พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2175/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานละเว้นหน้าที่-เบียดบังทรัพย์: ศาลแก้โทษ ตัดความผิดมาตรา 157
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีคำสั่งกองกำกับการตำรวจภูธรที่จำเลยสังกัดกำหนดให้จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างซ่อมแซมสถานที่ราชการและมีหน้าที่จำหน่ายแบบแปลนการก่อสร้างเขียนใบเสร็จรับเงินเสนอรองผู้กำกับการตำรวจภูธรต้นสังกัดลงชื่อเป็นผู้รับเงินและนำเงินที่จำหน่ายแบบแปลนการก่อสร้างได้ส่งมอบแก่สมุห์บัญชีกองกำกับการฯเพื่อส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินต่อไปจำเลยมิได้นำเงินที่จำหน่ายแบบแปลนการก่อสร้างได้จำนวน7,600บาทส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินตามระเบียบจนพนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบพบและแนะนำให้จำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวส่งคลังจำเลยจึงปฏิบัติตามพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนโดยทุจริตเป็นผิดตามป.อ.มาตรา147,157,158แต่เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามป.อ.มาตรา147ซึ่งเป็นบทเฉพาะของมาตรา157แล้วการกระทำนั้นก็ไม่เป็นความผิดตามป.อ.มาตรา157ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1246/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายโดยไม่ได้เจตนาฆ่า ศาลแก้ไขข้อหาเป็นทำร้ายร่างกายไม่ถึงอันตรายแก่กาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 289,80,83 เมื่อทางพิจารณาปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดเพียงฐานทำร้ายผู้เสียหายโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 ศาลก็ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3084-3086/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแก้ไขคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และกำหนดค่าเสียหายแทนการรับกลับเข้าทำงาน
การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่า นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหรือผู้ใดกระทำการใด ๆ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 ถึงมาตรา 123 และการใช้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 41 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มิได้บัญญัติว่าถึงที่สุดผู้ถูกกล่าวหาอาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ รวมทั้งการใช้อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 41 หากคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมประการใด ศาลย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสมได้ เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามความเห็นของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้โจทก์รับจำเลยกลับเข้าทำงานศาลย่อมมีอำนาจกำหนดให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแทนการรับจำเลยกลับเข้าทำงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแลกเปลี่ยนที่ดินก่อนได้รับมรดก & การสละสิทธิครอบครองหลังได้รับมรดก ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้อง
โจทก์ตกลงแลกเปลี่ยนที่พิพาทกับที่ดินของจำเลย ขณะตกลงแลกเปลี่ยนโจทก์ยังไม่มีสิทธิในที่พิพาท และที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมที่บิดายกให้โจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลเป็นการแลกเปลี่ยน ทั้งเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619 แต่ภายหลังที่บิดาตายแล้วจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทเป็นของตนตลอดมาโดยโจทก์ไม่เกี่ยวข้อง ย่อมเป็นปริยายว่าโจทก์สละสิทธิครอบครองที่พิพาทให้แก่จำเลยภายหลังที่ที่พิพาทตกเป็นของโจทก์แล้ว โดยมีเจตนาแลกเปลี่ยนที่ดินกันดังเดิม จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองที่พิพาท โจทก์ต้องไปจดทะเบียนการโอนที่พิพาทให้จำเลย และจำเลยต้องไปจดทะเบียนโอนที่นาของตนที่แลกเปลี่ยนกับที่พิพาทให้โจทก์
ศาลล่างพิพากษาบังคับโจทก์โดยไม่บังคับจำเลยให้โอนที่ดินให้โจทก์ตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 2430/2516)
ศาลล่างพิพากษาบังคับโจทก์โดยไม่บังคับจำเลยให้โอนที่ดินให้โจทก์ตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 2430/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดินเงินผ่อน vs. สัญญาเช่าซื้อ ศาลวินิจฉัยเจตนาคู่สัญญาและแก้ไขคำพิพากษา
สัญญาระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายที่ดินเงินผ่อน ชื่อที่เรียกคู่สัญญาในสัญญาทุกข้อระบุว่าผู้ซื้อและผู้ขาย แม้มีสัญญาข้อหนึ่งว่าผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อเข้าครอบครองใช้สิทธิปลูกสร้างในที่ดินได้ ก็มีเงื่อนไขว่านับตั้งแต่วันที่ผู้ขายกรุยดินยกถนนผ่านที่ดินเรียบร้อยแล้ว อันมีความหมายชัดว่าผู้ขายไม่ได้มอบที่ดินให้ผู้ซื้อทันที โจทก์ผู้ซื้อจึงไม่ได้ใช้และรับประโยชน์จากที่ดินพิพาทในวันทำสัญญาแต่ประการใด แสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาที่จะทำสัญญาจะซื้อขายกัน ซึ่งต่างกับสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยจะต้องนำที่ดินมาให้โจทก์เช่า หรือส่งมอบที่ดินให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ หรือได้รับประโยชน์จากที่ดินนั้นโดยมีคำมั่นว่าจะขาย แม้คำบรรยายฟ้องมีว่า โจทก์ได้ตกลงเช่าซื้อที่พิพาท แต่ก็อ้างหนังสือสัญญาท้ายคำฟ้องซึ่งตรงกับหนังสือสัญญาดังกล่าวที่ส่งศาลและโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยสัญญาดังกล่าวเป็นหลัก ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่า สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาท
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ศาลล่างเขียนหรือพิมพ์คำพิพากษาผิดพลาดไป ว่าให้จำเลยเสียดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2514 (ที่ถูกคือ 2515) ศาลฎีกาแก้ไขได้เองให้ถูกต้อง โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 โดยพิพากษายืน แต่ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2515
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ศาลล่างเขียนหรือพิมพ์คำพิพากษาผิดพลาดไป ว่าให้จำเลยเสียดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2514 (ที่ถูกคือ 2515) ศาลฎีกาแก้ไขได้เองให้ถูกต้อง โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 โดยพิพากษายืน แต่ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2515
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผิดพลาดในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วม ศาลแก้ไขให้ถูกต้องตามสัญญา
อ. ทำสัญญาจะขายที่ดินแก่โจทก์บางส่วน แล้วโอนโฉนดทั้งหมดขายแก่จำเลย จำเลยให้โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดด้วยโดยระบุว่า 140 ส่วนใน 762 ส่วน โจทก์นำสืบได้ว่าโจทก์สำคัญผิดที่ถูกเป็น 306 ส่วน ศาลบังคับจำเลยให้แบ่งตามส่วนที่ถูกต้องตามที่โจทก์สัญญากับจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอุทธรณ์ต้องมีลายมือชื่อผู้อุทธรณ์ หากไม่มีถือเป็นฟ้องไม่บริบูรณ์ ศาลต้องแก้ไขก่อนพิจารณา
ฟ้องอุทธรณ์ที่มิได้ลงชื่อผู้อุทธรณ์ ย่อมเป็นฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) และศาลอุทธรณ์ก็ชี้ขาดตัดสินฟ้องอุทธรณ์ไปโดยมิได้แก้ไขข้อบกพร่องให้บริบูรณ์ตามกฎหมายเสียก่อนนั้น ศาลฎีกาควรยกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เสีย แล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสองโดยให้โจทก์ลงชื่อในฐานะผู้อุทธรณ์ในฟ้องอุทธรณ์เสียให้บริบูรณ์ตามกฎหมาย แล้วส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1356-1360/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักขังแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 ต้องเป็นไปตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
จำเลย 4 คนถูกลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 27 ปรับร่วมกันเป็นเงิน 66,789.80 บาท ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 ศาลจะสั่งกักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปีก็ได้ ดังนั้น เมื่อจำเลย 4 คน ก็ต้องแบ่งการกักขังได้คนละ 6 เดือน ตามนัยฎีกาที่ 535/2493 ที่ศาลชั้นต้นให้กักขังคนละ 1 ปี เป็นผลร้ายแก่จำเลย ศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1623/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งในคดีอาญาฉ้อโกง ศาลแก้ไขจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยต้องชดใช้เป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา
คดีที่พนักงานอัยการโจทก์ขอให้จำเลยใช้เงินแก่ผู้เสียหายรวมมากับฟ้องคดีอาญาที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกงด้วยนั้น หากศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะข้อใช้เงินเป็นให้ใช้น้อยลง ก็ถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษอาญาฐานยั่วโทสะในคดีทำร้ายร่างกายถึงแก่ความตาย ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี ตาม มาตรา 25159 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะให้ลดโทษจำเลยฐานยั่วโทสะตามมาตรา 55 ด้วยคงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ดังนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้มากคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
การที่ฝ่ายหนึ่งยั่วโทสะอีกฝ่ายหนึ่งให้เข้าต่อสู้ทำร้ายกันก็อาจลดโทษฐานยั่วโทสะตามมาตรา 55 ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2498)
การที่ฝ่ายหนึ่งยั่วโทสะอีกฝ่ายหนึ่งให้เข้าต่อสู้ทำร้ายกันก็อาจลดโทษฐานยั่วโทสะตามมาตรา 55 ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2498)