คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สละสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 386 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7897/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องตามเช็คหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทในการซื้อเครื่องรับโทรทัศน์มอบให้แก่บริษัท พ. แต่บริษัทมิได้ส่งมอบเครื่องรับโทรทัศน์ให้ จำเลยจึงมีคำสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงิน เมื่อปรากฏว่าบริษัท พ.ได้นำเช็คพิพาทไปขายลดแก่โจทก์ต่อมาโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คคนก่อนได้ฟ้องบริษัท พ.ให้ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คซึ่งมีเช็คพิพาทรวมอยู่ด้วย โจทก์และบริษัท พ.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยบริษัท พ.ยอมชำระเงินให้โจทก์ตามฟ้อง ถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องตามเช็คพิพาทไปแล้ว โดยโจทก์ได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเช็คพิพาทมาเรียกร้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายชำระเงินแก่โจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7897/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องตามเช็คจากการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากผู้สั่งจ่ายอีก
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทในการซื้อเครื่องรับโทรทัศน์มอบให้แก่บริษัท พ. แต่บริษัทมิได้ส่งมอบเครื่องรับโทรทัศน์ให้ จำเลยจึงมีคำสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงิน เมื่อปรากฏว่าบริษัท พ. ได้นำเช็คพิพาทไปขายลดแก่โจทก์ต่อมาโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คคนก่อนได้ฟ้องบริษัท พ. ให้ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คซึ่งมีเช็คพิพาทรวมอยู่ด้วย โจทก์และบริษัท พ. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยบริษัท พ. ยอมชำระเงินให้โจทก์ตามฟ้อง ถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องตามเช็คพิพาทไปแล้ว โดยโจทก์ได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเช็คพิพาทมาเรียกร้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายชำระเงินแก่โจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6667/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินของรัฐ: การได้มา การสละสิทธิ และการคุ้มครองการครอบครอง
แม้ที่ดินพิพาทจะเป็นที่ดินของรัฐ แต่ราษฎรก็อาจเข้ายึดถือครอบครองทำประโยชน์ได้ เพียงแต่เมื่อรัฐต้องการที่ดินดังกล่าว ราษฎรจะยกเอาการครอบครองมาเป็นข้อโต้แย้งรัฐมิได้ แต่ระหว่างราษฎรด้วยกันเอง ผู้ที่ยึดถือครอบครองทำประโยชน์อยู่ก่อนย่อมมีสิทธิปลดเปลื้องการรบกวนจากผู้สอดเข้าเกี่ยวข้องโดยมิชอบได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1374 เมื่อมีกฎหมายรับรองสิทธิในกรณีดังกล่าวผู้มีสิทธิย่อมสละสิทธินั้นได้ การที่จำเลยขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของรัฐให้โจทก์พร้อมส่งมอบการครอบครอง ย่อมถือได้ว่าจำเลยสละการครอบครองที่ดินพิพาทโดยโจทก์เข้ายึดถือครอบครองแล้ว
พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มาตรา 6 ให้รัฐบาลมีอำนาจจัดที่ดินของรัฐเพื่อให้ประชาชนได้มีที่ตั้งเคหสถานและประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งในที่ดินโดยจัดตั้งเป็นนิคม หมายความว่า ที่ดินของรัฐที่จะนำมาจัดให้กับประชาชนต้องเป็นที่ดินซึ่งยังไม่มีผู้ใดยึดถือครอบครอง แต่หากที่ดินผืนใดที่อยู่ในเขตนิคมมีผู้ยึดถือครอบครองเข้าทำประโยชน์อยู่แล้ว รัฐบาลย่อมไม่มีอำนาจยึดกลับคืนมาจัดสรรให้ราษฎรอื่น ทั้งนี้เพราะตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่มีบทมาตราใดที่ให้อำนาจรัฐบาลซึ่งก็คือคณะบุคคลคณะหนึ่งกระทำเช่นนั้นได้ การที่จำเลยได้รับ น.ส.3 และ น.ส.3 ก.อันเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการไปโดยผิดหลงจากการแจ้งเท็จของจำเลย เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองอันแท้จริงในที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินของรัฐ จำเลยย่อมไม่อาจอ้างเอาประโยชน์จากเอกสารสิทธิดังกล่าวได้ การที่โจทก์ซึ่งครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอันแท้จริง โดยจำเลยขายและส่งมอบการครอบครองให้โจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6667/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินของรัฐ: การสละสิทธิและการได้มาซึ่งสิทธิโดยชอบธรรม
แม้ที่ดินพิพาทจะเป็นที่ดินของรัฐ แต่ราษฎรก็อาจเข้ายึดถือครอบครองทำประโยชน์ได้ เพียงแต่เมื่อรัฐต้องการที่ดินราษฎรจะยกเอาการครอบครองมาเป็นข้อโต้แย้งรัฐมิได้แต่ระหว่างราษฎรด้วยกันเองแล้ว ผู้ที่ยึดถือครอบครองทำประโยชน์อยู่ก่อนย่อมมีสิทธิปลดเปลื้องการรบกวนจากผู้สอดเข้าเกี่ยวข้องโดยมิชอบได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374 เมื่อมีกฎหมายรับรองสิทธิในกรณีดังกล่าวให้ ผู้มีสิทธิก็ย่อมสละสิทธินั้นได้ ดังนั้น การที่จำเลยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์พร้อมส่งมอบการครอบครอง ย่อมถือได้ว่าจำเลยสละการครอบครองที่ดินพิพาทโดยโจทก์เข้ายึดถือครอบครองต่อไป การที่จำเลยสมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองโดยอ้างว่า จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทนั้น เป็นการนำข้อความเท็จไปแจ้งทำให้เจ้าพนักงานของรัฐหลงเชื่อว่าจำเลยมีสิทธิจริง ดังนั้น การที่จำเลยได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ส.3) และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จึงเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการไปโดยผิดหลงจากการแจ้งเท็จของจำเลย เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองอันแท้จริงแล้ว จำเลยย่อมไม่อาจอ้างเอาประโยชน์จากเอกสารสิทธิดังกล่าวได้ โจทก์ซึ่งครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอันแท้จริงย่อมมีสิทธิดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6525/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้, ดอกเบี้ย, และการสละสิทธิอายุความในคดีหนี้สิน
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้ตกลงแปลงหนี้ใหม่ โดยโจทก์เพียงลดยอดหนี้ให้จำเลยที่ 1 และโจทก์มิได้เปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยที่ 1 มาเป็นจำเลยที่ 2หากแต่เพิ่มให้จำเลยที่ 2 เข้ามาร่วมรับผิดในหนี้เดิมส่วนหนึ่งเพื่อให้โจทก์ถอนคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในคดีล้มละลายเท่านั้น ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในมูลหนี้เดิมจึงยังไม่ระงับไป
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522มาตรา 30(2) กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 654 แม้ตามสัญญากู้ยืมจำเลยที่ 1 จะยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ21 ต่อปี ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตรานี้ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์โดยโจทก์ยอมคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดได้เพียงอัตรานี้ แม้ตามสัญญาจำนองจะกำหนดดอกเบี้ยไว้อัตราร้อยละ21 ต่อปี แต่หนี้ตามสัญญาจำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ เมื่อต่อมาโจทก์คิดดอกเบี้ยหนี้กู้ยืมซึ่งเป็นหนี้ประธานได้เพียงอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปีโจทก์จึงไม่อาจคิดดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองให้สูงกว่าอัตรานี้ได้
ตามหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยที่ 1 รับว่ายังค้าชำระหนี้ต้นเงินจำนวน 3,623,313 บาท กับดอกเบี้ยจำนวน 623,309 บาท รวม4,246,622 บาท จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในยอดเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี ตามสัญญาจำนองของต้นเงินจำนวน 3,623,313 บาท นับแต่วันทำหนังสือรับสภาพหนี้เป็นต้นไป ส่วนดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 5 ปีนั้น เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1ยอมชำระหนี้โจทก์โดยให้จำเลยที่ 2 เข้าชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำนวน3,000,000 บาท และให้สัญญาจำนองมีภาระตามสัญญาจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จะได้ยกอายุความขึ้นปฏิเสธความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยค้างชำระ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1ได้แสดงเจตนาที่จะสละประโยชน์แห่งอายุความนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5203/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและพิจารณาคดี การขอพิจารณาใหม่ต้องกระทำภายในกำหนด หากพ้นกำหนดถือว่าสละสิทธิ
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกจากอาคารที่พิพาทและส่งมอบอาคารที่พิพาทคืนให้แก่โจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องอีก การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยกล่าวว่าจำเลยไม่เคยรับและไม่เคยทราบหมายเรียกจำเลยคงได้รับแต่เฉพาะคำบังคับเท่านั้น น่าเชื่อว่ามีการจงใจปกปิดหมายต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ส่งถึงจำเลยและเพื่อไม่ให้จำเลยทราบ โจทก์เคยบอกว่าจะให้เงินค่ารื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างออกไป ขอให้จำเลยอย่าสู้คดี จำเลยหลงเชื่อ โจทก์จึงแอบฟ้องนั้นเป็นเพียงข้อกล่าวอ้างซึ่งเป็นเหตุที่จำเลยได้ขาดนัดเท่านั้น หาเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นไม่ และที่จำเลยกล่าวว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารขึ้น ไม่เคยยกให้โจทก์ โจทก์เคยตกลงจะยกทาวน์เฮาส์ให้จำเลยอาศัยโดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทน แต่โจทก์ผิดข้อตกลงนั้น เป็นข้ออ้างในทำนองว่าจำเลยเป็นผู้ปลูกสร้างและเป็นเจ้าของอาคารที่ให้เช่า โดยจำเลยไม่ได้คัดค้านในเนื้อหาคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าจำเลยมิได้เป็นผู้เช่า หรือสัญญาเช่ายังไม่ครบกำหนดระยะเวลาเช่าหรือคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ถูกต้องอย่างไร และไม่แสดงเหตุผลว่า หากศาลอนุญาตให้พิจารณาใหม่ จำเลยจะชนะคดีได้อย่างไร คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยดังกล่าวไม่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 2พฤษภาคม 2541 จำเลยต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ต่อศาลภายในวันที่ 1มิถุนายน 2541 จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับแรกเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม2541 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันรุ่งขึ้นให้ยกคำร้องขอ โดยมิได้กำหนดให้จำเลยกระทำการอันใดภายในระยะเวลาที่กำหนด ศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบ และการสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ก็ไม่ทำให้ระยะเวลาที่ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 ขยายออกไป และหากจำเลยไปขอทราบคำสั่งศาลในวันที่ 29 พฤษภาคม 2541 แต่ศาลยังไม่สั่ง หรือไปขอทราบคำสั่งศาลในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 อันเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ แต่เจ้าพนักงานศาลบอกว่าหาสำนวนไม่พบจริง จำเลยย่อมทราบดีว่าจะต้องรักษาสิทธิของจำเลยโดยยื่นคำร้องขอให้ขยายระยะเวลายื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้แต่จำเลยหาได้ยื่นคำร้องขอเช่นนั้นไม่ เมื่อจำเลยมิได้กระทำการดังกล่าวข้างต้นจึงไม่มีเหตุสุดวิสัยที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับที่สองเมื่อพ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิยื่นตามมาตรา 208 วรรคแรก ทั้งตามคำร้องขอดังกล่าวก็ไม่ได้กล่าวถึงพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ อันเป็นเหตุให้จำเลยยื่นคำร้องขอล่าช้า คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับที่ฟ้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 208 วรรคสอง เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4995/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากสัญญาเช่าซื้อเมื่อผู้ให้เช่าซื้อไม่ถือเอาการชำระหนี้ล่าช้าเป็นสาระสำคัญ
สัญญาเช่าซื้อฉบับพิพาทมีใจความว่า หากผู้เช่าซื้อผิดนัดการชำระราคาจนทำให้ฝ่ายผู้ให้เช่าต้องติดตามเพื่อเรียกเก็บเองและเสียค่าใช้จ่ายในการนี้ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบทั้งสิ้น และจะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปีของเงินจำนวนที่ผิดนัดนี้ ข้อตกลงดังกล่าวนี้เป็นข้อกำหนดเรื่องเบี้ยปรับในกรณีที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตรงตามกำหนดเวลา จึงเป็นเงื่อนเวลาที่ตกลงกันไว้เพื่อประโยชน์ของผู้ให้เช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อย่อมสละประโยชน์นี้เสียได้โดยการแสดงเจตนาอย่างแจ้งชัดหรือโดยปริยาย
ผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อมาโดยตลอดตั้งแต่งวดแรก ทั้งการชำระเงินค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย ก็ชำระเลยกำหนดระยะเวลางวดสุดท้ายประมาณ 7เดือน ผู้ให้เช่าซื้อก็รับเงินดังกล่าวไว้ นอกจากนี้แม้ผู้เช่าซื้อจะชำระเงินไม่ตรงตามกำหนด ผู้ให้เช่าซื้อก็ไม่ได้หักดอกเบี้ยออกจากจำนวนเงินที่ผู้เช่าซื้อชำระในแต่ละงวดทั้งตามหนังสือที่ผู้ให้เช่าซื้อส่งคืนเช็คที่ชำระค่าเช่าซื้อ แต่เรียกเก็บเงินไม่ได้ ผู้ให้เช่าซื้อก็เพียงแต่ขอให้ผู้เช่าซื้อโอนเงินที่ค้างชำระให้เท่านั้น โดยไม่มีการทวงถามหรือกล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ให้เช่าซื้อมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาในการชำระหนี้แต่ละงวดเป็นสาระสำคัญ จึงเป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เช่าซื้อ การที่ผู้เช่าซื้อชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดเวลา จะถือว่าผู้เช่าซื้อตกเป็นผู้ผิดนัดหาได้ไม่ ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพราะเหตุที่ผู้เช่าซื้อผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4995/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อเมื่อผู้ให้เช่าไม่ถือเอาการชำระหนี้ตรงเวลาเป็นสาระสำคัญ
สัญญาเช่าซื้อฉบับพิพาทมีใจความว่า หากผู้เช่าซื้อผิดนัดการชำระราคาจนทำให้ฝ่ายผู้ให้เช่าต้องติดตามเพื่อเรียกเก็บเองและเสียค่าใช้จ่ายในการนี้ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบทั้งสิ้น และจะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปีของเงินจำนวนที่ผิดนัดนี้ ข้อตกลงดังกล่าวนี้เป็นข้อกำหนดเรื่องเบี้ยปรับในกรณีที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตรงตามกำหนดเวลา จึงเป็นเงื่อนเวลาที่ตกลงกันไว้เพื่อประโยชน์ของผู้ให้เช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อย่อมสละประโยชน์นี้เสียได้โดยการแสดงเจตนาอย่างแจ้งชัดหรือโดยปริยาย
ผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อมาโดยตลอดตั้งแต่งวดแรก ทั้งการชำระเงินค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย ก็ชำระเลยกำหนดระยะเวลางวดสุดท้ายประมาณ 7 เดือน ผู้ให้เช่าซื้อก็รับเงินดังกล่าวไว้ นอกจากนี้แม้ผู้เช่าซื้อจะชำระเงินไม่ตรงตามกำหนด ผู้ให้เช่าซื้อก็ไม่ได้หักดอกเบี้ยออกจากจำนวนเงินที่ผู้เช่าซื้อชำระในแต่ละงวดทั้งตามหนังสือที่ผู้ให้เช่าซื้อส่งคืนเช็คที่ชำระค่าเช่าซื้อ แต่เรียกเก็บเงินไม่ได้ ผู้ให้เช่าซื้อก็เพียงแต่ขอให้ผู้เช่าซื้อโอนเงินที่ค้างชำระให้เท่านั้น โดยไม่มีการทวงถามหรือกล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ให้เช่าซื้อมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาในการชำระหนี้แต่ละงวดเป็นสาระสำคัญ จึงเป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เช่าซื้อ การที่ผู้เช่าซื้อชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดเวลา จะถือว่าผู้เช่าซื้อตกเป็นผู้ผิดนัดหาได้ไม่ ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพราะเหตุที่ผู้เช่าซื้อผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430-431/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็คไม่มีผลสละสิทธิฟ้องอาญา ต้องมีเจตนาสละสิทธิชัดเจน
บันทึกข้อตกลงซึ่งมีข้อความว่า ผู้เสียหายได้ตกลงประนอมหนี้กับจำเลย ซึ่งมียอดหนี้ค้างชำระอยู่ 212,000 บาท วันนี้จำเลยชำระหนี้ให้ผู้เสียหาย 12,000 บาท ส่วนที่เหลือจะผ่อนชำระเป็นรายเดือน เดือนละ 10,000 บาท ทุกสิ้นเดือน นับแต่วันที่ 30 เมษายน 2542 เป็นต้นไป หากผิดนัดใดนัดหนึ่งยอมให้ฟ้องบังคับคดีต่อศาล ทั้งสองฝ่ายได้อ่านข้อความแล้วเป็นไปตามวัตถุประสงค์จึงลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน บันทึกข้อตกลงดังกล่าว ไม่มีข้อความตอนใด ที่แสดงว่าผู้เสียหายตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันทีหรือตกลงระงับข้อพิพาทตามสัญญา ค้ำประกันและกู้เงินที่จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ข้อตกลงดังกล่าว จึงเป็นแต่เพียงข้อตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเท่านั้น ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและมิใช่เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ อันจะถือได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ มูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทยังมีอยู่มิได้สิ้นผลผูกพัน คดีอาญายังมิได้เลิกกันตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยสละสิทธิและสัญญาประนีประนอมยอมความ มิอาจฟ้องร้องขอแบ่งมรดกเพิ่มเติมได้
++ เรื่อง มรดก
++ โจทก์ฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 124 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
of 39