คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วันหยุดราชการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาการยื่นคำให้การ: ผลของการนับวันและวันหยุดราชการ
แม้วันสุดท้ายที่จำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การได้คือวันที่ 29 มิถุนายน 2518(ตรงกับวันอาทิตย์หยุดราชการ) แต่เมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลา 5 วันโดยมิได้ระบุว่านับแต่วันใดจึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิมโดยไม่คำนึงว่าวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาเดิมจะเป็นวันหยุดราชการหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิด: วันหยุดราชการมีผลต่อการนับอายุความ
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2516 ฉะนั้นอายุความเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแก่มูลละเมิดซึ่งมี 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์นั้น จึงครบกำหนดในวันที่ 2 มีนาคม 2517 แต่ปรากฎว่าวันที่ 2 และวันที่ 3 มีนาคม 2517 ตรงกับวันเสาร์และวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีในวันที่ 4 มีนาคม 2517 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 และข้อเท็จจริงที่ว่าวันที่ 2 และวันที่ 3 มีนาคม 2517 เป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดราชการนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันทั่วไป ศาลรู้ได้เองและหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้คู่ความไม่จำเป็นต้องนำสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิด: วันหยุดราชการขยายเวลาฟ้องได้
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม2516 ฉะนั้นอายุความเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแก่มูลละเมิดซึ่งมี 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น จึงครบกำหนดในวันที่ 2 มีนาคม2517 แต่ปรากฏว่าวันที่ 2 และวันที่ 3 มีนาคม 2517 ตรงกับวันเสาร์และวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีในวันที่ 4 มีนาคม 2517 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 และข้อเท็จจริงที่ว่าวันที่ 2 และวันที่ 3 มีนาคม 2517 เป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดราชการนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันทั่วไป ศาลรู้ได้เองและหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ คู่ความไม่จำเป็นต้องนำสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องอาญา: การนับวันหยุดราชการและสิทธิฟ้องเองของผู้เสียหาย
กำหนดเวลาที่ให้ผู้เสียหายร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิฉะนั้นจะเป็นอันขาดอายุความนั้น เป็นบทบัญญัติสำหรับกรณีที่ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ฯลฯ แต่ถ้าผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์เสียก่อน จะใช้สิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลด้วยตนเองก็ย่อมกระทำได้ภายในกำหนดระยะเวลาเดียวกัน แต่เมื่อวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเป็นวันหยุด ซึ่งตามประเพณีงดเว้นการงานท่านให้นับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 ดังนั้น การที่ระยะเวลาที่ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ในคดีนี้ได้สิ้นสุดลงในวันที่ 24 อันเป็นวันหยุดราชการ ผู้เสียหายยื่นฟ้องคดีต่อศาลในวันที่ 25ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องอาญา: การนับวันหยุดราชการและสิทธิฟ้องเองของผู้เสียหาย
กำหนดเวลาที่ให้ผู้เสียหายร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิฉะนั้นจะเป็นอันขาดอายุความนั้น เป็นบทบัญญัติสำหรับกรณีที่ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ฯลฯ แต่ถ้าผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์เสียก่อน จะใช้สิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลด้วยตนเองก็ย่อมกระทำได้ภายในกำหนดระยะเวลาเดียวกัน แต่เมื่อวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเป็นวันหยุด ซึ่งตามประเพณีงดเว้นการงาน ท่านให้นับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 ดังนั้น การที่ระยะเวลาที่ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ในคดีนี้ได้สิ้นสุดลงในวันที่ 24 อันเป็นวันหยุดราชการ ผู้เสียหายยื่นฟ้องคดีต่อศาลในวันที่ 25 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่พ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย และการนับวันหยุดราชการ
ศาลชั้นต้นประกาศคำบังคับโดยทางหนังสือเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2511 โดยกำหนดให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 28 ตุลาคม 2511 คำบังคับมีผลใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2511 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรค 2 ให้บังผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลา 15 วันล่วงพ้นไปแล้ว แต่คำขอให้พิจารณาใหม่ต้องยื่นภายใน 15 วันนับจากวันที่ส่งบังคับ ฉะนั้น เมื่อนับจากวันที่ 13 ตุลาคม 2511 ก็ครบกำหนดในวันที่ 27 ตุลาคม 2511 ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ จำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งใหม่ได้ภายในวันที่ 28 ตุลาคม 2511 แต่จำเลยยื่นคำร้องวันที่ 30ตุลาคม 2511
จำเลยทราบประกาศคำบังคับวันที่ 24 ตุลาคม 2511 สามารถยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ในวันที่ 25 ถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2511 ซึ่งอยู่ภายในระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติ จำเลยเคยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 25 ตุลาคม 2511 แต่คำร้องฉบับนั้นถูกศาลสั่งยกไปแล้ว จำเลยยืนคำร้องฉบับลงวันที่ 30 ตุลาคม 2511 พ้นระยะเวลาที่จะยื่นได้โดยไม่ได้แสดงเหตุแห่งการล่าช้า ศาลจึงไม่อาจรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาสัญญา: วันหยุดราชการขยายเวลาได้ตามกฎหมาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล ตกลงแบ่งที่พิพาทกันคนละครึ่ง จำเลยอมชดใช้ให้เงินโจทก์ 8,000 บาท โดยจะนำมาวางศาลภายในเดือนเมษายน 2509 หากจำเลยไม่นำเงินมาวางภายในเดือนเมษายน 2509 จำเลยยอมให้ที่พิพาททั้งหมดตกเป็นสิทธิของโจทก์ ดังนี้ เมื่อได้ความว่า วันสุดท้ายที่จำเลยมีโอกาสจะนำเงินมาวางศาลในคดีนี้คือวันที่ 30 เมษายน 2509 ตรงกับวันหยุดราชการ และเริ่มเปิดทำงานใหม่ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2509 จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำเงินมาวางศาลได้ในวันที่เปิดทำงานใหม่ตามมาตรา 161 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำเลยมิได้ผิดสัญญา สัญญาที่มีกำหนดเวลาดังเช่นนี้ย่อมมีวิธีการกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาดังที่บัญญัติไว้ในลักษณะ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาสัญญา: วันหยุดราชการขยายเวลาได้ตามกฎหมาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล ตกลงแบ่งที่พิพาทกันคนละครึ่ง จำเลยยอมชดใช้เงินให้โจทก์ 8,000 บาท โดยจะนำมาวางศาลภายในเดือนเมษายน 2509 หากจำเลยไม่นำเงินมาวางภายในเดือนเมษายน 2509 จำเลยยอมให้ที่พิพาททั้งหมดตกเป็นสิทธิของโจทก์ ดังนี้ เมื่อได้ความว่าวันสุดท้ายที่จำเลยมีโอกาสจะนำเงินมาวางศาลในคดีนี้คือวันที่ 30 เมษายน 2509 ตรงกับวันหยุดราชการและเริ่มเปิดทำงานใหม่ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2509 จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำเงินมาวางศาลได้ในวันที่เปิดทำงานใหม่ตามมาตรา 161 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำเลยมิได้ผิดสัญญาสัญญาที่มีกำหนดเวลาดังเช่นคดีนี้ย่อมมีวิธีการกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและวันสุดท้ายแห่ง ระยะเวลาดังที่บัญญัติไว้ในลักษณะ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนดเนื่องจากวันหยุดราชการ ศาลพิจารณาเจตนาและประโยชน์แห่งความยุติธรรม
่วัดสุดท้ายที่มีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยาน เป็นวันหยุดราชการซึ่งหยุดติดต่อกัน 3 วัน เมื่อครบกำหนดวันหยุด ผู้ร้องก็ยื่นบัญชีระบุพยานทันที แล้วนำพยานมาให้สืบในวันนัดด้วยนั้น เห็นได้ว่าผู้ร้องไม่จงใจฝ่าฝืน ฉะนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ควรให้รับบัญชีระบุพยานนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนดเนื่องจากวันหยุดราชการ ศาลใช้ดุลพินิจอนุญาตได้
วันสุดท้ายที่มีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานเป็นวันหยุดราชการซึ่งหยุดติดต่อกัน 3 วัน เมื่อครบกำหนดวันหยุดผู้ร้องก็ยื่นบัญชีระบุพยานทันทีแล้วนำพยานมาให้สืบในวันนัดด้วยนั้นเห็นได้ว่าผู้ร้องไม่จงใจฝ่าฝืนฉะนั้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ควรรับบัญชีระบุพยานนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)
of 5