พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ, ข้อตกลงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย, การลดเบี้ยปรับ, ค่าทนายความ
ตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้โจทก์ถอนฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาที่โจทก์กับพวกฟ้องจำเลยรวม 11 คดี ภายในกำหนด 3 วันนับแต่วันทำสัญญา และให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามที่ระบุไว้คืนแก่จำเลยภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันทำสัญญา และจำเลยตกลงจะชำระเงินแก่โจทก์จำนวน18,000,000 บาท ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2535 ปรากฏว่าสำนวนคดีที่ตกลงให้โจทก์ถอนฟ้องเป็นคดีที่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 จำนวน 6 คดี และเป็นคดีฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ในทางแพ่งจำนวน 5 คดี ทั้ง 11 คดีดังกล่าวไม่ใช่คดีอาญาแผ่นดิน ฉะนั้นข้อตกลงในส่วนดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 แม้ข้อตกลงในส่วนที่ให้จำเลยถอนฟ้องและไม่ดำเนินคดีในข้อหาฟ้องเท็จตามคดีอาญาที่ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความเอกสาร จ.1 ข้อ 1 (ฏ) เป็นคดีอาญาแผ่นดิน ซึ่งอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนตกเป็นโมฆะก็ตาม ก็เป็นส่วนที่แยกออกจากส่วนที่สมบูรณ์ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 173 ซึ่งไม่เกี่ยวกับส่วนที่จำเลยจะต้องชำระเงินเพื่อตอบแทนแก่โจทก์ในการที่โจทก์ได้ถอนฟ้องคดีทั้ง11 สำนวน ตามที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ
ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องเช็คขึ้นวินิจฉัย เป็นไปตามประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง จึงไม่เป็นเรื่องนอกประเด็น
การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงยินยอมให้เบี้ยปรับแก่โจทก์เป็นเงิน 5,000,000 บาท หากจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาแสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาผูกพันตามนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องเสียเบี้ยปรับแก่โจทก์ แต่ก็ไม่ได้บังคับว่าจะต้องเป็นไปตามนั้นโดยเด็ดขาด ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า คดีนี้ไม่ยุ่งยาก ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความทั้งสองศาลแก่โจทก์รวม 3,000,000 บาทสูงเกินไปนั้น เป็นดุลพินิจที่เหมาะกับรูปคดีแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะไปเปลี่ยนแปลง
ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องเช็คขึ้นวินิจฉัย เป็นไปตามประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง จึงไม่เป็นเรื่องนอกประเด็น
การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงยินยอมให้เบี้ยปรับแก่โจทก์เป็นเงิน 5,000,000 บาท หากจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาแสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาผูกพันตามนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องเสียเบี้ยปรับแก่โจทก์ แต่ก็ไม่ได้บังคับว่าจะต้องเป็นไปตามนั้นโดยเด็ดขาด ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า คดีนี้ไม่ยุ่งยาก ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความทั้งสองศาลแก่โจทก์รวม 3,000,000 บาทสูงเกินไปนั้น เป็นดุลพินิจที่เหมาะกับรูปคดีแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะไปเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับคือค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า แม้เรียกชื่ออื่น ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้
ข้อสัญญาระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่มีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าให้เจ้าหนี้ริบหรือเรียกเอาได้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรย่อมเป็นเบี้ยปรับทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีการเรียกชื่ออย่างไรหรือไม่ จำเลยที่1และที่2กู้เงินจากโจทก์โดยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ12.5ต่อปีกำหนดชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นรายเดือนซึ่งหากผิดนัดไม่ส่งเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยสำหรับเงินคงค้างเพิ่มขึ้นเป็นอัตราสูงสุดตามประกาศของโจทก์ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยเดิมจึงถือว่าเป็นเบี้ยปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5272/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นบังคับคดี: ศาลมีดุลพินิจให้ฝ่ายผิดนัดชำระรับผิดชอบได้
ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีซึ่งรวมทั้งค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย ย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 วรรคหนึ่ง แต่ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง หรือแต่บางส่วนก็ได้โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาลาศึกษาต่อ-เบี้ยปรับสูงเกินควร ศาลลดค่าเสียหายตามสมควร
ตามสัญญาลาไปศึกษาต่อมีข้อตกลงว่าเมื่อเสร็จการศึกษาแล้วจะกลับมารับราชการต่อไปหากลาออกก่อนกำหนดยอมใช้เงินเป็นจำนวน3เท่าหมายความว่าไม่ว่าจะสำเร็จการศึกษาหรือไม่ก็มีหน้าที่ต้องกลับมารับราชการต่อไปเมื่อจำเลยลาออกไปก่อนที่จะกลับมารับราชการจึงเป็นการผิดสัญญาแม้โจทก์จะอนุมัติให้จำเลยลาออกจำเลยก็ต้องชำระเบี้ยปรับการที่โจทก์เรียกให้จำเลยที่1ชำระเงินจำนวนที่ได้รับไปจากโจทก์ในระหว่างลาไปศึกษาต่อถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมรับให้ชำระเบี้ยปรับจำนวน1เท่าจำเลยที่1จะต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์คือกลับมาปฎิบัติงานให้ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเมื่อจำเลยที่1ยังไม่ได้ชำระหนี้ข้อนี้เลยจะถือว่าโจทก์ยอมรับชำระหนี้โดยสงวนสิทธิในเรื่องเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา381วรรคท้ายไม่ได้ การกำหนดเบี้ยปรับเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้มิได้ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควรประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383วรรคแรกบัญญัติให้ศาลมีอำนาจลดลงได้เป็นจำนวนพอสมควรหากเห็นว่าเกินส่วนโดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายมิใช่แต่ทางทรัพย์สินเท่านั้นและเมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฎชัดแจ้งว่าได้รับความเสียหายตามจำนวนค่าปรับที่กำหนดไว้ในสัญญาศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3931/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานคู่รู้เห็น ไม่บังคับต้องเบิกความพร้อมกัน ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาได้
แม้ผู้เสียหายที่ 1 และผู้เสียหายที่ 2 จะเป็นพยานคู่รู้เห็นเหตุการณ์ในคราวเดียวกัน แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติบังคับให้โจทก์ต้องนำพยานคู่มาเบิกความในคราวเดียวกันอันเป็นข้อห้ามไม่ให้รับฟังเป็นข้อพิจารณาของศาลแต่ประการใด ศาลย่อมนำคำเบิกความของผู้เสียหายทั้งสองไปพิเคราะห์เทียบเคียงให้เห็นเท็จและจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5460/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่เปิดเผยก่อนวันสืบพยาน และประเด็นความสมบูรณ์ของสัญญาซื้อขาย
จำเลยไม่ได้ส่งสำเนาหนังสือสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย ล.1ให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน เป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ.มาตรา 90 แต่เมื่อศาลเห็นว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)
โจทก์ฎีกาว่า หนังสือสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย ล.1 ไม่ได้จดทะเบียนจึงมีลักษณะเป็นใบรับเงินเท่านั้น ซึ่งจะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ เป็นข้อที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแต่แรก ทั้งไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเท่ากับวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นของโจทก์นั่นเอง คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงไม่นอกประเด็น
โจทก์ฎีกาว่า หนังสือสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย ล.1 ไม่ได้จดทะเบียนจึงมีลักษณะเป็นใบรับเงินเท่านั้น ซึ่งจะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ เป็นข้อที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแต่แรก ทั้งไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเท่ากับวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นของโจทก์นั่นเอง คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงไม่นอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลพิจารณาประโยชน์แก่ทายาทและกองมรดกเป็นหลัก แม้ผู้คัดค้านใกล้ชิดผู้ตายแต่ไม่ได้หมายความเหมาะสมเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว
การตั้งผู้จัดการมรดกศาลย่อมใช้ดุลพินิจคำนึงถึงความเหมาะสมประกอบกับพฤติการณ์ที่จะให้ประโยชน์แก่ทายาทและกองมรดกการที่ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้ร้องไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ตายไม่ทราบว่ามีทรัพย์มรดกอะไรบ้างทั้งไม่ทราบเจตนาของผู้ตายว่าประสงค์จะยกทรัพย์มรดกส่วนใดให้แก่ผู้ใดส่วนผู้คัดค้านอยู่ใกล้ชิดกับผู้ตายรู้ว่าทรัพย์มรดกอยู่แห่งใดและทราบความประสงค์ของผู้ตายว่าต้องการยกทรัพย์มรดกส่วนใดให้แก่ผู้ใดนั้นไม่ใช่เหตุผลที่แสดงถึงความเหมาะสมที่ผู้คัดค้านจะเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียวผู้ร้องไม่เป็นผู้ต้องห้ามตามกฎหมายที่จะเป็นผู้จัดการมรดกการให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้จัดการมรดกร่วมกันน่าจะเป็นประโยชน์แก่ทายาทและกองมรดกมากกว่าให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างก็อ้างว่าตนสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและขอให้ศาลตั้งให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้นคดีไม่มีประเด็นว่าทรัพย์สินใดเป็นมรดกของผู้ตายการที่ผู้คัดค้านฎีกาว่าทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่มรดกของผู้ตายจึงเป็นเรื่องนอกเหนือจากคำขอและนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอน แต่เป็นประโยชน์ต่อความยุติธรรม
แม้โจทก์จะไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารทั้งหมดหรือบางส่วนโดยเฉพาะด้านหลังเช็คที่มีลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 สลักหลังไว้ให้แก่จำเลยที่ 3 ก่อนวันสืบพยานตามที่ระบุไว้ในมาตรา 90(เดิม) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวมิได้บังคับโดยเด็ดขาดตายตัว หากเอกสารที่อ้างนั้นเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลมีอำนาจรับฟังเอกสารนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวก็เป็นข้อแสดงให้เห็นว่าเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แม้จะฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(เดิม) ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6480/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้ายร่างกาย ไม่ใช่พยายามฆ่า ศาลใช้ดุลพินิจลงโทษตามความผิดที่พิจารณาได้
จำเลยมีปากเสียงกับผู้เสียหายเรื่องเขตที่ดิน เพราะผู้เสียหายไม่ยอมรับเรื่องเขตที่ดินที่จำเลยกล่าวหาว่าผู้เสียหายรุกล้ำ จำเลยจึงใช้ปืนสั้นเล็งยิงผู้เสียหายในระดับต่ำลงพื้นดินในระยะ 3 เมตร กระสุนปืนถูกต้นขาขวาด้านหน้าทะลุต้นขาซ้ายด้านใน กระดูกขาไม่ได้รับอันตราย แพทย์ลงความเห็นว่ารักษาบาดแผลประมาณ 10 วัน แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย เพียงแต่มีเจตนาทำร้ายร่างกายเท่านั้น แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่า ศาลก็มีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยในการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามที่พิจารณาได้ความนั้นได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 และการกระทำของจำเลยไม่เป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินและเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้หากเกินความเสียหายที่แท้จริง
ข้อสัญญาที่ว่า จำเลยจะดำเนินการให้ผู้เช่านารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินพิพาทก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์นั้นได้แยกออกมาเป็นข้อที่ 5ในสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยเฉพาะ และเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อนี้ โจทก์ย่อมไม่สามารถเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทได้จนกว่าจำเลยจะดำเนินการให้ผู้เช่านารื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดิน ทั้งในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ครั้งแรกโจทก์ได้นำแคชเชียร์เช็คไปชำระราคาที่เหลือครบถ้วน แต่ก็ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้ เนื่องจากผู้เช่านายังไม่ยอมออกไปจากที่ดินพิพาท จนถึงขนาดโจทก์จำเลยต้องทำบันทึกกันใหม่เลื่อนเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ไปเพื่อให้จำเลยดำเนินการให้ผู้เช่านารื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินก่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ได้เลื่อนมา แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยว่าสัญญาข้อนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ย่อมเป็นสาระสำคัญของสัญญาและเป็นหน้าที่ของจำเลย เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อนี้ ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน จึงต้องรับผิดโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญา
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ข้อ 10 กำหนดว่า หากจำเลยผิดสัญญายอมให้โจทก์ปรับจำเลยเป็นเงิน 4 เท่า ของเงินมัดจำ คือปรับเป็นเงินจำนวน400,000 บาท ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 380 เมื่อเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
ที่ดินพิพาทโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกันในราคา 1,000,000 บาทเมื่อถึงกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยก็ยอมจดทะเบียนโอนให้โดยดีแม้ผู้เช่านาจะไม่ยอมรื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ แต่ก็ยอมขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกจากที่ดินโดยมีกำหนดเวลาไว้พอสมควร ความเสียหายที่โจทก์ได้รับจึงมีไม่มาก เหตุที่โจทก์กำหนดค่าปรับสูงเพราะกลัวว่าจำเลยจะไม่บอกผู้เช่านาให้ออกจากที่ดินและกลัวว่าที่ดินจะมีราคาสูงขึ้นและโจทก์ไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าได้นำที่ดินพิพาทไปขายต่อให้บุคคลอื่น จำเลยไม่ทราบว่าโจทก์จะนำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่ ก. และไม่ทราบว่าโจทก์อาจถูก ก.เรียกเบี้ยปรับฐานผิดสัญญา ทั้งโจทก์ก็จะได้รับโอนที่ดินตามที่เรียกร้องมาอยู่แล้วหาใช่จะได้รับแต่เพียงเบี้ยปรับแต่เพียงอย่างเดียวไม่ เมื่อเบี้ยปรับเป็นเงิน400,000 บาท สูงเกินส่วน แม้โจทก์จะชำระเบี้ยปรับจำนวน 500,000 บาทให้แก่ ก.ฐานไม่จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้ตามสัญญา ก็เป็นเรื่องที่โจทก์สละข้อต่อสู้ในเรื่องเบี้ยปรับสูงเกินส่วนกับ ก.โดยไม่คำนึงว่า ก.จะได้รับความเสียหายมากน้อยเพียงใด โจทก์จะให้จำเลยรับผิดในเบี้ยปรับที่ชำระให้แก่ ก.จนเต็มจำนวนหาได้ไม่ ชอบที่ศาลจะกำหนดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องชำระให้โจทก์เป็นจำนวนพอสมควรเพียง 100,000 บาทได้
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ข้อ 10 กำหนดว่า หากจำเลยผิดสัญญายอมให้โจทก์ปรับจำเลยเป็นเงิน 4 เท่า ของเงินมัดจำ คือปรับเป็นเงินจำนวน400,000 บาท ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 380 เมื่อเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
ที่ดินพิพาทโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกันในราคา 1,000,000 บาทเมื่อถึงกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยก็ยอมจดทะเบียนโอนให้โดยดีแม้ผู้เช่านาจะไม่ยอมรื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ แต่ก็ยอมขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกจากที่ดินโดยมีกำหนดเวลาไว้พอสมควร ความเสียหายที่โจทก์ได้รับจึงมีไม่มาก เหตุที่โจทก์กำหนดค่าปรับสูงเพราะกลัวว่าจำเลยจะไม่บอกผู้เช่านาให้ออกจากที่ดินและกลัวว่าที่ดินจะมีราคาสูงขึ้นและโจทก์ไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าได้นำที่ดินพิพาทไปขายต่อให้บุคคลอื่น จำเลยไม่ทราบว่าโจทก์จะนำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่ ก. และไม่ทราบว่าโจทก์อาจถูก ก.เรียกเบี้ยปรับฐานผิดสัญญา ทั้งโจทก์ก็จะได้รับโอนที่ดินตามที่เรียกร้องมาอยู่แล้วหาใช่จะได้รับแต่เพียงเบี้ยปรับแต่เพียงอย่างเดียวไม่ เมื่อเบี้ยปรับเป็นเงิน400,000 บาท สูงเกินส่วน แม้โจทก์จะชำระเบี้ยปรับจำนวน 500,000 บาทให้แก่ ก.ฐานไม่จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้ตามสัญญา ก็เป็นเรื่องที่โจทก์สละข้อต่อสู้ในเรื่องเบี้ยปรับสูงเกินส่วนกับ ก.โดยไม่คำนึงว่า ก.จะได้รับความเสียหายมากน้อยเพียงใด โจทก์จะให้จำเลยรับผิดในเบี้ยปรับที่ชำระให้แก่ ก.จนเต็มจำนวนหาได้ไม่ ชอบที่ศาลจะกำหนดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องชำระให้โจทก์เป็นจำนวนพอสมควรเพียง 100,000 บาทได้