คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลพิจารณา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7248/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: ศาลต้องพิจารณาความจริง ไม่เพียงแค่ข้อสันนิษฐานทางกฎหมาย และพิจารณาฐานะหนี้สินที่แท้จริงของลูกหนี้
ข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 8 นั้น เป็นเพียงเหตุหนึ่งที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีล้มละลาย มาตรา 14 ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 และการที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ใดเป็นบุคคลล้มละลาย ไม่ใช่อาศัยแต่ลำพังข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายอย่างเดียว แต่ยังต้องพิเคราะห์ถึงเหตุผลอื่นประกอบที่พอแสดงให้เห็นว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริง เพราะการวินิจฉัยให้บุคคลล้มละลายนั้นย่อมกระทบถึงสิทธิและเสรีภาพในการดำรงชีวิตตามกฎหมายตลอดจนสถานะของบุคคลและสิทธิในทางทรัพย์สินของผู้นั้นโดยตรง ข้อเท็จจริงในคดีนี้แม้จะรับฟังว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 72,915.75 บาท และมีพฤติการณ์เข้าข้อสันนิษฐานตามกฎหมายก็ตาม แต่มูลคดีเดิมที่โจทก์ฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้นั้นเป็นมูลหนี้เกิดขึ้นในปี 2532 ซึ่งยอดหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดเพียง 36,077.25 บาทเท่านั้น โจทก์รอจนกระทั่งปี 2539 จึงได้นำคดีมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย พฤติการณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดการคิดคำนวณดอกเบี้ยเรื่อยมานับแต่ปี 2532 ทำให้ต้นเงินและดอกเบี้ยเมื่อคิดถึงวันฟ้องคดีนี้เป็นจำนวนถึง 72,915.75 บาท อีกทั้งการสืบหาทรัพย์สินของจำเลยปรากฏว่าบ้านทาวน์เฮาส์ 2 ชั้นของจำเลยปิดประตูใส่กุญแจอยู่ในลักษณะทิ้งร้างเท่านั้น แต่โจทก์ไม่ได้เข้าไปตรวจดูว่ามีทรัพย์สินอื่นใดบ้างกลับแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าไม่มีทรัพย์สินของจำเลยอยู่ในบ้านและโจทก์ก็มิได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไปทำการยึดทรัพย์สินมาเบิกความสนับสนุนให้เห็นถึงฐานะของจำเลยว่าไม่มีทรัพย์สินอันจะพึงให้ยึดได้จริง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นใดอีกรูปคดียังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว กรณีมีเหตุที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5115/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: ศาลพิจารณาจากเนื้อหาในสำนวนเมื่อแถลงรับข้อเท็จจริงและไม่ติดใจสืบพยาน
คำร้องขอของผู้ร้องบรรยายว่า ผู้ร้องได้เข้าไปปลูกบ้านในที่ดินโฉนดตามฟ้อง คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 2 งาน โดยผู้ร้องครอบครองที่ดินส่วนดังกล่าวด้วยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อนานเกินกว่า 10 ปี แล้ว และผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว เฉพาะส่วนของผู้ร้องเนื้อที่ประมาณ 2 งาน 97 ตารางวา โดยการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมายก่อนวันนัดสืบพยานผู้ร้อง ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำร้องขอเฉพาะข้อความเดิมที่ว่า "คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ2 งาน" เป็นเนื้อที่ประมาณ 2 งาน 97 ตารางวา ศาลชั้นต้นได้อนุญาตตามขอ ดังนั้น คำร้องขอของผู้ร้องในส่วนเกี่ยวกับจำนวนเนื้อที่ดินที่ครอบครองได้สิทธินั้นจึงไม่เคลือบคลุมและชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แล้ว คดีนี้ผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบก่อน แต่ผู้ร้องและผู้คัดค้านแถลงรับข้อเท็จจริงกันแล้วไม่ติดใจสืบพยานทั้งสองฝ่ายกรณีเช่นนี้ถือว่าผู้ร้องได้นำสืบข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของตนในคำร้องขอแล้ว ศาลย่อมพิจารณาพิพากษาไปตามเนื้อหาในสำนวนคดี และเมื่อฟังได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทได้สิทธิการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 แล้ว ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้สิทธิในที่ดินนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ศาลพิจารณาพยานหลักฐานและข้ออ้างเรื่องป้องกันตัว
โจทก์ไม่มีพยานที่รู้เห็นว่าจำเลยเป็นคนใช้ขวานฟันทำร้ายผู้ตายแต่มีพยานพฤติเหตุแวดล้อมที่ใกล้ชิดกับขณะเกิดเหตุที่ยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้ใช้ขวานฟันทำร้ายผู้ตายโดยจำเลยไม่พอใจผู้ตายมาก่อนเกิดเหตุทั้งจำเลยได้พาเจ้าพนักงานตำรวจไปเอาขวานของกลางที่บ้านพ่อตาจำเลยชั้นสอบสวนจำเลยก็รับสารภาพโดยนำชี้ที่เกิดเหตุและมีการถ่ายรูปไว้ด้วยส่วนที่จำเลยอ้างว่ากระทำไปเพื่อป้องกันตนเนื่องจากผู้ตายจะทำร้ายจำเลยนั้นก็อ้างเอาฝ่ายเดียวไม่ได้ซักค้านพยานโจทก์ไว้ก่อนทั้งในชั้นสอบสวนก็ไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้และช. พยานโจทก์ที่เบิกความว่าขณะประคองผู้ตายกลับบ้านผู้ตายมีพฤติการณ์เป็นทำนองว่าผู้ตายจะไปเอาเรื่องกับจำเลยอีกครั้งก็ไม่มีน้ำหนักเพราะช. ไม่ได้ให้การไว้เช่นนั้นในชั้นสอบสวนพยานหลักฐานโจทก์จึงรับฟังได้อย่างมั่นคงว่าการกระทำของจำเลยมิใช่เพื่อป้องกันตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4553/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเช่า: ศาลพิจารณาความเหมาะสมจากผลประโยชน์ที่สูญเสียและผลได้ที่จำเลยได้รับ
การกำหนดวันจดทะเบียนการเช่าตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกันมิได้ให้อำนาจจำเลยเปลี่ยนแปลงวันจดทะเบียนการเช่าได้โดยพลการ การเลื่อนวันจดทะเบียนการเช่าจึงต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ด้วย การที่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์แจ้งเหตุขัดข้องขอเลื่อนวันจดทะเบียนการเช่าเป็นเพียงข้อเสนอขอเลื่อนวันจดทะเบียนการเช่าออกไปเท่านั้นเมื่อโจทก์ไม่ได้ตอบตกลง ทั้งไม่ได้กระทำการอันใดขึ้นอันจะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับ แต่ตรงกันข้ามโจทก์กลับมอบอำนาจให้ ศ. ไปจดทะเบียนการเช่าแทนตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้เดิมอันเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ยอมตกลงตามข้อเสนอของจำเลย การเสนอขอเลื่อนวันจดทะเบียนการเช่าของจำเลยจึงไม่มีผล ต้องถือตามกำหนดนัดเดิม เมื่อจำเลยไม่ไปตามนัด จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ว่าหากจำเลยไม่ไปจดทะเบียนการเช่า โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาตลอดจนเรียกร้องจำเลยคืนเงินมัดจำและค่าตอบแทนการเช่าที่รับไว้ทั้งหมดพร้อมค่าชดเชยความเสียหายอีก 3,600,000 บาท นั้น ในส่วนค่าชดเชยความเสียหายเป็นเรื่องจำเลยสัญญาแก่โจทก์ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ ดังนั้นเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ไปจดทะเบียนการเช่ากับโจทก์ โจทก์มีสิทธิริบเบี้ยปรับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายจากการไม่ชำระหนี้ของจำเลยหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้น ท่าให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน คดีนี้นอกจากค่าเช่าเป็นรายเดือนแล้ว จำเลยเรียกค่าตอบแทนการเช่าจากโจทก์ 18,000,000 บาท โจทก์ชำระเงินงวดแรกให้แก่จำเลยในวันทำสัญญา 1,800,000 บาท ที่เหลือ 16,200,000 บาทจะชำระในวันจดทะเบียน หากโจทก์ไม่ไปจดทะเบียนการเช่าจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญากับริบเงินที่โจทก์ชำระแล้วได้ทั้งหมด จึงเป็นเรื่องทั้งโจทก์และจำเลยต่างกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างก็ยอมรับในเบี้ยปรับที่อีกฝ่ายกำหนดไว้ด้วยแม้จำนวนเบี้ยปรับที่โจทก์จะได้รับในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาจะสูงกว่าเบี้ยปรับที่จำเลยจะได้รับในกรณีที่โจทก์ผิดสัญญาแต่จำเลยก็ได้เปรียบโจทก์ในส่วนที่จำเลยได้เงินของโจทก์ไว้แล้วถึง 1,800,000 บาท แต่โจทก์ไม่ได้ทรัพย์สินของจำเลยไว้ นอกจากนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2537 จำเลยให้การปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทยเช่าที่ดินและสถานีบริการน้ำมันดังกล่าวเป็นเวลา 17 ปี ได้เงินค่าตอบแทนการเช่าและค่าเช่ารายเดือนเป็นจำนวนสูงกว่าที่โจทก์เสนอให้ซึ่งหากทั้งโจทก์และการปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทยไม่เห็นว่าจะมีรายได้จากสถานีบริการน้ำมันของจำเลยเป็นจำนวนสูงกว่าค่าตอบแทนการเช่าและค่าเช่ารายเดือนที่ต้องจ่ายให้จำเลย พร้อมทั้งดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวในอัตราที่จะได้จากธนาคารหากนำเงินจำนวนดังกล่าวไปฝากธนาคารแล้ว โจทก์และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยก็คงจะไม่ทำสัญญาเช่ากับจำเลยเป็นแน่ การที่จำเลยผิดสัญญาย่อมทำให้โจทก์ขาดรายได้ดังกล่าวไปแม้พยานโจทก์ที่กล่าวถึงจำนวนเงินกำไรที่โจทก์จะได้รับหากมีการเช่าตามสัญญาเป็นเวลา 16 ปี จะเป็นไปอย่างลอย ๆ ไม่ได้แสดงหลักเกณฑ์ในการคำนวณหารายได้ดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้นก็ได้ลดจำนวนเงินเบี้ยปรับที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ลงเหลือ 3,000,000 บาท อันเป็นจำนวนที่สมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4545/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ศาลพิจารณาแล้วเป็นการรื้อร้องคดีเดิม
ที่ดินพิพาทที่ผู้ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์คดีนี้เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่ผู้ร้องเคยร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในคดีก่อน เมื่อศาลชั้นต้นในคดีก่อนมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวโดยระบุชัดว่าเป็นที่ดินส่วนใต้สุดมุมตะวันตก จึงเป็นการรับรองว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 200 ตารางวา จำนวนเนื้อที่ตามที่ศาลชั้นต้นระบุนั้นเป็นเพียงการกะประมาณเท่านั้น มิได้กำหนดไว้เป็นจำนวนแน่นอนแต่อย่างใด ภายหลังปรากฏจากการรังวัดว่าที่ดินเฉพาะส่วนตามที่ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองนั้นมีเนื้อที่ถึง 240 ตารางวา ผู้ร้องย่อมได้กรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวทั้งหมดรวมถึงที่ดินพิพาท 40 ตารางวาด้วย ผู้ร้องชอบที่จะดำเนินการบังคับเกี่ยวกับที่ดินพิพาทเนื้อที่ 40 ตารางวาดังกล่าวในคดีก่อน การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการรื้อร้องเพื่อให้ศาลวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน ซึ่งศาลได้มีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว ถือว่าเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1678/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยทรัพย์: ศาลพิจารณาจากมูลค่าทรัพย์ที่ยึดและหนี้สิน เพื่อตัดสินสิทธิในการเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้อง
ผู้ร้องได้นำยึดที่ดินของจำเลยซึ่งติดจำนองก. เป็นประกันเงินกู้ที่จำเลยได้ขอกู้เพื่อซื้อที่ดินเป็นเงิน500,000บาทมียอดหนี้จำนองถึงวันที่30มิถุนายน2534เป็นเงิน410,000บาทและต่อมามียอดหนี้ค้างเมื่อวันที่2ธันวาคม2537เพียง247,000บาทเท่านั้นแสดงว่าราคาที่แท้จริงของที่ดินแปลงนี้น่าจะมากกว่า500,000บาทตามที่ได้จดทะเบียนจำนองกับก.ไว้และหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยต้องชำระให้ผู้ร้องนับถึงวันที่ศาลมีคำสั่งคำร้องของผู้ร้องคดีนี้คิดเป็นเงินประมาณ257,760บาทจึงยังถือไม่ได้ว่าทรัพย์ที่ผู้ร้องยึดไว้ไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษาแม้ทรัพย์ที่ยึดมีการร้องขัดทรัพย์แต่ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าทรัพย์ที่ยึดไม่ใช่ของจำเลยที่1ทรัพย์ที่ยึดจึงยังเป็นของจำเลยที่1กรณีจึงยังไม่ต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา290วรรคสองที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5303/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ไม่มีของกลาง ศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานอื่นได้
จำเลยขับรถยนต์ไปหาผู้เสียหายที่บริษัทซึ่งตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษมพร้อมทั้งพาอาวุธปืนติดตัวไปด้วยและโจทก์มีพนักงานสอบสวนเบิกความว่าจำเลยไม่มีใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนมาแสดงการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวแต่โจทก์ไม่ได้อาวุธปืนมาเป็นของกลางและไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าอาวุธปืนที่จำเลยพาติดตัวไปนั้นเป็นอาวุธปืนที่ไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่าอาวุธปืนที่จำเลยพาติดตัวไปนั้นเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับอนุญาตให้มีตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4751/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาคดีแพ่งไม่ผูกพันคดีอาญา ศาลอาญาต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานใหม่
ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดให้ศาลที่พิจารณาคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งดังนั้นในการพิพากษาคดีอาญาศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีแพ่งแต่ต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยที่นำสืบใหม่ในคดีอาญาที่โจทก์อ้างว่าคำพิพากษาต้องผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคแรกนั้นย่อมผูกพันคู่ความเฉพาะในคดีแพ่งดังกล่าวเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำวินิจฉัย คชก.ตำบล: ศาลมีอำนาจพิจารณาราคาตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้
คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลที่มิได้อุทธรณ์จะเป็นที่สุด แต่เมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องต่อศาลในการพิจารณาว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าว กฎหมายให้นำ ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา221 บัญญัติให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ซึ่งในกรณีที่ศาลเห็นว่าคำชี้ขาดใดไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีความบกพร่องอันมิใช่สาระสำคัญและอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้นหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้
การนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของ คชก.ตำบล จะต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับเพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของ คชก.ตำบล โดยเฉพาะในข้อที่ว่าราคาที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง หรือไม่ มิใช่ข้อที่เป็นดุลพินิจเด็ดขาดของ คชก.ตำบลในการพิจารณาว่าจะบังคับตามคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลหรือไม่ ศาลต้องพิจารณาว่าราคาที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยเป็นราคาตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ ถ้ามิใช่ศาลย่อมพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้อง แล้วพิพากษาให้บังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3931/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานคู่ความ การนำสืบพยานที่ไม่เบิกความพร้อมกัน ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
แม้ผู้เสียหายที่1และผู้เสียหายที่2จะเป็นพยานคู่รู้เห็นเหตุการณ์ในความเดียวกันแต่ก็ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติบังคับให้โจทก์ต้องนำพยานคู่มาเบิกความในคราวเดียวกันอันเป็นข้อห้ามไม่ให้รับฟังเป็นข้อพิจารณาของศาลแต่ประการใดศาลย่อมนำคำเบิกความของผู้เสียหายทั้งสองไปพิเคราะห์เทียบเคียงให้เห็นเท็จและจริงได้
of 30