คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วิธีพิจารณาความแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 120 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7009/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาด้วยพยานบุคคลขัดต่อหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ตามสัญญาจะซื้อจะขายไม่มีข้อความว่าจำเลยต้องจัดการให้ผู้เช่าขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่1 กันยายน 2533 การที่โจทก์อ้างและนำสืบว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญา เพราะไม่จัดการให้ผู้เช่าออกไปจากที่ดินพิพาท จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งโจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงทำสัญญาเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารเช่นนี้ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)ไม่อาจรับฟังตามที่โจทก์นำสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5710/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีร่วมกันของเจ้าของที่ดินหลายแปลง: ประเด็นวิธีพิจารณาความแพ่งที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
ปัญหาว่าโจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างและที่ดินคนละแปลง แต่ร่วมกันฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ เป็นวิธีการดำเนินคดี ไม่ใช่อำนาจฟ้อง จึงมิใช่ปัญหา อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ไว้ แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้จึงเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกโดยปิดที่ป้ายโรงเรียนในวันหยุดราชการ ไม่ถือเป็นการส่งโดยชอบตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โรงเรียนวัดหนองจิกไม่มีรั้วล้อมรอบ ป้ายชื่อโรงเรียนอยู่ติดถนนสายไปตลาดห้วยกระบอกซึ่งเป็นทางสาธารณะตัวอาคารเรียนอยู่ลึกเข้าไปข้างในสามารถเดินเข้าไปได้หน้าห้องธุรการโรงเรียนมีแผ่นป้ายสามารถปิดประกาศต่าง ๆ ได้ ดังนี้การปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่ป้ายโรงเรียนในวันหยุดราชการและไม่มีผู้ใดอยู่ย่อมหลุดหายไม่ถึงมีผู้รับได้โดยง่าย ถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งคำคู่ความโดยการปิดคำคู่ความ ณ สำนักทำการงานของจำเลยการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคแรกกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยและภายหลังแต่นั้นมาจึงเป็นการไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย ทั้งเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2787/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ชัดเจน ทำให้ฎีกาข้อใหม่ต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงประเด็นเดียวเท่านั้นไม่มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องจำเลยได้สิทธิครอบครองและโจทก์ขอออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบและไม่ปรากฏว่าจำเลยคัดค้านการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นดังกล่าวจึงถือว่าจำเลยพอใจในประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพียงประเด็นเดียวแม้จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้จริงดังที่จำเลยฎีกาก็ถือว่าจำเลยสละประเด็นเรื่องจำเลยได้สิทธิครอบครองและโจทก์ขอออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบแล้วเท่ากับว่าประเด็นนี้ไม่ได้ว่ากล่าวกันในศาลชั้นต้นฎีกาจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลล่างทั้งสองต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5449/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง: ข้อกล่าวหาขัดแย้ง, ประเด็นใหม่, และการไม่โต้แย้งคำพิพากษา
ตามฎีกาของโจทก์ตอนแรกโจทก์กล่าวมาในฎีกาว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังคลาดเคลื่อนอยู่ทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย แต่อีกตอนหนึ่งโจทก์กลับกล่าวเป็นทำนองเห็นด้วยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าสัญญาดังกล่าวถูกต้องเป็นสัญญาทีสมบูรณ์โดยชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของโจทก์จึงขัดแย้งกัน อีกทั้งมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าตีความสัญญาไม่ถูกต้องผิดจากที่คู่กรณีบ่งชี้ไว้อย่างไรและโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะเหตุใดถือว่าเป็นฎีกาของให้โจทก์ได้มีสิทธิเข้าไปปรับปรุงทำถนนในที่พิพาทซึ่งยังค้างอยู่ต่อไปนั้น เนื่องจากคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาซื้อขายให้แก่โจทก์ คำขอตามฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่ที่ไม่่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อฎีกาของโจทก์ต้องห้ามดังวินิจฉัยมาปัญหาตามฎีกาของโจทก์ในข้อที่ว่า โจทก์ได้ทำถนนเข้าไปในที่ดินพิพาทแล้วหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการที่ศาลล่างวินิจฉัยคดีนอกประเด็นข้อพิพาท เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ข้อพิพาทตามคำฟ้องของโจทก์ คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยและคำให้การของโจทก์แก้ฟ้องแย้งของจำเลยมีเพียงว่าสัญญาซื้อขายเครื่องถ่ายเอกสารระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1เป็นการซื้อขายตามคำพรรณนาหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญาซื้อขายเครื่องถ่ายเอกสารระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่เป็นการซื้อขายตามคำพรรณนาเป็นการซื้อขายธรรมดาแล้ววินิจฉัยต่อไปอีกว่า แต่เป็นการซื้อขายมีเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 เมื่อจำเลยที่ 1ยังไม่ได้ชำระราคาให้โจทก์อีก 49,000 บาท การชำระราคายังไม่เสร็จเรียบร้อย กรรมสิทธิ์ในเครื่องถ่ายเอกสารยังไม่โอนไปยังจำเลยที่ 1 ผู้ซื้อ และเครื่องถ่ายเอกสารที่โจทก์ขายให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถถ่ายเอกสารได้ถึง 3,500 แผ่นต่อผงหมึก 1 หลอด ตามคำโฆษณาของโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ เป็นการวินิจฉัยคดีที่ขัดแย้งกันเองและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเช่นเดียวกับศาลชั้นต้นว่าการซื้อขายเครื่องถ่ายเอกสารระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นการซื้อขายที่มีเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459แล้วพิพากษายืน จึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นข้อพิพาทไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 การวินิจฉัยคดีนอกประเด็นข้อพิพาทเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 243(1),247 และเห็นสมควรย้อนสำนวนไปยังศาลชั้นต้น เพื่อให้พิพากษาใหม่ให้ตรงตามประเด็นข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1994/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องเคลือบคลุม การเพิกถอนนิติกรรมจำนอง จำเลยไม่ต่อสู้ ศาลต้องวินิจฉัยตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำฟ้องของโจทก์ที่ว่า จำเลยที่ 2 นำที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 4754 ที่จำเลยที่ 1 ยกให้ไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 3 โดยจงใจนิ่งเฉยเสียไม่ไขข้อความจริงที่จำเลยที่ 1เป็นลูกหนี้โจทก์ และใช้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวเป็นหลักประกันไว้ โจทก์จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองนั้น ข้ออ้างที่โจทก์ขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนอง โจทก์บรรยายฟ้องเฉพาะการกระทำของจำเลยที่ 2 แต่มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับจำนองได้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ หรือโจทก์มีสิทธิอย่างใดในอันที่จะขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับจำนองได้ คำฟ้องโจทก์เฉพาะส่วนที่กล่าวจึงมิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่จะทำให้จำเลยที่ 3 เข้าใจและต่อสู้คดีได้โดยถูกต้อง คำฟ้องของโจทก์เฉพาะส่วนนี้จึงเคลือบคลุม แต่คำฟ้องของโจทก์ในตอนต้นที่ว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ไป40,000 บาท และนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 4754 ตำบลบ้านกลาง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ไปให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นหลักประกัน ต่อมาโจทก์คิดว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์หายได้ให้จำเลยที่ 1 ไปขอออกใบแทน แต่จำเลยที่ 1 กลับนำใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไปแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กับจำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมจดทะเบียนยกให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่มีค่าตอบแทน นิติกรรมยกให้จึงเป็นโมฆะนั้น จำเลยทั้งสามหาได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุมด้วยไม่ และในปัญหาที่ว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ มิใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยทั้งสามมิได้ต่อสู้ให้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ ศาลย่อมไม่มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5389/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิขอหลักประกันคืนและการอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย
การที่จำเลยยื่นคำแถลงขอหลักประกันคืนต่อศาลชั้นต้นเป็นกรณีที่จำเลยใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 251เมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำแถลงของจำเลย จำเลยจึงชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นมายังศาลฎีกาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4233/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานต่างภาษาและเอกสารสำเนาในคดีแพ่ง: การปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ขณะนำสืบและส่งเอกสารซึ่งเป็นภาษาต่างประเทศเป็นพยาน โจทก์ไม่ได้ส่งคำแปลต่อศาลและจำเลยด้วย ในนัดต่อมาโจทก์ขอส่งคำแปลเอกสารดังกล่าวที่มีคำรับรอง ศาลอนุญาตแล้ว จึงเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 แล้ว ศาลรับฟ้องเอกสารดังกล่าวนั้นเป็นพยานได้ สำหรับสำเนาเอกสารที่โจทก์นำส่งเป็นพยานนั้น ปรากฏว่าโจทก์เบิกความว่าต้นฉบับเอกสารนั้น จำเลยได้รับคืนไปแล้ว ส่วนจำเลยเบิกความว่า ต้นฉบับอยู่ที่จำเลยหรือไม่จำไม่ได้ จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) ศาลรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้อง: ศาลอนุญาตแก้ไขทิศทางรถชนได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบและไม่ขัดกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับทิศทางสิ่งของรถยนต์ที่เกิดเหตุจากข้อความที่ว่า "รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 80-4314 เชียงใหม่ขับจากจังหวัดตากมุ่งหน้ามาจังหวัดกำแพงเพชร" เป็น "รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 80-4314 เชียงใหม่ ขับจากจังหวัดกำแพงเพชรมุ่งหน้ามาจังหวัดตาก" เป็นการแก้ไขข้อเท็จจริงให้เป็นตามความเป็นจริงไม่ก่อให้เกิดผลตามกฎหมายที่แตกต่างกัน เพราะจำเลยที่ 3 ก็ให้การรับอยู่แล้ว การแก้ไขดังกล่าวเป็นเรื่องการแก้ไขข้อผิดพลาดบกพร่องในคำฟ้องเพียงเล็กน้อยไม่ทำให้จำเลยที่ 3 เสียเปรียบในการต่อสู้คดีไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ศาลสั่งอนุญาตจึงชอบด้วยกฎหมาย.
of 12