พบผลลัพธ์ทั้งหมด 192 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันสัญญาขายฝาก: การติดต่อขอซื้อคืนทรัพย์สินไม่ถือเป็นการให้สัตยาบัน
จำเลยและจำเลยร่วมเป็นสามีภรรยากันตามกฎหมาย จำเลยได้ขายฝากทรัพย์ที่เป็นสินสมรสไว้แก่โจทก์โดยจำเลยร่วมมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยการที่จำเลยร่วมทราบเรื่องการขายฝากแล้วได้ไปติดต่อขอซื้อทรัพย์ที่เป็นสินสมรสดังกล่าวคืนจากโจทก์ เป็นเรื่องที่จำเลยร่วมใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของตนคืน ถือไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้หรือเรียกทวงให้ชำระหนี้อันจะถือเป็นการให้สัตยาบันแก่การขายฝาก (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2534).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่เป็นนิติกรรมอำพราง การครอบครองที่ดินหลังครบกำหนดไถ่ถือเป็นการละเมิด เจ้าของสิทธิไม่สละสิทธิจากการเสียภาษี
โจทก์และจำเลยไปทำสัญญากันที่สำนักงานที่ดินอำเภอเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทำสัญญาแล้วได้อ่านข้อความให้ฟังจำเลยบอกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่า ต้องการทำสัญญาจำนองไม่ต้องการทำสัญญาขายฝาก โจทก์บอกจำเลยว่าทำสัญญาขายฝากก็เหมือนสัญญาจำนอง เมื่อจำเลยได้ปรึกษากับสามีแล้วจึงได้ตกลงทำสัญญาขายฝาก ดังนี้ การทำสัญญาขายฝากดังกล่าวจึงเป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์และด้วยความสมัครใจของจำเลยเอง สัญญาขายฝากนี้หาใช่เป็นนิติกรรมอำพรางไม่ การที่จำเลยเสียภาษีบำรุงท้องที่ที่ดินพิพาทโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รู้เห็นการกระทำดังกล่าวมิใช่เป็นเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทและไม่ถือว่าโจทก์สละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยครอบครอง ที่ดินพิพาทในฐานะอาศัยโจทก์มาแต่แรก และจำเลยไม่เคยบอกกล่าวไปยังโจทก์ว่าจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครอง ดังนี้แม้จำเลยจะครอบครองที่พิพาทต่อมาอีกนานเท่าใดก็ตามโจทก์ก็ไม่ต้องฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทภายใน 1 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่เป็นนิติกรรมอำพราง การซื้อขายที่ดินโดยสุจริตทำให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ซื้อ
โจทก์ร่วมที่ 2 กับจำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินและบ้านกันจริง ๆแม้ภายหลังการทำสัญญาขายฝาก จำเลยยังคงครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทต่อไปโดยไม่ได้มอบการครอบครองแก่โจทก์ร่วมที่ 2 ก็ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่านิติกรรมระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยเป็นนิติกรรมอำพราง ดังนั้นเมื่อครบกำหนดเวลาไถ่แล้ว โดยจำเลยไม่ขอไถ่ภายในกำหนด การที่โจทก์ร่วมที่ 2 ผู้รับซื้อฝากขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมที่ 1 โดยสุจริต กรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทย่อมเป็นของโจทก์และโจทก์ร่วม โจทก์จึงมีสิทธิขับไล่จำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากเพื่อบังหน้าการกู้ยืมเงิน ดอกเบี้ยเกินกฎหมายระงับหนี้
การที่จำเลยรับชำระหนี้เงินกู้ส่วนที่ค้างชำระภายหลังพ้นกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว แสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าต้องการจะผูกพันกันในเรื่องกู้ยืมเงินเท่านั้นสัญญาขายฝากจึงเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114 วรรคสอง และจะต้องถือว่าสัญญาขายฝากเป็นหลักฐานที่จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์และมอบที่ดินตามฟ้องให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผิดสัญญาขายฝาก ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามสมควร แม้โจทก์พิสูจน์ความเสียหายไม่ได้ทั้งหมด
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แม้โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าได้รับความเสียหายตามจำนวนที่ฟ้อง ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายได้ตามสมควร
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรับเงิน 600,000 บาทและจดทะเบียนไถ่ถอนขายฝากที่ดินแก่โจทก์ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับการไถ่ถอนการขายฝากจากโจทก์ในจำนวนเงิน 600,000 บาท โดยกำหนดให้โจทก์วางเงินสินไถ่จำนวนดังกล่าวต่อศาลภายใน 30 วัน หาได้ไม่เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรับเงิน 600,000 บาทและจดทะเบียนไถ่ถอนขายฝากที่ดินแก่โจทก์ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับการไถ่ถอนการขายฝากจากโจทก์ในจำนวนเงิน 600,000 บาท โดยกำหนดให้โจทก์วางเงินสินไถ่จำนวนดังกล่าวต่อศาลภายใน 30 วัน หาได้ไม่เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผิดสัญญาขายฝาก ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามสมควร แม้โจทก์มิได้พิสูจน์ความเสียหายตามฟ้อง
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้อง รับผิดใช้ ค่าเสียหายแก่โจทก์แม้โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าได้ รับความเสียหายตาม จำนวนที่ฟ้อง ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายได้ตาม สมควร โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรับเงิน 600,000 บาทและจดทะเบียนไถ่ถอนขายฝากที่ดินแก่โจทก์ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับการไถ่ถอนการขายฝากจากโจทก์ในจำนวนเงิน 600,000 บาท โดย กำหนดให้โจทก์วางเงินสินไถ่จำนวนดังกล่าวต่อ ศาลภายใน 30 วันหาได้ไม่เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2065/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแย่งการครอบครองและการฟ้องคดีเกิน 1 ปี ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375
จำเลยได้ ทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท ซึ่ง มี น.ส.3 ก. กับโจทก์มีกำหนด 1 ปี เมื่อครบกำหนดตาม สัญญาขายฝากแล้ว จำเลยยังคงครอบครองที่พิพาทตลอดมา โจทก์บอกให้จำเลยทำสัญญาเช่าที่พิพาทจากโจทก์ แต่ จำเลยไม่ทำ ต่อมาจำเลยได้ ไปร้องเรียนขอความเป็นธรรม ต่อ ทางราชการเกี่ยวกับเรื่องขายฝาก ดังนี้ ถือ ได้ ว่าจำเลยได้ แย่ง สิทธิครอบครองของโจทก์และได้ บอกกล่าวการเปลี่ยนลักษณะแห่งการ ยึดถือครอบครองที่พิพาทเป็นของตน ต่อ โจทก์แล้ว การที่โจทก์นำคดี มาฟ้องเรียกคืนการครอบครองที่พิพาทเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันสัญญาขายฝากครบกำหนด ซึ่ง เป็นวันที่โจทก์ถูก แย่งการครอบครองโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากสัญญากู้ยืมเป็นสัญญาขายฝาก ทำให้หนี้เดิมระงับ
โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลง ทำสัญญาขายฝากที่ดินของจำเลยที่ 1ให้ไว้แก่โจทก์โดย เอาจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตาม สัญญากู้ยืมมารวมเป็นราคาขายฝากและได้ ทำสัญญาขายฝากเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม กฎหมายมี ผลใช้บังคับกันได้ แล้ว การกระทำดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่ง เป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 มีผลทำให้หนี้ตามสัญญากู้เป็นอันระงับไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากที่ไม่เป็นนิติกรรมอำพราง แม้มีเจตนาขอกู้ยืมเงินและการคิดดอกเบี้ยซ้ำซ้อน
จำเลยมีเจตนาขอกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์ไม่ยอมให้กู้แต่ประสงค์ให้ทำสัญญาขายฝาก เมื่อจำเลยตกลงทำสัญญาขายฝากที่ดินตามความประสงค์ของโจทก์โดยความสมัครใจของจำเลยเอง สัญญาขายฝากจึงมิได้กระทำขึ้นด้วยการสมรู้ของโจทก์ - จำเลยเพื่ออำพรางการกู้ยืมหรือจำนองสัญญาขายฝากจึงมิใช่นิติกรรมอำพราง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่เป็นนิติกรรมอำพราง แม้มีการอ้างถึงการกู้ยืมเงินและดอกเบี้ยซ้ำซ้อน ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยมีเจตนาขอกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์ไม่ยอมให้กู้แต่ประสงค์ให้ทำสัญญาขายฝาก เมื่อจำเลยตกลงทำสัญญาขายฝากที่ดินตามความประสงค์ของโจทก์โดยความสมัครใจของจำเลยเอง สัญญาขายฝากจึงมิได้กระทำขึ้นด้วยการสมรู้ของโจทก์จำเลยเพื่ออำพรางการกู้ยืมหรือจำนองสัญญาขายฝากจึงมิใช่นิติกรรมอำพราง