คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลอุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,244 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8082/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: แก้ไขเล็กน้อยฐานความผิดและโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์มีดุลพินิจลงโทษจำคุก
แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งบทความผิดและโทษจำคุกที่ลงแก่จำเลย แต่การแก้ไขบทความผิดก็เป็นเพียงการปรับบทความผิดตามกฎหมายเดิมให้ถูกต้องโดยระบุเป็นข้อความที่ถูกต้องไว้ภายในวงเล็บ แต่มิได้แก้ไขฐานความผิดแต่อย่างใด ถือเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษจำคุก เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6661-6664/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้อนสำนวน – การรับฟังพยานเดิม – กระบวนการพิจารณาชอบ – ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 และคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ ตั้งแต่วันที่เริ่มต้นทำการสืบพยาน แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เนื่องจากศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งแสดงว่า จำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวนั้น กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยที่ 2 ที่ไม่ได้ขาดนัดพิจารณาและทำไว้ก่อนศาลฎีกาพิพากษาให้ย้อนสำนวนเป็นไปโดยชอบ ต้องสืบพยานใหม่เฉพาะระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ศาลชั้นต้นหยิบยกคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสี่ดังกล่าวมาวินิจฉัย จึงไม่เป็นการผิดระเบียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6121/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษโดยศาลอุทธรณ์เกินกว่าที่โจทก์อุทธรณ์ และการพิจารณาโทษจำเลยในความผิดเกี่ยวกับป่าไม้
ศาลชั้นต้นวางโทษจำคุกจำเลย 4 เดือน และปรับ 40,000 บาท รอการลงโทษจำคุกไว้ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 แก้เป็นจำคุก 6 เดือนไม่รอการลงโทษเป็นการแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในสถานหนักโดยไม่รอการลงโทษ เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษเพียงประการเดียว มิได้อุทธรณ์ขอให้กำหนดโทษสูงขึ้นด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 กำหนดโทษจำคุกข้อหาความผิดดังกล่าวสูงขึ้น จึงเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยโดยที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6094/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องคัดค้านคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ชัดเจน การบรรยายเหตุผลเก่าไม่เพียงพอ
ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบมาตรา 216 และ 225 วางหลักไว้ว่า ฎีกาทุกฉบับต้องมีข้อคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิงเป็นลำดับ แต่ฎีกาของจำเลยเพียงบรรยายว่าเหตุผลที่จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ทั้งหมดที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อปลีกย่อยไร้สาระนั้น จำเลยเห็นว่าล้วนแล้วแต่จะเป็นแก่นสาระน่าตั้งเป็นข้อสังเกตถึงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าได้ดำเนินการไปอย่างสุจริตโปร่งใสหรือไม่ และมีคำขอในท้ายฎีกาเพียงขอให้ศาลฎีกาให้ความเป็นธรรมแก่จำเลย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดขึ้นคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 หรือกล่าวอ้างว่าศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาคดีไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในข้อใดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6000/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการปรับบทลงโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แม้ไม่มีการอุทธรณ์จากคู่ความ
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 2 (ก) ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 มาตรา 50 ฟ้องข้อ 2 (ข) ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 267 และ พ.ร.บ.บัตรประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 (1) ฟ้องข้อ 2 (ค) ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 (3) โดยมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษตามกฎหมายและบทมาตราดังกล่าวด้วย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำรับสารภาพของจำเลยว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องทุกข้อหา แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 267 เท่านั้น จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง การปรับบทลงโทษจำเลยเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาปรับบทลงโทษครบถ้วนและถูกต้องโดยมิได้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต้องเป็นประเด็นข้อกฎหมายล้วน หากเกี่ยวข้องข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นต้องส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาก่อน
ในการวินิจฉัยปัญหาว่า คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงก่อนว่า วันที่โจทก์มีสิทธิบังคับตามสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องอันเป็นวันเริ่มนับอายุความนั้นเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อใด จึงจะสามารถวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต่อไปว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ที่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5623/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการถอนฟ้องคดีแพ่งหลังมีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: ฎีกาเป็นอันลบล้าง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แม้จำเลยจะยื่นฎีกา แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันคู่ความอยู่จนกว่าจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสียถ้าหากมี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนี้ต้องถือว่าคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ชอบที่จะถอนฟ้องได้ และศาลชั้นต้นชอบที่จะมีอำนาจสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยจำเลยไม่คัดค้านแล้ว ซึ่งการถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลยตามมาตรา 176 ดังนั้น ฎีกาของจำเลยจึงต้องถูกลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้อง ศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5623/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องหลังมีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว: ผลกระทบต่อฎีกาที่ยื่นไว้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยทั้งสองต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แม้จำเลยทั้งสองจะยื่นฎีกาอยู่ก็ตาม แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันคู่ความอยู่จนกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนี้ ต้องถือว่า คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่จะต้องสืบพยานจำเลยต่อไป ดังนั้น โจทก์ย่อมขอถอนฟ้องได้ และศาลชั้นต้นชอบที่จะมีอำนาจสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยจำเลยทั้งสองไม่คัดค้านแล้ว การถอนฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ดังนั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงต้องถูกลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้อง ไม่อาจที่จะนำฎีกาของจำเลยทั้งสองมาพิจารณาได้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นเรื่องต่อเนื่องจากคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่เกี่ยวข้องกับการขอทุเลาการบังคับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยที่ 1 และบริวารออกจากที่ดินพิพาท กับให้ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 อุทธรณ์และขอทุเลาการบังคับ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 อนุญาตให้ทุเลาการบังคับ โดยให้จำเลยที่ 1 วางเงินประกันค่าเสียหายภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่จำเลยที่ 1 ขอขยายระยะเวลาวางเงิน ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ดังนี้ คดีที่จำเลยที่ 1 ขอทุเลาการบังคับอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การขอขยายระยะเวลาวางหลักประกันเป็นเรื่องต่อเนื่องกับคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่สั่งเกี่ยวกับการขอทุเลาการบังคับของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลา จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ประเด็นอายุความหนี้ค่าไฟฟ้าที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่าไฟฟ้าที่โจทก์ชำระแทนให้แก่จำเลยไป จำเลยให้การต่อสู้ในเรื่องอายุความว่า โจทก์ผู้ให้เช่าฟ้องจำเลยผู้เช่าเกี่ยวกับสัญญาเช่าเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่จำเลยได้ส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าหรือนับแต่โจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาเช่าเมื่อปี 2535 หรือพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือนับแต่วันที่จำเลยส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า หรือนับแต่โจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาเช่าเมื่อปี 2535 หรือเกินกำหนด 5 ปี ในการใช้สิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระ คำให้การของจำเลยดังกล่าวมิได้ให้การต่อสู้ถึงเรื่องอายุความหนี้ค่าไฟฟ้า จึงไม่มีประเด็นในเรื่องอายุความหนี้ค่าไฟฟ้า การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยประเด็นในเรื่องดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยฎีกาต่อมาอีกก็ถือว่าเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
of 225