ายก่อความเสียหาย ศาลไม่ถือว่าจำเลยต้องรับผิดหากมิได้มีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหาย
เดิมโจทก์จำเลยถูก ม. ฟ้องขับไล่ออกจากอาคารและที่ดินพิพาท ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่โจทก์ และบริวาร และให้จำเลยรื้อถอนอาคาร ในคดีดังกล่าว จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดี แต่ให้การว่าจำเลยยินยอม รื้อถอนอาคารพิพาทออกจากที่ดิน แต่มีเหตุขัดข้องเนื่องจาก โจทก์ไม่ยอมขนย้ายออกจากอาคารพิพาท เมื่อศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาก็มีเพียงโจทก์ที่อุทธรณ์ฎีกา ความเสียหาย เกิดขึ้นในคดีดังกล่าวโจทก์จึงเป็นผู้ก่อขึ้นเพียงฝ่ายเดียว จะใช้บังคับให้จำเลยร่วมรับผิดกับโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296 ได้ก็ต่อเมื่อ จำเลยมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นด้วยเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยและรับผิดร่วมกันในความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
ศาลชั้นต้นระบุในคำพิพากษาว่าจำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา และมิได้ระบุว่าได้มีการ ชี้สองสถานและกำหนดหน้าที่นำสืบไว้ ซึ่งตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การของ จำเลยที่ 5 ไว้ และได้ชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่คู่ความโต้เถียงกันทุกประเด็น ข้อผิดหลงดังกล่าวเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นระบุรายการแห่งคดีไม่ถูกต้องครบถ้วนเท่านั้น มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยให้เหตุผลในประเด็น แห่งคดีให้ครบถ้วนตามประเด็นข้อพิพาทที่คู่ความโต้แย้งกันไม่ จึงไม่เป็นข้อสาระสำคัญแห่งคดีที่จะทำให้ผลแห่ง คำพิพากษาเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น เมื่อความข้อนี้ปรากฏในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขใหม่ให้ถูกต้องได้เพราะมิใช่การแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย และเมื่อศาลอุทธรณ์ได้แก้ไขข้อผิดหลงดังกล่าวให้ถูกต้องแล้ว จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่อีก
เหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 ด้วยกันทั้งสองฝ่าย แม้ทั้งสองฝ่ายจะมิได้มีเจตนาหรือจงใจร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อได้ก่อความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 ล้วนมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าวด้วยกันทั้งหมด และเป็นความเสียหายเดียวกัน ผู้ทำละเมิดทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 ประกอบ มาตรา 291 จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุน ต้องร่วมรับผิดในความเสียหายทั้งหมดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยคนอื่น ๆ อย่างลูกหนี้ร่วม
เหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 ด้วยกันทั้งสองฝ่าย แม้ทั้งสองฝ่ายจะมิได้มีเจตนาหรือจงใจร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อได้ก่อความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 ล้วนมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าวด้วยกันทั้งหมด และเป็นความเสียหายเดียวกัน ผู้ทำละเมิดทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 ประกอบ มาตรา 291 จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุน ต้องร่วมรับผิดในความเสียหายทั้งหมดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยคนอื่น ๆ อย่างลูกหนี้ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 722/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรู้ร่วมคิดทำละเมิดและผิดสัญญาซื้อขาย การรับผิดของลูกหนี้ร่วม และการหักกลบลดหนี้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 สมรู้กันเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้เพื่อฟ้องคดีให้มีการยึดที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายออกขายทอดตลาดป้องกันมิให้โจทก์บังคับคดีให้จำเลยที่ 1 โอนขายให้ นับว่าเป็นการกระทำโดยจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหาย นอกจากจำเลยที่ 1 จะผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว ยังถือว่าได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ด้วย
จำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ ความเสียหายที่โจทก์ได้รับมีจำนวนเดียวกัน จำเลยทั้งสองจึงเป็นลูกหนี้ร่วมที่จะต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ โดยยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์จำนวน 9,500,000 บาท โจทก์ยอมรับและไม่ติดใจเรียกร้องหนี้ตามคำพิพากษาจากจำเลยที่ 2 อีก จำเลยที่ 2 ขอถอนอุทธรณ์เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 ศาลอุทธรณ์อนุญาต ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วจำนวน 9,500,000 บาท จำเลยที่ 1 จึงหลุดพ้นจากหนี้จำนวนดังกล่าวด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 292 ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จึงต้องนำเอาราคาที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับหนี้ที่จำเลยที่ 2 ชำระให้แก่โจทก์แล้วมาหักออกจากราคาที่ดินที่ขายทอดตลาดได้ คงเหลือเป็นจำนวนค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามพฤติการณ์จำเลยที่ 1 คาดเห็นแล้วว่าหากจำเลยที่ 1 ไม่โอนขายที่ดินให้โจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายคือไม่สามารถนำที่ดินที่จะซื้อไปขายได้ ค่าเสียหายของโจทก์ก็คือเงินกำไรจากการขายที่ดินดังกล่าว
จำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ ความเสียหายที่โจทก์ได้รับมีจำนวนเดียวกัน จำเลยทั้งสองจึงเป็นลูกหนี้ร่วมที่จะต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ โดยยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์จำนวน 9,500,000 บาท โจทก์ยอมรับและไม่ติดใจเรียกร้องหนี้ตามคำพิพากษาจากจำเลยที่ 2 อีก จำเลยที่ 2 ขอถอนอุทธรณ์เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 ศาลอุทธรณ์อนุญาต ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วจำนวน 9,500,000 บาท จำเลยที่ 1 จึงหลุดพ้นจากหนี้จำนวนดังกล่าวด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 292 ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จึงต้องนำเอาราคาที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับหนี้ที่จำเลยที่ 2 ชำระให้แก่โจทก์แล้วมาหักออกจากราคาที่ดินที่ขายทอดตลาดได้ คงเหลือเป็นจำนวนค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามพฤติการณ์จำเลยที่ 1 คาดเห็นแล้วว่าหากจำเลยที่ 1 ไม่โอนขายที่ดินให้โจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายคือไม่สามารถนำที่ดินที่จะซื้อไปขายได้ ค่าเสียหายของโจทก์ก็คือเงินกำไรจากการขายที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ค้ำประกันในการยกอายุความหนี้ของห้างหุ้นส่วน แม้มีข้อตกลงเป็นลูกหนี้ร่วม
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1272 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องเรียกหนี้สินเฉพาะที่ห้างหุ้นส่วนหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นลูกหนี้อยู่ในฐานเช่นนั้นเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีก็ตาม แต่มาตรา 694 ก็ได้บัญญัติไว้อีกว่า นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันหรือจำเลยมีต่อเจ้าหนี้หรือโจทก์นั้นท่านว่าผู้ค้ำประกันอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้หรือห้างดังกล่าวมีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย ดังนั้น ข้อสัญญาตามหนังสือค้ำประกันที่ระบุว่าจำเลยผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งเป็นลูกหนี้ในหนี้สินที่ลูกหนี้ยังคงมีอยู่ต่อธนาคารโจทก์ ย่อมหาทำให้จำเลยผู้ค้ำประกันเปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้นและหมดสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ซึ่งห้างลูกหนี้มีต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ตามมาตรา 694 ไม่ จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของห้างจึงชอบที่จะยกอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1272 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ และเมื่อนับแต่วันอันเป็นวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีของห้างจนถึงวันฟ้อง เกินกำหนด2 ปี แล้ว ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันร่วม: ความรับผิดชอบของลูกหนี้ร่วม, อัตราดอกเบี้ย, และการบังคับคดี
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันการกู้เงินและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เพียงรายเดียว ซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันทำโดยมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันคือ ร่วมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันซึ่งรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม มิใช่ต่างคนต่างรับผิดชำระคนละส่วนเท่า ๆ กัน สัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นการทำตราสารในเรื่องเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกันไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติของประมวลรัษฎากร มาตรา 108ที่จะต้องปิดแสตมป์แยกกันเป็นรายบุคคลหรือคนละ 10 บาททั้งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ที่กำหนดลักษณะแห่งตราสารท้ายประมวลรัษฎากร ก็ยังกำหนดไว้ว่าสำหรับการค้ำประกันนั้นข้อ 17(ง) ค้ำประกันสำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาท ขึ้นไปกำหนดค่าอากรแสตมป์ 10 บาท เมื่อสัญญาค้ำประกันดังกล่าวปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ครบถ้วนแล้ว จึงเป็นเอกสารที่ชอบและใช้เป็นพยานหลักฐานได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 ย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1อย่างลูกหนี้ร่วม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 กำหนดให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเว้นแต่เจ้าหนี้อาจเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นโดยชอบ โจทก์ประกอบธุรกิจธนาคารมีสิทธิ คิดดอกเบี้ยจากผู้มาติดต่อขอสินเชื่อจากธนาคารได้ตามกฎหมายซึ่งกำหนดขึ้นโดยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์พ.ศ. 2505 ดอกเบี้ยระหว่างจำเลยผิดนัดอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปีจึงกำหนดขึ้นตามกฎหมายมิใช่เป็นการกำหนดขึ้นตามที่คู่สัญญาตกลงกัน อันจะมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลอาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ร่วม ผู้ค้ำประกัน และผลของการชำระหนี้บางส่วน
โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงความเป็นไปที่จำเลยทั้งสองเข้าผูกพันในเช็คร่วมกับผู้ออกเช็ค ตลอดจนการรับชำระหนี้โดยระบุจำนวนและลำดับการชำระหนี้ไว้ชัดแจ้งแล้ว ส่วนข้อที่ว่าในการบังคับชำระหนี้ตามลำดับดังกล่าวนั้นจะถูกต้องหรือกระทำโดยอาศัยสิทธิตามกฎหมายหรือไม่อย่างไรนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบและเป็นปัญหาข้อกฎหมายศาลจะต้องวินิจฉัยปรับบทชี้ขาดต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ท. เป็นผู้ค้ำประกันที่ยอมผูกพันตนต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ตามบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้นเหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของ ท. จะเป็นผลให้จำเลยที่ 1ในฐานะลูกหนี้หลุดพ้นไปด้วยนั้นย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 685 คือ จะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ ท. ได้ชำระหนี้ ส่วนหนี้ที่เหลือนั้นจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์การที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทน ท. ไปเท่าใดจึงถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดย ท. และมีผลให้จำเลยที่ 1หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้นหนี้ส่วนที่ ทง ยังมิได้ชำระ แม้โจทก์จะไม่ติดใจเรียกร้องจาก ท. ไม่ว่าในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้รายเดียวกับที่ ท. ค้ำประกันจึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อ ท. โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้วทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อ ท. มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่ 2 ระงับไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340 และมาตรา 293 จำเลยที่ 2จึงหลุดพ้นไปด้วย