พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: ข้อตกลงสภาพการจ้างไม่อาจใช้แปลความสัญญาค้ำประกัน
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกันอ้างมีข้อความเกี่ยวกับการจ้างจำเลยที่ 1 เข้าทดลองงานเท่านั้น ไม่มีข้อความใดเกี่ยวพันกับสัญญาค้ำประกันที่จะนำมาแปลความหมายในสัญญาค้ำประกันได้ ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 อ้างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวเพื่อให้นำมาพิจารณาประกอบสัญญาค้ำประกัน หรืออ้างคำเบิกความพยานโจทก์และพยานจำเลยว่าจำเลยมีระเบียบในการเปลี่ยนสัญญาค้ำประกันใหม่เมื่อมีการเปลี่ยนตำแหน่งสูงขึ้นหรือมีความรับผิดชอบสูงขึ้น ล้วนแต่เป็นการอ้างเพื่อให้ศาลรับฟังว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมข้อความในสัญญา ค้ำประกันอีก ซึ่งต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: การขยายความรับผิดเกินกว่าที่ตกลงกัน และข้อจำกัดการนำสืบพยานเพิ่มเติม
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 อ้างคำเบิกความพยานโจทก์และพยานจำเลยว่าโจทก์มีระเบียบในการเปลี่ยนสัญญาค้ำประกันใหม่เมื่อมีการเปลี่ยนตำแหน่งสูงขึ้นหรือมีความรับผิดชอบสูงขึ้น เป็นการอ้างเพื่อให้ศาลรับฟังว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมข้อความในสัญญาค้ำประกันนั้นอยู่อีก จึงต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุคัดค้านชัดเจน การอ้างโมฆียะกรรมต้องมีการบอกล้างเพื่อทำให้โมฆะ
การที่ผู้ร้องอ้างเหตุในคำขอให้พิจารณาใหม่ว่า นิติกรรมค้ำประกันของผู้ร้องตกเป็นโมฆียะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 30 ซึ่งจะตกเป็นโมฆะต่อเมื่อถูกบอกล้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 วรรคหนึ่ง นั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ได้มีการบอกล้างข้ออ้างดังกล่าวจึงถือว่ามิได้แสดงเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 วรรคสอง คำขอให้พิจารณาใหม่จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: ความรับผิดจำกัดตามถ้อยคำในสัญญา การชดใช้หนี้ของบริษัทอื่นไม่ใช่เหตุให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิด
สัญญาค้ำประกันระบุไว้ว่า เมื่อจำเลยที่ 1 เข้าปฏิบัติงานกับโจทก์แล้วภายหลังทำให้ทรัพย์สินของโจทก์สูญหาย หรือเสียหายด้วยประการใดๆ ก็ดี ฉ้อโกงหรือยักยอกก็ดี จำเลยที่ 2 ยอมรับชดใช้แทนจำเลยที่ 1 จนครบถ้วน การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 ไปช่วยเก็บเงินจากลูกค้าให้แก่บริษัท ส. จำเลยที่ 1 เก็บเงินจากลูกค้าของบริษัท ส. แล้วไม่นำไปมอบให้แก่บริษัท ส. ดังนี้ จำเลยที่ 1 มิได้ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์สูญหายหรือเสียหาย และจำเลยที่ 1 ก็มิได้ฉ้อโกงหรือยักยอกทรัพย์ของโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว การที่โจทก์ชดใช้เงินแก่บริษัท ส. แทนจำเลยที่ 1 จะถือว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์สูญหายหรือเสียหายตามถ้อยคำในสัญญาค้ำประกันมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันต้องตีความตามถ้อยคำที่ระบุ หากไม่มีการระบุเหตุการณ์อื่นนอกเหนือจากที่ตกลงกัน จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด
สัญญาค้ำประกันระบุไว้ว่า เมื่อจำเลยที่ 1 เข้าปฏิบัติงานกับโจทก์แล้วภายหลังทำให้ทรัพย์สินของโจทก์สูญหาย หรือเสียหายด้วยประการใด ๆ ก็ดี ฉ้อโกงหรือยักยอกก็ดี จำเลยที่ 2 ยอมรับชดใช้แทนจำเลยที่ 1 จนครบถ้วน การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 ไปช่วยเก็บเงินจากลูกค้าให้แก่บริษัท ส. จำเลยที่ 1 เก็บเงินจากลูกค้าของบริษัท ส. แล้วไม่นำไปมอบให้แก่บริษัท ส. ดังนี้ จำเลยที่ 1 มิได้ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์สูญหายหรือเสียหายและจำเลยที่ 1 ก็มิได้ฉ้อโกงหรือยักยอกทรัพย์ของโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว การที่โจทก์ชดใช้เงินแก่บริษัท ส. แทนจำเลยที่ 1 จะถือว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์สูญหายหรือเสียหายตามถ้อยคำในสัญญาค้ำประกันมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันจำกัดตามข้อตกลงในสัญญา การชดใช้หนี้โดยโจทก์เองไม่ถือเป็นการทำให้ทรัพย์สินโจทก์เสียหาย
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์ระบุว่า เมื่อจำเลยที่ 1เข้าปฏิบัติงานกับโจทก์แล้วทำให้ทรัพย์สินของโจทก์สูญหายหรือเสียหายด้วยประการใด ๆ ฉ้อโกงหรือยักยอก จำเลยที่ 2 ยอมรับชดใช้แทนจำเลยที่ 1 จนครบถ้วน โจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เก็บเงินจากลูกค้าของบริษัท ส. จำเลยที่ 1 เก็บเงินจากลูกค้าแล้วไม่นำไปมอบให้แก่บริษัท ส. ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิได้ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์สูญหายหรือเสียหายและมิได้ฉ้อโกงหรือยักยอกทรัพย์ของโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด การที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างได้ชดใช้เงินให้แก่บริษัท ส. แทนจำเลยที่ 1 จะถือว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์สูญหายหรือเสียหายมิได้ หากโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในกรณีดังกล่าวด้วยก็ต้องระบุไว้ให้ชัดแจ้งในสัญญาค้ำประกัน หากไม่ได้ระบุไว้ก็ต้องตีความให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์หากไม่ระบุจำนวนเงินที่ค้ำประกัน ทำให้ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียว การตีความจึงต้องเป็นไปโดย เคร่งครัด
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันต่อหน้าโจทก์โดยระบุว่าใช้หนี้สินทั้งหมดของจำเลยที่ 1 แต่ในสัญญาค้ำประกันเป็นเพียงแบบที่พิมพ์ไว้โดยเว้นช่องว่างเพื่อกรอกรายละเอียดต่าง ๆ โดยมิได้ระบุจำนวนเงินไว้และข้อความที่ว่า ยอมรับผิดในหนี้สินทั้งหมด เป็นข้อความต่อเนื่องจากข้อความในตอนแรกที่ต้องกรอกจำนวนเงินไว้ก่อน เมื่อในสัญญาค้ำประกันไม่กำหนดจำนวนเงินที่จะค้ำประกันไว้จึงเป็นเอกสารไม่สมบูรณ์และไม่อาจอนุมานได้ว่า ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่าใด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันต่อหน้าโจทก์โดยระบุว่าใช้หนี้สินทั้งหมดของจำเลยที่ 1 แต่ในสัญญาค้ำประกันเป็นเพียงแบบที่พิมพ์ไว้โดยเว้นช่องว่างเพื่อกรอกรายละเอียดต่าง ๆ โดยมิได้ระบุจำนวนเงินไว้และข้อความที่ว่า ยอมรับผิดในหนี้สินทั้งหมด เป็นข้อความต่อเนื่องจากข้อความในตอนแรกที่ต้องกรอกจำนวนเงินไว้ก่อน เมื่อในสัญญาค้ำประกันไม่กำหนดจำนวนเงินที่จะค้ำประกันไว้จึงเป็นเอกสารไม่สมบูรณ์และไม่อาจอนุมานได้ว่า ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่าใด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์หากไม่ระบุจำนวนเงินค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียว การตีความจึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัด การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันต่อหน้าโจทก์โดยระบุว่าใช้หนี้สินทั้งหมดของจำเลยที่ 1 แต่ในสัญญาค้ำประกันเป็นเพียงแบบที่พิมพ์ไว้โดยเว้นช่องว่างเพื่อการกรอกรายละเอียดต่าง ๆ โดยมิได้ระบุจำนวนเงินดังนั้น ข้อความที่ว่ายอมรับผิดในหนี้สินทั้งหมด จึงเป็นข้อความต่อเนื่องจากข้อความในตอนแรกที่ต้องกรอกจำนวนเงินไว้ก่อน เมื่อในสัญญาค้ำประกัน ไม่ได้กำหนดจำนวนเงินที่จะค้ำประกันไว้ จึงเป็นเอกสารไม่สมบูรณ์และไม่อาจอนุมานได้ว่า ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่าใด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์หากไม่ระบุจำนวนเงินค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิด
สัญญาค้ำประกันไม่มีการลงวัน เดือน ปีที่ออกหลักฐานไม่ระบุวงเงินที่ค้ำประกัน โดยเว้นว่างช่องที่จะต้องกรอกรายละเอียดต่าง ๆของสัญญาไว้ทั้งหมดส่วนข้อความตอนท้ายที่ว่า "ตามรายละเอียดสัญญาข้อที่ 1-4 ระหว่างโจทก์และจำเลย" นั้น ก็ไม่ปรากฏว่าเป็นสัญญาฉบับใดและมีข้อความอย่างใดสัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียวการตีความจึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัด แม้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันต่อหน้าโจทก์ โดยระบุยอมใช้หนี้สินทั้งหมดของจำเลยที่ 1 แต่สัญญาดังกล่าวเป็นแบบพิมพ์ที่เว้นช่องว่างเพื่อกรอกรายละเอียดต่าง ๆ โดยมิได้ระบุจำนวนเงินไว้ ดังนั้น ข้อความที่ยอมรับผิดในหนี้สินทั้งหมดจึงเป็นข้อความต่อเนื่องจากข้อความในตอนแรกที่ต้องกรอกจำนวนเงินไว้ก่อน เมื่อสัญญาค้ำประกันไม่กำหนดจำนวนเงินที่จะค้ำประกันไว้ จึงเป็นเอกสารไม่สมบูรณ์และไม่อาจอนุมานได้ว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่าใด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9347/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลแรงงานกำหนดประเด็น-วันสืบพยานได้โดยไม่ต้องรอชี้ขาดคำคัดค้านก่อน และสัญญาค้ำประกันมีผลตลอดระยะทำงาน
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง มีเจตนาให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลแรงงานเป็นไปโดยประหยัด สะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม จึงให้ศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยานไปทันทีในวันใดก็ได้ หาจำต้องกำหนดไม่น้อยกว่าสิบวันนับแต่วันชี้สองสถานดังเช่นที่ ป.วิ.พ. กำหนดไว้ไม่ ทั้งการกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงานก็เป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลแรงงานโดยเฉพาะ และเมื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทไปแล้วก็ไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดให้ศาลแรงงานต้องชี้ขาด คำคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของคู่ความก่อนวันสืบพยาน เพราะการกำหนดให้ชี้ขาดก่อนเช่นนั้นทำให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยล่าช้า ทำให้คู่ความไม่ได้รับความเที่ยงธรรมได้ การที่ศาลแรงงานกลางใช้ดุลพินิจ สั่งให้รวมคำคัดค้านของจำเลยไว้ในสำนวนคดีความโดยไม่ชี้ขาดคำคัดค้านก่อนว่าควรเปลี่ยนแปลงการกำหนดประเด็นข้อพิพาทหรือไม่จึงหาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบไม่
สัญญาจ้างระบุว่า อ. เป็นลูกจ้างของโจทก์ ทดลองงานเป็นระยะเวลาไม่เกิน 120 วัน และต้องทำงานให้โจทก์เป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 24 เดือน หมายความว่าระยะเวลา 120 วันแรกเป็นระยะทดลองงาน เมื่อพ้นระยะ ทดลองงานแล้ว อ. ต้องทำงานให้โจทก์ต่อไปอีก ซึ่งนับรวมกับระยะทดลองงานแล้วต้องไม่น้อยกว่า 24 เดือน โดยสัญญาไม่ได้กำหนดวันสิ้นสุดสัญญาจ้างไว้ จึงเป็นสัญญาจ้างที่ยังไม่มีกำหนดระยะเวลา ในสัญญาค้ำประกัน ก็กำหนดไว้ชัดแจ้งว่าสัญญาค้ำประกันมีผลบังคับตลอดระยะเวลาที่ อ. ทำงานกับโจทก์ไม่ว่าตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ ที่โจทก์กำหนดและระยะเวลาทำงานนานเท่าใด โดยจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะไม่บอกเลิกสัญญาจนกว่าจะได้มีการหาบุคคลอื่นที่มีหลักฐานมั่นคงและโจทก์เห็นชอบให้เป็นผู้ค้ำประกันแทนได้เรียบร้อยแล้ว สัญญาค้ำประกันจึงหาได้ให้มีผลเพียงชั่วระยะเวลาทดลองงาน 120 วัน ไม่ ทั้งจำเลยก็มิได้หาบุคคลอื่นมาเป็นผู้ทำสัญญาค้ำประกันแทน โดยความเห็นชอบของโจทก์ จำเลยจึงต้องผูกพันรับผิดตามสัญญาค้ำประกันตลอดระยะเวลาที่ อ. ทำงานกับโจทก์จนถึง วันที่ อ. ลาออก และต้องรับผิดต่อความเสียหายที่ อ.ได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ตั้งแต่เริ่มทำงานจนถึงวันลาออกจากงาน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินที่ อ. ลูกจ้างของโจทก์ยักยอกไปหรือให้ชดใช้เงินที่ อ.ก่อให้เกิดความ
เสียหายต่อโจทก์เพราะการผิดสัญญาจ้างแรงงานเป็นการฟ้องเรียกเงินของโจทก์คืนจากผู้ยักยอกและจำเลยต้องรับผิดชดใช้คืนในฐานะผู้ค้ำประกัน จึงมีอายุความฟ้องเอาคืนได้ภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 นับแต่วัน ยักยอกถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีไม่ขาดอายุความ
สัญญาจ้างระบุว่า อ. เป็นลูกจ้างของโจทก์ ทดลองงานเป็นระยะเวลาไม่เกิน 120 วัน และต้องทำงานให้โจทก์เป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 24 เดือน หมายความว่าระยะเวลา 120 วันแรกเป็นระยะทดลองงาน เมื่อพ้นระยะ ทดลองงานแล้ว อ. ต้องทำงานให้โจทก์ต่อไปอีก ซึ่งนับรวมกับระยะทดลองงานแล้วต้องไม่น้อยกว่า 24 เดือน โดยสัญญาไม่ได้กำหนดวันสิ้นสุดสัญญาจ้างไว้ จึงเป็นสัญญาจ้างที่ยังไม่มีกำหนดระยะเวลา ในสัญญาค้ำประกัน ก็กำหนดไว้ชัดแจ้งว่าสัญญาค้ำประกันมีผลบังคับตลอดระยะเวลาที่ อ. ทำงานกับโจทก์ไม่ว่าตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ ที่โจทก์กำหนดและระยะเวลาทำงานนานเท่าใด โดยจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะไม่บอกเลิกสัญญาจนกว่าจะได้มีการหาบุคคลอื่นที่มีหลักฐานมั่นคงและโจทก์เห็นชอบให้เป็นผู้ค้ำประกันแทนได้เรียบร้อยแล้ว สัญญาค้ำประกันจึงหาได้ให้มีผลเพียงชั่วระยะเวลาทดลองงาน 120 วัน ไม่ ทั้งจำเลยก็มิได้หาบุคคลอื่นมาเป็นผู้ทำสัญญาค้ำประกันแทน โดยความเห็นชอบของโจทก์ จำเลยจึงต้องผูกพันรับผิดตามสัญญาค้ำประกันตลอดระยะเวลาที่ อ. ทำงานกับโจทก์จนถึง วันที่ อ. ลาออก และต้องรับผิดต่อความเสียหายที่ อ.ได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ตั้งแต่เริ่มทำงานจนถึงวันลาออกจากงาน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินที่ อ. ลูกจ้างของโจทก์ยักยอกไปหรือให้ชดใช้เงินที่ อ.ก่อให้เกิดความ
เสียหายต่อโจทก์เพราะการผิดสัญญาจ้างแรงงานเป็นการฟ้องเรียกเงินของโจทก์คืนจากผู้ยักยอกและจำเลยต้องรับผิดชดใช้คืนในฐานะผู้ค้ำประกัน จึงมีอายุความฟ้องเอาคืนได้ภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 นับแต่วัน ยักยอกถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีไม่ขาดอายุความ