คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วิ่งราวทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 111 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3624/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิ่งราวทรัพย์: อำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนกองปราบปราม แม้ได้รับอนุมัติภายหลังการสอบสวน ก็ยังชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยขายสร้อยให้ผู้เสียหาย 4 เส้นในราคา 100 บาทเศษแต่จำเลยกลับหยิบเอาธนบัตรฉบับละ 500 บาทจำนวน 1 ฉบับจากในกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายไปโดยพลการในทันทีที่ผู้เสียหายเปิดกระเป๋าสตางค์ ซึ่งผู้เสียหายยังมิทันได้หยิบธนบัตรดังกล่าวส่งให้จำเลย แล้วจำเลยก็หลบหนีไปเช่นนี้ การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการผิดสัญญาในทางแพ่งหรือเข้าใจผิดเพราะสื่อความหมายกันไม่รู้เรื่องแต่อย่างไร การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าจำเลยจึงมีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (6) บัญญัติว่า พนักงานสอบสวน หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน มาตรา 18 วรรคสองก็บัญญัติให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปในจังหวัดพระนครและธนบุรีมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน และประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2515 ออกตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2508 ข้อ 8 กำหนดให้กองปราบปรามมีเขตอำนาจการรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร เมื่อได้ความว่าความผิดเกิดบริเวณท่าช้างวังหลวงในกรุงเทพมหานคร ร้อยตำรวจโท ส. ซึ่งรับราชการตำแหน่งรองสารวัตรแผนก 4 กองกำกับการ 8 กองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ตามบทกฎหมายดังกล่าวแม้กรมตำรวจวางระเบียบไว้ว่า กองปราบปรามจะทำการสอบสวนความผิดอาญาได้ต่อเมื่อได้รับคำสั่งหรืออนุญาตจากอธิบดีกรมตำรวจหรือรองอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจก็ตาม ก็เป็นเรื่องภายในของกรมตำรวจดังนั้นเมื่อร้อยตำรวจโท ส. ได้รับอนุญาตให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแล้วถึงแม้ว่าจะได้รับอนุญาตภายหลังจากร้อยตำรวจโท ส. สอบสวนคดีนี้เสร็จแล้วการสอบสวนที่ร้อยตำรวจโท ส. กระทำแต่ต้นย่อมชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3624/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิ่งราวทรัพย์: การกระทำเข้าข่ายลักทรัพย์โดยฉกฉวย แม้จะมีการโต้แย้งเรื่องอำนาจการสอบสวนของพนักงาน
จำเลยขายสร้อยให้ผู้เสียหาย 4 เส้นในราคา 100 บาทเศษแต่จำเลยกลับหยิบเอาธนบัตรฉบับละ 500 บาทจำนวน 1 ฉบับจากในกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายไปโดยพลการในทันทีที่ผู้เสียหายเปิดกระเป๋าสตางค์ ซึ่งผู้เสียหายยังมิทันได้หยิบธนบัตรดังกล่าวส่งให้จำเลย แล้วจำเลยก็หลบหนีไปเช่นนี้ การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการผิดสัญญาในทางแพ่งหรือเข้าใจผิดเพราะสื่อความหมายกันไม่รู้เรื่องแต่อย่างไร การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าจำเลยจึงมีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(6) บัญญัติว่า พนักงานสอบสวน หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน มาตรา 18 วรรคสองก็บัญญัติให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปในจังหวัดพระนครและธนบุรีมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน และประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่5 ตุลาคม 2515 ออกตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2508 ข้อ 8 กำหนดให้กองปราบปรามมีเขตอำนาจการรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร เมื่อได้ความว่าความผิดเกิดบริเวณท่าช้างวังหลวงในกรุงเทพมหานครร้อยตำรวจโทส. ซึ่งรับราชการตำแหน่งรองสารวัตรแผนก 4 กองกำกับการ 8 กองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ตามบทกฎหมายดังกล่าวแม้กรมตำรวจวางระเบียบไว้ว่า กองปราบปรามจะทำการสอบสวนความผิดอาญาได้ต่อเมื่อได้รับคำสั่งหรืออนุญาตจากอธิบดีกรมตำรวจหรือรองอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจก็ตาม ก็เป็นเรื่องภายในของกรมตำรวจดังนั้นเมื่อร้อยตำรวจโท ส. ได้รับอนุญาตให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแล้วถึงแม้ว่าจะได้รับอนุญาตภายหลังจากร้อยตำรวจโท ส. สอบสวนคดีนี้เสร็จแล้วการสอบสวนที่ร้อยตำรวจโท ส. กระทำแต่ต้นย่อมชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1704/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำที่เข้าข่ายลักทรัพย์ด้วยการใช้อุบาย แม้โจทก์ไม่ได้ฟ้อง แต่ศาลมีอำนาจลงโทษได้
จำเลยขอดูนาฬิกาที่ผู้เสียหายใส่อยู่ เมื่อผู้เสียหายถอดให้จำเลย จำเลยรับนาฬิกามาจากผู้เสียหายแล้ววิ่งหนี การกระทำของจำเลยไม่เป็นการใช้กิริยาฉกฉวยเอาทรัพย์ผู้เสียหายไป แต่เป็นการใช้อุบายให้ผู้เสียหายถอดนาฬิกาจากข้อมือส่งให้จำเลย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์แต่เป็นการลักทรัพย์ด้วยการใช้อุบาย จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334
แม้โจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 แต่การลักทรัพย์เป็นการกระทำอย่างหนึ่งซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเองและรวมอยู่ในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสุดท้าย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1704/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ด้วยการใช้อุบาย ไม่ใช่การวิ่งราวทรัพย์ ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษฐานลักทรัพย์ แม้โจทก์มิได้ขอ
จำเลยขอดูนาฬิกาที่ผู้เสียหายใส่อยู่ เมื่อผู้เสียหายถอดให้จำเลย จำเลยรับนาฬิกามาจากผู้เสียหายแล้ววิ่งหนี การกระทำของจำเลยไม่เป็นการใช้กิริยาฉกฉวยเอาทรัพย์ผู้เสียหายไป แต่เป็นการใช้อุบายให้ผู้เสียหายถอดนาฬิกาจากข้อมือส่งให้จำเลย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์แต่เป็นการลักทรัพย์ด้วยการใช้อุบาย จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334
แม้โจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 แต่การลักทรัพย์เป็นการกระทำอย่างหนึ่งซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเองและรวมอยู่ในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192วรรคสุดท้าย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท ลักทรัพย์-วิ่งราวทรัพย์ ต้องใช้บทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษ
จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์โดยการฉกฉวยซึ่งหน้า การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการร่วมกันลักทรัพย์ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7) บทหนึ่ง และเป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอันเป็นการกระทำผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ตามมาตรา 336 วรรคแรกอีกบทหนึ่ง กรณีเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามมาตรา 90 ซึ่งต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยอัตราโทษชั้นสูงของมาตรา 335 (7) และ 336 วรรคแรกนั้นเท่ากันคือจำคุกไม่เกิน 5 ปี แต่มาตรา 335 (7) มีโทษขั้นต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จึงมีบทลงโทษหนักกว่าต้องใช้มาตรา 335(7) เป็นบทลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท ลักทรัพย์-วิ่งราวทรัพย์: เลือกใช้บทลงโทษหนักที่สุด
จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์โดยการฉกฉวย ซึ่งหน้า เป็นการร่วมกันลักทรัพย์ตั้งแต่สองคนขึ้นไปตาม ป.อ. มาตรา 335(7) บทหนึ่งและเป็นการวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 336 วรรคแรกอีกบทหนึ่งเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้บทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 90 ความผิดตาม มาตรา 336 วรรคแรกและมาตรา 335(7) มีอัตราโทษขั้นสูงเท่ากัน แต่มาตรา 335(7) มีโทษขั้นต่ำด้วย จึงต้องใช้มาตรา 335(7) เป็นบทลงโทษ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท ลักทรัพย์-วิ่งราวทรัพย์ ต้องใช้บทที่มีโทษหนักกว่าลงโทษ
จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์โดยการฉกฉวยซึ่งหน้า การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการร่วมกันลักทรัพย์ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(7) บทหนึ่ง และเป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอันเป็นการกระทำผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ตามมาตรา 336 วรรคแรกอีกบทหนึ่ง กรณีเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามมาตรา 90 ซึ่งต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยอัตราโทษชั้นสูงของมาตรา 335(7)และ 336 วรรคแรกนั้นเท่ากันคือจำคุกไม่เกิน5 ปี แต่มาตรา335(7) มีโทษขั้นต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จึงมีบทลงโทษหนักกว่าต้องใช้มาตรา 335(7) เป็นบทลงโทษ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2472/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานบุกรุกและวิ่งราวทรัพย์เป็นคนละกรรม ต้องลงโทษตามกระทง
ความผิดฐานบุกรุกกับวิ่งราวทรัพย์มีลักษณะแตกต่างกัน และเป็นความผิดคนละอย่างแยกออกจากกันได้ โจทก์บรรยายฟ้องแยกเป็นสองตอนว่า ตอนแรกจำเลยกับพวกบุกรุกเข้าไปในตึกแถวของผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาต และไม่มีเหตุอันสมควร แล้วตอนหลังได้วิ่งราวทรัพย์ของผู้เสียหายไปด้วย จำเลยก็ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยกระทำผิดฐานบุกรุกและวิ่งราวทรัพย์เป็นสองกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ไม่ทำให้ข้อหาเดิม (วิ่งราวทรัพย์) ตกไป ศาลต้องพิจารณาความผิดฐานลักทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของการวิ่งราวทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันวิ่งราวทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7), 336 ขั้นแรกจำเลยแถลงขอต่อสู้คดี แต่ก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ 1 วัน จำเลยได้ยื่นคำให้การต่อศาลว่าขอให้การรับสารภาพผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7) แม้ในวันนัดสืบพยานโจทก์ศาลจะจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า "ฯ จำเลยยื่นคำให้การรับสารภาพตามฟ้องฯ โจทก์จำเลยไม่สืบพยานรอฟังคำพิพากษา" ก็ถือได้ว่าเป็นการสอบคำให้การเดิมที่จำเลยยื่นไว้นั่นเอง หาใช่เป็นเรื่องสอบถามคำให้การใหม่ที่จะทำให้คำให้การเดิมถูกถอนหรือยกเลิกไปไม่ ต้องฟังว่าจำเลยกระทำผิดฐานร่วมกับพวกลักทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิ่งราวทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพในความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ตัดสิทธิ์การพิจารณาความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันวิ่งราวทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7),336 ขั้นแรกจำเลยแถลงขอต่อสู้คดี แต่ก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ 1 วัน จำเลยได้ยื่นคำให้การต่อศาลว่าขอให้การรับสารภาพผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7) แม้ในวันนัดสืบพยานโจทก์ศาลจะจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า "ฯ จำเลยยื่นคำให้การรับสารภาพตามฟ้องฯ โจทก์จำเลยไม่สืบพยานรอฟังคำพิพากษา" ก็ถือได้ว่าเป็นการสอบคำให้การเดิมที่จำเลยยื่นไว้นั่นเอง หาใช่เป็นเรื่องสอบถามคำให้การใหม่ที่จะทำให้คำให้การเดิมถูกถอนหรือยกเลิกไปไม่ต้องฟังว่าจำเลยกระทำผิดฐานร่วมกับพวกลักทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิ่งราวทรัพย์
of 12