พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1924/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิมรดกกรณีสมรสซ้อน: สุจริตของผู้สมรสย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติให้ใช้บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 5 บัญญัติว่า "บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้น การสมรส ฯลฯ" ดังนั้น ปัญหาว่าการสมรสของโจทก์หรือของจำเลยฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของสามีที่ตายจึงต้องวินิจฉัยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมจะนำบรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ซึ่งออกมาใช้บังคับขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาขึ้นมาปรับแก่คดีหาได้ไม่
คำว่า สิทธิ ตามมาตรา 1494 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติว่า เหตุที่การสมรสถูกเพิกถอนไม่เป็นผลให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสียสิทธิที่ได้มา เพราะการสมรสนั้น มีความหมายรวมถึงสิทธิในการรับมรดกด้วย ดังนั้น แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกจะเป็นโมฆะและต้องถูกเพิกถอนเพราะเจ้ามรดกมีจำเลยเป็นภรรยาอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่า โจทก์ทำการสมรสโดยสุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกตามมาตรา 1494 ดังกล่าว
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยแถลงว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์จำเลยต่างก็สุจริต ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามทะเบียนสมรสว่าของฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแล้วต่างฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานบุคคล ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ศาลวินิจฉัยซึ่งเป็นการสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้ออื่นตามคำฟ้องและคำให้การแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเท่าที่คู่ความตกลงกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างต่อมาว่า ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องไม่ใช่ทรัพย์มรดก หรือเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบหาได้ไม่ เมื่อศาลเห็นว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกก็วินิจฉัยต่อไปได้ว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกเพียงใด โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การ
คำว่า สิทธิ ตามมาตรา 1494 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติว่า เหตุที่การสมรสถูกเพิกถอนไม่เป็นผลให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสียสิทธิที่ได้มา เพราะการสมรสนั้น มีความหมายรวมถึงสิทธิในการรับมรดกด้วย ดังนั้น แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกจะเป็นโมฆะและต้องถูกเพิกถอนเพราะเจ้ามรดกมีจำเลยเป็นภรรยาอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่า โจทก์ทำการสมรสโดยสุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกตามมาตรา 1494 ดังกล่าว
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยแถลงว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์จำเลยต่างก็สุจริต ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามทะเบียนสมรสว่าของฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแล้วต่างฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานบุคคล ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ศาลวินิจฉัยซึ่งเป็นการสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้ออื่นตามคำฟ้องและคำให้การแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเท่าที่คู่ความตกลงกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างต่อมาว่า ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องไม่ใช่ทรัพย์มรดก หรือเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบหาได้ไม่ เมื่อศาลเห็นว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกก็วินิจฉัยต่อไปได้ว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกเพียงใด โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนและโมฆะ: กรณีจดทะเบียนสมรสกับบุคคลหลายคนภายใต้สถานะสมรสเดิม
ป.จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2495 ต่อมาได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2503 และจดทะเบียนสมรวกับจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2507 วันที่ 24 มิถุนายน 2507 ป.จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 1 แต่ต่อมาวันที่ 5 สิงหาคม 2507 ได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 อีก และหลังจากนั้นคือวันที่ 30 ตุลาคม 2507 โจทก์กับ ป.จึงได้จดทะเบียนสมรสกันซ้ำอีกครั้งหนึ่ง วันที่ 1 เมษายน 2519 ป.ถึงแก่กรรมเช่นนี้ การจดทะเบียนสมรสระหว่าง ป.กับโจทก์ครั้งแรกและระหว่าง ป.กับจำเลยที่ 2 ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1445 (3) เพราะในขณะนั้น ป.เป็นคู่สมรสของจำเลยที่ 1 อยู่แล้ว จึงเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 สำหรับจำเลยที่ 1 แม้จะปรากฏว่าได้จดทะเบียนหย่ากับ ป.ทำให้การสมรสขาดลง แต่ต่อมาก็ได้จดทะเบียนสมกันกันใหม่โดยสมบูรณ์ ชอบด้วยกฎหมายเพราะการสมรสระหว่าง ป.กับโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้เป็นโมฆะมาตั้งแต่วันที่ได้จดทะเบียนสมรสแล้ว การที่โจทก์มาจดทะเบียนสมรสกับ ป. ครั้งหลังอีกจึงเป็นโมฆะเพราะขณะนั้น ป.เป็นคู่สมรสของจำเลยที่ 1 ฉะนั้น จำเลยที่ 1 จึงเป็นภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายแต่ผู้เดียวของ ป. มีอำนาจฟ้องขอให้พิพากษาว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับ ป.เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนและโมฆะ: สิทธิของภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อมีการสมรสซ้ำ
ป. จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 25เมษายน 2495 ต่อมาได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์เมื่อวันที่15 ธันวาคม 2503 และจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2507 วันที่ 24 มิถุนายน 2507ป. จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 1 แต่ต่อมาวันที่ 5สิงหาคม 2507 ได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 อีก และหลังจากนั้นคือวันที่ 30 ตุลาคม 2507 โจทก์กับ ป.จึงได้จดทะเบียนสมรสกันซ้ำอีกครั้งหนึ่ง วันที่ 1เมษายน 2519 ป. ถึงแก่กรรมเช่นนี้การจดทะเบียนสมรสระหว่าง ป. กับโจทก์ครั้งแรกและระหว่าง ป. กับจำเลยที่ 2 ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1445(3) เพราะในขณะนั้น ป. เป็นคู่สมรสของจำเลยที่ 1 อยู่แล้ว จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 สำหรับจำเลยที่ 1 แม้จะปรากฏว่าได้จดทะเบียนหย่ากับ ป. ทำให้การสมรสขาดลง แต่ต่อมาก็ได้จดทะเบียนสมรสกันใหม่โดยสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการสมรสระหว่าง ป. กับโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้เป็นโมฆะมาตั้งแต่วันที่ได้จดทะเบียนสมรสแล้ว การที่โจทก์มาจดทะเบียนสมรสกับ ป. ครั้งหลังอีกจึงเป็นโมฆะเพราะขณะนั้น ป. เป็นคู่สมรสของจำเลยที่ 1 ฉะนั้น จำเลยที่ 1 จึงเป็นภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายแต่ผู้เดียวของ ป. มีอำนาจฟ้องขอให้พิพากษาว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับ ป. เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนและการขาดจากกันเนื่องจากความตาย ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิคู่สมรสเดิม โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เดิม จ.จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ก่อนโจทก์บวชเป็นพระภิกษุและยังไม่ได้หย่าขาดจากกัน ต่อมา จ.ได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีก หลังจากนั้น จ.ได้ถึงแก่กรรมด้วยอุบัติเหตุรถยนต์ชน โจทก์จึงมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยกับ จ.เป็นโมฆะ ดังนี้ เมื่อ จ.ได้ถึงแก่กรรมไปแล้วก่อนโจทก์ฟ้อง การสมรสระหว่างจำเลยกับ จ.ได้ขาดจากกันเพราะเหตุ จ.ถึงแก่ความตายมาตรา 1497 แล้ว เมื่อการสมรสซ้อนของจำเลยกับ จ.ขาดจากกันแล้วขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ การสมรสซ้อนนั้นจึงไม่มีกระทบกระเทือนหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะคู่สมรสเดิมแต่อย่างใด และตามคำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวแสดงว่าจำเลยได้กระทำการสิ่งใดอันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์เช่นสิทธิในครอบครัวสิทธิในมรดกของผู้ตาย หรือสิทธิอื่นใด ซึ่งจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 จึงถือว่าตามคำฟ้องไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2521
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2521
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนและอำนาจฟ้อง: เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงก่อนฟ้อง สิทธิของคู่สมรสเดิมย่อมไม่ได้รับผลกระทบ
เดิม จ. จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ก่อนโจทก์บวชเป็นพระภิกษุและยังไม่ได้หย่าขาดจากกัน ต่อมา จ. ได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีก หลังจากนั้น จ. ได้ถึงแก่กรรมด้วยอุบัติเหตุรถยนต์ชน โจทก์จึงมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยกับ จ. เป็นโมฆะ ดังนี้ เมื่อ จ. ได้ถึงแก่กรรมไปแล้วก่อนโจทก์ฟ้อง การสมรสระหว่างจำเลยกับ จ. ได้ขาดจากกันเพราะเหตุ จ. ถึงแก่ความตายตามมาตรา 1497 แล้ว เมื่อการสมรสซ้อนของจำเลยกับ จ.ขาดจากกันแล้วขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ การสมรสซ้อนนั้นจึงไม่มีผลกระทบกระเทือนหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะคู่สมรสเดิมแต่อย่างใด และตามคำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวแสดงว่าจำเลยได้กระทำการสิ่งใดอันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์เช่นสิทธิในครอบครัวสิทธิในมรดกของผู้ตายหรือสิทธิอื่นใด ซึ่งจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 จึงถือว่าตามคำฟ้องไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2521
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2521
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะของการสมรสซ้อน: คู่สมรสเดิมมีสิทธิฟ้องเพิกถอนการสมรสใหม่
โจทก์กับ ส. เป็นสามีภริยากันอยู่ตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย ครั้นเมื่อ ส. ตาย กระทรวงกลาโหมได้จ่ายบำนาญตกทอดให้แก่โจทก์ตลอดมา ต่อมาจำเลยไปคัดค้าน กระทรวงกลาโหมจึงงดจ่าย ปรากฏว่าก่อน ส. ตาย ส. ได้สมรสกับจำเลยโดยจดทะเบียนสมรส การจดทะเบียนสมรสเช่นนี้ย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1445 (3) , 1490 โจทก์จึงฟ้องจำเลยขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนทะเบียนสมรสนั้นเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อน: การจดทะเบียนสมรสที่ขัดแย้งกับคู่สมรสเดิมตามกฎหมายลักษณะผัวเมียและประมวลกฎหมายแพ่งฯ
โจทก์กับ ส. เป็นสามีภริยากันอยู่ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียครั้นเมื่อส. ตายกระทรวงกลาโหมก็จ่ายบำนาญตกทอดให้แก่โจทก์ตลอดมาต่อมาจำเลยไปคัดค้าน กระทรวงกลาโหมจึงงดจ่ายปรากฏว่า ก่อนส.ตาย ส. ได้สมรสกับจำเลยโดยจดทะเบียนสมรสการจดทะเบียนสมรสเช่นนี้ย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1445(3),1490 โจทก์จึงฟ้องจำเลยขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนทะเบียนสมรสนั้นเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสที่ผิดกฎหมาย: ผลของการสมรสซ้อนและผลของการเพิกถอนการสมรส
จำเลยจะอ้างในคำให้การต่อสู้คดีว่าการสมรสระหว่างจำเลยกับบุคคลอื่นเป็นโมฆะหรือโมฆียะไม่ได้ นอกจากศาลพิพากษาว่าเป็นเช่นนั้น
การเพิกถอนการสมรสมีผลแต่เวลาที่+คำพิพากษาถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1496 โดยอนุโลมตามมาตรา +
การเพิกถอนการสมรสมีผลแต่เวลาที่+คำพิพากษาถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1496 โดยอนุโลมตามมาตรา +
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1574/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนและการรับมรดก: การสมรสที่จดทะเบียนภายหลังการมีภรรยาอยู่แล้วเป็นโมฆะ ทำให้สิทธิในการรับมรดกเป็นอันตกไป
ชายมีภรรยาอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนใช้ ป.ม.แพ่งฯ บรรพ 5 ครั้นเมื่อใช้ ป.ม.แพ่งฯ บรรพ 5 แล้วมีภรรยาอีกคนหนึ่ง แม้จะได้ทะเบียนสมรสกับภรรยาคนหลังนี้การสมรสนั้นก็เป็นโมฆะภรรยาคนหลังจึงไม่มีสิทธิได้รับมรดกของชายผู้ เป็นสามี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9136/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสมรสซ้อน และการรับฟังเอกสารหลักฐานการสมรสก่อน
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้คัดค้านจะมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างไว้ในคำคัดค้าน แต่เมื่อปัญหานี้ปรากฏตามคำร้องขอในสำนวน ผู้คัดค้านชอบจะหยิบยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องวินิจฉัยปัญหานี้ให้ตามมาตรา 240 วรรคหนึ่ง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจึงถือว่าได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ผู้คัดค้านจึงชอบจะฎีกาปัญหานี้ได้ ตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าการสมรสระหว่าง ก. กับผู้คัดค้านเป็นโมฆะ เนื่องจากเป็นการสมรสซ้อนกับการสมรสระหว่าง ก. กับผู้ร้อง ซึ่งมาตรา 1497 กำหนดให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าวอ้างหรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาก็ได้ กรณีจึงเป็นเรื่องที่กฎหมายให้สิทธิบุคคลใช้สิทธิทางศาลได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ซึ่งตามมาตรา 171 กำหนดให้เสนอคดีได้ทั้งรูปคำฟ้องหรือคำร้องขอก็ได้แล้วแต่รูปเรื่องแห่งคดี และไม่ว่าจะเป็นการฟ้องคดีหรือการร้องขอก็ถือเป็นคำฟ้องเช่นกัน ผู้ร้องจึงมีอำนาจฟ้องด้วยการยื่นคำร้องขอตามมาตรา 171 ได้
ผู้ร้องนำสืบว่า ใบทะเบียนสมรสหาย ผู้ร้องขอคัดสำเนาโดยเจ้าพนักงานรับรองตามสำเนาทะเบียนสมรส เอกสารหมาย ร. 1 ตามที่ผู้ร้องได้ยื่นขอคัดข้อมูลทะเบียนครอบครัว เอกสารหมาย ร. 2 สำเนาทะเบียนสมรสดังกล่าวระบุว่า ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสกับ ก. เป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นหรือรับรอง หรือสำเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารนั้น ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง ผู้คัดค้านจึงมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่เป็นจริงหรือไม่มีอยู่ การที่ผู้คัดค้านคาดคะเนว่าจะไม่เป็นจริง เพราะเหตุการณ์เกิดมานานแล้วเพิ่งจะคัดเอกสารนั้น เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้ กรณีต้องฟังว่า ก. สมรสกับผู้ร้องอยู่แล้ว ผู้คัดค้านกับ ก. มาสมรสกันภายหลัง จึงเป็นสมรสซ้อนซึ่งเป็นโมฆะ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าการสมรสระหว่าง ก. กับผู้คัดค้านเป็นโมฆะ เนื่องจากเป็นการสมรสซ้อนกับการสมรสระหว่าง ก. กับผู้ร้อง ซึ่งมาตรา 1497 กำหนดให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าวอ้างหรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาก็ได้ กรณีจึงเป็นเรื่องที่กฎหมายให้สิทธิบุคคลใช้สิทธิทางศาลได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ซึ่งตามมาตรา 171 กำหนดให้เสนอคดีได้ทั้งรูปคำฟ้องหรือคำร้องขอก็ได้แล้วแต่รูปเรื่องแห่งคดี และไม่ว่าจะเป็นการฟ้องคดีหรือการร้องขอก็ถือเป็นคำฟ้องเช่นกัน ผู้ร้องจึงมีอำนาจฟ้องด้วยการยื่นคำร้องขอตามมาตรา 171 ได้
ผู้ร้องนำสืบว่า ใบทะเบียนสมรสหาย ผู้ร้องขอคัดสำเนาโดยเจ้าพนักงานรับรองตามสำเนาทะเบียนสมรส เอกสารหมาย ร. 1 ตามที่ผู้ร้องได้ยื่นขอคัดข้อมูลทะเบียนครอบครัว เอกสารหมาย ร. 2 สำเนาทะเบียนสมรสดังกล่าวระบุว่า ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสกับ ก. เป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นหรือรับรอง หรือสำเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารนั้น ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง ผู้คัดค้านจึงมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่เป็นจริงหรือไม่มีอยู่ การที่ผู้คัดค้านคาดคะเนว่าจะไม่เป็นจริง เพราะเหตุการณ์เกิดมานานแล้วเพิ่งจะคัดเอกสารนั้น เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้ กรณีต้องฟังว่า ก. สมรสกับผู้ร้องอยู่แล้ว ผู้คัดค้านกับ ก. มาสมรสกันภายหลัง จึงเป็นสมรสซ้อนซึ่งเป็นโมฆะ