คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6868/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโดยถูกข่มขู่: โมฆียะตามกฎหมาย
พฤติการณ์ที่โจทก์ถูกจำเลยใช้กำลังข่มขู่บังคับจากจังหวัดสมุทรปราการให้จำต้องมาที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ต้องถูกควบคุมตัวอยู่ตลอดเวลา 12 วันและถูกล่วงละเมิดทางเพศ แม้ขณะจดทะเบียนสมรสก็ยังอยู่ในความควบคุมของจำเลยเช่นนี้ โจทก์เพียงลำพังย่อมต้องเกรงกลัวการบังคับและคำขู่ของจำเลยที่ว่าจะไม่พาโจทก์กลับบ้าน จะทำร้ายร่างกายและพาโจทก์ไปอยู่ในป่าหากไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับจำเลย วิญญูชนที่ตกอยู่ในภาวะการณ์เช่นนี้ย่อมมีมูลต้องเกรงกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อร่างกายและเสรีภาพของตนหากไม่ยินยอมปฏิบัติตนตามคำข่มขู่เช่นเดียวกับโจทก์การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นการสมรสโดยถูกข่มขู่อันถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่นั้นโจทก์จะไม่ทำการสมรสกับจำเลย การสมรสจึงเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ.มาตรา 1507 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6868/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโดยถูกข่มขู่: โมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1507
พฤติการณ์ที่โจทก์ถูกจำเลยใช้กำลังข่มขู่บังคับจากจังหวัดสมุทรปราการให้จำต้องมาที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ต้องถูกควบคุมตัวอยู่ตลอดเวลา 12 วัน และถูกล่วงละเมิดทางเพศ แม้ขณะจดทะเบียนสมรสก็ยังอยู่ในความควบคุมของจำเลยเช่นนี้ โจทก์เพียงลำพังย่อมต้องเกรงกลัวการบังคับและคำขู่ของจำเลยที่ว่าจะไม่พาโจทก์กลับบ้านจะทำร้ายร่างกายและพาโจทก์ไปอยู่ในป่าหากไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับจำเลย วิญญูชนที่ตกอยู่ในภาวะการณ์เช่นนี้ย่อมมีมูลต้องเกรงกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อร่างกายและเสรีภาพของตนหากไม่ยินยอมปฏิบัติตนตามคำข่มขู่เช่นเดียวกับโจทก์ การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นการสมรสโดยถูกข่มขู่อันถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่นั้นโจทก์จะไม่ทำการสมรสกับจำเลย การสมรสจึงเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1507 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6868/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโดยถูกข่มขู่: การให้สัตยาบันและการพิพากษาเพิกถอน
ก่อนมีการจดทะเบียนสมรสโจทก์ถูกจำเลยกับพวกใช้กำลังบังคับขู่เข็ญให้จำต้องนั่งรถยนต์ไปกับจำเลยจากจังหวัดสมุทรปราการไปยังจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีจำเลยกับพวกอย่างน้อย 2 คน คอยควบคุมตัวไว้มิให้หลบหนี ทั้งยังถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเราระหว่างพักที่บ้านญาติจำเลยด้วย โจทก์ซึ่งเป็นหญิงคนเดียวอยู่ในกลุ่มพวกจำเลยย่อมต้องเกรงกลัวการบังคับและคำขู่ของจำเลยที่ว่าจะไม่พาโจทก์กลับบ้านจะทำร้ายร่างกายและพาโจทก์ไปอยู่ในป่าหากไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับจำเลย วิญญูชนที่ตกอยู่ในภาวะการณ์เช่นนี้ย่อมมีมูลต้องเกรงกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อร่างกายและเสรีภาพของตนหากไม่ยินยอมปฏิบัติตามคำข่มขู่เช่นเดียวกับโจทก์ การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นการสมรสโดยถูกข่มขู่อันถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่นั้นโจทก์จะไม่ทำการสมรสกับจำเลย การสมรสจึงเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1507 วรรคหนึ่ง ตามคำให้การจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้อย่างชัดแจ้งแต่อย่างใดเลยว่ามีการให้สัตยาบันการสมรสที่เป็นโมฆียะ จำเลยให้การเพียงว่ามีการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บิดามารดาโจทก์ไปจำนวน 100,000 บาท และบิดามารดาโจทก์ตลอดจนตัวโจทก์ยอมให้อภัยในการกระทำของจำเลย รวมทั้งยอมถอนแจ้งความที่แจ้งไว้ยังสถานีตำรวจต่าง ๆ เท่านั้น ฉะนั้น ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ให้สัตยาบันการสมรสที่เป็นโมฆียะนี้แล้ว จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4477/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมรดกช่วงสมรสเป็นสินสมรส แม้พินัยกรรมไม่ระบุเป็นสินส่วนตัว
การที่จำเลยซึ่งเป็นภริยาโจทก์ได้รับมรดกคือที่ดินพิพาทเมื่อปี 2509 ขณะที่มีการใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม การพิจารณาว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาประเภทใดต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา คือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมมาตรา 1466 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า สินสมรสได้แก่ทรัพย์สินทั้งหมดที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส นอกจากที่ระบุไว้ว่าเป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัวตามมาตรา 1463หรือ 1464 เมื่อจำเลยได้รับที่ดินพิพาททางพินัยกรรมในระหว่างสมรสและไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลย แม้ต่อมาจะมีการแบ่งแยกและออกโฉนดใหม่เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใหม่ใช้บังคับแล้ว ก็ไม่ทำให้เปลี่ยนสินส่วนตัว โจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาทตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4477/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากพินัยกรรม: ที่ดินที่ได้มาขณะสมรสแม้ไม่มีระบุเป็นสินส่วนตัว ถือเป็นสินสมรส
การพิจารณาว่าทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสามีภริยาเป็นประเภทใดต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา จำเลยได้รับที่ดินพิพาทโดยทางพินัยกรรมในระหว่างสมรสและไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินสมรหรือสินส่วนตัวเมื่อปีพ.ศ 2509 ในขณะที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยตามบรรพ 5 เดิม มาตรา 1466 วรรคหนึ่ง แม้ต่อมาจะได้มีการแบ่งแยกที่ดินและออกโฉนดใหม่เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว ก็เป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมไม่ทำให้ที่ดินพิพาทหลังจากแบ่งแยกโฉนดแล้วเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1471(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1258/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพรากเด็กและการสมรสหลังเกิดเหตุการณ์ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานชำเรา
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก แต่ต่อมาระหว่าง การพิจารณาของศาลฎีกาศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยและ ผู้เสียหายสมรสกันโดยบิดามารดาผู้เสียหายอนุญาต จำเลยจึง ไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคท้าย โดยศาลยกขึ้นเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185,215,225 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 มิได้จำกัดว่าการพรากเด็ก จะต้องกระทำโดยวิธีการอย่างใด แม้เด็กจะมีรูปร่างใหญ่โต แต่อายุไม่เกิน 15 ปี และเด็กเต็มใจไปด้วยก็ตามก็เป็น ความผิด และต้องเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร การที่ เด็กอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาของบิดามารดา โดยบิดามารดามีอำนาจปกครองและมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของ บุตรนั้น เมื่อจำเลยพาเด็กไปถือเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุ อันสมควรเป็นความผิดตามมาตรา 317 วรรคแรก แล้ว ส่วนการที่ จำเลยกับผู้เสียหายรักกันด้วยความสุจริตใจต่างมีเจตนาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาการกระทำของจำเลยขาดเจตนาเพื่อการอนาจาร จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1258/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพรากเด็กและการสมรสภายหลัง – ผลต่อการดำเนินคดีอาญา
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก ต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลย และผู้เสียหายสมรสกันโดยบิดามารดาผู้เสียหายอนุญาต ดังนั้น จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคท้าย โดยศาลยกขึ้นเอง ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185,215,225 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 มิได้จำกัดว่าการพรากเด็ก จะต้องกระทำโดยวิธีการอย่างใด แม้เด็กจะมีรูปร่างใหญ่โต แต่อายุไม่เกิน 15 ปี และเด็กเต็มใจไปด้วยก็ตามก็เป็นความผิดและต้องเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรการที่เด็กอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาและ บิดามารดา โดยบิดามารดามีอำนาจปกครองและมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรนั้น เมื่อจำเลยพาเด็กไปถือเป็นการกระทำ โดยปราศจากเหตุอันสมควรเป็นความผิดตามมาตรา 317 วรรคแรก แล้วส่วนการที่จำเลยกับผู้เสียหายรักกันด้วยความสุจริตใจต่างมี เจตนาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา การกระทำของจำเลย ขาดเจตนาเพื่อการอนาจาร จึงไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6788/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ขัดแย้งกับสถานะสมรสเดิม: โมฆะและการมีอำนาจฟ้อง
ขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ป. ป.ได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 แล้ว และยังเป็นคู่สมรสกับโจทก์ที่ 1 อยู่ตลอดมาจนกระทั่ง ป.ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ.มาตรา1452 และตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 แม้ภายหลังจากที่ ป.ได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยแล้ว ป.ได้ถึงแก่ความตาย เป็นเหตุให้การสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.สิ้นสุดลงก็ตาม จำเลยก็จะอ้างว่าจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับ ป.โดยสุจริต การสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.จึงไม่เป็นโมฆะหาได้ไม่ และเมื่อการจดทะเบียนสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.ยังเป็นโมฆะอยู่ โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยา ป. และโจทก์ที่ 2ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 กับ ป.ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้การสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.เป็นโมฆะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6788/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ขัดต่อกฎหมาย: การสมรสซ้อนเป็นโมฆะ แม้คู่สมรสอีกฝ่ายเสียชีวิตแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้อง
ขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ป.ป. ได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 แล้ว และยังเป็นคู่สมรสกับโจทก์ที่ 1อยู่ตลอดมาจนกระทั่ง ป. ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. จึงเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1452 และตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 แม้ภายหลังจากที่ ป. ได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยแล้ว ป.ได้ถึงแก่ความตาย เป็นเหตุให้การสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.สิ้นสุดลงก็ตาม จำเลยก็จะอ้างว่าจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับ ป. โดยสุจริต การสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.จึงไม่เป็นโมฆะหาได้ไม่ และเมื่อการจดทะเบียนสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. ยังเป็นโมฆะอยู่ โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาป. และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 กับ ป.ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้การสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. เป็นโมฆะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพรากผู้เยาว์และการไม่ถือว่าการสมรสตามประเพณีเป็นการสิ้นสุดภาวะผู้เยาว์
ป.อ. มาตรา 317 วรรคสามป.พ.พ. มาตรา 20, 1448, 1457ป.วิ.อ. มาตรา 15, 221ป.วิ.พ. มาตรา 225, 249
ความเข้าใจผิดของจำเลยเกี่ยวกับอายุของผู้เสียหายจะเป็นความเข้าใจผิดจริงดังที่จำเลยยกขึ้นฎีกาหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง และจำเลยไม่เคยยกปัญหานี้ขึ้นกล่าวอ้างและนำสืบพยานในศาลชั้นต้น จำเลยเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 ประกอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 15 และถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้นได้สั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
เด็กหญิง ย.อายุยังไม่เกิน 15 ปี แม้จะได้แต่งงานตามประเพณีกับ จ.แล้ว ก็ยังไม่พ้นจากภาวะการเป็นเด็กหรือผู้เยาว์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 20เพราะการแต่งงานหรือการสมรสของผู้เสียหายมิได้อยู่ในเงื่อนไขตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 1448 เนื่องจากผู้เสียหายมีอายุไม่ครบสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ อีกทั้งความไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรส หรือมีการจดทะเบียนสมรสตามป.พ.พ.มาตรา 1457 การที่บิดามารดาผู้เสียหายอนุญาตให้ผู้เสียหายแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากับ จ. จึงเป็นเพียงมอบการดูแลผู้เสียหายซึ่งยังเป็นเด็กหรือผู้เยาว์ให้ จ.ดูแลแทน ดังนั้น การที่จำเลยพาผู้เสียหายจากบริเวณโรงภาพยนตร์กลางแปลงไปยังห้องพักจำเลยเพื่อประสงค์จะกอดจูบลูบคลำโดยตั้งใจจะร่วมประเวณีกับผู้เสียหายในทำนองชู้สาว ถือว่าเป็นการพรากผู้เสียหายไปเสียจากการดูแลของ จ.เพื่อการอนาจารเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคสามแล้ว
of 25