คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศุลกากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 316 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5871/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าต้องต่อเมื่อมีการส่งมอบสินค้าให้ผู้นำเข้าออกจากอารักขาของศุลกากรแล้ว
ผู้นำของเข้าจะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ส่งมอบจนถึงวันที่นำเงินมาชำระตามมาตรา 112 จัตวา แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ต่อเมื่อกรมศุลกากรโจทก์ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยผู้นำเข้านำสินค้าออกไปจากอารักขาของศุลกากรแล้วเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบสินค้ารถยนต์ให้จำเลยนำออกไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่จำเลยต้องนำมาชำระตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร กรณีสำแดงราคานำเข้าต่ำกว่าราคาตลาด
การที่จะเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20 ตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ตรี นั้น มีได้เฉพาะ 2 กรณี คือ กรณีมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดในวรรคหนึ่งแห่งมาตรา 112 ทวิซึ่งสืบเนื่องจากการวางประกันค่าอากรตามมาตรา 112 ประการหนึ่ง กับกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดตามมาตรา 40 หรือมาตรา 45 อีกประการหนึ่ง
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่า จำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงให้จำเลยวางหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติมสูงกว่าจำนวนค่าอากรที่จำเลยได้สำแดงไว้ พร้อมทั้งประทับตรา "ตีราคา" ไว้หลังใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาและค่าภาษีอากรที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม และแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง โจทก์จึงเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้ากรณีสำแดงราคาต่ำกว่าราคาตลาด และไม่ชำระภายในกำหนดตามกฎหมายศุลกากร
การที่จะเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ตรี นั้นมิได้เฉพาะ 2 กรณี คือ กรณีมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดในวรรคหนึ่งแห่งมาตรา 112 ทวิ ซึ่งสืบเนื่องจากการวางประกันค่าอากรตามมาตรา 112 ประการหนึ่ง กับกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดตามมาตรา 40 หรือมาตรา 45 อีกประการหนึ่ง
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่า จำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงให้จำเลยวางหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติมสูงกว่าจำนวนค่าอากรที่จำเลยได้สำแดงไว้พร้อมทั้งประทับตรา "ตีราคา" ไว้หลังใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาและค่าภาษีอากรที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม และแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งโจทก์จึงเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาและเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าเมื่อสำแดงราคาสินค้าน้อยกว่าราคาตลาด
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 มีความเห็นว่าจำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงให้จำเลยวางหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติมพร้อมทั้งประทับตรา "ตีราคา" ไว้หลังใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรแล้ว เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาและค่าภาษีอากรที่จำเลยต้องชำระเพิ่มและแจ้งให้จำเลยทราบ แต่จำเลยมิได้ชำระเงินให้ครบถ้วนภายในกำหนดระยะเวลา กรณีของจำเลยจึงอยู่ในข่ายที่โจทก์จะเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ตรีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2499/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามนำรถยนต์ออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านศุลกากร การพิพากษาโทษฐานความผิด
จำเลยที่ 1 ได้นำรถยนต์ที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนจากจังหวัดศรีสะเกษไปยังอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และจำเลยที่ 2 ได้ติดต่อพวกของจำเลยที่ 2 เพื่อให้นำรถยนต์คันดังกล่าวไปขายที่ประเทศกัมพูชา แต่ยังนำรถยนต์ออกไปไม่ได้จึงนำไปจอดไว้ที่ตลาดอรัญประเทศเพื่อจะนำรถยนต์คันดังกล่าวไปขาย แต่ยังขายไม่ได้ จึงนำรถยนต์ไปคืนยังจุดเกิดเหตุ ดังนี้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนานำรถยนต์คันดังกล่าว ซึ่งเป็นของที่ไม่ต้องเสียอากรขาออก ออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านศุลกากรให้ถูกต้อง การกระทำของจำเลยที่ 1 เลยขั้นตระเตรียมการแล้ว แต่กระทำไปไม่ตลอดเพราะขายไม่ได้ จึงเป็นความผิดฐานพยายามนำรถยนต์ออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านศุลกากรให้ถูกต้องอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 27 ประกอบด้วย ป.อ. มาตรา 80
โจทก์มิได้ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดโดยเกี่ยวข้องด้วยประการใด ๆ ในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร หรือในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงบทกฎหมายและข้อจำกัดใด ๆ อันเกี่ยวแก่การนำของเข้า ส่งของออก ขนของขึ้น เก็บของในคลังสินค้า และการส่งมอบของโดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น ซึ่งความผิดฐานนี้ไม่ว่าจะเป็นพยายามกระทำความผิดหรือกระทำความผิดสำเร็จก็ตาม กฎหมายกำหนดโทษไว้เท่ากัน ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 27 ประกอบด้วย ป.อ. มาตรา 83 จึงไม่ถูกต้อง นอกจากนี้คำขอท้ายฟ้องระบุให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 27 ป.อ. มาตรา 80 คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1385/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรใหม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อสำแดงน้ำหนักและราคาต่ำกว่าความเป็นจริง และคดีไม่ขาดอายุความ
โจทก์ทั้งสองฟ้องบรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับจำเลยได้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร และยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ตรวจพบว่าจำเลยได้สำแดงน้ำหนักสุทธิของสินค้าไม่ถูกต้อง ต่ำกว่าความเป็นจริง เป็นเหตุให้อากรขาด รวมถึงความรับผิดของจำเลยผู้สั่งสินค้ารายพิพาท ให้เป็นที่เข้าใจได้เป็นอย่างดี ตามคำให้การของจำเลยก็ปรากฏว่าจำเลยเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วน ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเอาเงินภาษีอากรส่วนที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งสินค้าที่นำเข้า มิใช่กรณีการคิดคำนวณอากรผิดพลาด จึงมีอายุความ10 ปี นับจากวันที่นำของเข้า จำเลยนำสินค้าเข้ามาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2531โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2541 ยังไม่ครบ 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยนำแผ่นพลาสติกชนิดแข็งเข้ามาในราชอาณาจักรโดยระบุในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าว่า สินค้ามีแหล่งกำเนิดในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 3,060 แผ่น น้ำหนัก 17,847 กิโลกรัมสำแดงราคา ซี แอนด์ เอฟ 47,959 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตามพิกัดอัตราศุลกากรได้กำหนดให้คิดอัตราอากรร้อยละ 60 ของราคา หรือในอัตรา 14 บาทต่อ 1 กิโลกรัมเมื่อคำนวณตามน้ำหนักแล้วมีราคา 2.68 ดอลลาร์สหรัฐต่อหน่วยกิโลกรัม แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าสินค้าที่จำเลยนำเข้ามีน้ำหนัก 52,311.70 กิโลกรัม มิใช่น้ำหนัก 17,847กิโลกรัม ตามที่จำเลยสำแดงราคาสินค้าของจำเลยต่อ 1 กิโลกรัม จึงคิดเป็นเงิน 0.91ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อนำราคาดังกล่าวไปเทียบกับราคาสินค้าของผู้นำเข้ารายอื่นที่นำเข้าจากประเทศไต้หวัน ซึ่งมีราคาต่อ 1 กิโลกรัม เท่ากับ 1.31 ถึง 1.50 ดอลลาร์สหรัฐราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงจึงต่ำกว่าราคาที่มีผู้นำเข้ารายอื่นสำแดงไว้ แม้โจทก์จะนำสินค้าที่บริษัท ล.นำเข้าซึ่งเป็นสินค้าที่อยู่ในพิกัดต่างประเภทย่อยกับสินค้าของจำเลยราคา 1.539 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 กิโลกรัม มาใช้เทียบเป็นราคาสินค้าของจำเลยก็ตามแต่โจทก์ก็ได้ลดราคานำเข้าให้จำเลยอีกร้อยละ 10 ของราคาดังกล่าว จึงเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดราคาสินค้าที่เหมาะสมแล้ว การที่โจทก์ทั้งสองได้ทำการประเมินราคาสินค้าใหม่และเรียกเก็บอากรขาเข้าและภาษีการค้าเพิ่มเติมจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1385/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรใหม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ราคาสินค้าที่สำแดงต่ำกว่าราคาตลาดและมีการประเมินราคาใหม่โดยใช้ดุลพินิจ
โจทก์ทั้งสองฟ้องบรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับจำเลยได้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร และยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ตรวจพบว่าจำเลยได้สำแดงน้ำหนักสุทธิของสินค้าไม่ถูกต้อง ต่ำกว่าความเป็นจริง เป็นเหตุให้อากรขาด รวมถึงความรับผิดของจำเลยผู้สั่งสินค้ารายพิพาท ให้เป็นที่เข้าใจได้เป็นอย่างดีตามคำให้การของจำเลยก็ปรากฏว่าจำเลยเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วน ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเอาเงินภาษีอากรส่วนที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งสินค้าที่นำเข้า มิใช่กรณีการคิดคำนวณอากรผิดพลาดจึงมีอายุความ 10 ปี นับจากวันที่นำของเข้า จำเลยนำสินค้าเข้ามาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2531 โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน2541 ยังไม่ครบ 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยนำแผ่นพลาสติกชนิดแข็งเข้ามาในราชอาณาจักรโดยระบุในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าว่าสินค้ามีแหล่งกำเนิดในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 3,060 แผ่นน้ำหนัก 17,847 กิโลกรัม สำแดงราคา ซีแอนด์เอฟ47,959ดอลลาร์สหรัฐซึ่งตามพิกัดอัตราศุลกากรได้กำหนดให้คิดอัตราอากรร้อยละ 60 ของราคาหรือในอัตรา 14 บาทต่อ 1 กิโลกรัม เมื่อคำนวณตามน้ำหนักแล้วมีราคา2.68 ดอลลาร์สหรัฐต่อหน่วยกิโลกรัม แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าสินค้าที่จำเลยนำเข้ามีน้ำหนัก 52,311.70 กิโลกรัม มิใช่น้ำหนัก 17,847กิโลกรัม ตามที่จำเลยสำแดงราคาสินค้าของจำเลยต่อ 1 กิโลกรัมจึงคิดเป็นเงิน 0.91 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อนำราคาดังกล่าวไปเทียบกับราคาสินค้าของผู้นำเข้ารายอื่นที่นำเข้าจากประเทศไต้หวัน ซึ่งมีราคาต่อ1 กิโลกรัม เท่ากับ 1.31 ถึง 1.50 ดอลลาร์สหรัฐ ราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงจึงต่ำกว่าราคาที่มีผู้นำเข้ารายอื่นสำแดงไว้ แม้โจทก์จะนำสินค้าที่บริษัท ล. นำเข้าซึ่งเป็นสินค้าที่อยู่ในพิกัดต่างประเภทย่อยกับสินค้าของจำเลยราคา 1.539 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 กิโลกรัม มาใช้เทียบเป็นราคาสินค้าของจำเลยก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ลดราคานำเข้าให้จำเลยอีกร้อยละ 10 ของราคาดังกล่าว จึงเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดราคาสินค้าที่เหมาะสมแล้ว การที่โจทก์ทั้งสองได้ทำการประเมินราคาสินค้าใหม่และเรียกเก็บอากรขาเข้าและภาษีการค้าเพิ่มเติมจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของคำฟ้องคดีศุลกากรและการลงโทษหลายกรรม
ข้อที่จำเลยยกขึ้นฎีกาว่า ความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า เลื่อยโซ่ยนต์เป็นของต้องห้ามต้องจำกัดตามประกาศของกระทรวงใด ฉบับที่หรือ พ.ศ.อะไร จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 158 นั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์ต้องนำสืบในชั้นพิจารณา และคดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ประกอบกับคดีไม่จำต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจจะพิจารณาพิพากษาได้ คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ป.อ.มาตรา 91 ไม่ใช่มาตราในกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158(6) ดังนั้น เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายฟ้องมาเป็นข้อ ๆ และระบุการกระทำของจำเลยเป็นหลายกรรม แม้ไม่ได้ระบุมาตรา 91 มาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4409/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทพิกัดศุลกากรสินค้า: เครื่องแช่แข็งอาหาร (Freezing Tunnel) มิใช่เครื่องลำเลียง
เดิมสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร บริษัทผู้ผลิตเรียกชื่อสินค้าดังกล่าวว่า "Freezing Tunnel" หรือ "Food Freezer" ซึ่งแปลว่าเครื่องแช่แข็งอาหาร แต่โจทก์ได้ขอให้บริษัทผู้ผลิตสินค้าพิพาทเปลี่ยนชื่อสินค้าพิพาทใหม่โดยใช้ชื่อว่า "Belt Conveyor" แปลว่า เครื่องสายพานลำเลียง แสดงว่าบริษัทผู้ผลิตต้องการให้สินค้าพิพาท เป็นเครื่องแช่แข็งอาหาร มิใช่เป็นเครื่องสายพานลำเลียงเท่านั้น และสาระสำคัญของสินค้าพิพาทก็เพื่อประโยชน์ ในการแช่แข็งอาหารโดยใช้สายพานและระบบขับเคลื่อนเป็นส่วนประกอบเพื่อลำเลียงอาหารสดให้ได้รับสารทำความเย็น สินค้าพิพาทจึงมิใช่เพียงเครื่องสายพานลำเลียงหรือเครื่องลำเลียงอาหารสดเท่านั้น และถึงแม้ว่าสินค้าพิพาทจะ ไม่สามารถผลิตสารทำความเย็นได้ด้วยตนเองและไม่มีส่วนใดที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับคอมเพรสเซอร์ คอนเดนเซอร์ ลิ้นลดความดัน คงมีแต่แผงกระจายความเย็นที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับอีแวโพเรเตอร์ก็ตาม แต่ก็สามารถทำความเย็นได้ด้วยการนำถังบรรจุสารทำความเย็นมาติดตั้งและต่อท่อส่งสารทำความเย็นไปที่ระบบหัวฉีดของเครื่องแล้วนำ สินค้าพิพาทแช่แข็งอาหารได้ ดังนี้ สินค้าพิพาทจึงจัดเป็นเครื่องอุปกรณ์ทำความเย็นหรือทำให้เย็นจนแข็งอื่น ๆ ซึ่งมิใช่แบบคอมเพรสชันที่คอนเดนเซอร์เป็นตัวแลกเปลี่ยนความร้อน อันเป็นสินค้าจัดอยู่ในประเภทพิกัด 8418.69 มิใช่เป็นเครื่องลำเลียงอาหารสด ประเภทพิกัด 8428.33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักลอบนำเข้าเมทแอมเฟตามีน: การตีความความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร เมื่อของห้ามเสียภาษี
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยได้ลักลอบนำหรือพาเข้ามา ในราชอาณาจักรเป็นของที่มีไว้เป็นความผิดซึ่งไม่อาจ เสียภาษีได้ การที่จำเลยพาเข้ามาในราชอาณาจักรนั้น มิใช่เป็นการนำหรือพาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยง การเสียภาษีศุลกากร จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 นอกเหนือจาก ความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 65 วรรคสอง
of 32