พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4010/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: สิทธิเรียกดอกเบี้ยของบริษัทเงินทุนที่ไม่ได้รับการระบุเป็นสถาบันการเงิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืม รับจำนอง เดิมชื่อบริษัท ท.จำกัดต่อมาได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อเป็นบริษัทเงินทุน ท.จำกัด มีรายละเอียดตามหนังสือรับรองท้ายฟ้องดังนี้ โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบริษัทเงินทุนและเป็นสถาบันการเงินตามพ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินพ.ศ.2523 อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษ กรณีจึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 654 ที่ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปีมาปรับแก่คดี
โจทก์เรียกดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยในอัตราร้อยละ 20 ต่อปีเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์หมดสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามสัญญา แต่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด.
โจทก์เรียกดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยในอัตราร้อยละ 20 ต่อปีเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์หมดสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามสัญญา แต่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9722/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิเรียกร้องเป็นของสถาบันการเงินและสามารถโอนได้ภายใต้ พ.ร.ก.บริหารสินทรัพย์
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทเงินทุน บ. เด็ดขาดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2545 แต่ก่อนศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทเงินทุน บ. เด็ดขาด ระหว่างพิจารณาคดีหมายเลขแดงที่ ง.456/2545 ของศาลแพ่ง บริษัทเงินทุน บ. ได้โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยกับพวกตามมูลหนี้ในคดีแพ่งให้แก่ธนาคาร ท. และศาลแพ่งมีคำสั่งอนุญาตให้ธนาคาร ท. เข้าสวมสิทธิเป็นโจทก์แทนแล้ว บริษัทเงินทุน บ. จึงมิใช่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หากแต่เป็นธนาคาร ท. สิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ ง.456/2545 ของศาลแพ่ง จึงมิใช่ทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกระทำการแทนได้ ธนาคาร ท. ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชอบที่จะโอนสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาดังกล่าวอันเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ได้ ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ส่วนที่โจทก์เคยตั้งเรื่องนำยึดทรัพย์ของจำเลยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2555 แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีให้สอบถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อนนั้นเป็นความรอบคอบของเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งภายหลังเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการยึดทรัพย์ของจำเลยให้ตามที่โจทก์ขอ หาใช่การรับโอนสิทธิเรียกร้องของโจทก์เป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องที่มีข้อจำกัด การกระทำโดยสุจริตและสถานะสถาบันการเงินมีผลต่อการบังคับชำระหนี้
สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างงานโครงสร้างระหว่างจำเลยและบริษัท ค. มีข้อกำหนดห้ามมิให้โอนสิทธิเรียกร้องเว้นแต่เฉพาะกับสถาบันการเงินเท่านั้น จึงเป็นกรณีที่คู่กรณีได้แสดงเจตนาเป็นอย่างอื่น ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคสอง สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์และบริษัท ค. จะมีผลใช้บังคับแก่จำเลยได้หากโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกกระทำการรับโอนสิทธิเรียกร้องโดยสุจริต เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการรับโอนสิทธิเรียกร้องโดยสุจริต อีกทั้งโจทก์มิใช่เป็นสถาบันการเงิน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12705/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายมีเงื่อนไขการขอสินเชื่อ สัญญาไม่เป็นผลเมื่อสถาบันการเงินไม่อนุมัติ ผู้จะซื้อไม่ผิดนัด
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่มีข้อตกลงว่า หลังจากทำสัญญาแล้วโจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อจะดำเนินการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินหรือธนาคาร เมื่อธนาคารอนุมัติสินเชื่อ จำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์นั้น เห็นได้ว่าสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวมีเงื่อนไขที่โจทก์จะต้องไปขอสินเชื่อกู้เงินจากสถาบันการเงินหรือธนาคารเพื่อชำระราคาส่วนที่เหลือให้แก่จำเลย สถาบันการเงินหรือธนาคารจะให้กู้หรือไม่เป็นเรื่องไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินหรือธนาคารจะเป็นผู้พิจารณา หากสถาบันการเงินหรือธนาคารไม่ให้กู้ สัญญาจะซื้อจะขายย่อมไม่อาจสำเร็จลุล่วงได้ เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการเพื่อขอกู้เงินจากธนาคารถึงสองธนาคาร แต่ธนาคารทั้งสองแห่งไม่อนุมัติ เงื่อนไขตามสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่เป็นผล สัญญาไม่อาจสำเร็จลุล่วงไปได้ แม้จะไม่ปรากฏว่ามีการจำกัดช่วงเวลาหรือจำนวนสถาบันการเงินหรือธนาคารที่โจทก์จะดำเนินการขอสินเชื่อ โจทก์จึงยังอาจดำเนินการขอสินเชื่อได้อีก ไม่ใช่เรื่องพ้นวิสัย แต่ก็ไม่แน่นอนว่าการดำเนินการขอสินเชื่อจะได้รับอนุมัติจากสถาบันการเงินหรือธนาคารใดหรือไม่ เมื่อไร ทั้งการดำเนินการขอสินเชื่อจากธนาคารมาสองแห่งแล้ว ถือว่าโจทก์ขวนขวายดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามสัญญาตามสมควรแล้ว กรณีมิใช่ว่าโจทก์จะต้องดำเนินการขอสินเชื่อเรื่อยไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดซึ่งมิใช่เจตนารมณ์ของคู่สัญญา เมื่อโจทก์พยายามปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาแล้วแต่ไม่สำเร็จไม่สามารถนำเงินมาชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือได้ จึงไม่ใช่ความผิดของโจทก์ โจทก์ไม่ใช่ผู้ผิดนัดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิริบมัดจำ ดังนั้น โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยคืนเงินมัดจำได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น พิพากษากลับว่า ให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 5,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 160/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรง: การช่วยเหลือจากสถาบันการเงินพิเศษต้องเป็นเจ้าหนี้จากบริษัทที่ถูกระงับกิจการ
โจทก์เป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงิน ที่มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตั๋วและจำเลยที่ 2 เป็นผู้อาวัล จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 มิได้มีนิติสัมพันธ์ใดๆ กับโจทก์ จำเลยที่ 3 ซึ่งจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มีหน้าที่ดำเนินการกับบริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และสถาบันการเงินที่ถูกคำสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการ การที่โจทก์จะได้รับผลประโยชน์จากจำเลยที่ 3 จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามที่กฎและระเบียบที่จำเลยที่ 3 กำหนดกล่าวคือ บุคคลที่จะรับการช่วยเหลือจะต้องเป็นเจ้าหนี้ที่เป็นผู้ทรงตั๋วเงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนบริษัทที่ถูกระงับกิจการ แต่จำเลยที่ 1 ไม่ใช่บริษัทเงินทุน ส่วนที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ฝากเงินกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนที่ถูกระงับกิจการนั้นโจทก์ไม่มีบัตรเงินฝาก จึงไม่เข้าเงื่อนไขที่จำเลยที่ 3 จะช่วยเหลือ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6158/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องจากสัญญาซื้อขายสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูก ปรส. ชำระบัญชี ผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ชนะการประมูล
พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา16 (3) บัญญัติให้คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือ ปรส. มีอำนาจหน้าที่กำหนดวิธีการชำระบัญชีและขายทรัพย์สินของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ ซึ่งต่อมา ปรส. ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 16 (3) แห่งบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ออกประกาศลงวันที่ 2 มิถุนายน 2541 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายสินทรัพย์หลักของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน 56 ซึ่งสินเชื่อของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอ็ม ซี ซี จำกัด (มหาชน) เป็นสินทรัพย์หลักของบริษัทหนึ่งในจำนวน 56 บริษัทดังกล่าว และประกาศดังกล่าว ข้อ 2.1 ระบุว่าการจำหน่ายสินทรัพย์หลัก ให้กระทำโดยวิธีเปิดเผย หรือวิธีการอื่นตามที่ ปรส. กำหนด เมื่อพิจารณาประกาศดังกล่าวต่อไปมีข้อความระบุถึงผู้ประมูลและผู้ซื้อสินทรัพย์หลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อ 3.2 ระบุว่า ผู้ประมูลและผู้ซื้อสินทรัพย์หลักต้องมีฐานะและสิทธิตามกฎหมายและมีศักยภาพทางการเงินเหมาะสมเพียงพอแก่การเข้าร่วมกระบวนการจำหน่ายสินทรัพย์ โดยที่ ปรส. มีสิทธิแต่ผู้เดียวในการวินิจฉัยคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมประมูลและผู้ซื้อ และในข้อ 4.1.5 (2) ระบุว่า หากผู้ชนะการประมูลต้องการโอนสิทธิที่จะทำสัญญาขายมาตรฐานให้ผู้อื่น ผู้ชนะการประมูลจะต้องให้การค้ำประกันที่ไม่อาจเพิกถอนได้ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการทำสัญญาขายมาตรฐาน ความข้อนี้สอดคล้องกับสัญญาซื้อขายข้อ 13 (8) ที่ว่า ผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องร่วมการประมูลและไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ชนะการประมูล อีกทั้งผู้ซื้อเพียงแต่รับมอบสิทธิที่จะเข้าทำสัญญาซื้อขายเท่านั้น โจทก์จึงสามารถเข้าเป็นผู้ซื้อในสัญญาซื้อขาย ที่ทำกับ ปรส. ได้ โดยสัญญาซื้อขายดังกล่าวรวมถึงการขายสินเชื่อที่จำเลยทั้งสองเป็นหนี้ค้างชำระแก่บริษัทเจ้าหนี้เดิมด้วย อีกทั้งในขณะทำสัญญาซื้อขายดังกล่าวโจทก์จดทะเบียนมีฐานะเป็นนิติบุคคลแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อหนี้สถาบันการเงินและการเรียกร้องดอกเบี้ย ผู้ค้ำประกัน และผลของการฟื้นฟูกิจการ
ส. มิได้เป็นพนักงานของโจทก์แต่เป็นลูกจ้างของบริษัท บ. ซึ่งโจทก์แต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารและบริการทรัพย์สินสินเชื่อที่โจทก์ซื้อมาจากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และ ส. มีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวกับมูลหนี้ รวมทั้งมูลหนี้ของจำเลยในคดีนี้การที่ ส. ตรวจสอบมูลหนี้ของจำเลยจากเอกสารต่างๆ ถือว่า ส. เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับพยานเอกสาร จึงสามารถรับรองความถูกต้องแท้จริงของเอกสารได้ การที่ ส. เบิกความว่า โจทก์มอบอำนาจและมอบอำนาจช่วง จึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 95 (2)
องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ได้ปิดประกาศขายสินทรัพย์ที่หน้าที่ทำการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และประกาศหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 ฉบับไม่น้อยกว่า 3 วัน รวมทั้งได้ประกาศขายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงชอบด้วยพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 30 ทวิ วรรคหนึ่ง และถือเป็นการบอกกล่าวการโอนทรัพย์สินแก่ลูกหนี้แล้ว โจทก์จึงไม่ต้องบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306
คำสั่งศาลที่เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท อ. ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง การที่จำเลยยอมผูกพันตนต่อบริษัทเงินทุน ธ. เจ้าหนี้ เพื่อชำระหนี้ในเมื่อบริษัท อ. ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ความรับผิดของจำเลยย่อมเกิดมีขึ้นเมื่อบริษัท อ. ผิดนัดไม่ชำระหนี้ บริษัทเงินทุน ธ. ชอบที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้แต่เวลานั้น จำเลยจะหลุดพ้นจากความรับผิดก็ต่อเมื่อหนี้ของบริษัท อ. ระงับสิ้นไป ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680, 686 และ 698 การที่บริษัท อ. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วนในระหว่างดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ ไม่ทำให้บริษัทดังกล่าวหลุดพ้นจากความรับผิด คงมีผลทำให้ความรับผิดของบริษัทดังกล่าวลดลงตามจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้ว ซึ่งมีผลทำให้ความรับผิดของจำเลยลดลงตามจำนวนที่บริษัทดังกล่าวชำระหนี้แก่โจทก์เท่านั้น
บริษัทเงินทุน ธ. เป็นสถาบันการเงินจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 30 (2) ไม่ตกอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 654 บริษัทเงินทุน ธ. จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อโจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องของบริษัทเงินทุน ธ. มาตามสัญญาขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ซึ่งรวมทั้งสิทธิเรียกร้องที่บริษัทดังกล่าวมีต่อบริษัท อ. และจำเลย แล้วโจทก์ใช้สิทธิของบริษัทเงินทุน ธ. ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แม้โจทก์มิได้เป็นสถาบันการเงินก็ตาม
องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ได้ปิดประกาศขายสินทรัพย์ที่หน้าที่ทำการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และประกาศหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 ฉบับไม่น้อยกว่า 3 วัน รวมทั้งได้ประกาศขายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงชอบด้วยพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 30 ทวิ วรรคหนึ่ง และถือเป็นการบอกกล่าวการโอนทรัพย์สินแก่ลูกหนี้แล้ว โจทก์จึงไม่ต้องบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306
คำสั่งศาลที่เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท อ. ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง การที่จำเลยยอมผูกพันตนต่อบริษัทเงินทุน ธ. เจ้าหนี้ เพื่อชำระหนี้ในเมื่อบริษัท อ. ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ความรับผิดของจำเลยย่อมเกิดมีขึ้นเมื่อบริษัท อ. ผิดนัดไม่ชำระหนี้ บริษัทเงินทุน ธ. ชอบที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้แต่เวลานั้น จำเลยจะหลุดพ้นจากความรับผิดก็ต่อเมื่อหนี้ของบริษัท อ. ระงับสิ้นไป ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680, 686 และ 698 การที่บริษัท อ. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วนในระหว่างดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ ไม่ทำให้บริษัทดังกล่าวหลุดพ้นจากความรับผิด คงมีผลทำให้ความรับผิดของบริษัทดังกล่าวลดลงตามจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้ว ซึ่งมีผลทำให้ความรับผิดของจำเลยลดลงตามจำนวนที่บริษัทดังกล่าวชำระหนี้แก่โจทก์เท่านั้น
บริษัทเงินทุน ธ. เป็นสถาบันการเงินจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 30 (2) ไม่ตกอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 654 บริษัทเงินทุน ธ. จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อโจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องของบริษัทเงินทุน ธ. มาตามสัญญาขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ซึ่งรวมทั้งสิทธิเรียกร้องที่บริษัทดังกล่าวมีต่อบริษัท อ. และจำเลย แล้วโจทก์ใช้สิทธิของบริษัทเงินทุน ธ. ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แม้โจทก์มิได้เป็นสถาบันการเงินก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15786/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมการสถาบันการเงินจากสินเชื่อที่ไม่ชอบ พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน 2551 ใช้โทษที่เบากว่า
ขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 ออกมาใช้บังคับ และในมาตรา 3 บัญญัติให้ยกเลิกพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่ในมาตรา 158 ได้บัญญัติให้ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ที่ใช้บังคับอยู่เดิมให้ใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัติฉบับหลังนี้ ดังนี้ ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดหลักประกันเป็นทรัพย์สินที่บริษัทเงินทุนต้องเรียก (ฉบับที่ 5) และ (ฉบับที่ 6) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 30 (5) จึงยังมีผลใช้บังคับอยู่ ทั้งพ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 ยังบัญญัติให้การที่สถาบันการเงินฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวเป็นความผิด และกำหนดโทษสำหรับสถาบันการเงินรวมทั้งกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการสถาบันการเงินนั้น ตามมาตรา 46 (5) วรรคหนึ่ง, 125, 132 วรรคสอง แต่ปรากฏว่าโทษที่จะต้องลงแก่กรรมการตามที่บัญญัติในมาตรา 75 วรรคสอง สำหรับความผิดตามมาตรา 30 (5) แห่งพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 คือจำคุกตั้งแต่สองปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงห้าแสนบาท แตกต่างกับโทษที่บัญญัติในมาตรา 132 วรรคสอง สำหรับความผิดเดียวกันตามมาตรา 46 (5) วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 125 แห่งพ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 ซึ่งบัญญัติโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาทและปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่หรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องโดยไม่มีโทษจำคุก โทษตามพ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้โทษตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าทางใด ตามป.อ. มาตรา 3 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4691/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดสถาบันการเงินภายใต้ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน การเพิกถอนการโอนเป็นโมฆะ
การที่จำเลยที่ 1 ขายทอดตลาดอาคารพาณิชย์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งถูกระงับการดำเนินกิจการตาม พ.ร.ก. การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2541 ซึ่งตามมาตรา 31 จัตวา บัญญัติว่า การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินที่ขายตามวิธีการที่กำหนดในมาตรา 30 ทวิ จะกระทำไม่ได้ โจทก์หรือบุคคลใดๆ จึงไม่มีสิทธิฟ้องเพิกถอนการโอน รวมทั้งไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดอันเป็นที่มาของการโอนทรัพย์สินรายนี้ได้ กรณีจึงไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้พิพากษาว่าการประมูลทรัพย์สินดังกล่าวเป็นโมฆะ และขอให้เปิดประมูลใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4691/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนการขายทอดตลาดสถาบันการเงิน: มาตรา 30 จัตวา แห่ง พ.ร.ก.ปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
การขายทอดตลาดอาคารพาณิชย์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งดำเนินการโดยองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินจำเลยที่ 1 เพื่อชำระบัญชีต้องอยู่ภายใต้บังคับของพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ เมื่อกฎหมายดัวกล่าวในมาตรา 30 จัตวา บัญญัติว่าการเพิกถอนการโอนทรัพย์สินที่ได้ขายตามวิธีที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 ทวิ จะกระทำไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเพิกถอนการโอนรวมทั้งไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด กรณีจึงไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง