คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สถานะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ-เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ: ข้อเท็จจริงต้องสอดคล้องและสถานะต้องเป็นเจ้าพนักงานจริง
ข้อความที่จำเลยที่3แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงกับสภาพที่จำเลยที่2ไปพบเห็นมาจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่3แจ้งข้อความตรงตามข้อเท็จจริงที่ปรากฎส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยที่3แจ้งหรือไม่ไม่สำคัญเพราะการแจ้งข้อความหมายถึงแจ้งข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมายจึงไม่ผิดฐานแจ้งความเท็จ พนักงานของสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานครได้รับเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่ายของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครไม่ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานครถือไม่ได้ว่ามีฐานะเป็นข้าราชการจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157 ศาลจะมีอำนาจลงโทษจำเลยในฐานความผิดหรือบทมาตราที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคห้าได้นั้นต้องเป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสมฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามที่กล่าวในฟ้องจริงเพียงแต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดไปเท่านั้นทั้งจะต้องมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างตัวบทกฎหมายผิดเป็นคนละฉบับไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8033-8037/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะนิติบุคคลของมิซซังโรมันคาทอลิกตามกฎหมายพิเศษและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาดหลวงโรมันคาทอลิคในกรุงสยามตามกฎหมายร.ศ.128ข้อ1และข้อ2วรรคหนึ่งและวรรคสองระบุให้มิสซังมีฐานะเป็นบริษัทมิสซังโรมันคาทอลิคกรุงเทพมหานครจึงเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา65,66ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่ได้บัญญัติให้ยกเลิกมัสซังโรมันคาธอลิคว่าไม่เป็นนิติบุคคลแต่อย่างใดแต่ได้บัญญัติรับรองไว้ว่านิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นและนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นภายในขอบอำนาจแห่งหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมายข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งเมื่อโจทก์เป็นมิสซังโรมันคาธอลิคเป็นนิติบุคคลอยู่ก่อนแล้วตามพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาดหลวงโรมันคาธอลิคในกรุงสยามตามกฎหมายร.ศ.128ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษยังใช้บังคับจนปัจจุบันนี้พระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นกฎหมายอื่นฉบับหนึ่งตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา65โจทก์จึงย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายอยู่ต่อไป ข้อที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ไม่ใช่บริษัทจำคุกตามความในบรรพ3ลักษณะ22หมวด4จึงไม่เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ1หมวด2นั้นปัญหาข้อนี้แม้จะวินิจฉัยให้ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงถือว่าไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6606/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกลับคืนสถานะนิติบุคคลหลังถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน: ความเสียหายต่อเจ้าหนี้และการได้รับความเป็นธรรม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(6) ศาลจะสั่งให้จดชื่อบริษัทกลับคืนเข้าสู่ทะเบียนก็ต่อเมื่อพิจารณาได้ความเป็นที่พอใจว่าในขณะที่ขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียนนั้น บริษัทยังทำการค้าขายหรือยังประกอบการงานอยู่ หรือมิฉะนั้นเห็นว่าเป็นการยุติธรรมที่จะให้บริษัทได้กลับคืนขึ้นทะเบียนอีกเพราะฉะนั้นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งดังกล่าวจึงต้องอ้างเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง และต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นตามข้อกล่าวอ้างนั้นด้วย บริษัท ท.เป็นลูกหนี้ผู้ร้องอยู่การที่บริษัทท. ถูกขีดชื่อเป็นบริษัทร้าง ผู้ร้องย่อมไม่อาจดำเนินคดีแก่บริษัทดังกล่าวได้ ดังนี้ถือว่าผู้ร้องได้รับความเสียหายซึ่งไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลับจดชื่อบริษัท ท. ให้คืนสถานะเป็นนิติบุคคลได้ เมื่ออุทธรณ์ อุทธรณ์ในเรื่องใด อีกฝ่ายไม่เห็นด้วยชอบที่จะยกปัญหานั้นตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์จึงจะถือว่าเป็นข้อที่ไม่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6606/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกลับคืนสถานะนิติบุคคลหลังถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน: ความเสียหายของเจ้าหนี้และเหตุความเป็นธรรม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1246(6)ศาลจะสั่งให้จดชื่อบริษัทกลับคืนเข้าสู่ทะเบียนก็ต่อเมื่อพิจารณาได้ความเป็นที่พอใจว่าในขณะที่ขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียนนั้นบริษัทยังทำการค้าขายหรือยังประกอบการงานอยู่หรือมิฉะนั้นเห็นว่าเป็นการยุติธรรมที่จะให้บริษัทได้กลับคืนขึ้นทะเบียนอีกเพราะฉะนั้นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งดังกล่าวจึงต้องอ้างเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งและต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นตามข้อกล่าวอ้างนั้นด้วย บริษัท ท. เป็นลูกหนี้ผู้ร้องอยู่การที่บริษัท ท. ถูกขีดชื่อเป็นบริษัทร้างผู้ร้องย่อมไม่อาจดำเนินคดีแก่บริษัทดังกล่าวได้ดังนี้ถือว่าผู้ร้องได้รับความเสียหายซึ่งไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้องแล้วผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลับจดชื่อบริษัท ท. ให้คืนสถานะเป็นนิติบุคคลได้ เมื่ออุทธรณ์อุทธรณ์ในเรื่องใดอีกฝ่ายไม่เห็นด้วยชอบที่จะยกปัญหานั้นตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์จึงจะถือว่าเป็นข้อที่ไม่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยพนักงานรัฐวิสาหกิจ: การตีความสถานะ 'พนักงาน' และข้อยกเว้นสำหรับฝ่ายบริหาร
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ไม่ใช้บังคับ ซึ่งประกาศ ณ วันที่12 กันยายน 2534 ข้อ 2 ระบุว่า ให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวไม่ใช้บังคับทำให้ตำแหน่งงานของโจทก์ไม่อยู่ภายใต้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 อีกต่อไป ประกอบกับระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ที่ออกตามความในมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ได้ระบุในข้อ 45 และข้อ 47 มีความหมายว่าเงินค่าชดเชยที่รัฐวิสาหกิจใดจะพึงจ่ายให้นั้นได้กำหนดเจาะจงจ่ายให้เฉพาะแก่พนักงานของรัฐวิสาหกิจนั้นเท่านั้น โดยข้อ 3 ได้ให้คำนิยามคำว่า พนักงานหมายความว่า พนักงานตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ซึ่งในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.นี้ได้ให้คำนิยามคำว่า พนักงาน หมายความว่า พนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ แต่ไม่หมายความรวมถึงฝ่ายบริหาร และคำว่า ฝ่ายบริหารหมายความว่า พนักงานรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ระดับหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไป โดยให้หมายความรวมถึงผู้อำนวยการด้วย เมื่อขณะที่โจทก์พ้นจากการทำงานให้แก่จำเลยในปี 2537 ขณะ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ใช้บังคับเพราะเหตุเกษียณอายุ โจทก์มีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ ถือได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นฝ่ายบริหารไม่ใช่พนักงานของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามข้อ 45 และข้อ 47แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ดังกล่าว
การที่โจทก์เรียกร้องสิทธิประโยชน์ในเงินค่าชดเชยโจทก์จะถือสิทธิความเป็นพนักงานตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 หาได้ไม่ เพราะบทบัญญัติแห่งกฎหมายฉบับนี้ใช้สำหรับพิจารณาว่าคุณสมบัติขั้นมาตรฐานและลักษณะต้องห้ามของพนักงานรัฐวิสาหกิจมีอย่างไรเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3025/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้างประจำส่วนราชการ ไม่เป็นพนักงาน รัฐวิสาหกิจ ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างประจำสังกัดศูนย์มาลาเรีย กองมาลาเรียกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นส่วนราชการ จำเลยที่ 2 จึงมิใช่พนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 100 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยปรับบทมาตราดังกล่าวสำหรับจำเลยที่ 2 และศาลอุทธรณ์ไม่แก้ไข มิชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะผู้จัดการมรดกคดีแพ่งไม่ผูกพันคดีอาญา แม้ศาลสั่งถอนแต่คดียังไม่ถึงที่สุด ผู้เสียหายยังฟ้องได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ถอนโจทก์ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก ของ ช. ในคดีแพ่ง แต่คดียังไม่ถึงที่สุด เพราะโจทก์อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงยังรับฟังเป็นยุติไม่ได้ จึงใช้ยัน บุคคลภายนอกคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(1) ไม่ได้ ส่วนบทบัญญัติวรรคแรกที่ว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ ให้มีผลผูกพันนับแต่วันที่ได้มีคำพิพากษา หรือคำสั่งจนถึงวันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าว ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นเป็นเรื่องที่ให้ถือว่าผูกพัน คู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งเท่านั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกจึงมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีแพ่งนั้นของศาลชั้นต้นไม่มีผลผูกพันถึงคู่ความในคดีนี้ แม้จำเลยจะเป็นผู้ร้องขอให้ถอนโจทก์ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกในคดีดังกล่าวก็ตาม แต่ก็เป็นคู่ความคนละคดีกัน จำเลยจึงไม่อาจยกขึ้นอ้างอิงในคดีนี้ได้ โจทก์ยังคงมีฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของช. อยู่ จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยฐานปลอมตั๋วสัญญาใช้เงินของ ช. เป็นคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะสำนักงานปุ๋ยฯ ไม่ใช่หน่วยงานราชการ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
แม้ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2518ได้ถูกยกเลิกไปโดย พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528ก็ตาม แต่การจัดระเบียบราชการกรุงเทพมหานครที่บัญญัติไว้ในมาตรา 60 ก็เป็นทำนองเดียวกับมาตรา 11 ที่ถูกยกเลิก ซึ่งหาได้มีสำนักงานปุ๋ย กรุงเทพมหานครรวมอยู่ด้วยไม่ เมื่อสำนักงานปุ๋ยฯ ได้จัดตั้งขึ้นครั้งแรกโดยกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้อนุมัติให้เทศบาลนครกรุงเทพเป็นผู้จัดตั้งและดำเนินการ โดยมิได้จัดตั้งขึ้นตามพ.ร.ฎ.ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ นอกจากนี้ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการควบคุมและดำเนินงานของสำนักงานปุ๋ยเทศบาลนครกรุงเทพ พ.ศ.2507 ก็ให้มีคณะกรรมการบริหาร มีหน้าที่บริหารกิจการของสำนักงานปุ๋ยฯ โดยเฉพาะ แยกไปจากการบริหารราชการของเทศบาลนครกรุงเทพ อีกทั้งในบทเฉพาะกาลข้อ 26ในระยะเริ่มแรกซึ่งตั้งสำนักงานปุ๋ยฯ เทศบาลนครกรุงเทพก็ตั้งค่าใช้จ่ายและทุนดำเนินงานให้ต่างหากโดยจัดสรรเงินทุนหมุนเวียนให้ และในข้อ 27 ยังได้ระบุไว้ด้วยว่า การดำเนินกิจการของสำนักงานปุ๋ยฯ เมื่อปรากฏผลกำไรจากกำไรสุทธิให้แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งส่งให้เป็นรายได้ของเทศบาลนครกรุงเทพ อีกส่วนหนึ่งให้เป็นเงินสำรองเพื่อปรับปรุงขยายกิจการหรือลงทุนเพิ่มขึ้น แสดงว่าการจัดตั้งสำนักงานปุ๋ยฯ ขึ้นก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ดังนี้สำนักงานปุ๋ยเทศบาลนครกรุงเทพหรือสำนักงานปุ๋ยกรุงเทพมหานครจึงไม่ใช่ส่วนราชการของกรุงเทพมหานครและไม่เป็นราชการส่วนท้องถิ่น จึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นมิให้ใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 1 (3) จำเลยที่ 1 ในฐานะนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าของสำนักงานปุ๋ยกรุงเทพมหานคร รวมทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริหารและเป็นผู้อำนวยการจำเลยที่ 1 ตามลำดับ ในฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 2 จึงมีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เมื่อเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6559/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการคัดค้านการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย ขึ้นอยู่กับสถานะการได้สิทธิในทรัพย์สินนั้น
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาทรายเดียวกันในคดีแพ่ง ซึ่งถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยไม่ใช่ของผู้ร้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของผู้ร้อง แม้ที่ดินพิพาทจะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และผู้ร้องเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท ผู้ร้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทนั้น แต่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้รอการพิจารณาคำร้องขอเข้าอยู่อาศัยและทำประโยชน์ของผู้ร้องไว้ เพราะที่ดินพิพาทถูกยึด ผู้ร้องจึงยังไม่ได้รับสิทธิให้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ยังไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิร้องขอให้มีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีและให้ถอนการยึดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 158 ต้องยกคำร้องขอ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่ากรณีเป็นการร้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามฎีกาของผู้ร้องต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5614/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะสำนักงานปุ๋ยไม่ใช่ส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร จึงไม่อยู่ภายใต้ประกาศคุ้มครองแรงงาน
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528มาตรา 60 บัญญัติให้จัดระเบียบราชการกรุงเทพมหานคร ออกเป็น6 ส่วนราชการ ซึ่งมิได้มีสำนักงานปุ๋ยรวมอยู่ด้วยและไม่ปรากฎว่าสำนักงานปุ๋ยได้จัดตั้งขึ้นโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครโดยทำเป็นประกาศกรุงเทพมหานครตามมาตรา 60(6) สำนักงานปุ๋ยจึงมิใช่ส่วนราชการของกรุงเทพมหานครส่วนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สำนักงานปุ๋ย พ.ศ. 2531ข้อ 6 ซึ่งกำหนดให้กรุงเทพมหานครดำเนินการพาณิชย์เรื่อง สำนักงานปุ๋ยก็มิใช่เป็นบทบัญญัติกำหนดให้สำนักงานปุ๋ยเป็นส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร กิจการของสำนักงานปุ๋ยจึงมิใช่ราชการส่วนท้องถิ่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 1(3)
of 18