คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาจ้างเหมา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างเหมา: เจตนาของจำเลยสำคัญกว่าเงื่อนไขในสัญญา
แม้สัญญาจ้างเหมาระหว่างจำเลยกับผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้โอนจะระบุว่า ผู้รับจ้างจะโอนสิทธิหน้าที่ตามสัญญาให้แก่ผู้อื่นโดยปราศจากความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลยมิได้ ซึ่งปรับได้ว่าผู้รับจ้างและจำเลยได้แสดงเจตนาเป็นอย่างอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคสอง กับเมื่อผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้โอนและโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อตกลงการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าก่อสร้าง จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่า หากโจทก์จะเป็นผู้รับค่าจ้างในงวดต่อ ๆ ไปแทนผู้รับจ้างก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในหนังสือสัญญาจ้างเหมาและจะต้องออกใบเสร็จรับเงินค่าจ้างโดยผู้รับจ้าง อันยังถือไม่ได้ถนัดว่าจำเลยได้ยินยอมด้วยในการโอนตามสัญญาจ้างเหมาข้อ 15 ก็ตาม แต่หลังจากนั้นผู้รับจ้างได้มีหนังสือถึงจำเลยขอให้จำเลยทำหนังสือถึงโจทก์ โดยขอให้มีข้อความระบุว่า "จำเลยไม่ขัดข้องที่ผู้รับจ้างได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์" สำหรับขั้นตอนการรับเงินคงเหมือนเดิม ซึ่งต่อมาจำเลยก็ได้มีหนังสือแจ้งไปถึงโจทก์ว่า จำเลยไม่ขัดข้องที่ผู้รับจ้างได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์ ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยได้ยินยอมด้วยในการโอนตามป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง และตามสัญญาจ้างเหมาแล้ว ส่วนขั้นตอนการรับเงินที่จำเลยกำหนดไว้นั้น เป็นเพียงวิธีการคิดคำนวณค่าจ้างในแต่ละงวดว่าจะต้องจ่ายเท่าใด ตามข้อตกลงในสัญญาจ้างเหมาเท่านั้น ส่วนผู้มีสิทธิรับเงินค่าจ้างจะต้องเป็นโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง การโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินระหว่างผู้รับจ้างกับโจทก์ จึงมีผลผูกพันจำเลยที่จะต้องชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ผู้รับโอน ไม่ใช่ชำระให้แก่ผู้รับจ้าง
ตามหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงิน หนังสือบอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้อง หนังสือของจำเลยที่มีถึงโจทก์ หนังสือของ ป. ที่มีถึงจำเลยและหนังสือของจำเลยที่มีถึงโจทก์ เอกสารดังกล่าวทั้งหมดไม่ได้ระบุถึงงานที่เพิ่ม ดังนั้น จะถือว่าได้มีการโอนสิทธิเรียกร้องในส่วนนี้แล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7588/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยกับการหักค่าปรับในสัญญาจ้างเหมา การเรียกร้องเงินค่าจ้าง
เงินส่วนหนึ่งของเงินค่าจ้างถมดินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์แต่จำเลยหักไว้เป็นค่าปรับตามสัญญาจ้างเหมาการปรับถมพื้นที่ ซึ่งจำเลยอ้างว่าโจทก์ส่งมอบงานล่าช้า โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากจำเลยอ้างว่ามีเหตุสุดวิสัยโจทก์ไม่อาจทำงานให้จำเลยตามกำหนดนัดได้ เงินดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินที่จำเลยได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ไม่ใช่ลาภมิควรได้ ไม่อยู่ในบังคับอายุความหนึ่งปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 419
แม้ฝนจะตกทุกปีในฤดูฝน แต่สำหรับปลายปี 2526 ฝนตกหนักและน้ำท่วมสูงกว่าปีก่อน เป็นเหตุให้น้ำท่วมบริเวณที่ดินที่จะถม ดังนั้นแม้โจทก์จะหาแหล่งดินอื่นมาถมได้ แต่เมื่อบริเวณที่จะถมน้ำท่วมและเส้นทางขนส่งลำเลียงดินน้ำท่วม โจทก์ก็ไม่อาจทำการถมดินให้แล้วเสร็จตามสัญญาได้ กรณีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7502/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาจ้างเหมา: ต่างจากอายุความชำรุดบกพร่อง หากมีข้อตกลงพิเศษเรื่องการซ่อมแซม
กรณีตามคำฟ้องของโจทก์หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา601ไม่บทบัญญัติแห่งมาตรา601นั้นใช้บังคับแก่กรณีที่เกิดขึ้นตามมาตรา600กล่าวคือถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาเมื่อได้ส่งมอบงานกันแล้วปรากฏว่างานที่จ้างมีการชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นภายหลังจึงกำหนดให้ฟ้องคดีภายใน1ปีนับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้นแต่กรณีตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกค่าจ้างตามที่มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นพิเศษโจทก์และจำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นซึ่งผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่งต่างหากถ้าการชำรุดบกพร่องนั้นเป็นกรณีที่จำเลยต้องรับผิดและจำเลยได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากโจทก์แล้วไม่ทำการซ่อมให้เป็นที่เรียบร้อยภายใน30วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งโจทก์มีสิทธิจ้างผู้อื่นทำแทนและเรียกค่าจ้างที่ต้องเสียไปเพราะจ้างผู้อื่นทำแทนนั้นได้เมื่อมีข้อสัญญาตกลงกันไว้เช่นนี้และจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามย่อมถือว่าเป็นการผิดสัญญาซึ่งเข้าลักษณะสัญญาจ้างธรรมดาโจทก์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยผู้รับจ้างรับผิดต่อโจทก์ได้กรณีดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6853/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างเหมา: เริ่มนับแต่วันจำเลยผิดนัดชำระหนี้
โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยให้ทำการย่อยและขนส่งหินคลุกกองรายทางใช้สำหรับราดยางในทางหลวง ตามสัญญาดังกล่าวกำหนดให้จำเลยส่งมอบงานงวดที่ 1 ให้เสร็จภายในวันที่ 3 ตุลาคม 2522 และส่งมอบงานงวดที่ 2 ให้เสร็จภายในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2522 เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้มาตั้งแต่ครบกำหนดส่งมอบงานงวดที่ 1 คือ วันที่3 ตุลาคม 2522 จำเลยจึงผิดนัดตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและบังคับตามสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดดังกล่าว ดังนั้น อายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่โจทก์อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เดิม (มาตรา 193/12ที่แก้ไขใหม่) โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2532จึงเกินกำหนด 10 ปี คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 164 เดิม|มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) จำเลยจึงมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ตามมาตรา 188 เดิม(มาตรา 193/10 ที่แก้ไขใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6548/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับเหมาตามสัญญาจ้างเหมาและการฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าความเสียหายของทางพิพาทเกิดจากการแก้ไขแบบแปลนของโจทก์เองจากการใช้หินคลุกมาเป็นกรวดคลุกแทนนั้น ประเด็นข้อนี้จำเลยทั้งสองมิได้กล่าวแก้ไว้ในคำให้การ ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เมื่อโจทก์ตรวจพบความเสียหายครั้งแรกวันที่ 16 มีนาคม 2527โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 ให้ไปซ่อมแซมเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2527 และจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ยังมีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 ให้ไปซ่อมแซมอีกหลายครั้ง ตามหนังสือลงวันที่ 7 ธันวาคม 2527 วันที่ 31 มีนาคม 2529 และวันที่22 ตุลาคม 2530 ดังนี้ โจทก์เป็นหน่วยราชการอยู่ในกรุงเทพมหานคร ส่วนทางพิพาทอยู่ที่จังหวัดนราธิวาส การที่โจทก์แจ้งความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 หลังจากเจ้าหน้าที่ของโจทก์ทราบความเสียหายครั้งแรกประมาณ 27 วัน จึงเป็นเวลาอันสมควรแล้วยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนบกพร่องในความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะไม่รีบแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ส่วนการแก้ไขเพื่อบรรเทาความเสียหายนั้น ทางจังหวัดนราธิวาสเคยเข้าไปซ่อมทางโดยนำดินลูกรังไปลง และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ซ่อมแซมทางพิพาทโจทก์ก็ได้ว่าจ้างเอกชนรายอื่นซ่อมแซมแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่รีบแก้ไขเพื่อบรรเทาความเสียหาย
สัญญาจ้างเหมาข้อ 6 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มีความว่าเมื่องานแล้วเสร็จเรียบร้อยและผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้างหรือจากผู้รับจ้างคนใหม่ในกรณีผู้รับจ้างผิดสัญญาและผู้ว่าจ้างใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 5 ถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างนี้ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับมอบงานโดยให้นับวันที่ได้รับมอบงานเป็นวันเริ่มต้น ซึ่งเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องผู้รับจ้าง จะเป็นโดยทำไว้ไม่เรียบร้อยหรือใช้สิ่งของที่ไม่ดี หรือทำไม่ถูกต้องตามหลักวิชาก็ตาม ผู้รับจ้างต้องรีบแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยภายในระยะเวลาที่ผู้ว่าจ้างจะกำหนด โดยไม่คิดเอาค่าสิ่งของ ค่าแรงงาน หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดจากผู้ว่าจ้างอีก ถ้าผู้รับจ้างบิดพลิ้ว ไม่แก้ไขซ่อมแซมภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง โดยให้นับวันที่ได้รับแจ้งเป็นวันเริ่มต้น หรือถ้าผู้รับจ้างแก้ไขซ่อมแซมไม่แล้วเสร็จเรียบร้อยภายในวันที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่นให้ทำงานจ้างนั้นแทนผู้รับจ้างได้ ถ้างานที่จ้างเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.ด้วย ดังนั้น จึงมีผลบังคับว่า ตามสัญญาจ้างเหมาข้อ 6 วรรคหนึ่งจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชอบต่อความชำรุดเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางพิพาทภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับมอบงาน ถ้าเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของจำเลยที่ 1 และตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 6 วรรคสอง หมายความว่า นอกจากทางพิพาทเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจาก 1 ปี ตามวรรคหนึ่งแล้วจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องที่ปรากฏขึ้นภายใน 5 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 600 เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบงานวันที่ 20 เมษายน 2526เจ้าหน้าที่ของโจทก์ตรวจพบความชำรุดบกพร่องวันที่ 25 กรกฎาคม 2528 และวันที่ 1 เมษายน 2530 ซึ่งอยู่ภายในกำหนด 5 ปี ดังนี้ความเสียหายตามฟ้องเกิดขึ้นเมื่อยังไม่พ้นระยะเวลาความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างเหมาจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองทั้งสองสำนวนให้รับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องด้วยมูลเหตุเดียวกัน แม้จะเป็นความเสียหายคนละจุดไม่ซ้ำซ้อนกันแต่ก็อยู่ในทางพิพาทนั่นเอง ขณะโจทก์ฟ้องสำนวนแรกเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2531โจทก์พบความเสียหายในสำนวนหลังแล้ว สิทธิหรือมูลฟ้องของโจทก์จึงมีอยู่แล้วขณะฟ้องสำนวนแรก ศาลชั้นต้นชี้สองสถานสำนวนแรกวันที่ 1 เมษายน 2531โจทก์จึงชอบที่จะขอแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมจำนวนทุนทรัพย์ในสำนวนแรกได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 180 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่โจทก์ฟ้องสำนวนหลังจึงเป็นการฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 617/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาเลิกสัญญาก่อนงานเสร็จ: สิทธิเรียกร้องค่าจ้างงานที่ยังไม่แล้วเสร็จ
สัญญาจ้างเหมามีข้อความว่า เมื่อผู้ว่าจ้างหรือจำเลยบอกเลิกสัญญา บรรดางานที่ผู้รับจ้างหรือที่โจทก์ได้ทำขึ้นหรือก่อสร้างไว้เพื่องานจ้างทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นงานที่ก่อสร้างเสร็จแล้วหรือไม่ก็ตาม ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยสิ้นเชิงและโจทก์จะเรียกร้องค่าตอบแทนหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยไม่ได้ เมื่อโจทก์ก่อสร้างงานงวดที่ 8 และที่ 9 ยังไม่เสร็จบริบูรณ์ตามสัญญาในที่สุดโจทก์ได้คืนงานส่วนที่ยังสร้างไม่เสร็จแก่จำเลย และจำเลยได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว โจทก์จะเรียกเอาค่าจ้างสำหรับงานงวดที่ 8 และที่ 9 ซึ่งยังก่อสร้างไม่เสร็จจากจำเลยไม่ได้
ส่วนสัญญาจ้างเหมาอีกข้อหนึ่งระบุว่า "หากมีเงินค่าจ้างตามสัญญาที่หักไว้จ่ายเป็นค่าปรับและค่าเสียหายแล้วยังเหลืออยู่อีกเท่าใด ผู้ว่าจ้างจะคืนให้แก่ผู้รับจ้างทั้งหมด" นั้น สำหรับข้อความที่กล่าวถึงเรื่องหากมีเงินค่าจ้างตามสัญญาที่ผู้ว่าจ้างหรือจำเลยหักไว้เป็นค่าปรับและค่าเสียหายเหลืออยู่หลังจากจ้างบุคคลอื่นเข้าไปทำงานที่โจทก์ก่อสร้างค้างไว้จนเสร็จ จำเลยจะจ่ายเงินที่เหลืออยู่นั้นคืนให้แก่โจทก์ทั้งหมด เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเงินค่าจ้างสำหรับงานงวดที่โจทก์ได้ก่อสร้างเสร็จบริบูรณ์ตามสัญญา ซี่งโจทก์มีสิทธิจะรับไปจากจำเลยแล้ว แต่จำเลยได้หักหรือกันไว้เป็นค่าปรับหรือค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการผิดสัญญาของโจทก์ก่อนเท่านั้นเงินดังกล่าวมิได้หมายรวมไปถึงว่าเมื่อจำเลยเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว แม้โจทก์ทำงานงวดใดยังไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ จำเลยก็จะต้องจ่ายเงินค่าจ้างสำหรับงวดงานที่สร้างไม่แล้วเสร็จโดยจ่ายเท่าผลงานที่โจทก์ก่อสร้างไปแล้วด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 617/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับเหมาไม่สามารถเรียกร้องค่าจ้างงานที่ยังไม่แล้วเสร็จได้
สัญญาจ้างเหมามีข้อความว่า เมื่อผู้ว่าจ้างหรือจำเลยบอกเลิกสัญญา บรรดางานที่ผู้รับจ้างหรือที่โจทก์ได้ทำขึ้นหรือก่อสร้างไว้เพื่องานจ้างทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นงานที่ก่อสร้างเสร็จแล้วหรือไม่ก็ตาม ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยสิ้นเชิงและโจทก์จะเรียกร้องค่าตอบแทนหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยไม่ได้ เมื่อโจทก์ก่อสร้างงานงวดที่ 8 และที่ 9 ยังไม่เสร็จบริบูรณ์ตามสัญญาในที่สุดโจทก์ได้คืนงานส่วนที่ยังสร้างไม่เสร็จแก่จำเลย และจำเลยได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว โจทก์จะเรียกเอาค่าจ้างสำหรับงานงวดที่ 8 และที่ 9 ซึ่งยังก่อสร้างไม่เสร็จจากจำเลยไม่ได้ ส่วนสัญญาจ้างเหมาอีกข้อหนึ่งระบุว่า "หากมีเงินค่าจ้างตามสัญญาที่หักไว้จ่ายเป็นค่าปรับและค่าเสียหายแล้วยังเหลืออยู่อีกเท่าใด ผู้ว่าจ้างจะคืนให้แก่ผู้รับจ้างทั้งหมด"นั้น สำหรับข้อความที่กล่าวถึงเรื่องหากมีเงินค่าจ้างตามสัญญาที่ผู้ว่าจ้างหรือจำเลยหักไว้เป็นค่าปรับและค่าเสียหายเหลืออยู่หลังจากจ้างบุคคลอื่นเข้าไปทำงานที่โจทก์ก่อสร้างค้างไว้จนเสร็จ จำเลยจะจ่ายเงินที่เหลืออยู่นั้นคืนให้แก่โจทก์ทั้งหมด เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเงินค่าจ้างสำหรับงานงวดที่โจทก์ได้ก่อสร้างเสร็จบริบูรณ์ตามสัญญาซึ่งโจทก์มีสิทธิจะรับไปจากจำเลยแล้ว แต่จำเลยได้หักหรือกันไว้ เป็นค่าปรับหรือค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการผิดสัญญาของโจทก์ ก่อนเท่านั้น เงินดังกล่าวมิได้หมายรวมไปถึงว่าเมื่อจำเลย เลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว แม้โจทก์ทำงานงวดใดยังไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ จำเลยก็จะต้องจ่ายเงินค่าจ้างสำหรับงวดงานที่สร้างไม่แล้วเสร็จโดยจ่ายเท่าผลงานที่โจทก์ก่อสร้างไปแล้วด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5904/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาจ้างเหมา: โจทก์ต้องพิสูจน์ความเสียหายที่แท้จริง
คดีที่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทเป็นคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายการ วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน
ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างข้อหนึ่ง ถ้าจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างมิได้ลงมือทำงานภายในกำหนดเวลา โจทก์ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและจ้างผู้อื่นทำงานจ้างเหมาก่อสร้างต่อจากจำเลยได้ และอีกข้อหนึ่งแห่งสัญญาดังกล่าวกำหนดว่า ถ้าโจทก์ผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญา จำเลยผู้รับจ้างยอมให้โจทก์เรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการต่อไปจนงานจ้างเหมาก่อสร้างแล้วเสร็จบริบูรณ์ ดังนี้ ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่เกิดจากการที่จำเลยที่ 1ปฏิบัติผิดสัญญาและโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญา แม้จะมิใช่เบี้ยปรับที่จำเลยที่ 1 สัญญาแก่โจทก์ว่าจะใช้ให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ก็ตาม แต่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเสียหายดังกล่าวต่อเมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายที่แท้จริงเท่านั้น ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ไปตามความเสียหายที่แท้จริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7003/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าจ้างตามสัญญาจ้างเหมา
โจทก์ซึ่งเป็นพ่อค้าฟ้องเรียกเงินค่าจ้างหรือสินจ้าง อันจะพึงได้รับจากการงานที่ทำให้จำเลยตามสัญญาจ้างเหมา โจทก์ต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (1) เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7003/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าจ้างจากสัญญาจ้างเหมา: การคำนวณระยะเวลาเริ่มต้นจากวันที่ส่งมอบงานแต่ละงวด
โจทก์ซึ่งเป็นพ่อค้าฟ้องเรียกเงินค่าจ้างหรือสินจ้าง อันจะพึงได้รับจากการงานที่ทำให้จำเลยตามสัญญาจ้างเหมา โจทก์ต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในกำหนดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) เดิม
of 12