คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลแขวง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 248 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7139/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับศพที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการฟ้องเรียกค่าเสียหาย ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาเฉพาะส่วน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ฉ.ผู้ตายอันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5แสดงตนต่อโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 เพื่อขอรับศพผู้ตาย โดยแสดงหลักฐานเพียงใบแทนบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยที่ 3 เท่านั้น ส่วนหลักฐานอื่นตามระเบียบของโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 ที่แจ้งให้โจทก์นำมาแสดงไม่มี แต่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1กลับมอบศพผู้ตายให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไป เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ไม่มีสิทธิในการรับศพผู้ตายออกจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 อย่างไร อันจะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับศพผู้ตายไป จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์
ส่วนคำฟ้องของโจทก์ที่กล่าวอ้างว่า จำเลย 2 ถึงที่ 4 นำศพผู้ตายใส่ในโลงที่โจทก์เป็นผู้เตรียมมานำออกไปจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 หากฟังได้เป็นความจริงย่อมเป็นการเอาโลงดังกล่าวไปโดยไม่มีสิทธิ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตามคำฟ้องส่วนนี้ แต่โลงที่โจทก์กล่าวอ้างมีราคาเพียง 4,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง ศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์นำคดีส่วนนี้ไปฟ้องยังศาลแขวงที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9313/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงจำกัดเฉพาะความผิดอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หากฟ้องรวมความผิดอัตราโทษสูงกว่า ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดี
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352,353 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปีศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ แต่ความผิดตามมาตรา 354 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ศาลแขวงไม่มีอำนาจพิพากษาคดี โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทโดยจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกเบียดบังทรัพย์มรดกไปเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352,353 และ 354 ซึ่งเป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยงต่อกัน ซึ่งหากศาลพิจารณาได้ข้อเท็จจริงตามฟ้อง ศาลต้องลงโทษตามมาตรา 354 ซึ่งมีอัตราโทษเกินอำนาจที่ศาลแขวงจะพิจารณาพิพากษาได้ย่อมทำให้ศาลแขวงไม่มีอำนาจพิจารณาคดีตามมาตรา 352 และ 353 ไปด้วย ดังนั้น การที่ศาลแขวงรับคดีตามมาตรา 354 ไว้พิจารณามาแต่ต้นโดยที่ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาย่อมทำให้กระบวนการพิจารณาคดีที่พิจารณามาแล้วเป็นการพิจารณาคดีโดยมิชอบทั้งหมดศาลแขวงจะพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีตามมาตรา 352,353 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4249/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา: ศาลแขวงปรับบทลงโทษตามมาตรา 328 มิได้ แม้เป็นบทหนักกว่า
ความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตาม ป.อ. มาตรา 328 เป็นบทความผิดลักษณะฉกรรจ์ของความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 กฎหมายหาได้บัญญัติแยกการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 กับความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตามมาตรา 328 ออกต่างหากจากกันไม่
ศาลแขวงไม่มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 328 เพราะเกินอำนาจพิจารณาพิพากษา และได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อหาความผิดตามมาตรา 328 ไปแล้วเท่านั้น หาใช่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 326 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตามมาตรา 326 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4249/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ศาลยืนความผิดมาตรา 326 แม้เกินอำนาจศาลแขวงตามมาตรา 328
ความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 เป็นบทความผิดลักษณะฉกรรจ์ของความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 กฎหมายหาได้บัญญัติแยกการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 กับความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตามมาตรา 328 ออกต่างหากจากกันไม่ เมื่อเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตามมาตรา 328 แล้ว ก็ไม่จำต้องยกมาตรา 326 ขึ้นปรับมาลงโทษอีกดังนี้ เมื่อศาลแขวงไม่มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 เพราะเกินอำนาจพิจารณาพิพากษาและได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อหาความผิดตามมาตรา 328 ไปแล้ว เมื่อจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ด้วยการโฆษณาที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 326 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงและความชอบด้วยกฎหมายในการฟ้องคดีอาญา
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีอาญาต่อศาลชั้นต้นซึ่งมิใช่ศาลแขวงโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิและร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอมดังกล่าว ขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา265 ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาทซึ่งข้อหาดังกล่าวเกินอำนาจพิจารณาของศาลแขวง กรณีจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 264 และ 268 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 265 ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีปลอมแปลงเอกสาร: ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาคดีปลอมแปลงเอกสารธรรมดา แต่ต้องฟ้องภายในกำหนดเวลา
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีอาญาต่อศาลชั้นต้นซึ่งมิใช่ ศาลแขวงโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอม หนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิและ ร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอมดังกล่าว ขอให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งข้อหาดังกล่าวเกินอำนาจพิจารณาของศาลแขวง กรณีจึง ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง และวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้วแม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 และ 268 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 265 ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6522/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบถามจำเลยเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาคดีในศาลแขวง แม้ไม่มีบทบัญญัติโดยตรง แต่ต้องใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
แม้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 กับพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2499 ได้ตราขึ้นก็โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีรวดเร็วยิ่งขึ้นและเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนก็ตามแต่เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173วรรคสอง บัญญัติในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้อันเป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่จำเลยในการพิจารณาคดีของศาลซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงดังกล่าวจะไม่มีบทบัญญัติดังเช่นมาตรา 173วรรคสอง ก็ดี แต่ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯก็บัญญัติให้นำกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับการที่ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาคดี จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา กรณีเป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณา และพิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการได้รับการช่วยเหลือทางกฎหมาย – การสอบถามทนายความก่อนพิจารณาคดีในศาลแขวง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2539ที่บัญญัติว่า "ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก หรือในคดีที่จำเลย มีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณา ให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการ ทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้" เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนด อำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องสอบถามจำเลยในเรื่องการมีทนายความเสียก่อนในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำความผิด ที่มีอัตราโทษจำคุกทุกกรณี และต้องนำมาใช้ในการพิจารณา คดีอาญาทุกคดี ส่วนบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง และวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 20 กับพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 ประกอบด้วยมาตรา 22 แม้จะเป็นบทบัญญัติที่ใช้ในศาลแขวงโดยเฉพาะแต่บทบัญญัติดังกล่าว ก็เป็นเพียงบทบัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินการของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และวิธีพิจารณาคดีของศาลในกรณีที่จำเลย ให้การรับสารภาพเพื่อให้การพิจารณาคดีเสร็จสิ้นโดยเร็ว เท่านั้น มิใช่เป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ของจำเลยในการดำเนินคดี การต่อสู้คดี และการได้รับความ ช่วยเหลือทางกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงไม่มีบทบัญญัติ ที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในกรณีที่ให้จำเลยมีโอกาส ได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายจากทนายความในการดำเนินคดี กรณีจึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง มาใช้บังคับตามนัยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ดังนี้เมื่อคดีนี้มีอัตราโทษจำคุก แต่ก่อนเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ และถ้าไม่มี จำเลยต้องการทนายความหรือไม่ จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาส่งตัวผู้ต้องหาให้อัยการเพื่อฟ้องคดีในศาลแขวง และผลของการยื่นคำร้องขอผัดฟ้องเกินกำหนด
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 มาตรา 7 ที่บัญญัติให้พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ต้องหาที่ถูกจับไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลให้ทันภายในกำหนดระยะเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับนั้น เป็นบทบัญญัติเพื่อมิให้การดำเนินคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงต้องล่าช้าและทำให้ผู้ต้องหาต้องถูกควบคุมตัวไว้นานเกินสมควรแก่เหตุและความจำเป็น คดีนี้นอกจากผู้ร้องจะได้ขออายัดตัวผู้ต้องหาต่อพนักงาน-สอบสวนในคดีอื่นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2540 แล้ว และในวันเดียวกันผู้ร้องยังได้แจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหา แจ้งสิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา รวมทั้งได้สอบคำให้การผู้ต้องหาไว้ด้วย ดังนี้ กรณีหาใช่เป็นกรณีที่ผู้ร้องขออายัดตัวผู้ต้องหาแต่เพียงอย่างเดียวไม่ แต่ต้องถือว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องได้จับผู้ต้องหาแล้ว หรือผู้ต้องหาถูกจับแล้วตั้งแต่นั้น แม้ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่ในคดีอื่น และพนักงานสอบสวนในคดีนี้เพิ่งได้ตัวผู้ต้องหามาดำเนินคดีในภายหลัง โดยผู้ต้องหาได้รับการปล่อยชั่วคราวไปในคดีนี้ ก็คงมีผลแต่เพียงทำให้ผู้ร้องมิต้องยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499มาตรา 8 เท่านั้น แต่ผู้ร้องยังมีหน้าที่ต้องส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องผู้ต้องหาให้ทันภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับดังกล่าว และถ้าไม่สามารถฟ้องได้ทันภายในกำหนด ผู้ร้องก็จะต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลต่อไป เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องคดีนี้เกินกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับศาลจึงไม่อาจรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาต่อไปได้ ชอบที่ศาลจะสั่งยกคำร้องขอผัดฟ้องของผู้ร้องเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง การจับและควบคุมตัวผู้ต้องหา
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 ที่บัญญัติให้พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ต้องหาที่ถูกจับไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลให้ทันภายในกำหนดระยะเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับนั้นเป็นบทบัญญัติเพื่อมิให้การดำเนินคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงต้องล่าช้าและทำให้ผู้ต้องหาต้องถูกควบคุมตัวไว้นานเกินสมควรแก่เหตุและความจำเป็น คดีนี้นอกจากผู้ร้องจะได้ขออายัดตัวผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวนในคดีอื่นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2540 แล้ว และในวันเดียวกันผู้ร้องยังได้แจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหา แจ้งสิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา รวมทั้งได้สอบคำให้การผู้ต้องหาไว้ด้วยดังนี้ กรณีหาใช่เป็นกรณีที่ผู้ร้องขออายัดตัวผู้ต้องหาแต่เพียงอย่างเดียวไม่ แต่ต้องถือว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องได้จับผู้ต้องหาแล้ว หรือผู้ต้องหาถูกจับแล้วตั้งแต่นั้น แม้ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่ในคดีอื่น และพนักงานสอบสวนในคดีนี้เพิ่งได้ตัวผู้ต้องหามาดำเนินคดีในภายหลัง โดยผู้ต้องหาได้รับการปล่อยชั่วคราวไปในคดีนี้ ก็คงมีผลแต่เพียงทำให้ผู้ร้องมิต้องยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 8 เท่านั้น แต่ผู้ร้องยังมีหน้าที่ต้อง ส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องผู้ต้องหาให้ทันภายใน กำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ ดังกล่าว และถ้าไม่สามารถฟ้องได้ทันภายในกำหนด ผู้ร้องก็จะต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลต่อไป เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องคดีนี้เกินกำหนดเวลา สี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับศาลจึงไม่อาจ รับ คำร้อง ของ ผู้ร้องไว้พิจารณาต่อไปได้ ชอบที่ศาลจะสั่ง ยกคำร้องขอผัดฟ้องของผู้ร้องเสีย
of 25