พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,913 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3008/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหลังล้มละลาย: ผู้ซื้อทรัพย์สินมีสิทธิเข้าเป็นเจ้าหนี้แทนโจทก์
เมื่อโจทก์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด โดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์โดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายเป็นการดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากการขายดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองและบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้
โจทก์ได้เสียค่าขึ้นศาลไว้แล้ว และการร้องสอดของผู้ร้องเพื่อเข้ามาแทนที่โจทก์เดิม การที่ผู้ร้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลอีกหรือไม่จะต้องพิจารณาว่าผู้ร้องได้เรียกร้องอะไรหรือไม่ด้วย เมื่อผู้ร้องขอเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์โดยไม่ได้เรียกร้องอะไรเพิ่มเติมอีก จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล
โจทก์ได้เสียค่าขึ้นศาลไว้แล้ว และการร้องสอดของผู้ร้องเพื่อเข้ามาแทนที่โจทก์เดิม การที่ผู้ร้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลอีกหรือไม่จะต้องพิจารณาว่าผู้ร้องได้เรียกร้องอะไรหรือไม่ด้วย เมื่อผู้ร้องขอเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์โดยไม่ได้เรียกร้องอะไรเพิ่มเติมอีก จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ในชั้นบังคับคดีหลังการล้มละลาย: ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลซ้ำ
ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยตามคำพิพากษาโดยซื้อจากการขายโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ในคดีล้มละลาย การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ในชั้นบังคับคดี ก็โดยอาศัยเหตุที่ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องพิพาทกับจำเลยในมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาจำนอง ซึ่งเป็นมูลหนี้ที่โจทก์กับจำเลยพิพาทกัน ทั้งการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี เพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่โดยอาศัยเหตุดังกล่าว มิได้เรียกร้องสิ่งใดขึ้นใหม่หรือเกินไปกว่าสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีอยู่ตามคำพิพากษา จึงไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลอีก ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันในคดีล้มละลาย เมื่อเจ้าหนี้รายอื่นยื่นคำขอรับชำระหนี้เต็มจำนวนแล้ว
เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เต็มจำนวนที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดแล้ว ดังนั้น หนี้ที่ผู้ค้ำประกันยื่นคำขอรับชำระหนี้จึงมิใช่จำนวนหนี้ที่แท้จริงที่ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันย่อมหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 101 วรรคหนึ่งตอนท้ายและวรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของผู้ค้ำประกันที่เจ้าหนี้รายอื่นยื่นคำขอรับชำระหนี้เต็มจำนวนแล้ว
กรณีของเจ้าหนี้เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ขอใช้สิทธิที่ตนจะต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ต่อเจ้าหนี้ของลูกหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันอันเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 101 แม้เจ้าหนี้ถูกฟ้องต่อศาลแพ่งและศาลแพ่งมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชำระหนี้แล้ว ผลของคดีแพ่งก็ไม่กระทบถึงสิทธิของบรรดาเจ้าหนี้ในการยื่นคำขอรับชำระหนี้แต่อย่างใดในเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เพราะในที่สุดกฎหมายบังคับให้เจ้าหนี้รายใดของลูกหนี้ที่ไม่มีกฎหมายยกเว้นไว้ก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ของลูกหนี้ได้ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เต็มจำนวนที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดแล้ว ดังนั้น หนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้มาจึงมิใช่จำนวนหนี้ที่แท้จริงที่เจ้าหนี้จะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เจ้าหนี้ย่อมหมดสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 101 วรรคหนึ่งตอนท้ายและวรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2771/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีแพ่งเมื่อมีการฟ้องล้มละลาย และเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้ว
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ได้ก็แต่โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น เมื่อจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและโจทก์ในคดีนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้แล้ว ทั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ประสงค์จะเข้าว่าคดี หากศาลฎีกาจะพิจารณาพิพากษาคดีไปในชั้นนี้และในที่สุดโจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยเป็นฝ่ายชนะคดี ก็ไม่ผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาลในคดีล้มละลาย นอกจากนี้การอ้างสิทธิในการหักกลบลบหนี้ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ย่อมดำเนินการได้ในคดีล้มละลายอยู่แล้วตามมาตรา 102 การที่จะพิจารณาคดีนี้ต่อไปจึงไม่เป็นประโยชน์ กรณีเช่นนี้มาตรา 25 ให้อำนาจศาลที่จะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ ศาลฎีกาจึงให้จำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2707/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาที่ต้องบังคับคดีตามลำดับ หากยังไม่สามารถบังคับเอารถได้ ยังไม่ถือเป็นหนี้ที่จำนวนแน่นอนตามกฎหมายล้มละลาย
หนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายศาลพิพากษาให้จำเลยส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ หากคืนรถไม่ได้จึงให้จำเลยใช้ราคารถเป็นเงิน 800,000 บาท เป็นการกำหนดขั้นตอนการบังคับคดีไว้ซึ่งโจทก์จะต้องบังคับคดีไปตามลำดับในคำพิพากษา ไม่ปรากฏว่าการบังคับเอากับตัวรถยนต์ที่เช่าซื้อไม่สามารถกระทำได้ ซึ่งหากการคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อยังสามารถที่จะกระทำได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้ราคาใช้แทน จึงไม่แน่ชัดว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อจะมีหรือไม่ จึงเป็นหนี้ที่ยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2707/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาบังคับคดีตามลำดับ หากไม่สามารถบังคับเอารถคืนได้ จึงบังคับใช้ราคาแทน หนี้ยังไม่แน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
มูลหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งพิพากษาให้จำเลยกับพวกร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ หากส่งคืนไม่ได้ให้ร่วมกันใช้ราคาแทนเป็นเงิน 800,000 บาท เป็นเรื่องคำพิพากษากำหนดขั้นตอนการบังคับคดีไว้ ซึ่งโจทก์จะต้องบังคับคดีไปตามลำดับในคำพิพากษา โดยจะต้องบังคับให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนก่อน หากไม่สามารถบังคับเอารถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาได้จึงจะสามารถบังคับเอาราคาใช้แทนจำนวน 800,000 บาท ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าการบังคับเอากับตัวรถยนต์ที่เช่าซื้อไม่สามารถกระทำได้ เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการบังคับคดีตามลำดับในคำพิพากษา กรณีจึงไม่แน่ชัดว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อจะมีหรือไม่ จึงเป็นหนี้ที่ยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2704/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและการล้มละลาย: จำเลยไม่สามารถหักล้างข้อสันนิษฐานเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัวได้
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่านอกจากที่ดิน 3 แปลง ที่จำนองไว้แก่โจทก์แล้วจำเลยทั้งสองยังมีที่ดินโฉนดเลขที่ 27845 ตำบลลำพยา จังหวัดนครปฐม ราคาประเมิน 8,111,790 บาท จำเลยที่ 1 มีที่ดินอีก 2 แปลง โฉนดเลขที่ 22035 และ 23855 ตำบลโพรงมะเดื่อ จังหวัดนครปฐม ราคาประเมิน 198,775 บาท และ 418,700 บาท ตามลำดับ รวมราคาประเมิน 8,729,265 บาท หากซื้อขายในท้องตลาดที่ดินทั้งสามแปลงมีราคาไม่ต่ำกว่า 12,000,000 บาท ที่ดินทั้งสามแปลงมีภาระหนี้จำนองเหลืออยู่ 3,000,000 บาทเศษ ทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองมีมากกว่าหนี้สินสามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมดไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว นั้น ข้อเท็จจริงดังกล่าวจำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในศาลล้มละลายกลางแต่กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 28 ทั้งข้ออ้างของจำเลยทั้งสองเป็นประเด็นข้อสำคัญในคดีที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีล้มละลายของเจ้าหนี้มีประกัน ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10(2) โดยแสดงการสละหลักประกัน หรือจำนวนหนี้ที่ยังขาดอยู่
ปัญหาที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันได้บรรยายฟ้องถูกต้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 (2) หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 247 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 28
จำเลยที่ 1 จำนองที่ดินไว้แก่โจทก์รวม 4 แปลง ขณะโจทก์ยื่นฟ้องสัญญาจำนองยังไม่ระงับ โจทก์จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในทางจำนองเป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6 การฟ้องคดีจึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 (2) คือต้องกล่าวมาในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ล้มละลายแล้วโจทก์จะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้วเงินยังขาดอยู่สำหรับจำเลยที่ 1 เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท แต่ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อความตามมาตรา 10 (2) ดังกล่าวแต่อย่างใด ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา
จำเลยที่ 1 จำนองที่ดินไว้แก่โจทก์รวม 4 แปลง ขณะโจทก์ยื่นฟ้องสัญญาจำนองยังไม่ระงับ โจทก์จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในทางจำนองเป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6 การฟ้องคดีจึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 (2) คือต้องกล่าวมาในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ล้มละลายแล้วโจทก์จะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้วเงินยังขาดอยู่สำหรับจำเลยที่ 1 เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท แต่ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อความตามมาตรา 10 (2) ดังกล่าวแต่อย่างใด ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับคดีหลังศาลสั่งล้มละลาย ผู้ประมูลซื้อสิทธิเรียกร้องมีสิทธิบังคับคดีแทนเจ้าหนี้เดิม
โจทก์ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองโดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ที่ดินของจำเลยที่ 2 อยู่ระหว่างประกาศขายทอดตลาด เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีภายในกำหนดสิบปีแล้ว โจทก์มีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์ที่ยึดไว้ให้เสร็จได้แม้จะเกินกำหนดสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา ต่อมาโจทก์ถูกศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นำสิทธิเรียกร้องของโจทก์คดีนี้ออกขายทอดตลาด ผู้ร้องเป็นผู้ประมูลซื้อสิทธิเรียกร้องรายนี้ได้ ผู้ร้องย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้รายนี้แทนโจทก์และกรณีมีความจำเป็นต้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดีเพื่อบังคับคดีต่อไปให้เสร็จสิ้นจึงร้องสอดเข้ามาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)