คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลพิพากษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินรวมและการพิพากษาตามข้อตกลงของคู่ความ ศาลสามารถงดสืบพยานและพิพากษาตามที่ตกลงกันได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104ให้อำนาจแก่ศาลที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่จำเลยและโจทก์นำเข้าสู่กระบวนพิจารณานั้นเป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีหรือไม่ คดีนี้ศาลชั้นต้นได้ดำเนิน กระบวนพิจารณาอันเป็นสาระสำคัญ โดยสั่งให้ทำแผนที่ วิวาทตามที่คู่ความนำชี้ เมื่อคู่ความแถลงรับว่าแผนที่ วิวาทถูกต้อง และแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลชั้นต้น ก็เป็น การเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง งดสืบพยานทั้งสองฝ่าย จึงเป็นการใช้อำนาจศาลตามกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2534 ซึ่งใช้บังคับอยู่ ในขณะนั้นและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมิได้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ กันเป็นส่วนสัด เมื่อโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมโดยมิได้แบ่งแยกการครอบครองกันเป็นส่วนสัด ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามส่วน โดยกำหนดวิธีการแบ่งตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 บัญญัติไว้ได้ไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น หรือพิพากษาเกินคำขอ โจทก์และจำเลยตกลงกันให้โจทก์ครอบครองที่ดินที่เป็น กรรมสิทธิ์รวมด้านทิศเหนือและจำเลยครอบครองด้านทิศใต้ ตามแผนที่วิวาทซึ่งคู่ความรับว่าถูกต้องและจำเลยได้ปลูกบ้าน อยู่ในที่ดินพิพาททางด้านทิศใต้แล้ว หากจะให้เอาที่ดิน พิพาทประมูลขายทอดตลาดแล้วเอาเงินแบ่งให้โจทก์ จำเลยตามส่วนตามบทบัญญัติของกฎหมาย จำเลยอาจ ได้รับความเดือดร้อน ดังนี้ศาลให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทตามแนว แผนที่วิวาทดังกล่าว โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ในฐานะเจ้าของรวมจำเลยให้การกล่าวแก้ว่าวิธีการแบ่งทรัพย์ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องนั้นไม่ถูกต้อง ขอให้ยกฟ้องมิได้ขอ บังคับให้ที่ดินส่วนใดเป็นของจำเลยเกินกว่าสิทธิของจำเลยเมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4981/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสซ้อนและการใช้สิทธิของผู้มีส่วนได้เสียในการขอให้ศาลพิพากษาให้การสมรสเป็นโมฆะ
ผู้ร้องอ้างว่า ส. มีคู่สมรสอยู่แล้ว แต่กลับมาจดทะเบียนสมรสซ้อนกับผู้ร้องอีก การสมรสระหว่าง ส. กับผู้ร้องย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 ประกอบมาตรา 1497 เมื่อบทบัญญัติในมาตรา 1497 ให้สิทธิผู้ร้องในฐานะบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย ร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ ผู้ร้องจึงชอบที่จะเสนอคดีของผู้ร้องโดยทำเป็น คำร้องขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งอายัดหลักประกันหลังศาลพิพากษาคดี และผลผูกพันถึงผู้ค้ำประกันที่ไม่ได้อุทธรณ์
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ค้ำประกันทั้งสามนำ น.ส.3 มาเป็นหลักประกันแทนที่ดินของจำเลย หลังจากที่ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยกระทำนิติกรรมชั่วคราวในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 265 และมาตรา 259 ประกอบมาตรา 274 นั้นเป็นคำสั่งที่กำหนดใช้วิธีการชั่วคราวก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาวิธีการหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชนะคดีโดยมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา และโจทก์มิได้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์ประสงค์จะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาและมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นมีผลบังคับต่อไป คำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวแก่ผู้ค้ำประกันทั้งสามจึงเป็นอันยกเลิก ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 260 (1) ผู้ค้ำประกันทั้งสามจึงมีสิทธิรับหลักประกันคืนไป และศาลต้องมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินให้แก่ผู้ค้ำประกันทั้งสามด้วย และเมื่อคดีหนี้ของผู้ค้ำประกันทั้งสามเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงผู้ค้ำประกันซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาได้ด้วยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีเช็คพิพาท: ศาลต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์ข้อตกลงก่อนเบิกเช็ค และการไม่รับฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยที่จำเลยจ่ายคืนทุนที่เข้าหุ้นส่วนกันให้โจทก์ จำเลยให้การว่า โจทก์จำเลยตกลงกันว่าระหว่างที่ยังไม่ถึงกำหนดใช้เงินตามเช็ค โจทก์จะนำสมุดบัญชีมาตรวจสอบร่วมกันก่อน โดยไม่มีเจตนาจะให้ผูกพันเป็นการชำระหนี้ และโจทก์จะไม่นำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารจนกว่าจะได้ตรวจสอบบัญชีให้ถูกต้อง และฟ้องแย้งว่าโจทก์ได้เบียดบังยักยอกสินค้าของร้าน ซึ่งจำเลยมีส่วนร่วมอยู่ครึ่งหนึ่งเป็นเงิน 199,298 บาทไป ขอให้บังคับให้โจทก์ชำระเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย และเรียกค่าเสียหายที่โจทก์ทำลายสมุดบัญชีร้านค้าของจำเลย เมื่อข้ออ้างที่จำเลยอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในฟ้องแย้งเป็นเรื่องกล่าวหาว่าโจทก์กระทำละเมิด ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็ค แต่จำเลยยังให้การต่อสู้ว่า จำเลยออกเช็คให้โจทก์เป็นประกันและตกลงกันด้วยว่าไม่ให้โจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินจนกว่าจะได้ตรวจสอบบัญชีให้ถูกต้องก่อน หากฟังได้ตามที่จำเลยให้การ โจทก์ก็ไม่มีสิทธินำเช็คไปเรียกเก็บเงิน ศาลชั้นต้นจึงต้องสืบพยานโจทก์จำเลยเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงดังกล่าวเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว โจทก์มีสิทธิฟ้องภายใน 10 ปี
ประเด็นในคดีอาญาและคดีนี้เป็นประเด็นเดียวกันว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ กรณีจึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยมาฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดในการที่จำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์ที่ 2ผู้เอาประกันภัยเสียหาย โจทก์ที่ 1 จึงชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่โจทก์ที่ 2 มีอยู่ในมูลหนี้ต่อจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 226 วรรคหนึ่ง เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดแล้ว โดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ก่อนที่โจทก์ที่ 2 ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่ง สิทธิของโจทก์ที่ 2 ที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีตามกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32 ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 วรรคสาม เมื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ที่มีอยู่ดังกล่าว สิทธิของโจทก์ที่ 1 จึงย่อมมีอายุความ 10 ปี เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5955/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนและการสละประเด็นค่าฤชาธรรมเนียม
เมื่อสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของจำเลยเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่วันเกิดเหตุ ดังนั้นโดยนัยแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 206, 224 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงชอบที่จะฟ้องเรียกดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินค่าสินไหมทดแทนเอาแก่โจทก์นับแต่วันฟ้องซึ่งเป็นวันในระหว่างเวลาที่โจทก์ผิดนัดได้ แต่เมื่อมีคำท้ากันคู่ความมิได้กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ไว้ด้วย จึงถือได้ว่าได้ตกลงกันสละประเด็นในส่วนนี้ไปแล้ว ศาลจึงพิพากษาให้จำเลยได้เฉพาะจำนวนเงินค่าเสียหายตามคำท้าเท่านั้น จะพิพากษาให้โจทก์รับผิดชำระดอกเบี้ยดังกล่าวนับแต่วันฟ้องย่อมเป็นการพิพากษาเกินคำขอและนอกคำท้า
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 141(5), 167 บัญญัติให้ศาลสั่งเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในคำพิพากษาทุกเรื่อง ฉะนั้นไม่ว่าคู่ความจะมีคำร้องขอเกี่ยวด้วยเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่ก็ตามศาลต้องวินิจฉัยอยู่แล้ว ที่ศาลพิพากษาตามยอม แต่ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนจำเลยจึงไม่เกินคำขอหรือคำท้าที่คู่ความได้ตกลงท้ากันไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการใช้เครื่องหมายการค้าเลียนแบบ: ศาลล่างพิพากษาถูกต้องตามเจตนาจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 109, 110, 114 และ 115 ป.อ.มาตรา 32, 33,83, 91, 272 และ 274 จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสามแต่ละข้อหาตามฟ้องเป็นการกระทำโดยมีเจตนาในการกระทำผิดแยกต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ประกอบกับจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดทั้งสามข้อหาตามฟ้องโดยมีเจตนาต่างกัน จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่า การกระทำผิดของจำเลยตามคำฟ้องโจทก์เป็นการกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียว โดยจำเลยมีเจตนาเพียงต้องการผลิตสินค้าแล้วใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายเพื่อการจำหน่าย ซึ่งเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวหาได้ไม่ ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยจึงถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3559/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายติดจำนอง: ศาลพิพากษาให้โอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญาเดิม แม้มีสัญญาซื้อขายใหม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาท จำเลย ให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาท โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาท ระหว่างจำเลยกับโจทก์ร่วม ถือไม่ได้ว่าจำเลยกล่าวแก้ เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินและบ้านพิพาทในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้เดือนละ 6,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาใน ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยมีข้อตกลงว่า จำเลยผู้จะซื้อจะชำระให้แก่โจทก์ร่วมผู้จะขายเป็นงวด ๆ ทุกวันที่ 16 ของทุกเดือน ส่วนราคาบ้านและที่ดินที่ยังคงต้องผ่อนชำระกับธนาคารอยู่นั้นจำเลยผู้จะซื้อจะเป็นผู้ผ่อนชำระกับธนาคารเอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับผู้จะขายเลย ในกรณีที่ผู้จะซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญาผู้จะซื้อยอมให้ผู้จะขายริบเงินมัดจำไว้ทั้งหมดได้ทันทีโดยมิต้องบอกกล่าว และหากผู้จะขายผิดนัดหรือผิดสัญญาผู้จะขายยอมคืนเงินมัดจำที่ผู้จะซื้อชำระไว้ให้แก่ผู้จะซื้อ เมื่อกรณีที่สัญญากำหนดให้จำเลยเป็นผู้ผ่อนชำระหนี้จำนองที่ดิน และบ้านพิพาทกับธนาคารแทนโจทก์ร่วม เป็นการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทโดยติดจำนองไปด้วย ดังนี้ การที่จำเลยมีภาระจะต้องผ่อนชำระหนี้จำนองแก่ธนาคารผู้รับจำนองจึงเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับธนาคาร ไม่เกี่ยวกับโจทก์ร่วม แม้จำเลยจะรับว่าได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเพียง 3 ครั้ง แล้วไม่ชำระ อีกเลยก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและ บ้านพิพาทกับโจทก์ร่วม ส่วนการที่จำเลยไม่ผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคาร หากทำให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายอย่างใด โจทก์ร่วม มีสิทธิ ที่จะเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย นั้นให้แก่โจทก์ร่วมได้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแต่มิได้พิพากษายกฟ้องนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นนอกคำฟ้องในคดีแรงงาน ศาลมิอาจพิพากษาเกินคำขอได้ เว้นแต่มีเหตุสมควร
โจทก์มีคำขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์พร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ15ทุกระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จซึ่งเป็นการขอให้บังคับจำเลยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ31วรรคสองแม้ว่าศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทในประเด็นข้อ3ว่าจำเลยต้องจ่ายค่าเสียหายค่าล่วงเวลาและดอกเบี้ยหรือไม่เพียงใดต่อมาโจทก์จำเลยแถลงขอสละประเด็นข้อ3เรื่องค่าเสียหายคงเหลือประเด็นค่าล่วงเวลาและดอกเบี้ยโดยจำเลยมิได้คัดค้านการกำหนดประเด็นดังกล่าวแต่ประเด็นในคดีย่อมต้องเกิดจากคำฟ้องและคำให้การเมื่อโจทก์มิได้กล่าวในฟ้องถึงเรื่องดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปีจากเงินค่าล่วงเวลาจึงเป็นการกำหนดประเด็นที่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องถือว่าการกำหนดประเด็นส่วนของดอกเบี้ยเป็นการไม่ชอบแม้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ต้องถือว่าวินิจฉัยในเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลแรงงานกลางนอกจากนี้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา52ยังห้ามมิได้ศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องเว้นแต่ในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความจะพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับก็ได้จึงเห็นได้ว่าโดยหลักแล้วจะสั่งเช่นนั้นไม่ได้นอกจากจะเข้าข้อยกเว้นซึ่งในคำพิพากษาศาลแรงงานกลางมิได้กล่าวว่ามีเหตุสมควรอย่างไรจึงให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยดังกล่าวแก่โจทก์กรณีจึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าต่อปีจากเงินค่าล่วงเวลาที่จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 233/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาใช้ชื่อทางการค้าและดำเนินธุรกิจแข่งขันกัน ศาลพิพากษายืนค่าปรับและห้ามดำเนินธุรกิจแข่งขัน
การบอกเลิกสัญญาฝ่ายเดียวได้จะต้องมีข้อสัญญาหรือมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา386วรรคหนึ่งเท่านั้นแต่ตามสัญญาบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อกำหนดว่าจำเลยจะเลิกสัญญาได้ในกรณีใดบ้างจึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ได้การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาแต่ฝ่ายเดียวจึงไม่ชอบ
of 26