คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วินิจฉัยนอกฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าเพื่ออยู่อาศัย vs. การค้า: สิทธิผู้เช่าภายใต้กฎหมายควบคุมค่าเช่าและการวินิจฉัยนอกฟ้อง
หนังสือสัญญาเช่าระบุไว้ว่าจำเลยเช่าเพื่อทำการค้า จำเลยย่อมต่อสู้และนำสืบได้ว่าจำเลยเช่าเพื่ออยู่อาศัย
โจทก์มิได้กล่าวหาเลยว่าจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าสองคราวติด ๆ กันอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 มาตรา 17(1) การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมา จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคแรก
การที่ผู้เช่าจะชำระค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าหรือไม่นั้น ไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองทางภารจำยอม: ศาลวินิจฉัยนอกฟ้องแต่ฟังเป็นทางภารจำยอมได้จากข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม แต่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองในทางพิพาทโดยไม่วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่ เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากฟ้อง
ทางเดินซึ่งตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์กว้าง 6.40 เมตร และโจทก์ใช้เดินเข้าออกเป็นประจำกว้างประมาณ 1.50 เมตร แต่ถ้าเป็นหน้าน้ำทางเฉอะแฉะก็เดินนอกทางที่เดินเป็นประจำนั้นบ้าง เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทตลอดมาโดยไม่ได้ละทิ้ง ทางพิพาททั้งหมดยังคงเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 550/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินป่าช้าของวัด: ศาลวินิจฉัยนอกฟ้องไม่ได้ การครอบครองโดยจำเลยไม่เกิดสิทธิ
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าวัดโจทก์มีที่ดินแปลงหนึ่งใช้เป็นป่าช้าสำหรับเผาและฝังศพราษฎร เท่ากับโจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของวัด การที่ศาลไปฟังว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
ที่ดินอันเป็นส่วนหนึ่งของป่าช้าซึ่งเป็นของวัด แม้จะตั้งอยู่ห่างจากตัววัด ก็จัดเข้าอยู่ในประเภทที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 33 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 550/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินวัด: ศาลวินิจฉัยนอกฟ้องไม่ได้ และที่ดินป่าช้าเป็นธรณีสงฆ์
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าวัดโจทก์มีที่ดินแปลงหนึ่งใช้เป็นป่าช้าสำหรับเผาและฝังศพราษฎร เท่ากับโจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของวัดการที่ศาลไปฟังว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
ที่ดินอันเป็นส่วนหนึ่งของป่าช้าซึ่งเป็นของวัด แม้จะตั้งอยู่ห่างจากตัววัด ก็จัดเข้าอยู่ในประเภทที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 33(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารภาพถ่ายไม่เป็นหลักฐานได้ + วินิจฉัยนอกฟ้อง
ภาพถ่ายเอกสาร(ซึ่งถ่ายจากต้นฉบับ) ไม่ใช่ต้นฉบับของเอกสาร จึงต้องห้ามมิให้รับฟัง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93
ฟ้องว่าเป็นหุ้นส่วนกันตามหนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วน เมื่อศาลไม่เชื่อว่าเป็นหุ้นส่วนกันตามหนังสือสัญญาหุ้นส่วนนั้น ศาลจะนำพฤติการณ์อื่นซึ่งโจทก์มิได้ฟ้องมาวินิจฉัยว่ามีหุ้นส่วนกันมิได้เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐาน: ภาพถ่ายเอกสารไม่ใช่ต้นฉบับ และหลักการวินิจฉัยนอกฟ้อง
ภาพถ่ายเอกสาร (ซึ่งถ่ายจากต้นฉบับ) ไม่ใช่ต้นฉบับของเอกสาร. จึงต้องห้ามมิให้รับฟัง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93.
ฟ้องว่าเป็นหุ้นส่วนกันตามหนังสือสัญญาเช่าหุ้นส่วน เมื่อศาลไม่เชื่อว่าเป็นหุ้นส่วนกันตามหนังสือสัญญาหุ้นส่วนนั้น. ศาลจะนำพฤติการณ์อื่นซึ่งโจทก์มิได้ฟ้องมาวินิจฉัยว่ามีหุ้นส่วนกันมิได้. เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกฟ้อง: ศาลต้องพิจารณาเฉพาะเหตุที่โจทก์ยกมาเท่านั้น
เมื่อฟ้องของโจทก์ข้อ 3 บรรยายว่า 'บัดนี้โจทก์ทราบว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาเช่า โดยเอาตึกที่เช่านี้บางส่วนไปให้เช่าช่วงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์โจทก์จึงไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไปโจทก์ได้มีหนังสือบอกเลิกการเช่าไปยังจำเลยดังสำเนาท้ายคำฟ้องจำเลยรับทราบแล้วไม่ปฏิบัติตามโจทก์จึงจำต้องมาขอบารมีศาลเป็นที่พึ่ง' ดังนี้เห็นได้ว่า โจทก์ยกเหตุเช่าช่วงเป็นข้ออ้างขอให้ศาลขับไล่ หาได้ยกเหตุอื่นใด (สิทธิบอกเลิกการเช่าอย่างสัญญาเช่าธรรมดา) เป็นข้ออ้างไม่ข้อวินิจฉัยของศาลล่างที่นอกเหนือจากประเด็นเช่าช่วง จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1438/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกฟ้อง: การหลีกรถในที่คับขันและการประมาทเลินเล่อ
โจทก์ฟ้องกล่าวว่า จำเลยได้ขับรถยนต์ซึ่งห้ามล้อมือเสียใช้การไม่ได้ไปตามถนนหลวงด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังโดยหลีกรถในที่คับขัน เป็นเหตุให้รถที่จำเลยขับชนคนด้วย ดังนี้ศาลวินิจฉัยว่า จำเลยได้หลีกรถในที่คับขันเป็นเหตุให้ชนคนตายโดยประมาท จึงหาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14218/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การว่าจ้างดูแลความปลอดภัย, ตัวการร่วม, การรับช่วงสิทธิจากผู้รับประกันภัย, การวินิจฉัยนอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 3 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ดูแลรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินซึ่งเป็นรถยนต์ของบุคคลทั่วไปที่นำเข้ามาจอดในลานจอดรถของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทปล่อยให้มีผู้นำรถที่โจทก์รับประกันภัยออกไปจากลานจอดรถของจำเลยที่ 3 โดยไม่คืนบัตรจอดรถ จำเลยทั้งสามต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 แม้จะให้การว่า จำเลยที่ 3 มิได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ดูแลรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของลูกค้าผู้ใช้บริการหรือบุคคลภายนอกแต่จำเลยที่ 3 ก็ให้การว่าจำเลยที่ 3 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้มาดำเนินการดูแลและรักษาความปลอดภัยแก่พนักงานและทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ที่อยู่ภายในสาขานครปฐม โดยจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ตามสัญญาจ้างที่จะต้องจัดหาพนักงานรักษาความปลอดภัย อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ต้องใช้ในการรักษาความปลอดภัยในการดูแลรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 มิได้ให้การว่าจำเลยที่ 3 ว่าจ้างบริษัท บ. ดูแลความปลอดภัยให้จำเลยที่ 3 เช่นนี้จึงแปลได้ว่าจำเลยที่ 3 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ดูแลรักษาความปลอดภัยแล้ว การที่จำเลยที่ 3 นำสืบว่า จำเลยที่ 3 มิได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 แต่ว่าจ้างบริษัท บ. ดูแลรักษาความปลอดภัยให้จำเลยที่ 3 จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 3 ว่าจ้างบริษัท บ. จึงเป็นข้อเท็จจริงนอกข้อต่อสู้ในคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาท ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยไม่ได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 ไม่ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 แล้วพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 3 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังเป็นยุติตามคำให้การของจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 3 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้เป็นผู้ดูแลรักษาความปลอดภัย การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 มิได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานนอกข้อต่อสู้ในคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาทอันเป็นประเด็นข้อสำคัญในคดี ซึ่งมีผลทำให้การวินิจฉัยคดีของศาลคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่จะมุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ โจทก์ย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นจำเลยที่ 1 ต้องพึงมีตามวิสัยและพฤติการณ์ซึ่งจำเลยที่ 1 อาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่... กลับปล่อยให้มีผู้นำรถที่โจทก์รับประกันภัยออกไปจากลานจอดรถของจำเลยที่ 3 โดยไม่รับคืนบัตรจอดรถเท่ากับว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องให้รับผิดฐานละเมิดไว้ด้วย หาได้บรรยายฟ้องให้รับผิดฐานฝากทรัพย์เท่านั้นไม่
จำเลยที่ 3 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ดูแลรักษาความปลอดภัยโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 3 ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ย่อมมีหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยรถยนต์ของลูกค้าตามสมควร การที่จำเลยที่ 3 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ดูแลรักษาความปลอดภัยบริเวณลานจอดรถจึงเป็นการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 และลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ทำการดูแลรักษาความปลอดภัยแทน จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ในการดูแลรักษาความปลอดภัย โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับบัตรจอดรถคืนจากผู้ขับรถ เมื่อปรากฏว่ามีผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกันภัยออกจากลานจอดรถของจำเลยที่ 3 โดยบัตรจอดรถยังอยู่กับ ช. และ ไม่ปรากฏว่ามีการคืนบัตรจอดรถหมายเลขทะเบียนเดียวกับรถคันที่โจทก์รับประกันภัย พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติหน้าที่เรียกคืนบัตรจอดรถจากคนร้ายเป็นเหตุให้รถที่โจทก์รับประกันภัยถูกลักไป อันเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ที่ไม่ดูแลรักษาความปลอดภัยรถยนต์ของลูกค้าตามสมควร จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ฐานเป็นตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425
โจทก์รับประกันภัยรถยนต์พิพาทจาก ช. ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของบุคคลภายนอกไซร้ ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจำนวนเพียงใด ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น" ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยเรียกร้องจากผู้ทำละเมิดได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1290/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยเหตุหย่าตามฟ้อง แม้ศาลจะปรับบทกฎหมายที่ใช้บังคับแตกต่างไป ก็ไม่ถือว่าเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง
การบรรยายฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง จะต้องให้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้น หมายความว่า เป็นการบรรยายข้อเท็จจริงที่โจทก์ประสงค์จะใช้เป็นข้ออ้างในการฟ้องให้แจ้งชัด โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาในฟ้องถึงสาเหตุที่โจทก์ต้องฟ้องหย่าว่า เป็นเพราะจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์อุปการะเลี้ยงดู ยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยา กล่าวคือ จำเลยทั้งสองเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นด้วยกัน พักร่วมอยู่ในบ้านเดียวกัน ติดต่อพูดคุยทางโทรศัพท์กันเสมอเป็นเวลานาน ข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังเป็นยุติจากการวินิจฉัยพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายว่าเป็นไปตามฟ้อง แม้จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมว่า จำเลยที่ 1 ขับรถให้ คือขอให้พาจำเลยที่ 2 ไปร้านตัดเสื้อ ร้านแว่นตา ร้านทำผม เขียนบทกลอนส่งหากัน แต่ก็เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวพันกับข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องแล้วทั้งสิ้น ไม่มีข้อเท็จจริงใดเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่นอกคำฟ้อง ส่วนศาลล่างทั้งสองจะเห็นว่า ข้อเท็จจริงที่รับฟังเป็นยุตินั้นเป็นเหตุหย่าหรือไม่ และเป็นเหตุหย่าที่ปรับได้กับบทบัญญัติกฎหมายมาตราใด กฎหมายมาด้วย แต่ก็ไม่ผูกพันว่าศาลจะต้องวงเล็บใดก็เป็นอำนาจหน้าที่และเป็นความเห็นของแต่ละศาล ไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์ แม้โจทก์จะอ้างบทปรับบทตามฟ้องของโจทก์ ดังนั้น การที่ศาลปรับบทกฎหมายแตกต่างจากฟ้อง ไม่ถือเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องหรือเป็นการวินิจฉัยในประเด็นอื่นที่มิได้กล่าวมาในฟ้อง
of 5