คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญากู้เงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 90 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4854/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นสำเนาสัญญากู้เงินเป็นหลักฐานในศาล: ความชอบด้วยกฎหมายและการรับฟังพยานหลักฐาน
สำเนาสัญญากู้เงินเอกสารท้ายฟ้องที่โจทก์ยื่นต่อศาลเพื่อให้จำเลยรับไปจากเจ้าพนักงานศาลมีข้อความอย่างเดียวกับต้นฉบับสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.2 และทนายโจทก์ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง จึงเป็นสำเนาเอกสารที่โจทก์ยื่นโดยชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 90 วรรคหนึ่ง ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แม้สำเนาสัญญากู้เงินจะไม่มีสำเนาอากรแสตมป์ติดอยู่ก็ไม่ทำให้เป็นสำเนาเอกสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ส่งสำเนาสัญญากู้เงินโดยชอบแล้วศาลย่อมรับฟังต้นฉบับสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.2 เป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากสัญญากู้เงินเป็นสัญญาจำนอง และสิทธิการรับชำระหนี้คงเหลือ
เมื่อระหว่างปี 2522 ถึงปี 2524 เจ้าหนี้กับเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ม. กรรมการผู้จัดการลูกหนี้ได้ร่วมกันให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปรวม 7 ครั้ง คิดเป็นเงิน2,093,300 บาท โดยไม่ได้กำหนดเวลาใช้เงินคืนและอัตราดอกเบี้ยไว้เมื่อปี 2528 เจ้าหนี้แต่เพียงผู้เดียวรับจดทะเบียนจำนองที่ดินจากลูกหนี้เพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืมดังกล่าวในวงเงิน2,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี และให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วย ดังนั้นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์กับเจ้าหนี้จึงเป็นเจ้าหนี้ร่วมกันและต่างมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงและลูกหนี้จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนหนึ่งคนใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298เจ้าหนี้แต่ผู้เดียวจึงมีสิทธิจดทะเบียนจำนองกับลูกหนี้เพื่อประกันหนี้ดังกล่าวได้โดยลำพังตนเอง หาจำต้องให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร่วมเข้าเป็นคู่สัญญาจำนองด้วยไม่การกระทำของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ หนี้ตามสัญญากู้เงินมีอยู่อย่างไร ก็คงมีอยู่เช่นเดิม เพียงแต่เจ้าหนี้ทำให้หนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเป็นหนี้ที่ประกันเท่านั้นเมื่อเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ไถ่ถอนจำนองจึงมีผลให้หนี้ที่มีประกันเป็นหนี้ที่ไม่มีประกันเช่นเดิม หนี้ตามสัญญากู้เงินยังหาระงับไปไม่ หนี้ดังกล่าวจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้ดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนสัญญาจำนองที่ว่าให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วยนั้นก็มีความหมายตรงตัวว่า นอกจากสัญญากู้เงินเดิมแล้วก็ยังถือเอาสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินอีกชั้นหนึ่งเท่ากับเจ้าหนี้มีหลักฐานทั้งสัญญากู้เงินและหลักฐานตามสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการฟ้องคดีได้ทั้งสองอย่างนั่นเองเมื่อในวันไถ่ถอนจำนองเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้เพียง 980,000 บาท เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนที่เหลือได้ตามสัญญากู้เงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9237/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานหักล้างสัญญากู้เงินและการพิจารณาหนี้สินในคดีล้มละลาย
จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์มอบเงินให้จำเลยที่ 1 นำไปให้บุคคลภายนอกกู้ โดยคิดดอกเบี้ยอัตราระหว่างร้อยละ 7 ถึง 25 ต่อเดือน แล้วแบ่งผลประโยชน์กัน สัญญากู้เงินตามฟ้องโจทก์นำเงินมาให้จำเลยที่ 1 ปล่อยกู้เพียง375,000 บาท แต่โจทก์นำดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 25 ต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปีเป็นเงิน 1,125,000 บาท มารวมเข้ากับต้นเงินดังกล่าวเป็นเงิน 1,500,000บาท แล้วให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันไว้เป็นหลักประกัน จำเลยที่ 1 ได้ขายบ้านพร้อมที่ดินของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทนโจทก์ให้แก่ ส.ไปแล้วจำนวน 250,000 บาท ส่วนที่เหลือจำเลยที่ 1 ก็ชำระคืนให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว คำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าว จำเลยทั้งสองย่อมนำสืบพยานบุคคลหักล้างได้ว่า สัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมดไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย นอกจากนี้การที่ห้ามนำสืบพยานบุคคลเพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันเป็นการตัดรอนมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวย่อมขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงหรือไม่ จำเลยทั้งสองชอบที่จะนำสืบพยานดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9164/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอให้ศาลหมายเรียกตัวการเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดีสัญญากู้เงิน โดยอ้างเป็นตัวแทน
จำเลยที่ 1 ให้การว่า ทำสัญญากู้เงินโจทก์ในฐานะตัวแทนของ บ. ผู้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญากู้เงินตามฟ้องจึงเป็นบ. และตามคำร้องที่จำเลยที่ 1 ขอให้ศาลชั้นต้นหมายเรียกบ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมก็อ้างว่า ถ้าหากศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 แพ้คดี จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของ บ.ย่อมจำต้องฟ้อง บ. ซึ่งเป็นตัวการเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยคำร้องของจำเลยที่ 1 จึงเข้าเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6646/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยเบี้ยปรับในสัญญากู้เงิน ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนได้ แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นเป็นประเด็น
สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ร้อยละ 18 ต่อปี ตามสัญญาข้อ 2 อยู่แล้วส่วนการที่สัญญาข้อ 4 กำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไว้ร้อยละ 21 ต่อปี ก็คือการที่จำเลยที่ 1สัญญาให้เบี้ยปรับในฐานผิดสัญญากู้เงินในอัตราร้อยละ 3 ต่อปีซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ให้การถึงและศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดปัญหาเรื่องนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในคดีก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3553/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้เงินที่ไม่ใช่เบี้ยปรับ
ข้อตกลงในสัญญากู้เงินที่ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนด แม้ผู้กู้จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ ไม่ใช่ข้อตกลงที่เป็นเบี้ยปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแปลงหนี้: สัญญากู้เงินที่แปลงจากค่าที่ดินและแปลงหนี้เงินกู้เดิม ย่อมมีผลบังคับใช้ได้
จำเลยทำสัญญากู้เงินให้โจทก์แทนการชำระราคาที่ดินบางส่วนที่โจทก์กับพวกขายให้แก่จำเลย หนี้เงินกู้ตามสัญญากู้เงินจึงเป็นหนี้ที่แปลงมาจากค่าที่ดินที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ สัญญากู้เงินจึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย มิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาขายที่ดิน
โจทก์เอาหนี้เงินกู้ที่จำเลยค้างชำระตามสัญญากู้เงินฉบับเดิมมาเป็นต้นเงินกู้ตามสัญญากู้เงินฉบับใหม่ เป็นการแปลงหนี้จากสัญญากู้เงินฉบับเดิมมาเป็นสัญญากู้เงินฉบับใหม่ สัญญากู้เงินฉบับใหม่ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินไม่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขาย หากมีเจตนาชำระหนี้ค่าที่ดิน และการแปลงหนี้ระหว่างสัญญากู้
จำเลยทำสัญญากู้เงินให้โจทก์แทนการชำระราคาที่ดินบางส่วนที่โจทก์กับพวกขายให้แก่จำเลยหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้เงินจึงเป็นหนี้ที่แปลงมาจากค่าที่ดินที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์สัญญากู้เงินจึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมายมิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาขายที่ดิน โจทก์เอาหนี้เงินกู้ที่จำเลยค้างชำระตามสัญญากู้เงินฉบับเดิมมาเป็นต้นเงินกู้ตามสัญญากู้เงินฉบับใหม่เป็นการแปลงหนี้จากสัญญากู้เงินฉบับเดิมมาเป็นสัญญากู้เงินฉบับใหม่สัญญากู้เงินฉบับใหม่ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7545/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สลักหลังเช็ค กรณีหนี้เดิมและการทำสัญญากู้เงิน
จำเลยเป็นผู้สลักหลังเช็คที่ ย.สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้ตามเช็คดังกล่าว จำเลยซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คย่อมต้องรับผิดร่วมกับ ย.ชำระหนี้ให้โจทก์
เมื่อหนี้เดิมจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้ตามเช็คแต่ต่อมาได้ทำสัญญากู้เงินกันแทน หนี้จำนวนนี้ย่อมเป็นหนี้ที่มีอยู่จริง และบังคับได้ตามกฎหมายแม้ตอนทำสัญญากู้เงินจำเลยมิได้รับเงินจากโจทก์ แต่จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ก่อนแล้วตามจำนวนหนี้ที่ ย.สั่งจ่ายเช็คและจำเลยเป็นผู้สลักหลัง โดยจำเลยไม่จำต้องเกี่ยวข้องหรือมีผลประโยชน์ร่วมกับ ย. จำเลยต้องรับผิดชำระหนี้รายนี้ เมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ และได้มีการทำสัญญากู้เงินกันแทน ถือว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์และโจทก์สามารถบังคับให้ชำระหนี้ดังกล่าวได้ตามกฎหมาย แม้ในวันทำสัญญากู้เงินจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คโดยลงวันที่สั่งจ่ายตรงกับวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามสัญญากู้เงิน การสั่งจ่ายเช็คดังกล่าวถือว่าเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็ค การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2938/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ผู้ให้กู้ฟ้องบังคับชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องบอกเลิกสัญญา
สัญญากู้เงินมีข้อความว่า เมื่อครบกำหนดตามสัญญาแล้ว ถ้าผู้กู้ไม่นำต้นเงินมาชำระคืน ผู้ให้กู้อนุโลมให้ต่อสัญญาได้อีก เมื่อครบกำหนดตามสัญญากู้เงินผู้กู้ไม่ชำระเงินคืน ย่อมถือได้ว่าผู้ให้กู้และผู้กู้ได้ทำสัญญากู้เงินกันใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา
สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1ไม่ชำระหนี้ภายในเวลาตามที่โจทก์กำหนด โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 652 โดยไม่จำต้องบอกเลิกสัญญากู้เงินก่อน ดังนั้น ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่าโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
of 9