พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3728/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินเพิ่มจูงใจไม่ใช่ค่าจ้าง ไม่นำมารวมคำนวณค่าจ้างในวันหยุด
เงินเพิ่มจูงใจเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้เป็นกำลังใจในการทำงาน เป็นเงินรางวัลตอบแทนความดีของลูกจ้าง ไม่มีลักษณะเป็นค่าจ้าง จึงไม่อาจนำมารวมกับเงินค่าจ้างและค่าครองชีพเพื่อเฉลี่ยเป็นค่าจ้างให้โจทก์ในวันหยุดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับวันลาพักผ่อนประจำปี: ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงาน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยข้อพิพาทแรงงานของจำเลยเกี่ยวกับการนับวันลาพักผ่อน อ้างว่าระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยให้การว่าระเบียบนั้นไม่ขัดต่อกฎหมาย คำวินิจฉัยของจำเลยชอบแล้ว ปัญหาว่าคำวินิจฉัยของจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จึงต้องวินิจฉัยว่าระเบียบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคขัดต่อกฎหมายหรือไม่ มิใช่วินิจฉัยเพียงว่าจำเลยวินิจฉัยตรงตามระเบียบดังกล่าวแล้วจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ การกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างเป็นอำนาจของนายจ้างดังนั้น การที่ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยการลาของพนักงานฯ กำหนดให้พนักงานต้องยื่นใบลาจึงเห็นได้ว่าเพื่อให้การกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้พนักงานตรงกับความประสงค์ของพนักงานแต่ละคนยิ่งขึ้น และตามระเบียบก็ไม่ถือว่าวันลาพักผ่อนประจำปีเป็นวันลา ฉะนั้นวันลาพักผ่อนประจำปีก็คือวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั่นเอง
การที่ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยการลาของพนักงานฯให้นับวันหยุดประจำสัปดาห์เข้าเป็นวันลาด้วยนั้น ไม่มีผลทำให้พนักงานไม่มีวันหยุดประจำสัปดาห์เหลืออยู่เลยเพราะหากพนักงานเลือกหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นช่วงๆ ไม่ให้คร่อมวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดประจำสัปดาห์ก็คงเหลืออยู่บริบูรณ์ ส่วนในกรณีพนักงานเลือกหยุดพักผ่อนประจำปีให้คร่อมวันหยุดประจำสัปดาห์ พนักงานก็ยังเหลือวันหยุดพักผ่อนประจำปี8 วันทำงาน สูงกว่าขั้นต่ำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ซึ่งกำหนดไว้ 6 วันทำงาน และสิทธิที่พนักงานมีตามประกาศฯ ดังกล่าว เป็นสิทธิที่จะหยุดพักผ่อนประจำปีได้ไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน หาใช่สิทธิที่จะหยุดพักผ่อนประจำปีในวันทำงานโดยไม่จำกัดจำนวนวันไม่
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ การกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างเป็นอำนาจของนายจ้างดังนั้น การที่ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยการลาของพนักงานฯ กำหนดให้พนักงานต้องยื่นใบลาจึงเห็นได้ว่าเพื่อให้การกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้พนักงานตรงกับความประสงค์ของพนักงานแต่ละคนยิ่งขึ้น และตามระเบียบก็ไม่ถือว่าวันลาพักผ่อนประจำปีเป็นวันลา ฉะนั้นวันลาพักผ่อนประจำปีก็คือวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั่นเอง
การที่ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยการลาของพนักงานฯให้นับวันหยุดประจำสัปดาห์เข้าเป็นวันลาด้วยนั้น ไม่มีผลทำให้พนักงานไม่มีวันหยุดประจำสัปดาห์เหลืออยู่เลยเพราะหากพนักงานเลือกหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นช่วงๆ ไม่ให้คร่อมวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดประจำสัปดาห์ก็คงเหลืออยู่บริบูรณ์ ส่วนในกรณีพนักงานเลือกหยุดพักผ่อนประจำปีให้คร่อมวันหยุดประจำสัปดาห์ พนักงานก็ยังเหลือวันหยุดพักผ่อนประจำปี8 วันทำงาน สูงกว่าขั้นต่ำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ซึ่งกำหนดไว้ 6 วันทำงาน และสิทธิที่พนักงานมีตามประกาศฯ ดังกล่าว เป็นสิทธิที่จะหยุดพักผ่อนประจำปีได้ไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน หาใช่สิทธิที่จะหยุดพักผ่อนประจำปีในวันทำงานโดยไม่จำกัดจำนวนวันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2487/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่งานต่อเนื่อง แม้มีวันหยุดคั่น นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 47ที่กำหนดให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำ ที่ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันนั้นมุ่งหมายมิให้ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ครั้งเดียวกันหลายวันทำงานฉะนั้น เมื่อลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ในวันที่ 18, 19, 20, 21, 22และ 23 แม้วันที่ 19, 21 และ 22 จะเป็นวันหยุดก็ตาม ก็เป็นการละทิ้งหน้าที่ครั้งเดียวกัน ความเสียหายของนายจ้างไม่น้อยไปกว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่สามวันทำงานโดยไม่มีวันหยุดคั่นจึงถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ตามประกาศดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2487/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่งานต่อเนื่อง แม้มีวันหยุดคั่น ก็ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47ที่กำหนดให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำ ที่ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันนั้นมุ่งหมายมิให้ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ครั้งเดียวกันหลายวันทำงาน ฉะนั้น เมื่อลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ในวันที่ 18,19,20,21,22 และ 23 แม้วันที่ 19,21 และ22 จะเป็นวันหยุดก็ตาม ก็เป็นการละทิ้งหน้าที่ครั้งเดียวกัน ความเสียหายของนายจ้างไม่น้อยไปกว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่สามวันทำงานโดยไม่มีวันหยุดคั่นจึงถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ตามประกาศดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นคำให้การ: วันสิ้นสุดระยะเวลาที่ขยายแล้วเริ่มนับจากวันถัดจากวันสุดท้ายของระยะเวลาเดิม แม้จะเป็นวันหยุด
ระยะเวลาสิ้นสุดลงในวันหยุดราชการแต่ศาลสั่งให้ขยายออกไปอีก 5 วัน ต้องเริ่มในวันถัดไป ไม่คำนึงว่าวันสุดท้ายของระยะเวลาเดิมเป็นวันหยุดราชการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2275/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามคำสั่งศาลทุเลาการบังคับคดี: การวางหลักทรัพย์และข้อยกเว้นวันหยุด
การขอทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่ง อนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดีแล้ว ก็เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะ คู่ความจะฎีกาต่อไปไม่ได้แต่เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งแล้ว คู่ความได้ปฏิบัติถูกต้องตามคำสั่งหรือไม่นั้น มิใช่เป็นคำสั่งในเรื่องการทุเลาการบังคับคดี คู่ความชอบที่จะฎีกาได้
ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟัง เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2520 โดยกำหนดให้จำเลยนำหลักทรัพย์มาวางศาล ศาลชั้นต้นได้นัดพิจารณาหลักทรัพย์ถึง 3 ครั้ง จนเป็นที่พอใจ และจำเลยได้นำหนังสือค้ำประกันยื่นต่อศาลเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2520 ล่วงพ้นเวลาที่จำเลยจะต้องนำเงินค่าเสียหายรายเดือน ๆ แรกตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์มาวางศาล การที่จำเลยนำเงินค่าเสียหายเดือนแรกและเดือนต่อไป (เดือนตุลาคมและพฤศจิกายน) รวม 2 เดือนมาวางในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2520 เนื่องจากวันที่ 5 และ 6 ตรงกับวันหยุดราชการ จึงเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามคำสั่งเรื่องทุเลาการบังคับคดีของศาลอุทธรณ์แล้ว
ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟัง เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2520 โดยกำหนดให้จำเลยนำหลักทรัพย์มาวางศาล ศาลชั้นต้นได้นัดพิจารณาหลักทรัพย์ถึง 3 ครั้ง จนเป็นที่พอใจ และจำเลยได้นำหนังสือค้ำประกันยื่นต่อศาลเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2520 ล่วงพ้นเวลาที่จำเลยจะต้องนำเงินค่าเสียหายรายเดือน ๆ แรกตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์มาวางศาล การที่จำเลยนำเงินค่าเสียหายเดือนแรกและเดือนต่อไป (เดือนตุลาคมและพฤศจิกายน) รวม 2 เดือนมาวางในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2520 เนื่องจากวันที่ 5 และ 6 ตรงกับวันหยุดราชการ จึงเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามคำสั่งเรื่องทุเลาการบังคับคดีของศาลอุทธรณ์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: ยื่นฟ้องหลังวันหยุดราชการ ศาลรับได้
อายุความคดีละเมิด 1 ปี ครบกำหนดวันที่ 8 ซึ่งเป็นวันเสาร์โจทก์ยื่นฟ้องวันจันทร์ที่ 10 ดังนี้ ไม่ขาดอายุความ ศาลรู้เองตามปฏิทินว่าเป็นวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ โดยโจทก์ไม่ต้องเบิกความถึง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาตามหนังสือแจ้งให้ส่งโฉนดที่ดิน: เริ่มนับวันถัดจากวันที่ได้รับหนังสือ และวันหยุดราชการ
จำเลยได้รับหนังสือของเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อวันที่ 8 ธันวาคมให้จำเลยส่งโฉนดที่ดินภายในกำหนด 15 วัน การนับระยะเวลา ในกรณีนี้ ต้องนับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158 ซึ่งห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วย เว้นแต่จะเริ่มทำการในวันนั้นเองตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มทำการงานกันตามประเพณี เมื่อไม่มีประเพณีเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้กำหนด 15 วันจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคมและครบกำหนดในวันที่ 23 ธันวาคม ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ จำเลยจึงยังมีสิทธินำส่งในวันที่ 24 ธันวาคม อันเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ได้อีกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา161 ดังนี้ จำเลยจึงมิได้กระทำผิดในวันที่ 23 ธันวาคม ดังที่โจทก์ฟ้อง เพราะยังไม่ล่วงพ้นระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้จำเลยส่ง (อ้างฎีกาที่ 235/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาตามหนังสือแจ้งให้ส่งเอกสาร: เริ่มนับวันถัดจากวันที่ได้รับ และวันหยุดสุดสัปดาห์
จำเลยได้รับหนังสือของเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อวันที่ 8 ธันวาคมให้จำเลยส่งโฉนดที่ดินภายในกำหนด 15 วัน การนับระยะเวลา ในกรณีนี้ ต้องนับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158 ซึ่งห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วย เว้นแต่จะเริ่มทำการในวันนั้นเองตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่ม ทำการงานกันตามประเพณี เมื่อไม่มีประเพณีเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้กำหนด 15 วันจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคมและครบกำหนดในวันที่ 23 ธันวาคม ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ จำเลยจึงยังมีสิทธิ นำส่งในวันที่ 24 ธันวาคม อันเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ได้อีก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา161 ดังนี้ จำเลย จึงมิได้กระทำผิดในวันที่ 23 ธันวาคม ดังที่โจทก์ฟ้องเพราะ ยังไม่ล่วงพ้นระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้จำเลยส่ง (อ้างฎีกาที่ 235/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่เจ้าหน้าที่แรงงานตามประกาศ คณะปฏิวัติ และ พ.ร.บ. ระงับข้อพิพาทแรงงาน การจ่ายค่าจ้างทำงานวันหยุด
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2501 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ. 2499ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน พ.ศ. 2508มาตรา 3 ให้ยกเลิกข้อ 4 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 แล้วบัญญัติวิธีระงับข้อพิพาทแรงงานขึ้นใหม่ ส่วนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ข้อ 2 และข้อ 7 ที่ให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจกำหนดเวลาทำงานวันหยุดงานของลูกจ้าง ฯลฯ ตลอดจนการสั่งให้นายจ้างปฏิบัติตามข้อกำหนดของกระทรวงมหาดไทย ตามความในข้อ 2ยังมีผลใช้บังคับอยู่และเป็นกรณีข้อมูลคนละเรื่องกับพระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน พ.ศ. 2508 เพราะกฎหมายฉบับนี้มีหลักการว่าด้วยการกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงานและให้ยกเลิกเฉพาะในข้อ 4 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 เท่านั้น
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ได้กำหนดเวลาทำงานของลูกจ้างในงานอุตสาหกรรมว่า โดยปกติจะเกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมงไม่ได้นั้นไม่ได้หมายความว่าลูกจ้างต้องทำงานจนครบสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมงเมื่อลูกจ้างได้ทำงานตามวันเวลาที่ตกลงจ้างกันแล้ว แม้เวลาทำงานไม่ครบ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นายจ้างก็มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้ตามอัตราที่ตกลงกัน ถ้านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดงาน นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างอีกเป็นพิเศษตามที่กฎหมายบังคับไว้นายจ้างไม่มีสิทธิที่จะหักชั่วโมงทำงานในวันหยุดงานไปชดเชยชั่วโมงทำงานในวันทำงานตามปกติที่ยังไม่ครบสัปดาห์ 48 ชั่วโมงให้ครบสัปดาห์ 48 ชั่วโมง แม้ลูกจ้างจะตกลงยินยอมด้วยก็ไม่มีผลบังคับเพราะเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ได้กำหนดเวลาทำงานของลูกจ้างในงานอุตสาหกรรมว่า โดยปกติจะเกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมงไม่ได้นั้นไม่ได้หมายความว่าลูกจ้างต้องทำงานจนครบสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมงเมื่อลูกจ้างได้ทำงานตามวันเวลาที่ตกลงจ้างกันแล้ว แม้เวลาทำงานไม่ครบ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นายจ้างก็มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้ตามอัตราที่ตกลงกัน ถ้านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดงาน นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างอีกเป็นพิเศษตามที่กฎหมายบังคับไว้นายจ้างไม่มีสิทธิที่จะหักชั่วโมงทำงานในวันหยุดงานไปชดเชยชั่วโมงทำงานในวันทำงานตามปกติที่ยังไม่ครบสัปดาห์ 48 ชั่วโมงให้ครบสัปดาห์ 48 ชั่วโมง แม้ลูกจ้างจะตกลงยินยอมด้วยก็ไม่มีผลบังคับเพราะเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน