คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลไม่รับฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องแสดงการชำระภาษีตามกฎหมาย หากไม่ชำระ ศาลไม่รับฟ้อง
บทบัญญัติของพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 39 เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงยกขึ้นปรับคดีได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีภาษีโรงเรือนโดยไม่ชำระภาษีค้างจ่าย ศาลไม่รับฟ้องตามบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อย
บทบัญญัติของพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 39 เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงยกขึ้นปรับคดีได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งฟ้องโดยผู้ไม่มีอำนาจตาม พ.ร.บ.ทนายความ ถือเป็นฟ้องไม่สมบูรณ์ ศาลไม่รับฟ้อง
ผู้อื่นใดที่มิได้รับอนุญาตเป็นทนายความหรือตัวความหามีอำนาจแต่งฟ้องได้ไม่
เมื่อผู้เรียงคำฟ้องไม่ได้รับอนุญาตเป็นทนายความ ฟ้องโจทก์ก็ไม่เป็นฟ้อง ศาลจะรับไว้ดำเนินคดีต่อไปหาได้ไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2499)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 818/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฝ่ายบริหารกับการสั่งการเรื่องราวร้องทุกข์: ศาลไม่รับฟ้องบังคับการคืนสู่ราชการ
การขอเข้ารับหรือออกจากราชการตลอดจนการขอเข้าใหม่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบข้าราชการฝ่ายพลเรือนนั้นอยู่ในอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะจะมาฟ้องขอให้ศาลบังคับหาได้ไม่
พ.ร.บ.เรื่องราวร้องทุกข์ ไม่มีบัญญัติไว้เด็ดขาดว่านายกรัฐมนตรีจำต้องปฏิบัติตามมติคณะกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์ แม้ใน ม.20 ก็ไม่มีผลบังคับเด็ดขาดอยู่เพียงคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์ ๆ พึงเสนอความเห็นอีกทางหนึ่งเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งการของนายกรัฐมนตรีเท่านั้น
คำในวรรค 2 ซึ่งว่า "เมื่อนายกรัฐมนตรีได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการแล้วจัดการไปเป็นการใด ฯลฯ" ย่อมแสดงว่าอยู่ในความวินิจฉัยของนายกรัฐมนตรีที่จะจัดการไปประการใดก็ได้แล้วแจ้งคณะกรรมการ
เรื่องราวร้องทุกข์ทราบเพื่อแจ้งแก่ผู้ร้องต่อไป เรื่องระยะเวลา 60 วันก็เพื่อเร่งให้ดำเนินการพิจารณาและสั่งการไปโดยเร็วนั่นเอง จึงไม่ทำให้เกิดสิทธิฟ้องคดีเช่นนี้ได้
ศาลไทยยังไม่มีศาลปกครองจึงต้องพิจารณาตาม ก.ม.และอำนาจของศาลไทย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1045/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนาย: ค่าจ้างเมื่อศาลไม่รับฟ้อง คดีอาญา ยุตติด้วยเหตุโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยจ้างโจทก์เป็นทนายว่าความในคดีที่จำเลยถูกฟ้องหาว่าฆ่าคนตายโดยเจตนา มีข้อสัญญากันว่าถ้าศาลพิพากษาหรือสั่งยกฟ้องในคดีดำที่ถูกฟ้องนั้น จำเลยจะให้ค่าจ้างโจทก์เป็นเงิน 1000 บาท โจทก์จึงทำคำร้องคัดค้านว่าโจทก์ในคดีนั้นไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ศาลจึงสั่งไม่ประทับรับฟ้องเพราะปรากฎว่า โจทก์ในคดีนั้นไม่ใช่สามีโดยชอบด้วย ก.ม.ของผู้ตาย ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีนั้นจึงเป็นอันยุตติดังนี้ถือได้ว่า ตามสัญญาที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ดังกล่าวผูกมัดจำเลยให้ต้องจ่ายเงินแก่โจทก์ตามสัญญานั้นแล้ว แม้จำเลยจะถูกทายาทของผู้ตายเป็นโจทก์ฟ้องในกรณีนั้นอีก คดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องปล้นทรัพย์ต้องระบุรายละเอียดทรัพย์สินที่ถูกปล้น หากไม่ชัดเจน ศาลไม่รับฟ้อง
ในการฟ้องฐานปล้นทรัพย์นั้นทรัพย์ที่ถูกปล้นเอาไปเป็นรายละเอียดส่วนสำคัญที่จะต้องกล่าวในฟ้องให้ปรากฎ หากไม่สามารถจะกล่าวถึงรายละเอียดให้ทราบได้ว่าทรัพย์สิ่งใดบ้างที่ถูกปล้นไปอย่างน้อยก็ต้องระบุถึงประเภทลักษณะ และชะนิดของทรัพย์เหล่านั้น เท่าที่จำเลยเข้าใจในเรื่องที่ตนถูกหาได้
โจทก์ฟ้องหาว่าปล้นทรัพย์แต่ไม่ได้กล่าวว่า ทรัพย์ที่ถูกปล้นเป็นทรัพย์อะไรบ้าง และราคาเท่าใด ศาลสั่งให้แก้ฟ้อง โจทก์ก็ไม่จัดการหรือพยายามจัดการขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องตามที่ศาลสั่งนั้นแต่ประการใด ฟ้องของโจทก์จึงถือได้ว่า ไม่ได้กล่าวรายละเอียดถึงสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควร เท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาหลังปล่อยตัวระหว่างสอบสวน: ศาลไม่รับฟ้องหากเจ้าพนักงานยังสามารถนำตัวจำเลยมาส่งศาลได้
พนักงานสอบสวนหรืออัยยการขอให้ศาลขังจำเลยระหว่างสอบสวนตาม ป.วิ.อาญามาตรา 87 จนครบกำหนด และศาลปล่อยตัวจำเลยไปแล้วเช่นนี้ จะมาขอให้ศาลสั่งขังอีกย่อมไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เมื่อเจ้าพนักงานจับจำเลยใหม่เพื่อฟ้องเป็นคดี จะควบคุมผู้ต้องหาไม่ได้เสียเลย เจ้าพนักงานยังคงควบคุมผู้ต้องหาได้ตามที่จำเป็นตามพฤตติการณ์แห่งคดีตามตอนต้นแห่ง มาตรา 87 คือเพียงเท่าที่จะนำตัวจำเลยมาส่งศาลโดยแท้เท่านั้น จะควบคุมเพื่อเหตุอื่น เช่นสอบสวนต่อไปหรือรออัยยการสั่งฟ้องไม่ได้
อัยยการฟ้องขอให้ศาลออกหมายจับจำเลยโดยอ้างว่าจำเลยถูกศาลสั่งขังระหว่างสอบสวนครบกำหนดจนศาลสั่งปล่อยตัวไปแล้วเช่นนี้ ไม่ชอบที่ศาลจะรับประทับฟ้องและออกหมายจับให้เพราะเจ้าพนักงานยังมีอำนาจที่จะดำเนินการเพื่อเอาตัวจำเลยมาส่งศาลพร้อมฟ้องได้ มิฉะนั้นจะเป็นการยืดอายุความอันเป็นผลร้ายแก่จำเลย (อ้างฎีกาที่ 126/2489)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2419)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รัฐบาลไม่เป็นนิติบุคคล จึงฟ้องร้องต่อศาลไม่ได้ และการคำนวณค่าขึ้นศาลเมื่อศาลไม่รับฟ้อง
ผู้ที่จะฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยในโรงศาลนั้นจะต้องเป็นบุคคลโดยเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลตาม ก.ม.
รัฐบาลไม่เป็นนิติบุคคลตาม ก.ม.จึงเป็นคู่ความไม่ได้
ศาลสั่งในคำฟ้องโจทก์ว่าไม่เป็นฟ้องที่จะรับไว้พิจารณา เมื่อโจทก์จะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งเช่นนี้เสียค่าขึ้นศาล 20 บาท ตาม 2 ข. แห่งตาราง 1 ต่อท้าย ป.วิ.แพ่ง ไม่ใช่ว่าจะต้องเสียตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ตั้งมาในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาเพื่อยืดอายุความ: ศาลไม่รับฟ้องหากเป็นการขัดเจตนารมณ์ของกฎหมายอายุความ
อัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย แล้วขอให้ศาลออกหมายจับและเป็นการฟ้องเพื่อยืดอายุความ ศาลไม่รับฟ้อง (อ้างฎีกาที่ 126/89)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2489

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาก่อนหมดอายุความ: ศาลไม่รับฟ้องหากมีเจตนาหยุดอายุความโดยไม่จำเป็น
คดีอาญา โจทก์จะยื่นฟ้องขอให้ศาลออกหมายจับตัวจำเลยมาพิจารณาเพื่อกันมิให้คดีขาดอายุความนั้นไม่ได้ เป็นการขัดความประสงค์ของกฎหมายในเรื่องอายุความ ล่วงเลยในการฟ้องคดีอาญา
of 5