พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่ารักษาทรัพย์ยึด: ศาลต้องไต่สวนและกำหนดจำนวนเงินที่สมควร แม้มิได้ตกลงกันตั้งแต่แรก
ในเรื่องค่ารักษาทรัพย์นั้นควรที่จะได้ตกลงกำหนดกันไว้แล้วตั้งแต่แรกพร้อมด้วยการรับรู้ของฝ่ายที่นำยึดเมื่อมิได้มีการตกลงกำหนดกันไว้ โดยปกติผู้รักษาทรัพย์ก็ควรที่จะได้ค่ารักษาทรัพย์บ้างตามจำนวนเงินที่ศาลเห็นสมควร
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รักษาทรัพย์ที่ถูกยึดกับโจทก์ผู้นำยึดต่างโต้เถียงกันในเรื่องค่ารักษาทรัพย์ที่ถูกศาลสั่งยึดและมิได้ปรากฏว่ามีการรับรองกันในความข้อใด แม้ความเห็นของเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งเป็นคนกลางที่ใกล้ชิดกับความจริง ก็ไม่มีปรากฏในสำนวนจึงไม่มีข้อเท็จจริงประการใดในสำนวนเลยที่จะเป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณว่า มากน้อยเพียงใดจึงจะเป็นจำนวนเงินที่สมควรเช่นนี้ ศาลต้องดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องในเรื่องค่ารักษาทรัพย์แล้วสั่งตามรูปคดี
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รักษาทรัพย์ที่ถูกยึดกับโจทก์ผู้นำยึดต่างโต้เถียงกันในเรื่องค่ารักษาทรัพย์ที่ถูกศาลสั่งยึดและมิได้ปรากฏว่ามีการรับรองกันในความข้อใด แม้ความเห็นของเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งเป็นคนกลางที่ใกล้ชิดกับความจริง ก็ไม่มีปรากฏในสำนวนจึงไม่มีข้อเท็จจริงประการใดในสำนวนเลยที่จะเป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณว่า มากน้อยเพียงใดจึงจะเป็นจำนวนเงินที่สมควรเช่นนี้ ศาลต้องดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องในเรื่องค่ารักษาทรัพย์แล้วสั่งตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2487
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าจ้างความเมื่อไม่ได้ตกลงกัน ศาลใช้สำนวนเดิมและพฤติการณ์ประกอบได้ ไม่ถือเป็นการอนุญาโตตุลาการ
กรณีที่ไม่ได้กำหนดค่าจ้างว่าความไว้ แล้วคู่ความขอให้ศาลเป็นผู้กะนั้นศาลอาจดูสำนวนเดิมและยกพฤติการณ์ต่างๆ ขึ้นประกอบการกำหนดค่าจ้างได้และกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าตั้งศาลเป็นอนุญาโตตุลาการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2484
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราการจำแทนค่าปรับตาม พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน ศาลกำหนดอัตราต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดได้
การจำแทกตาม พ.ร.บ. ภาษีชั้นในนั้นกฎหมายกำหนดแต่อัตราคั่นสูง ฉะนั้นศาลจะให้จำแทนในอัตราต่ำเท่าใดก็ได้ไม่ผิดกฎหมาย อ้างฎีกาที่191/2473
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกในคดีที่ศาลกำหนดให้นับโทษต่อกัน ไม่ถือเป็นโทษต่อเนื่องเกิน 6 เดือนตามมาตรา 73
จำเลยต้องคำพิพากษา 2 สำนวน สำนวนหนึ่ง ๆ จำคุกไม่เกิน 6 เดือนแต่นับโทษต่อกัน จะถือว่าต้องโทษเกิน 6 เดือนตามมาตรา 73 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7267/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในสัญญากู้ยืมเงิน ศาลกำหนดค่าธรรมเนียมที่สมเหตุสมผล
การพิจารณาว่าข้อตกลงในสัญญาหรือสัญญาสำเร็จรูปเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ จำต้องพิจารณาว่าเป็นผลให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากนั้นได้เปรียบผู้บริโภคหรือคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรหรือไม่ เมื่อข้อตกลงตามข้อ 1.6 นั้นไม่มีกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำที่โจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมหากจะชำระหนี้คืนก่อนกำหนดไว้ ทำให้ในกรณีที่โจทก์จะชำระหนี้คืนก่อนกำหนดตามสัญญาซึ่งมีระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันทำสัญญากู้ โจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 2 ของจำนวนเงินต้นที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระหนี้ด้วยอันจะเป็นคุณแก่จำเลยผู้ให้กู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจการค้าและเป็นผู้กำหนดสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นสัญญาสำเร็จรูป โดยทำให้โจทก์ผู้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งและเป็นผู้บริโภคต้องปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ อันเป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปรียบโจทก์เกินสมควร จึงเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม คงมีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง ส่วนปัญหาว่าค่าธรรมเนียมเพียงใดจึงจะเป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีนั้น เห็นว่าค่าธรรมเนียมนี้มีลักษณะทำนองเดียวกับเบี้ยปรับ ซึ่งพิเคราะห์ทางได้เสียทุกอย่างของโจทก์และจำเลยประกอบกับระยะเวลาที่โจทก์นำเงินกู้มาชำระคืนจำเลยเป็นเวลา 3 ปี 10 เดือน 15 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับเงินกู้ไป จึงเห็นสมควรกำหนดค่าธรรมเนียมที่โจทก์จะต้องเสียให้แก่จำเลยตามข้อ 1.6 ของสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีแล้วเป็นเงิน 10,000 บาท เมื่อโจทก์เสียค่าธรรมเนียมส่วนนี้ให้แก่จำเลยแล้วเป็นเงิน 76,422.85 บาท จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวน 66,422.85 บาท ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7953/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำรุดทรุดโทรมของบ้านจากเหตุภายนอก จำเลยต้องรับผิดชอบค่าเสียหายแต่ศาลกำหนดจำนวนที่สมเหตุสมผล
คำฟ้องของโจทก์แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งแล้วว่าโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยรับผิดตามข้อตกลงที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ แม้โจทก์มิได้แจกแจงรายละเอียดของค่าเสียหายไว้ ก็ไม่ทำให้จำเลยไม่อาจต่อสู้คดีได้ เนื่องจากจำเลยยังสามารถให้การต่อสู้คดีได้ว่าค่าเสียหายของโจทก์หากมีก็ไม่เกิน 50,000 บาท ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยทำหนังสือแจ้งผ่านองค์การบริหารส่วนตำบลว่าจะซ่อมแซมทาวน์เฮ้าส์ของโจทก์ เป็นกรณีที่จำเลยกระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดที่จำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายถือว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ได้รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1)
ขณะที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 1 ปี ตามสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นในกลางปี 2541 อายุความย่อมสะดุดหยุดลง แต่จะนับอายุความใหม่ก็ต่อเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 เมื่อเอกสารดังกล่าว มีข้อความว่า จำเลยจะเริ่มซ่อมแซมทาวน์เฮาส์เวลาใดจำเลยจะแจ้งให้โจทก์ทราบก่อนอย่างน้อย 30 วัน แสดงว่าการยอมรับสภาพหนี้ของจำเลยมีเงื่อนไข ดังนั้นตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้แจ้งกำหนดวันเริ่มซ่อมแซมทาวน์เฮ้าส์ให้โจทก์ทราบ ก็ถือว่าจำเลยยังคงยอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวสืบเนื่องตลอดมา แต่เมื่อจำเลยมีหนังสือ แจ้งทนายความของโจทก์ว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลย จำเลยจึงไม่เข้าดำเนินการซ่อมแซมทาวน์เฮ้าส์ของโจทก์ตามหนังสือลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 เป็นกรณีจำเลยปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ ถือว่าเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงได้สิ้นสุดลงในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 28 มกราคม 2548 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เอกสารใดจะใช้เป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ จะต้องพิจารณาในแง่ว่ามีคุณค่าต่อการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามประเด็นในคดีหรือไม่มิใช่พิจารณาจากวันเวลาที่ทำเอกสาร และแม้โจทก์ไม่อ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ท. ผู้ทำเอกสารดังกล่าวก็คงจะเบิกความได้ความตามเอกสารอยู่ดี การทำเอกสารดังกล่าวขึ้นมาเป็นพียงพยานเอกสารประกอบคำเบิกความของ ท. เท่านั้น ดังนั้นแม้จะทำเอกสารขึ้นในภายหลัง โจทก์ก็ย่อมอ้างเอกสารนั้นเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ตนกล่าวอ้างได้
โจทก์ฟ้องโดยมีคำขอบังคับให้จำเลยเข้าดำเนินการซ่อมแซมบ้านของโจทก์ให้อยู่ในสภาพที่ดีและแข็งแรง หากจำเลยไม่สามารถดำเนินการได้ก็ให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 800,000 บาท เป็นคำขอที่ให้ศาลบังคับจำเลยอย่างใดอย่างหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 500,000 บาท แก่โจทก์และให้ยกคำขออื่น โดยมิได้พิพากษาให้จำเลยเข้าดำเนินการซ่อมแซมบ้านของโจทก์ให้อยู่ในสภาพดีและแข็งแรงด้วย ถือเป็นกรณีที่ศาลต้องพิพากษาตามคำขอของโจทก์ทุกข้อ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
จำเลยทำหนังสือแจ้งผ่านองค์การบริหารส่วนตำบลว่าจะซ่อมแซมทาวน์เฮ้าส์ของโจทก์ เป็นกรณีที่จำเลยกระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดที่จำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายถือว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ได้รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1)
ขณะที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 1 ปี ตามสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นในกลางปี 2541 อายุความย่อมสะดุดหยุดลง แต่จะนับอายุความใหม่ก็ต่อเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 เมื่อเอกสารดังกล่าว มีข้อความว่า จำเลยจะเริ่มซ่อมแซมทาวน์เฮาส์เวลาใดจำเลยจะแจ้งให้โจทก์ทราบก่อนอย่างน้อย 30 วัน แสดงว่าการยอมรับสภาพหนี้ของจำเลยมีเงื่อนไข ดังนั้นตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้แจ้งกำหนดวันเริ่มซ่อมแซมทาวน์เฮ้าส์ให้โจทก์ทราบ ก็ถือว่าจำเลยยังคงยอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวสืบเนื่องตลอดมา แต่เมื่อจำเลยมีหนังสือ แจ้งทนายความของโจทก์ว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลย จำเลยจึงไม่เข้าดำเนินการซ่อมแซมทาวน์เฮ้าส์ของโจทก์ตามหนังสือลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 เป็นกรณีจำเลยปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ ถือว่าเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงได้สิ้นสุดลงในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 28 มกราคม 2548 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เอกสารใดจะใช้เป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ จะต้องพิจารณาในแง่ว่ามีคุณค่าต่อการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามประเด็นในคดีหรือไม่มิใช่พิจารณาจากวันเวลาที่ทำเอกสาร และแม้โจทก์ไม่อ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ท. ผู้ทำเอกสารดังกล่าวก็คงจะเบิกความได้ความตามเอกสารอยู่ดี การทำเอกสารดังกล่าวขึ้นมาเป็นพียงพยานเอกสารประกอบคำเบิกความของ ท. เท่านั้น ดังนั้นแม้จะทำเอกสารขึ้นในภายหลัง โจทก์ก็ย่อมอ้างเอกสารนั้นเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ตนกล่าวอ้างได้
โจทก์ฟ้องโดยมีคำขอบังคับให้จำเลยเข้าดำเนินการซ่อมแซมบ้านของโจทก์ให้อยู่ในสภาพที่ดีและแข็งแรง หากจำเลยไม่สามารถดำเนินการได้ก็ให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 800,000 บาท เป็นคำขอที่ให้ศาลบังคับจำเลยอย่างใดอย่างหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 500,000 บาท แก่โจทก์และให้ยกคำขออื่น โดยมิได้พิพากษาให้จำเลยเข้าดำเนินการซ่อมแซมบ้านของโจทก์ให้อยู่ในสภาพดีและแข็งแรงด้วย ถือเป็นกรณีที่ศาลต้องพิพากษาตามคำขอของโจทก์ทุกข้อ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7027/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องตามหมายบังคับคดีที่ศาลกำหนด
ป.วิ.พ. มาตรา 311 วรรคหนึ่ง บัญญัติถึงการอายัดสิทธิเรียกร้องซึ่งระบุไว้ในมาตรา 310 ทวิ ว่าให้อายัดได้โดยคำสั่งอายัดซึ่งศาลได้ออกให้ตามที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำขอ แต่ในวรรคสองก็บัญญัติให้อำนาจแก่ศาลไว้ด้วยว่า เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลอาจกำหนดไว้ในหมายบังคับคดีให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจอายัดสิทธิเรียกร้องนั้นก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ถือว่าคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นคำสั่งอายัดของศาล การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีระบุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการยึดอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ทรัพย์สินที่ให้จัดการอายัดตามหมายบังคับคดีย่อมหมายรวมถึงสิทธิเรียกร้องที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษามีต่อบุคคลภายนอก จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ในหมายบังคับคดีแล้วว่าให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจอายัดสิทธิเรียกร้องได้คำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเท่ากับเป็นคำสั่งอายัดของศาลโดยผลของมาตรา 311 วรรคสอง การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยเป็นไปถึงผู้คัดค้านจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร และการกำหนดจำนวนค่าเลี้ยงดูตามฐานะทางการเงิน
จำเลยที่ 1 เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของ พ. ซึ่งจำต้องอุปการะเลี้ยงดู พ. ในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง บทกฎหมายดังกล่าวมิได้กำหนดระยะเวลาการจ่ายไว้ และไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงกำหนดระยะเวลาชำระไว้ตามมาตรา 1598/40 วรรคหนึ่ง ดังนั้นค่าอุปการะเลี้ยงดู พ. ขณะที่เป็นผู้เยาว์ที่โจทก์เรียกร้องในคดีนี้ โดยอาศัยบทบัญญัติ มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 193/33 (4) อันจะอยู่ในอายุความ 5 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6108/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดต่อความเสียหายจากการติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ และการกำหนดค่าเสียหายที่ศาลมีอำนาจสั่งได้เกินคำขอ
จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาด้วยการขอส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนและไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 2 คืนเงินค่ารถยนต์พิพาทแก่โจทก์ แต่เมื่อการติดตั้งฟิล์มกรองแสงเป็นของแถมที่จำเลยที่ 2 เสนอให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องติดตั้งฟิล์มกรองแสงตามชนิดยี่ห้อที่กำหนดไว้ด้วยความประณีตเรียบร้อยใช้การได้ดีเหมาะสมแก่รถยนต์พิพาท แต่จำเลยที่ 2 ไม่ตรวจสอบควบคุมคุณภาพการติดตั้งจนเกิดความเสียหาย แม้โจทก์ไม่ได้มีคำขอให้รับผิดในจำนวนค่าเสียหายนี้มาให้ครบถ้วนถูกต้อง และวิธีการบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขเยียวยาความเสียหายของโจทก์ที่เกิดขึ้นตามฟ้อง ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดวิธีการบังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้กระทำการ งดเว้นกระทำการ หรือกำหนดให้ชดใช้ค่าเสียหายตามความเหมาะสม แม้จะเกินกว่าที่ปรากฏในคำขอบังคับของโจทก์ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 39 โดยให้จำเลยที่ 2 ติดตั้งฟิล์มกรองแสงตามชนิดยี่ห้อที่กำหนดในสัญญาซื้อรถยนต์ให้โจทก์ใหม่ทุกบานเพื่อให้สอดคล้องกับกระจกบานอื่น และตรวจสอบระบบวงจรไล่ฝ้าให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการลอกฟิล์มเก่าออก อันเป็นความเสียหายที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด และให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าขาดประโยชน์จากการไม่ได้ใช้รถยนต์พิพาทในระหว่างติดตั้งฟิล์มกรองแสงใหม่ หากไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนด ให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้อีกด้วย เมื่อความเสียหายเกิดจากการติดฟิล์มกรองแสงซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งภายหลัง เป็นความรับผิดชอบของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะตามข้อตกลงไม่ได้เกิดจากความบกพร่องในการผลิตรถยนต์ จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2