คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สอบสวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4765/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพที่ได้จากการสอบสวน: การตัดสินใจด้วยตนเองของจำเลย ไม่เข้าข่ายการชักจูง
จำเลยจำหน่ายเฮโรอีน 1 ถุงแก่เจ้าพนักงานตำรวจ และเจ้าพนักงาน ตำรวจค้นพบเฮโรอีนของกลางอีก 6 ถุงกับ 35 หลอดที่หลังบ้านเจ้าพนักงานตำรวจได้สอบถามจำเลยแต่จำเลยปฏิเสธว่าเป็นของ ส. พ่อตาจำเลย เจ้าพนักงานตำรวจจึงให้แม่ยายจำเลยไปตาม ส. แต่แม่ยายจำเลยกลับมาบอกว่าไม่พบ เจ้าพนักงานตำรวจจึงบอกว่า ถ้าจับ ส. ไม่ได้ก็ต้องจับจำเลย แต่ถ้าตาม ส. มาได้ก็จะปล่อยจำเลย แล้วจึงเขียนบันทึกการจับกุมโดยแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ จำเลยบอกแก่เจ้าพนักงานตำรวจว่า ถ้า ส. ไม่มารับ จำเลยก็ต้องรับ พยานจึงเขียนบันทึกว่าจำเลยให้การรับสารภาพ ดังนี้ การที่จำเลยยอมรับเป็นเรื่องที่จำเลยตัดสินใจเองข้อความที่ว่าถ้าได้ตัว ส. มาก็จะปล่อยจำเลยนั้น ก็เห็นได้ว่าคงจะปล่อยสำหรับข้อหามีเฮโรอีน 6 ถุงกับ 35 หลอดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเท่านั้น ซึ่งก็เป็นการกระทำเพื่อให้ได้ตัวผู้กระทำผิดไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ใดกรณียังไม่เข้าลักษณะชักจูงหรือกระทำด้วยวิธีการใด ๆ ที่จะให้จำเลยให้การรับสารภาพ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ต้องหาในการมีทนายความร่วมฟังการสอบสวน: พนักงานสอบสวนไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งสิทธิ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 241 วรรคสองบัญญัติแต่เพียงว่า ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้เท่านั้น ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องสอบถามผู้ต้องหาก่อนเริ่มการสอบสวน ดังนั้น แม้หากพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยโดยไม่ได้ถามจำเลยในเรื่องดังกล่าวก่อนดังที่จำเลยอ้างก็ตามก็ไม่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าว การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 345/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของเจ้าหน้าที่ในการสอบสวนทรัพย์สินร่ำรวยผิดปกติชอบด้วยกฎหมาย ไม่ถือเป็นการละเมิด
ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่า ให้เงินและหรือทรัพย์สินอื่นจำนวน12,000,000 บาท ของโจทก์ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติตกเป็นของแผ่นดินเท่ากับรับรองว่าการกระทำของจำเลยทั้งเจ็ดที่สอบสวนดำเนินการแก่โจทก์ เพราะโจทก์ร่ำรวยผิดปกติ จนกระทั่งมีคำสั่งสำนักงานนายกรัฐมนตรีปลดโจทก์ออกจากราชการนั้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้ว ไม่ถือเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจค้นจับกุมกับการสอบสวนเป็นคนละขั้นตอน แม้การตรวจค้นไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การตรวจค้นจับกุมกับการสอบสวนเป็นการดำเนินการคนละขั้นตอนกัน แม้การตรวจค้นจับกุมอาจมิชอบด้วยกฎหมายก็เป็นเรื่องที่จะไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก หามีผลทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วยไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่ามีการสอบสวนแล้ว จำเลยมิได้ฎีกาว่าการสอบสวนไม่ชอบเพราะเหตุผลอื่น ๆ เพียงแต่อ้างว่าการตรวจค้นโดยไม่มีหมายค้นเป็นการไม่ชอบ การจับกุมการสอบสวนย่อมไม่ชอบ จึงต้องถือว่าการสอบสวนในความผิดที่กล่าวหาตามฟ้องชอบแล้ว ที่จำเลยฎีกาว่า การตรวจค้นโดยไม่มีหมายค้นย่อมเป็นการค้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การจับกุมย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยหากมีการสอบสวนพยานโจทก์ย่อมจะรับฟังไม่ได้ หากรับฟังย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจค้นจับกุมและการสอบสวนเป็นคนละขั้นตอน แม้การตรวจค้นมิชอบ ก็ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การตรวจค้นจับกุมกับการสอบสวนเป็นการดำเนินการคนละขั้นตอนกัน แม้การตรวจค้นจับกุมอาจมิชอบด้วยกฎหมายก็เป็นเรื่องที่จะไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก หามีผลทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วยไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่ามีการสอบสวนแล้ว จำเลยมิได้ฎีกาว่าการสอบสวนไม่ชอบเพราะเหตุผลอื่น ๆ เพียงแต่อ้างว่าการตรวจค้นโดยไม่มีหมายค้น เป็นการไม่ชอบ การจับกุมการสอบสวนย่อมไม่ชอบ จึงต้องถือว่าการสอบสวนในความผิดที่กล่าวหาตามฟ้องชอบแล้ว ที่จำเลยฎีกาว่า การตรวจค้นโดย ไม่มีหมายค้นย่อมเป็นการค้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การจับกุมย่อม ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย หากมีการสอบสวนพยานโจทก์ย่อมจะรับฟังไม่ได้ หากรับฟังย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควร ได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239-4240/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการสอบสวนนอกสถานที่และการชันสูตรพลิกศพ: ขอบเขตและข้อจำกัดตามกฎหมาย
ตามคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวนนอกจากจะขอรับตัวผู้ต้องหาไปควบคุมไว้ยังที่ทำการของกองปราบปรามเพื่อให้พยานชี้ตัวแล้ว พนักงานสอบสวนได้อ้างเหตุที่ต้องขออนุญาตฝากขังด้วยว่า การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ต้องสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีก 15 ปาก พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจกระทำการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อให้การสอบสวนเสร็จสิ้นได้ มิได้จำกัดเพียงให้พยานชี้ตัวผู้ต้องหาเพียงอย่างเดียวเท่านั้นพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจนำตัวผู้ต้องหาออกนอกพื้นที่ที่ทำการของกองปราบปรามเพื่อตรวจค้นตามหมายค้นได้
คำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้หน่วยนิติเวช ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาล ร. และให้ พ. ตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายเพื่ออ้างเป็นพยานหลักฐานของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 นั้นก็คือการชันสูตรพลิกศพนั่นเองซึ่งตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถือว่าการชันสูตรพลิกศพเป็นการสอบสวนความผิดอาญาอย่างหนึ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติผู้มีหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพและได้ให้อำนาจผู้ทำการชันสูตรพลิกศพทำการผ่าศพแล้วแยกธาตุส่วนใดหรือจะให้ส่งทั้งศพ หรือบางส่วน ไปยังแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลก็ได้ และยังให้อำนาจผู้ชันสูตรพลิกศพจัดให้ขุดศพขึ้นเพื่อตรวจดูได้กำหนดวิธีการที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้ โดยเฉพาะในภาค 2ลักษณะ 2 หมวด 2 แล้วตามมาตรา 150,151 และ 153 จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 มาอนุโลมบังคับหาได้ไม่ ดังนี้ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการชันสูตรพลิกศพผู้ตายเสร็จแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะดำเนินการตามคำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้ชันสูตรพลิกศพผู้ตายได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4037/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องฉ้อโกง: การสอบสวนความผิดฐานฉ้อโกงโดยชอบ
เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาจำเลยว่า ลักทรัพย์ รับของโจร และฉ้อโกง แล้วพนักงานสอบสวนได้สอบคำให้การ จ.ผู้รับมอบอำนาจจากธนาคารผู้เสียหายกรณีที่จำเลยใช้สมุดคู่ฝากถอนเงินสดจากธนาคารผู้เสียหายไปเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 ไว้ ชั้นสอบสวน จำเลยให้การรับว่าในวันดังกล่าวจำเลยได้ใช้สมุดคู่ฝากถอนเงินสดจำนวนดังกล่าว ไปจากผู้เสียหายจริง ดังนี้ เห็นได้ว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงด้วยแล้ว แม้ว่าในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง ร้อยตำรวจโท อ.ไม่ได้สอบปากคำว่าจำเลยได้ไปฉ้อโกงหรือหลอกลวงผู้ใดไว้หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะในการสอบสวนไม่มีข้อห้ามตามกฎหมายว่าพนักงานสอบสวนจะต้องสอบสวนมากน้อยเพียงใด เมื่อมีการสอบสวนในความผิดฐานฉ้อโกงโดยชอบแล้วพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงโดยวินิจฉัยว่าไม่ได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานฉ้อโกงโดยชอบ โดยศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกงหรือไม่ ดังนี้เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4037/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกง: การสอบสวนฐานฉ้อโกงเป็นปัจจัยสำคัญในการฟ้องคดีได้
เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาจำเลยว่า ลักทรัพย์ รับของโจร และฉ้อโกง แล้วพนักงานสอบสวนได้สอบคำให้การ จ. ผู้รับมอบอำนาจจากธนาคารผู้เสียหายกรณีที่จำเลยใช้สมุดคู่ฝากถอน เงินสดจากธนาคารผู้เสียหายไปเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 ไว้ ชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับว่า ในวันดังกล่าวจำเลยได้ใช้ สมุดคู่ฝากถอนเงินสดจำนวนดังกล่าวไปจากผู้เสียหายจริง ดังนี้ เห็นได้ว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาความผิด ฐานฉ้อโกงด้วยแล้ว แม้ว่าในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง พนักงานสอบสวนจะไม่ได้สอบปากคำว่าจำเลยได้ไปฉ้อโกง หรือหลอกลวงผู้ใดไว้ก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะ ในการสอบสวนไม่มีข้อห้ามตามกฎหมายว่าพนักงานสอบสวนจะต้องสอบสวนมากน้อยเพียงใด เมื่อมีการสอบสวนใน ความผิดฐานฉ้อโกงโดยชอบแล้ว พนักงานอัยการจึงมี อำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกง โดยวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานฉ้อโกง โดยชอบ โดยศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิด ฐานฉ้อโกงหรือไม่ ดังนี้เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลย เป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความ ศาลฎีกา ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3354/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงานเพื่อสอบสวนและการจ่ายค่าจ้าง: สิทธิลูกจ้างเมื่อไม่มีความผิด
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุว่า "หากพนักงานผู้ใดฝ่าฝืนหรือหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามระเบียบวินัยหรือฝ่าฝืนข้อห้ามมิให้ปฏิบัติ พนักงานผู้นั้นจะต้องได้รับโทษทางวินัย อย่างไรก็ดี ก่อนการสั่งลงโทษผู้บังคับบัญชาอาจสั่งพักงานเพื่อการสอบสวนก็ได้ โดยในระหว่างพักงานให้งดจ่ายค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ โดยการพักงานกรณีนี้ให้กระทำเฉพาะพักงานเพื่อการสอบสวนเท่านั้น มิให้พักงานเพื่อรอผลคดี ซึ่งการพักงานเพื่อการสอบสวนนี้มิใช่เป็นการพักงานเพื่อการลงโทษ" เห็นได้ว่า การพักงานเพื่อการสอบสวนตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเพื่อให้ได้ความแจ้งชัดว่าลูกจ้างผู้ถูกพักงานได้กระทำความผิดตามที่ถูกสอบสวนหรือไม่ ทั้งการพักงานดังกล่าวมิใช่เป็นการลงโทษ แม้ระหว่างการพักงานนายจ้างมีสิทธิงดจ่ายค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็ตาม แต่ระหว่างการพักงานเป็นเพียงนายจ้างให้ลูกจ้างผู้นั้นหยุดงานเป็นการชั่วคราวเท่านั้น สภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างยังคงมีอยู่ต่อไป ดังนี้ หากการสอบสวนปรากฏว่าลูกจ้างผู้นั้นมิได้กระทำความผิด นายจ้างจะลงโทษลูกจ้างผู้นั้นไม่ได้และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างการพักงานให้แก่ลูกจ้าง
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง จำเลยย่อมมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ตลอดระยะเวลาที่โจทก์ทำงานให้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 575 จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เพื่อการสอบสวน เป็นกรณีที่จำเลยมิให้โจทก์ทำงาน ดังนี้การที่โจทก์มิได้ทำงานให้จำเลยจึงมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ จำเลยจะยกเหตุดังกล่าวเป็นข้ออ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3354/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงานเพื่อสอบสวนและการจ่ายค่าจ้าง: แม้พักงาน นายจ้างยังต้องจ่ายค่าจ้างหากลูกจ้างไม่ได้กระทำผิด
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุว่า "หากพนักงานผู้ใดฝ่าฝืน หรือหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามระเบียบวินัยหรือฝ่าฝืนข้อห้าม มิให้ปฏิบัติ พนักงานผู้นั้นจะต้องได้รับโทษทางวินัย อย่างไรก็ดี ก่อนการสั่งลงโทษผู้บังคับบัญชาอาจสั่งพักงานเพื่อการสอบสวน ก็ได้ โดยในระหว่างพักงานให้งดจ่ายค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ ต่าง ๆ โดยการพักงานกรณีนี้ให้กระทำเฉพาะพักงานเพื่อการสอบสวน เท่านั้น มิให้พักงานเพื่อรอผลคดี ซึ่งการพักงานเพื่อการสอบสวน นี้มิใช่เป็นการพักงานเพื่อการลงโทษ" เห็นได้ว่า การพักงาน เพื่อการสอบสวนตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเพื่อให้ ได้ความแจ้งชัดว่าลูกจ้างผู้ถูกพักงานได้กระทำความผิดตามที่ถูก สอบสวนหรือไม่ ทั้งการพักงานดังกล่าวมิใช่เป็นการลงโทษแม้ระหว่างการพักงานนายจ้างมีสิทธิงดจ่ายค่าจ้างและสิทธิ ประโยชน์ต่าง ๆ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็ตาม แต่ระหว่างการพักงานเป็นเพียงนายจ้างให้ลูกจ้างผู้นั้นหยุดงาน เป็นการชั่วคราวเท่านั้น สภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างยังคง มีอยู่ต่อไป ดังนี้ หากการสอบสวนปรากฏว่าลูกจ้างผู้นั้นมิได้ กระทำความผิด นายจ้างจะลงโทษลูกจ้างผู้นั้นไม่ได้และนายจ้าง ต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างการพักงานให้แก่ลูกจ้าง จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง จำเลยย่อมมีหน้าที่จ่ายค่าจ้าง ให้แก่โจทก์ตลอดระยะเวลาที่โจทก์ทำงานให้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 จำเลยมีคำสั่ง พักงานโจทก์เพื่อการสอบสวน เป็นกรณีที่จำเลยมิให้โจทก์ทำงาน ดังนี้การที่โจทก์มิได้ทำงานให้จำเลยจึงมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ จำเลยจะยกเหตุดังกล่าวเป็นข้ออ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับ ค่าจ้างหาได้ไม่
of 26