พบผลลัพธ์ทั้งหมด 222 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาคดีเช็ค: ศาลยืนตามสัญญาเดิม แม้มีกฎหมายใหม่
การนำบทบัญญัติของกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3มาใช้บังคับเพื่อเป็นคุณนั้นต้องเป็นกรณีนำมาใช้บังคับแก่ความรับผิดทางอาญาของผู้กระทำความผิดจะนำมาใช้บังคับแก่ความรับผิดตามสัญญาประกันซึ่งเป็นความผิดทางแพ่งหาได้ไม่โดยสัญญาดังกล่าวจะมีผลบังคับกันได้โดยสมบูรณ์เพียงใดหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาจากกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะทำสัญญานั้นและการฟ้องบังคับให้ผู้ประกันชำระเงินตามสัญญาดังกล่าวมิใช่การฟ้องเรียกเงินตามเช็คเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความ10ปี จำเลยที่1ทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาซึ่งถูกจับกุมในข้อหาออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คเป็นเงิน60,000บาทไปจากความควบคุมของโจทก์ในขณะที่พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497ใช้บังคับโดยสัญญาว่าจะนำตัวผู้ต้องหาส่งให้โจทก์ตามกำหนดนัดถ้าผิดสัญญายินยอมใช้เงิน60,000บาทสัญญาประกันจึงชอบด้วยกฎหมายและมีผลบังคับกันได้โดยสมบูรณ์เมื่อจำเลยที่1ผิดสัญญาจึงต้องรับผิดใช้เงิน60,000บาทให้แก่โจทก์โดยบทบัญญัติเรื่องประกันไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนเงินตามเช็คตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534ไม่อาจนำมาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: ความรับผิดตามสัญญาเดิม แม้มีกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณ
ความรับผิดของจำเลยต่อพนักงานสอบสวนโจทก์ในคดีนี้เกิดขึ้นจากสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาตามสัญญาประกันที่จำเลยได้กระทำไว้กับโจทก์สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับกันได้โดยสมบูรณ์เพียงใดหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาจากกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะทำสัญญานั้นเมื่อได้ความว่าป. ผู้ต้องหาถูกจับกุมในข้อหาออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คเป็นเงิน60,000บาทและตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497มาตรา5(2)ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่196ลงวันที่8สิงหาคม2515ข้อ1อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุคดีนี้ได้ระบุให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันหรือหลักประกันไม่เกินจำนวนเงินตามเช็คดังนั้นการที่จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากความควบคุมของโจทก์ตามสัญญาประกันโดยสัญญาว่าจะนำตัวผู้ต้องหาส่งให้โจทก์ตามกำหนดนัดถ้าผิดสัญญายินยอมใช้เงิน60,000บาทซึ่งไม่เกินจำนวนเงินตามเช็คที่ผู้ต้องหาสั่งจ่ายสัญญาประกันจึงชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะทำสัญญานั้นและมีผลบังคับกันได้โดยสมบูรณ์แม้ว่าหลังจากที่จำเลยได้ทำสัญญาประกันกับโจทก์ดังกล่าวแล้วจะได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534ออกมาใช้บังคับโดยพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497และประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่196ลงวันที่8สิงหาคม2515และบัญญัติให้พนักงานสอบสวนพนักงานอัยการหรือศาลสั่งปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยมีประกันแต่ไม่มีหลักประกันหรือมีประกันและหลักประกันไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนเงินตามเช็คก็ตามก็ไม่อาจนำบทบัญญัติของพระราชบัญญัติ ดังกล่าวมาใช้บังคับได้เพราะการที่จะนำบทบัญญัติของกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3มาใช้บังคับในฐานกฎหมายที่เป็นคุณได้นั้นจะต้องเป็นกรณีที่นำมาใช้บังคับแก่ความรับผิดทางอาญาของผู้กระทำความผิดเท่านั้นจะนำมาใช้บังคับแก่ความรับผิดของจำเลยตามสัญญาประกันซึ่งเป็นความรับผิดทางแพ่งหาได้ไม่ การฟ้องบังคับให้ผู้ประกันชำระเงินตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาในคดีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คมิใช่เป็นการฟ้องเรียกเงินตามเช็คจึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความในการฟ้องเรียกเงินตามเช็คเมื่อการฟ้องบังคับให้ผู้ประกันใช้เงินตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม(มาตรา193/30ที่ได้ตรวจชำระใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผู้ถูกเนรเทศ: ผลบังคับใช้และการผิดสัญญา
จำเลยทำสัญญากับโจทก์เพื่อประกันผู้ถูกสั่งเนรเทศที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกคำสั่งให้เนรเทศตาม พ.ร.บ.การเนรเทศพ.ศ.2499 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง ซึ่งอยู่ในความควบคุมของโจทก์จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งให้เนรเทศ เมื่อจำเลยทำสัญญาประกันไว้ต่อโจทก์ผู้มีอำนาจควบคุมผู้ถูกเนรเทศ สัญญาประกันจึงใช้บังคับได้ การที่จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้เนรเทศให้แก่โจทก์ตามนัด โจทก์จึงฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาประกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผู้ถูกเนรเทศ: อำนาจฟ้องของโจทก์และการบังคับตามสัญญา
จำเลยทำสัญญาประกันผู้ถูกสั่งเนรเทศทั้งสี่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกคำสั่งให้เนรเทศตามพระราชบัญญัติการสั่งเนรเทศฯมาตรา6วรรคหนึ่งและอยู่ในความควบคุมของโจทก์จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งให้เนรเทศโดยกำหนดความรับผิดของจำเลยไว้ว่าหากไม่สามารถส่งตัวผู้ถูกสั่งเนรเทศทั้งสี่ให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัดได้จำเลยยอมให้ปรับตามสัญญาเป็นการกำหนดความรับผิดทางแพ่งไว้สัญญาประกันจึงใช้บังคับได้และไม่ใช่การประกันตามมาตรา6วรรคสามซึ่งเป็นการประกันต่อรัฐมนตรีตามคำสั่งผ่อนผันให้ส่งตัวผู้ถูกสั่งเนรเทศไปประกอบอาชีพณที่ใดๆตามคำร้องขอของผู้ถูกสั่งเนรเทศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผู้ถูกเนรเทศ: สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาและความผูกพันตามสัญญา
จำเลยทำสัญญากับโจทก์เพื่อประกันผู้ถูกสั่งเนรเทศที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกคำสั่งให้เนรเทศตามพระราชบัญญัติการเนรเทศพ.ศ.2499มาตรา6วรรคหนึ่งซึ่งอยู่ในความควบคุมของโจทก์จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งให้เนรเทศเมื่อจำเลยทำสัญญาประกันไว้ต่อโจทก์ผู้มีอำนาจควบคุมผู้ถูกเนรเทศสัญญาประกันจึงใช้บังคับได้การที่จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้เนรเทศให้แก่โจทก์ตามนัดโจทก์จึงฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาประกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยรถยนต์: ผู้เช่าซื้อมีหน้าที่รับผิดชอบความเสียหายจากอุบัติเหตุที่ลูกจ้างก่อขึ้น และจำเลยต้องรับผิดตามสัญญาประกัน
โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุ มีสิทธิที่จะเอาประกันภัยความเสียหายอันอาจเกิดแก่รถยนต์โดยสารที่เช่าซื้อมา เมื่อ ป.ลูกจ้างของโจทก์เป็นผู้ขับรถยนต์เพื่อหาประโยชน์ร่วมกันระหว่างโจทก์กับ ข.และ ป.ขับรถที่จำเลยรับประกันไว้ไปก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอก โจทก์และ ข.จึงต้องร่วมกันรับผิดในความประมาทเลินเล่อที่ ป.ได้ก่อขึ้น และต้องถือว่าวินาศภัยที่เกิดขึ้นนี้โจทก์ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบด้วย ซึ่งจำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในนามของโจทก์ผู้เอาประกันภัย เมื่อโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายให้บุคคลภายนอกไป จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่า ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย เว้นแต่จำเลยมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้น เป็นข้อตกลงเพื่อป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น แต่กรณีนี้เป็นฝ่ายต้องรับผิด จำเลยจะยกเอาเงื่อนไขดังกล่าวมาปัดความรับผิดไม่ได้
เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่า ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย เว้นแต่จำเลยมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้น เป็นข้อตกลงเพื่อป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น แต่กรณีนี้เป็นฝ่ายต้องรับผิด จำเลยจะยกเอาเงื่อนไขดังกล่าวมาปัดความรับผิดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันคนต่างด้าว: สิทธิหน้าที่คู่สัญญา, การปลดหนี้, อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่
ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อฎหมาย การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 5แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 แต่งตั้งให้ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง รวมทั้งอำนาจในการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และหากพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรก็มีอำนาจเรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันเพื่อประกันว่าคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกำหนด ตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ดังนี้ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรให้เรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจเข้าทำสัญญาประกันโดยเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับผู้ประกันได้ เมื่อโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยตามสัญญาประกันคนต่างด้าวทั้งสาม และหากจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ และหากผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโจทก์เห็นสมควรมีคำสั่งให้ผ่อนผันการปรับจำเลย ก็ย่อมมีอำนาจออกคำสั่งเช่นนั้นในฐานะคู่สัญญากับจำเลยและตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมตำรวจหรือกรมตำรวจก่อน ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาได้แสดงเจตนาปลดหนี้ให้จำเลยแล้วตามสัญญาประกันย่อมระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 340 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผ่อนผันค่าปรับจากสัญญาประกันคนต่างด้าวของผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง มิได้ต้องรอความเห็นชอบจากอธิบดีกรมตำรวจ
ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522แต่งตั้งให้ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง รวมทั้งอำนาจในการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และหากพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรก็มีอำนาจเรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันเพื่อประกันว่าคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกำหนด ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522ดังนี้ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรให้เรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจเข้าทำสัญญาประกันโดยเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับผู้ประกันได้เมื่อโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยตามสัญญาประกันคนต่างด้าวทั้งสามและหากจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ และหากผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522และเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโจทก์เห็นสมควรมีคำสั่งให้ผ่อนผันการปรับจำเลย ก็ย่อมมีอำนาจออกคำสั่งเช่นนั้นในฐานะคู่สัญญากับจำเลยและตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมตำรวจหรือกรมตำรวจก่อนดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาได้แสดงเจตนาปลดหนี้ให้จำเลยแล้วตามสัญญาประกันย่อมระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผ่อนผันค่าปรับจากสัญญาประกันคนต่างด้าวของผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง และผลผูกพันตามสัญญา
ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อาศัยอำนาจตามมาตรา5แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2522แต่งตั้งให้ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองรวมทั้งอำนาจในการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและหากพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรก็มีอำนาจเรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันเพื่อประกันว่าคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกำหนดตามมาตรา19แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2522ดังนี้ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรให้เรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันดังกล่าวพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจเข้าทำสัญญาประกันโดยเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับผู้ประกันได้เมื่อโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยตามสัญญาประกันคนต่างด้าวทั้งสามและหากจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้และหากผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2522และเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโจทก์เห็นสมควรมีคำสั่งให้ผ่อนผันการปรับจำเลยก็ย่อมมีอำนาจออกคำสั่งเช่นนั้นในฐานะคู่สัญญากับจำเลยและตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมตำรวจหรือกรมตำรวจก่อนดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาได้แสดงเจตนาปลดหนี้ให้จำเลยแล้วตามสัญญาประกันย่อมระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา340จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2763/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันเรือค้ำประกัน: สถานที่ส่งมอบเรือ, ความรับผิดตามสัญญาประกัน, จำนวนเงินที่ประกัน
ส. เจ้าของเรือของกลางทำสัญญาประกันเรือต่อโจทก์ขอรับเรือของกลางไปเก็บรักษาไว้ในระหว่างคดีโดยมีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันส. ต่อโจทก์สัญญาประกันเรือทำขึ้นที่กรุงเทพมหานครและส.รับเรือของกลางไปจากท่าเทียบเรือกรมศุลกากรที่กรุงเทพมหานครเมื่อโจทก์เรียกให้ส่งมอบเรือของกลางส. และจำเลยจะต้องนำเรือของกลางไปส่งมอบยังที่ที่เรือของกลางจอดอยู่ในขณะทำสัญญาประกันเรือคือท่าเทียบเรือกรมศุลกากรจำเลยขอส่งมอบของกลางแก่โจทก์ที่จังหวัดภูเก็ตโดยโจทก์ไม่ยอมรับไม่ได้ สัญญาประกันเรือมีข้อตกลงว่าระหว่างที่ผู้ประกันนำเรือของกลางไปเก็บรักษาถ้าเกิดการชำรุดเสียหายหรือสูญหายไม่สามารถส่งมอบให้โจทก์ในสภาพเดิมผู้ประกันยินยอมชดใช้เงินจนเต็มราคาที่ประกันไว้คือ1,000,000บาทซึ่งเงินจำนวน1,000,000บาทดังกล่าวเป็นจำนวนเงินที่ประกันไว้มิใช่ราคาเรือของกลางเมื่อส. ผิดสัญญาประกันเรือจึงต้องใช้เงินตามที่ประกันไว้แก่โจทก์จำนวน1,000,000บาทมิใช่ใช้ตามราคาเรือของกลางจำเลยซึ่งเป็นผู้คำประกันส. โดยยอมรับผิดเช่นเดียวกับส. ผู้ประกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์1,000,000บาทด้วย