พบผลลัพธ์ทั้งหมด 506 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความกับลูกจ้างพ้นสภาพแล้ว: มีผลผูกพันและครอบคลุมสิทธิเรียกร้องทั้งหมด
โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า โจทก์ตกลงยินยอมและสัญญาว่าจะไม่ดำเนินการฟ้องร้องทั้งทางแพ่งและอาญาแก่จำเลย และไม่ติดใจเรียกร้องเงินใด ๆ จากจำเลยอีกต่อไป กับจำเลยไม่มีหนี้สินใด ๆ ที่จะต้องชำระให้โจทก์อีก เมื่อสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี แม้จะเป็นเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 แต่ก็อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใด ๆตามสัญญาประนีประนอมยอมความเช่นเดียวกัน ซึ่งสัญญาดังกล่าวทำขึ้นหลังจากที่โจทก์พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีอิสระพ้นพันธะและอำนาจบังคับบัญชาของจำเลยโดยสิ้นเชิง การทำสัญญาเป็นไปโดยความสมัครใจของคู่สัญญาโดยแท้จริง จึงไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 มีผลผูกพันโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมฯ สิ้นผลเมื่อลูกจ้างลาออก ศาลไม่วินิจฉัยคำร้องขอแก้ไขสัญญา
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นว่าจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานสโตร์อะไหล่ตามที่โจทก์จำเลยตกลงกันในห้องพิจารณา ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้อง ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติว่าจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานสโตร์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว แต่ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้แก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลแรงงาน โจทก์ก็ไม่ได้ทำงานกับจำเลยเพราะโจทก์ลาออกไปแล้ว เท่ากับว่าโจทก์มิได้เป็นลูกจ้างของจำเลยอีกต่อไป ปัญหาเรื่องการแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความตามคำร้องของโจทก์เพื่อให้ได้ความว่าจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างไม่ว่าในตำแหน่งใดย่อมไม่เป็นประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยต่อไป อุทธรณ์ของโจทก์ที่ขอให้แก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาสงรองยอมความไม่กระทบความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเดิม จำเลยที่ 4-5 ยังต้องรับผิด
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับมูลหนี้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตามฟ้องว่า จำเลยที่ 1ยินยอมชำระเงิน 10,240,369.65 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปีในต้นเงิน8,980,599.63 บาทนับถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระแล้วเสร็จ และจากยอดเงิน 10,240,369.65 บาทดังกล่าว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันยินยอมชำระเป็นเงิน 1,707,863.01 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปีในต้นเงิน1,500,000 บาทนับถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3จะชำระหนี้แก่โจทก์ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ดังกล่าว หากผิดนัดยินยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันทีโดยยึดทรัพย์จำนองและทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบจำนวนหนี้ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยินยอมรับผิดต่อโจทก์เต็มตามฟ้องทุกประการ ทั้งยอดหนี้รวมยอดหนี้ซึ่งใช้เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยต่อไป ตลอดทั้งกำหนดเวลาในการเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยอีก นอกจากนี้การตกลงประนีประนอมยอมความเกิดขึ้นขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณา ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นกรณีที่คู่ความเฉพาะโจทก์กับจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 แสดงเจตนาระงับข้อพิพาทตามฟ้องโดยประสงค์ให้ศาลพิพากษาให้ข้อตกลงดังกล่าวบังเกิดผลจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มิได้มีผลเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมในหนี้เดิม ถือไม่ได้ว่าหนี้เดิมระงับและเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้อันเป็นการแปลงหนี้ใหม่และการที่โจทก์ตกลงให้เวลา 6 เดือนในการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นับแต่วันที่ตกลงกันจำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็ต้องห้ามมิให้อ้างเป็นเหตุปลดเปลื้องความรับผิดดังที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 4 และที่ 5จึงยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3949/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้ชำระเงินครบถ้วนแต่ไม่ตรงตามกำหนดและสถานที่ ศาลมีอำนาจบังคับคดีได้
++ เรื่อง ซื้อขาย (ชั้นบังคับคดี)
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 159 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 159 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3766/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การยกที่ดินโดยประมาณ การรังวัด และการผิดสัญญา
++ เรื่อง ละเมิด ขับไล่ (ชั้นบังคับคดี)
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 147 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 147 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอม โดยจำเลยยอมชำระเงินให้แก่โจทก์จำนวน 48,000 บาทแต่ตกลงผ่อนชำระเป็นงวดรายเดือน เดือนละ 800 บาท นับตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม2529 เป็นต้นไป และทุกวันที่ 25 ของทุกเดือนถัดไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ซึ่งจะชำระเสร็จสิ้นภายในวันที่ 25 กันยายน 2534 แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตั้งแต่งวดประจำวันที่ 25 พฤศจิกายน 2530 เป็นต้นมา ฉะนั้นหนี้จำนวนดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่โจทก์มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีได้ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน2530 เป็นต้นไป โจทก์ร้องขอให้บังคับคดีเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2540 ซึ่งยังไม่เกินกำหนดเวลา 10 ปี โจทก์จึงไม่สิ้นสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกและการยกข้อสัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่เคยถูกยกขึ้นในศาลชั้นต้น
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และ ส.ร่วมกัน และเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน เมื่อโจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกส่วนของตนตลอดมา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ตามมาตรา 1748 วรรคหนึ่ง แม้จะล่วงพ้นอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ตามคำฟ้องและคำให้การจำเลยไม่มีประเด็นเรื่องสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่จำเลยเพิ่งยื่นสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลประกอบคำเบิกความพยานจำเลย จึงมิใช่กรณีคู่ความตกลงหรือประนีประนอมยอมความและให้ศาลพิพากษาตามยอมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 ที่ศาลจะพิพากษาบังคับให้ได้ การที่ศาลชั้นต้นไม่หยิบยกปัญหานี้ขึ้นพิจารณาชอบแล้ว ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหานี้ชอบแล้วเช่นกัน และจำเลยไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหานี้ต่อมา เพราะมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย
ตามคำฟ้องและคำให้การจำเลยไม่มีประเด็นเรื่องสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่จำเลยเพิ่งยื่นสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลประกอบคำเบิกความพยานจำเลย จึงมิใช่กรณีคู่ความตกลงหรือประนีประนอมยอมความและให้ศาลพิพากษาตามยอมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 ที่ศาลจะพิพากษาบังคับให้ได้ การที่ศาลชั้นต้นไม่หยิบยกปัญหานี้ขึ้นพิจารณาชอบแล้ว ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหานี้ชอบแล้วเช่นกัน และจำเลยไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหานี้ต่อมา เพราะมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7626/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาตามยอม และการไม่อุทธรณ์
โจทก์กล่าวอ้างว่า ทนายความของโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนกระทำการนอกเหนือขอบอำนาจของการเป็นตัวแทน หากโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้รับความเสียหายเป็นประการใด ก็ชอบที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ทนายความของโจทก์เอง
ทนายโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมผูกพันโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 ซึ่งโจทก์อาจอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาดังกล่าวได้หากเข้ากรณีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 138 แต่โจทก์ไม่อุทธรณ์และคดีถึงที่สุดไปแล้วโจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้
ทนายโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมผูกพันโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 ซึ่งโจทก์อาจอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาดังกล่าวได้หากเข้ากรณีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 138 แต่โจทก์ไม่อุทธรณ์และคดีถึงที่สุดไปแล้วโจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6702/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: บริวารจำเลย แม้ไม่ได้เป็นคู่ความ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทและขอให้บังคับจำเลยกับบริวารออกไปจากบ้านพิพาท ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงกันได้ โดยโจทก์ยอมขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลย หากจำเลยผิดนัดให้ถือว่าจำเลยไม่ติดใจซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากโจทก์ และยอมขนย้ายบริวารและทรัพย์สินออกจากที่ดินและบ้านพิพาทภายในกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกัน และศาลชั้นต้นได้พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมาจำเลยผิดนัดไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จึงขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศกำหนดเวลาให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารจำเลยแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายใน 8 วัน มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นบริวารของจำเลย ดังนี้ เมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าว การที่ผู้ร้องยังอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทจึงถือว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะบริวารของจำเลยแม้ผู้ร้องไม่ได้ถูกฟ้องและเป็นคู่ความในคดีนี้ด้วยก็ตาม โจทก์ย่อมขอบังคับคดีแก่ผู้ร้องได้ ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 จัตวา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4959/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเช็ค: สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งทำให้มูลหนี้สิ้นสุด สิทธิฟ้องคดีอาญาจึงระงับ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า มูลหนี้ตามเช็คที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นมูลหนี้เดียวกันกับที่โจทก์ร่วมเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็ค เมื่อโจทก์ร่วมและ จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ในคดีแพ่ง และศาลได้พิพากษาตามยอมแล้วจึงทำให้ มูลหนี้ตามเช็คสิ้นผลผูกพันก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเลิกกันสิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไป ให้จำหน่ายคดี ออกจากสารบบความ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษา ยกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220