พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุมและการใส่ความ – ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นได้
การวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายนั้น ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้เมื่อเห็นสมควร โดยไม่ต้องระบุว่าปัญหานั้นเกี่ยวกับข้อกฎหมายใดเกิดขึ้นเป็นคุณแก่ฝ่ายใด
ฟ้องว่าจำเลยไม่พอใจโจทก์หาทางให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งโดยนำความเท็จเสนออธิการบดีให้พิจารณาโทษโจทก์หลายครั้งผลเป็นเท็จทุกครั้ง โดยมิได้กล่าวว่าจำเลยนำความเท็จเสนออธิการบดีว่ากระไร เมื่อใด เป็นเท็จอย่างใด ถือว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุม ไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา
ถ้อยคำที่ไม่ถือว่าเป็นการใส่ความอันจะเป็นการละเมิด
ฟ้องว่าจำเลยไม่พอใจโจทก์หาทางให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งโดยนำความเท็จเสนออธิการบดีให้พิจารณาโทษโจทก์หลายครั้งผลเป็นเท็จทุกครั้ง โดยมิได้กล่าวว่าจำเลยนำความเท็จเสนออธิการบดีว่ากระไร เมื่อใด เป็นเท็จอย่างใด ถือว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุม ไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา
ถ้อยคำที่ไม่ถือว่าเป็นการใส่ความอันจะเป็นการละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำเกี่ยวกับการแบ่งมรดก ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นสำคัญ โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีใหม่ได้
เกี่ยวกับที่ดินแปลงเดียวกันทุกคดี
คดีแรกถึงที่สุดเพียงศาลชั้นต้น ซึ่งพิพากษาให้แบ่งที่ดินเฉพาะส่วนที่โจทก์จะได้รับตามพินัยกรรม ข้อ 1. เพราะโจทก์ขอรับเพียงส่วนตามพินัยกรรมเท่านั้น
คดีที่ 2. ถึงที่สุดชั้นศาลอุทธรณ์ โดยให้ยกคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นที่ชี้ขาดไว้ว่าโจทก์จำเลยปกครองที่พิพาทร่วมกัน
โจทก์จึงมาฟ้องขอแบ่งที่ดินซึ่งเป็นกองกลางตามพินัยกรรม ข้อ 3. เช่นนี้ การฟ้องคดีใหม่นี้ ไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีแรกและคดีที่ 2.
คดีแรกถึงที่สุดเพียงศาลชั้นต้น ซึ่งพิพากษาให้แบ่งที่ดินเฉพาะส่วนที่โจทก์จะได้รับตามพินัยกรรม ข้อ 1. เพราะโจทก์ขอรับเพียงส่วนตามพินัยกรรมเท่านั้น
คดีที่ 2. ถึงที่สุดชั้นศาลอุทธรณ์ โดยให้ยกคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นที่ชี้ขาดไว้ว่าโจทก์จำเลยปกครองที่พิพาทร่วมกัน
โจทก์จึงมาฟ้องขอแบ่งที่ดินซึ่งเป็นกองกลางตามพินัยกรรม ข้อ 3. เช่นนี้ การฟ้องคดีใหม่นี้ ไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีแรกและคดีที่ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีก่อนขาดนัดพิจารณา ไม่ถือเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นคดี โจทก์มีสิทธิฟ้องใหม่ได้
คดีก่อนโจทก์ขาดนัดพิจารณาจำเลยขอให้พิจารณาคดีไปฝ่ายเดียวโดยจำเลยไม่ติดใจสืบพะยาน ศาลพิพากษาว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาให้ยกฟ้องโจทก์ จำหน่ายคดีออกเสียจากสาร+ความนั้น เป็นคำพิพากษาซึ่งยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี โจทก์ย่อมนำคดีมาฟ้องใหม่ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีขาดนัดพิจารณาไม่ถือเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็น หากฟ้องใหม่ได้
คดีก่อนโจทก์ขาดนัดพิจารณาจำเลยขอให้พิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว โดยจำเลยไม่ติดใจสืบพยาน ศาลพิพากษาว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาให้ยกฟ้องโจทก์ จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความนั้น เป็นคำพิพากษาซึ่งยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี โจทก์ย่อมนำคดีมาฟ้องใหม่ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจสภาพที่พิพาทและการวินิจฉัยชี้ขาดโดยไม่ต้องสืบพยาน: ศาลต้องทำเป็นคำพิพากษา
การที่คู่ความขอให้ศาลไปตรวจดูสภาพที่พิพาทแล้ววินิจฉัย+ โดยต่างไม่สืบพยานบุคคลต่อไปนั้น เป็นเรื่องสืบพยานธรรมดาโดยอ้างวัตถุพยาน คือที่พิพาทเป็นพยานร่วม มิใช่เป็น+ท้าของคู่ความ ฉะนั้นเมื่อศาลชั้นต้นไปดูสภาพของที่พิพาทแล้วเห็นอย่างไร ก็วินิจฉัยชี้ขาดได้ตามที่คู่ความเสนอไว้ได้ แต่ต้องทำเป็นคำพิพากษาให้ถูกต้องครบถ้วนตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 141 จะทำเป็นคำสั่งไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1165/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำหลังศาลยกฟ้องเนื่องจากโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอ ถือเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแล้ว ห้ามฟ้องใหม่
ความบกพร่องของโจทก์ในการเสนอหลักฐาน ที่รับฟังไม่ได้ก็ดี หรือได้ยื่นพยานหลักฐานโดยฝ่าฝืนต่อวิธีพิจารณาความก็ดี อันเป็นเหตุให้ศาลปฏิเสธ ไม่รับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ผู้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงนั้นแล้ว เมื่อศาลพิพากษายกฟ้อง ก็ได้ชื่อว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนข้ออ้างในประเด็นแห่งคดีที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีของโจทก์แล้ว กรณีตัองห้ามมิให้โจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นข้อกล่าวอ้างของโจทก์ในศาลนั้นอีก ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144 และทั้งห้ามมิให้โจทก์ฟ้องใหม่อีกตามมาตรา148 แม้คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาโจทก์ก็ยังต้องห้ามมิให้ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลอีกตามมาตรา 173
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำ: ถอนฟ้องแล้วฟ้องใหม่ได้ หากศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาท
โจทก์ฟ้องแล้วถอนฟ้องไปภายหลังยื่นฟ้องในกรณีนั้นใหม่ได้ โจทก์ขอถอนฟ้อง จำเลยแถลงว่า ที่โจทก์ขอถอนฟ้องหมายถึงไม่ดำเนินคดีตลอดเรื่องใช่ไหม โจทก์ว่าใช่ ดังนี้ ไม่ใช่เรื่องยอมไม่ฟ้องคดีใหม่ โจทก์ย่อมนำมาฟ้องใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4089/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอให้งดบังคับคดีซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง หากประเด็นเคยถูกวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว
ศาลฎีกาได้วินิจฉัยชี้ขาดคดีเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามคำร้องขอให้งดการบังคับคดีแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มายื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีอีกโดยอ้างเหตุว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 3 และโจทก์ได้รับชำระหนี้ตามมูลหนี้คดีนี้เต็มจำนวนแล้ว อันเป็นการอ้างเหตุเดิม แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะอ้างว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ระงับไปแล้วก็ตาม แต่ข้ออ้างดังกล่าวเป็นการอ้างเพื่อให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาเช่นเดียวกับคำร้องขอให้งดการบังคับคดีครั้งก่อน ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้ว กรณีจึงต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง ที่ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว คำร้องขอให้งดการบังคับคดีของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องห้ามตามบทมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3376/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: สัญญาประนีประนอมระหว่างสามีภริยา ต้องให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องอำนาจศาล
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าบันทึกข้อตกลงสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดเป็นสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างที่โจทก์และจำเลยเป็นสามีภริยากัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 ซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้น จึงไม่รับฟ้อง เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่น ซึ่งตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด คำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาให้เป็นที่สุด ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาหามีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13570/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องตามสัญญาและการวินิจฉัยชี้ขาดอนุญาโตตุลาการที่คลาดเคลื่อน
การที่อนุญาโตตุลาการตีความว่าคู่สัญญามีเจตนาที่แท้จริงและแน่นอนว่าจะให้มีการใช้อนุญาโตตุลาการภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายไทยในการระงับข้อพิพาท และตีความให้ใช้ พ.ร.บ อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันบังคับนั้น เป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบของอนุญาโตตุลาการและมิใช่เป็นการใช้อำนาจนอกขอบเขตอำนาจ ทั้งไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ผู้คัดค้านยื่นข้อเรียกร้องเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.2005 (พ.ศ.2548) แต่ผู้คัดค้านพิมพ์ปีที่ยื่นข้อเรียกร้องเป็น ค.ศ.2004 (พ.ศ.2547) อนุญาโตตุลาการจึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า นับตั้งแต่การชำระเงินครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546 จนถึงวันที่ผู้เรียกร้อง (ผู้คัดค้าน) ยื่นข้อเรียกร้องต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2547 สิทธิเรียกร้องของผู้เรียกร้อง (ผู้คัดค้าน) ไม่ขาดอายุความ แต่ความจริงผู้คัดค้านยื่นข้อเรียกร้องต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 ซึ่งสิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านสิ้นสุดตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2548 แล้ว ผู้คัดค้านยื่นข้อเรียกร้องเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 จึงขาดอายุความ เมื่อคู่พิพาทตกลงให้ใช้กฎหมายไทยในการระงับข้อพิพาทและข้อพิพาทนี้เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างทำของซึ่งมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ มาตรา 193/34 (1) การชำระหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546 เป็นการรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้บางส่วน ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามมาตรา 193/14 (1) และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น อายุความการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านจึงสิ้นสุดวันที่ 16 พฤษภาคม 2548 เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาดังกล่าวสิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านจึงเป็นอันขาดอายุความ ผู้ร้องมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ การที่อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นเรื่องอายุความโดยผิดหลงเช่นนี้หากมีการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มีเหตุให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเสียตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 (2) (ข) และกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 45 (1) ผู้ร้องจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้
ผู้คัดค้านยื่นข้อเรียกร้องเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.2005 (พ.ศ.2548) แต่ผู้คัดค้านพิมพ์ปีที่ยื่นข้อเรียกร้องเป็น ค.ศ.2004 (พ.ศ.2547) อนุญาโตตุลาการจึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า นับตั้งแต่การชำระเงินครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546 จนถึงวันที่ผู้เรียกร้อง (ผู้คัดค้าน) ยื่นข้อเรียกร้องต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2547 สิทธิเรียกร้องของผู้เรียกร้อง (ผู้คัดค้าน) ไม่ขาดอายุความ แต่ความจริงผู้คัดค้านยื่นข้อเรียกร้องต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 ซึ่งสิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านสิ้นสุดตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2548 แล้ว ผู้คัดค้านยื่นข้อเรียกร้องเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 จึงขาดอายุความ เมื่อคู่พิพาทตกลงให้ใช้กฎหมายไทยในการระงับข้อพิพาทและข้อพิพาทนี้เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างทำของซึ่งมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ มาตรา 193/34 (1) การชำระหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546 เป็นการรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้บางส่วน ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามมาตรา 193/14 (1) และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น อายุความการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านจึงสิ้นสุดวันที่ 16 พฤษภาคม 2548 เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาดังกล่าวสิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านจึงเป็นอันขาดอายุความ ผู้ร้องมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ การที่อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นเรื่องอายุความโดยผิดหลงเช่นนี้หากมีการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มีเหตุให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเสียตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 (2) (ข) และกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 45 (1) ผู้ร้องจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้