พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3170/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ล้างมลทินกระทบการเพิ่มโทษคดีเก่า: ศาลฎีกายกประเด็นเพื่อความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์
พ.ร.บ. ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนม พรรษา 60 พรรษาพ.ศ. 2530 มาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคมพ.ศ. 2530 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับโดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ จำเลยได้กระทำความผิดในคดีก่อนก่อนวันที่ 5 ธันวาคมพ.ศ. 2530 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ ดังนั้นจึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ แม้จำเลยมิได้ฎีกาในข้อนี้ แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6711/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้างมลทินตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินกระทบต่อการเพิ่มโทษในคดีซ้ำ
มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมพรรษา60 พรรษา พ.ศ. 2530 ให้ล้างมนทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับโดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆการล้างมลทินตามพระราชบัญญัตินี้มิได้จำกัดความผิดของผู้ต้องโทษไว้ผู้ต้องโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษจึงอยู่ในข่ายได้รับผลด้วยจำเลยพ้นโทษฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองไปก่อนวันที่5 ธันวาคม 2530 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจึงถือว่าจำเลยไม่เคยถูกลงโทษในความผิดนี้มาก่อน เพิ่มโทษจำเลยในคดีหลังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6711/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้างมลทินและการเพิ่มโทษ: ผลของ พ.ร.บ. ล้างมลทิน ต่อการเพิ่มโทษในความผิดซ้ำ
มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษาพ.ศ. 2530 ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ การล้างมลทินตามพระราชบัญญัติ นี้มิได้จำกัดความผิดของผู้ต้องโทษไว้ ผู้ต้องโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษจึงอยู่ในข่ายได้รับผลด้วยจำเลยพ้นโทษฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองไปก่อนวันที่ 5ธันวาคม 2530 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจึงถือว่าจำเลยไม่เคยถูกลงโทษในความผิดนี้มาก่อน เพิ่มโทษจำเลยในคดีหลังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5864/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างหลังได้รับการล้างมลทินทางวินัย: ผลของการตักเตือนเป็นหนังสือที่มีอยู่เดิม
เมื่อปี พ.ศ.2527 โจทก์ถูกลงโทษด้วยการลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้นและถูกตักเตือนเป็นหนังสือ ได้รับการล้างมลทินตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ.2530 เฉพาะการถูกลดขั้นเงินเดือนซึ่งเป็นโทษทางวินัยที่ได้รับไปแล้วเท่านั้น ส่วนการตักเตือนเป็นหนังสือซึ่งตามข้อบังคับของจำเลยมิได้ถือเป็นโทษ จึงไม่ได้รับการล้างมลทิน ต้องถือว่าการที่โจทก์เคยถูกตักเตือนเป็นหนังสือยังมีอยู่ การที่โจทก์มากระทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยคือในปี พ.ศ.2529 แต่ไม่ได้รับการล้างมลทินเพราะยังไม่ถูกลงโทษ เมื่อจำเลยพบการกระทำผิดหลังจากที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับแล้วก็นำเหตุดังกล่าวมาลงโทษให้โจทก์ออก จากงานตามข้อบังคับของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5864/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้างมลทินทางวินัยกับการเลิกจ้าง: การพิจารณาโทษทางวินัยที่ได้รับการล้างมลทินแล้วและการลงโทษซ้ำ
เมื่อปี พ.ศ. 2527 โจทก์ถูกลงโทษด้วยการลดขั้นเงินเดือน1 ขั้น และถูกตักเตือนเป็นหนังสือ ได้รับการล้างมลทินตามมาตรา 5แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ. 2530 เฉพาะการถูกลดขั้นเงินเดือนซึ่งเป็นโทษทางวินัยที่ได้รับไปแล้วเท่านั้นส่วนการตักเตือนเป็นหนังสือซึ่งตามข้อบังคับของจำเลยมิได้ถือเป็นโทษ จึงไม่ได้รับการล้างมลทิน ต้องถือว่าการที่โจทก์เคยถูกตักเตือนเป็นหนังสือยังมีอยู่ การที่โจทก์มา กระทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยอีกในปี พ.ศ. 2529 แต่ไม่ได้รับการล้างมลทินเพราะยังไม่ถูกลงโทษ เมื่อจำเลยพบการกระทำผิดหลังจากที่พระราชบัญญัติ ดังกล่าวใช้บังคับแล้วก็นำเหตุดังกล่าวมาลงโทษให้โจทก์ออกจากงานตามข้อบังคับของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกระทำความผิดพาตัวผู้เสียหายไปอนาจาร พยานผู้เสียหายให้การยืนยัน และผลกระทบจาก พ.ร.บ. ล้างมลทิน
โจทก์มีพยานคือผู้เสียหายเพียงปากเดียวที่เบิกความถึงการกระทำของจำเลย แต่ก็มีน้ำหนักน่าเชื่อเพราะเหตุเกิดเวลากลางวัน พยานมีโอกาสได้เห็นคนร้ายได้ชัดเจน และเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยมา ได้ให้ผู้เสียหายดูตัวผู้เสียหายก็ยืนยันในทันทีว่า จำเลยเป็นคนที่ร่วมกับคนร้ายช่วยฉุดพาผู้เสียหายลงเรือ ทั้งไม่มีเหตุที่จะพึงระแวงว่าผู้เสียหายปรักปรำใส่ร้ายจำเลย จึงเชื่อได้ว่าได้เบิกความไปตามที่ได้รู้เห็นจริง
คำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนไม่ได้รับสารภาพผิด เพียงแต่อ้างว่าจำเลยอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วยเท่านั้น คำให้การดังกล่าวย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ศาลจึงไม่ลดโทษให้
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ. ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมพรรษา60 พรรษา พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ ซึ่งล้างมลทินโทษจำเลยที่เคยต้องคำพิพากษาและพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จึงเพิ่มโทษและกักกันจำเลยไม่ได้
ศาลล่างพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 โดยมิได้ระบุวรรคนั้น ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนไม่ได้รับสารภาพผิด เพียงแต่อ้างว่าจำเลยอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วยเท่านั้น คำให้การดังกล่าวย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ศาลจึงไม่ลดโทษให้
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ. ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมพรรษา60 พรรษา พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ ซึ่งล้างมลทินโทษจำเลยที่เคยต้องคำพิพากษาและพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จึงเพิ่มโทษและกักกันจำเลยไม่ได้
ศาลล่างพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 โดยมิได้ระบุวรรคนั้น ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษและล้างมลทินในคดีจำหน่ายยาเสพติด โดยพิจารณาจากพฤติการณ์และกฎหมายพิเศษ
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ ฉบับนี้บัญญัติว่าให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคมพ.ศ. 2530 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆปรากฏว่า ความผิดฐานมีเฮโรอีนที่โจทก์ถือเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษจำเลยนั้น จำเลยได้กระทำก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2530 และได้พ้นโทษไปแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2526 ก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับดังนี้จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3087/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประโยชน์จาก พรบ.ล้างมลทิน ส่งผลต่อการเพิ่มโทษจำเลยในคดีชิงทรัพย์ แม้เคยต้องโทษมาก่อน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานชิงทรัพย์ จำคุกคนละ10 ปี เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 หนึ่งในสามเป็นจำคุก 13 ปี 4 เดือน เพิ่มโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 93 กึ่งหนึ่งเป็นจำคุก 15 ปีจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามมาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 7 ปี 6 เดือนจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยที่ 1 ฎีกาปรากฏว่าจำเลยทั้งสองพ้นโทษในคดีก่อนที่เป็นเหตุเพิ่มโทษก่อนวันที่ 6 เมษายน 2525 ไปแล้ว จึงได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ.2526 ถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นมาก่อน และเหตุดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะคดีมีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ไม่มีฝ่ายใดฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 จึงเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3087/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประโยชน์จาก พรบ.ล้างมลทิน ทำให้จำเลยไม่ต้องรับโทษเพิ่มจากประวัติอาชญากรรมเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานชิงทรัพย์ จำคุกคนละ10 ปี เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 หนึ่งในสามเป็นจำคุก 13 ปี 4 เดือน เพิ่มโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 93กึ่งหนึ่งเป็นจำคุก 15 ปีจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามมาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 2มีกำหนด 7 ปี 6 เดือนจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยที่ 1 ฎีกาปรากฏว่าจำเลยทั้งสองพ้นโทษในคดีก่อนที่เป็นเหตุเพิ่มโทษก่อนวันที่ 6 เมษายน 2525ไปแล้วจึงได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์200ปีพ.ศ.2526 ถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นมาก่อนและเหตุดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะคดีมีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ไม่มีฝ่ายใดฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 จึงเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3141/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของพ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษผู้ต้องโทษเดิม
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติล้างมลทิน ในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พ.ศ.๒๕๒๖มาตรา ๔ ประกาศใช้บังคับ มีผลให้ล้างมลทินแก่จำเลยที่๑ ซึ่งได้พ้นโทษไปแล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับจึงเพิ่มโทษจำเลยที่ ๑ ไม่ได้ แม้จำเลยที่ ๑มิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชนศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้