พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดลงจากการสลักหลังเช็คและการนับอายุความใหม่เมื่อเช็คสั่งจ่าย
เรื่องอายุความนั้นหาใช่สภาพแห่งข้อหาไม่ โจทก์ไม่จำเป็นต้องกล่าวมาในฟ้องว่า คดีของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใด
การที่จำเลยสลักหลังเช็คให้โจทก์เพื่อชำระเงินค่าซื้อเชื่อนั้นถือได้ว่าเป็นการกระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์
จำเลยสลักหลังเช็คให้โจทก์เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2505 แต่เช็คนั้นเป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้า สั่งจ่ายในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 ดังนี้ หมายความว่าจำเลยได้รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ในวันที่ 23 เมษายน 2505 ว่าจะชำระเงินเป็นเช็คให้ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 นั่นเอง
เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสำหรับคดีนี้สิ้นสุดลงในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 คือ วันที่สั่งจ่ายเงินในเช็ค จึงเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2505 เพราะวันนั้นเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามเช็คได้เป็นต้นไป ดังนั้น อายุความ2 ปีครบในวันที่ 26 พฤษภาคม 2507 ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โจทก์ยื่นฟ้องในวันที่ 27 พฤษภาคม 2507คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
(ปัญหาตามวรรคสอง, สี่ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8, 9/2514)
การที่จำเลยสลักหลังเช็คให้โจทก์เพื่อชำระเงินค่าซื้อเชื่อนั้นถือได้ว่าเป็นการกระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์
จำเลยสลักหลังเช็คให้โจทก์เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2505 แต่เช็คนั้นเป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้า สั่งจ่ายในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 ดังนี้ หมายความว่าจำเลยได้รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ในวันที่ 23 เมษายน 2505 ว่าจะชำระเงินเป็นเช็คให้ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 นั่นเอง
เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสำหรับคดีนี้สิ้นสุดลงในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 คือ วันที่สั่งจ่ายเงินในเช็ค จึงเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2505 เพราะวันนั้นเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามเช็คได้เป็นต้นไป ดังนั้น อายุความ2 ปีครบในวันที่ 26 พฤษภาคม 2507 ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โจทก์ยื่นฟ้องในวันที่ 27 พฤษภาคม 2507คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
(ปัญหาตามวรรคสอง, สี่ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8, 9/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดลงจากการสลักหลังเช็ค การนับอายุความเริ่มจากวันที่เช็คสั่งจ่าย
เรื่องอายุความนั้นหาใช่สภาพแห่งข้อหาไม่ โจทก์ไม่จำเป็นต้องกล่าวมาในฟ้องว่า คดีของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใด
การที่จำเลยสลักหลังเช็คให้โจทก์เพื่อชำระเงินค่าซื้อเชื่อนั้นถือได้ว่าเป็นการกระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์
จำเลยสลักหลังเช็คให้โจทก์เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2505แต่เช็คนั้นเป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้า สั่งจ่ายในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505ดังนี้ หมายความว่าจำเลยได้รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ในวันที่ 23 เมษายน2505 ว่าจะชำระเงินเป็นเช็คให้ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 นั่นเอง
เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสำหรับคดีนี้สิ้นสุดลงในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 คือ วันที่สั่งจ่ายเงินในเช็ค จึงเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2505 เพราะวันนั้นเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามเช็คได้เป็นต้นไป ดังนั้น อายุความ2 ปีครบในวันที่ 26 พฤษภาคม 2507 ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา เป็นวันหยุดราชการ โจทก์ยื่นฟ้องในวันที่ 27 พฤษภาคม 2507 คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
(ปัญหาตามวรรคสอง, สี่ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8,9/2514)
การที่จำเลยสลักหลังเช็คให้โจทก์เพื่อชำระเงินค่าซื้อเชื่อนั้นถือได้ว่าเป็นการกระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์
จำเลยสลักหลังเช็คให้โจทก์เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2505แต่เช็คนั้นเป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้า สั่งจ่ายในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505ดังนี้ หมายความว่าจำเลยได้รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ในวันที่ 23 เมษายน2505 ว่าจะชำระเงินเป็นเช็คให้ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 นั่นเอง
เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสำหรับคดีนี้สิ้นสุดลงในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 คือ วันที่สั่งจ่ายเงินในเช็ค จึงเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2505 เพราะวันนั้นเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามเช็คได้เป็นต้นไป ดังนั้น อายุความ2 ปีครบในวันที่ 26 พฤษภาคม 2507 ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา เป็นวันหยุดราชการ โจทก์ยื่นฟ้องในวันที่ 27 พฤษภาคม 2507 คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
(ปัญหาตามวรรคสอง, สี่ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8,9/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1169/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้สลักหลังเช็คต้องรับผิดในฐานะผู้รับอาวัล แม้ไม่ทำตามแบบอาวัลทั่วไป ศาลแก้ไขดอกเบี้ยได้
ผู้ที่ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือต้องผูกพันในฐานะเป็นผู้รับอาวัลสำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921, 989 โดยไม่จำต้องปฏิบัติตามมาตรา 939 อันเป็นแบบอาวัลทั่วไป
หนี้ตามเช็คเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายรับผิดใช้เงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ย ยกฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลัง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวฎีกาขึ้นมา และศาลฎีกาเห็นว่า ศาลล่างคำนวณดอกเบี้ยผิดโดยให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยเกินไป ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้เรื่องดอกเบี้ยให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วยได้
หนี้ตามเช็คเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายรับผิดใช้เงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ย ยกฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลัง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวฎีกาขึ้นมา และศาลฎีกาเห็นว่า ศาลล่างคำนวณดอกเบี้ยผิดโดยให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยเกินไป ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้เรื่องดอกเบี้ยให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1169/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้สลักหลังเช็คผูกพันในฐานะผู้รับอาวัล แม้ไม่ได้ทำตามแบบอาวัลทั่วไป ศาลแก้ดอกเบี้ยได้
ผู้ที่ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือต้องผูกพันในฐานะเป็นผู้รับอาวัลสำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921, 989 โดยไม่จำต้องปฏิบัติตามมาตรา 939 อันเป็นแบบอาวัลทั่วไป
หนี้ตามเช็คเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายรับผิดใช้เงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ย ยกฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลัง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวฎีกาขึ้นมา และศาลฎีกาเห็นว่า ศาลล่างคำนวณดอกเบี้ยผิดโดยให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยเกินไป ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้เรื่องดอกเบี้ยให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วยได้
หนี้ตามเช็คเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายรับผิดใช้เงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ย ยกฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลัง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวฎีกาขึ้นมา และศาลฎีกาเห็นว่า ศาลล่างคำนวณดอกเบี้ยผิดโดยให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยเกินไป ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้เรื่องดอกเบี้ยให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สลักหลังเช็ค: ผู้สลักหลังมีหน้าที่รับผิดตามเช็ค แม้ไม่ได้มีฐานะผู้ค้ำประกันหรือผู้รับอาวัล
จำเลยที่ 1 ลงนามเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คฉบับหนึ่ง จำเลยที่ 2 ลงนามสลักหลังเช็คนั้น แต่โจทก์ขึ้นเงินไม่ได้ในวันที่ลงในเช็ค เช่นนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 400,467 บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ลงชื่อสลักหลังเช็คซึ่งเป็นตั๋วเงินประเภทหนึ่ง ก็จะปัดตนให้พ้นความรับผิดไปหาได้ไม่ ฐานะของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้ค้ำประกันหรือเป็นผู้รับอาวัล เมื่อเช็คฉบับนี้ทางธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดตามที่ตนได้ลงนามสลักหลังเช็คนั้นไว้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังเช็คโดยปราศจากมูลหนี้ ผู้สลักหลังยกข้อต่อสู้ได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คโดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันกู้เงินจากโจทก์ แล้วจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกเช็ค จำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คนั้นให้โจทก์ยึดถือไว้ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้กู้ ย่อมยกความปราศจากมูลหนี้ระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ในการสลักหลังนั้นขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สลักหลังเช็คโดยปราศจากมูลหนี้ ผู้สลักหลังยกข้อต่อสู้ได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็ค โดยอ้างว่า จำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันกู้เงินจากโจทก์ แล้วจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกเช็ค จำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คนั้นให้โจทก์ยึดถือไว้ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้กู้ย่อมยกความปราศจากมูลหนี้ระหว่าง จำเลยที่ 2 กับโจทก์ ในการสลักหลัง นั้นขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังเช็คเพื่อรับประกันการจ่ายเงิน ถือเป็นการรับอาวัลโดยไม่ต้องทำตามแบบอาวัลทั่วไป
ผู้สลักหลังเช็คผู้ถือเพื่อรับประกันการจ่ายเงินต้องรับผิดในฐานเป็นผู้รับอาวัลสำหรับตัวผู้สั่งจ่าย โดยไม่ต้องทำตามแบบอาวัลทั่วไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังเช็คเป็นอาวัล: ความรับผิดของผู้สลักหลังต่อผู้ทรงเช็ค
การสลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ย่อมเป็นเพียงประกัน(อาวัล)สำหรับผู้สั่งจ่ายเมื่อผู้ใดสลักหลังเช็คนั้น ก็ต้องรับผิดในฐานเป็นผู้สลักหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยคอนโดมิเนียม, การสลักหลังเช็ค, และภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ป.พ.พ. มาตรา 326 มีความหมายแต่เพียงว่า บุคคลผู้ชำระหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จให้แก่ตนเป็นสำคัญ เพื่อเป็นพยานหลักฐานใช้ยันต่อเจ้าหนี้ว่าตนได้ชำระหนี้แล้ว หากเป็นการชำระหนี้โดยสิ้นเชิงผู้ชำระหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกให้เวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ หรือให้ขีดฆ่าเอกสารนั้นได้ด้วย แต่ไม่ได้หมายความถึงว่าหากไม่มีใบเสร็จเป็นสำคัญ หรือไม่มีการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ หรือไม่มีการขีดฆ่าเอกสารนั้นแล้ว ลูกหนี้จะไม่อาจนำสืบด้วยพยานหลักฐานอย่างอื่นว่ามีการชำระหนี้แล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 4 ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คที่ ม. นำมาขายลดไว้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 4 ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คฉบับดังกล่าว ลายมือชื่อที่ปรากฏในเช็คเป็นลายมือชื่อปลอม โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าลายมือชื่อที่สลักหลังเช็คเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 4 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 หาใช่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 4 ที่ต้องนำสืบว่าลายมือชื่อที่สลักหลังเช็คเป็นลายมือชื่อปลอมไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ให้รับผิดในฐานะทายาทโดยธรรมของ ม. ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ โดยไม่ได้กำหนดให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ต้องรับผิดไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601 จึงไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 4 ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คที่ ม. นำมาขายลดไว้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 4 ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คฉบับดังกล่าว ลายมือชื่อที่ปรากฏในเช็คเป็นลายมือชื่อปลอม โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าลายมือชื่อที่สลักหลังเช็คเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่ 4 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 หาใช่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 4 ที่ต้องนำสืบว่าลายมือชื่อที่สลักหลังเช็คเป็นลายมือชื่อปลอมไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ให้รับผิดในฐานะทายาทโดยธรรมของ ม. ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ โดยไม่ได้กำหนดให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ต้องรับผิดไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601 จึงไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247