พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลางเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ใช่สัญญาฝากทรัพย์ อายุความ 10 ปี
กรมป่าไม้ทำสัญญาจ้างผู้รับจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลาง ซึ่งเจ้าพนักงานป่าไม้จับได้และยังอยู่ที่คอที่ถูกตัดโค่นในป่า ระบุชื่อสัญญาว่า "สัญญาจ้างเฝ้ารักษา" มีข้อสัญญาว่าผู้รับจ้างยอมรับเฝ้ารักษาไม้ของกลางโดยคิดอัตราค่าจ้างเป็นรายท่อนต่อเดือน นับแต่วันทำสัญญา ถ้าไม้ซึ่งรับจ้างเฝ้ารักษาขาดหายหรือเป็นอันตราย ผู้รับจ้างยอมให้ปรับไหมเป็นรายท่อนตามจำนวนที่สูญหายหรือเป็นอันตราย ระหว่างเวลาที่ผู้รับจ้างรับผิดชอบเฝ้ารักษา กรมป่าไม้ผู้จ้างอาจชนไม้ของกลางทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปจากที่เดิมในเวลาใด ๆ ก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบและทำใบรับไม้ให้ไว้ สัญญานี้เป็นสัญญาจ้างแรงงาน มิใช่สัญญาฝากทรัพย์ เพราะอำนาจการครอบครองไม้ของกลางยังอยู่แก่กรมป่าไม้ผู้จ้าง ผู้รับจ้างเพียงแต่เฝ้ารักษาระวังมิให้ผู้ใดมาลักหรือเกิดภัยพิบัติ ไม้ของกลางยังอยู่ในป่าตามเดิม ผู้รับจ้างมิได้ชักลากไปเก็บไว้ในความอารักขาของตน
สิทธิเรียกร้องค่าปรับตามสัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นโดยเฉพาะ จึงอยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนดสิบปี
สิทธิเรียกร้องค่าปรับตามสัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นโดยเฉพาะ จึงอยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนดสิบปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลางเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ใช่สัญญาฝากทรัพย์ อายุความ 10 ปี
กรมป่าไม้ทำสัญญาจ้างผู้รับจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลางซึ่งเจ้าพนักงานป่าไม้จับได้และยังอยู่ที่ตอที่ถูกตัดโค่นในป่าระบุชื่อสัญญาว่า 'สัญญาจ้างเฝ้ารักษา' มีข้อสัญญาว่าผู้รับจ้างยอมรับเฝ้ารักษาไม้ของกลางโดยคิดอัตราค่าจ้างเป็นรายท่อนต่อเดือนนับแต่วันทำสัญญาถ้าไม้ซึ่งรับจ้างเฝ้ารักษาขาดหายหรือเป็นอันตรายผู้รับจ้างยอมให้ปรับไหมเป็นรายท่อนตามจำนวนที่สูญหายหรือเป็นอันตราย ระหว่างเวลาที่ผู้รับจ้างรับผิดชอบเฝ้ารักษากรมป่าไม้ผู้จ้างอาจขนไม้ของกลางทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปจากที่เดิมในเวลาใดๆ ก็ได้แต่ต้องแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบและทำใบรับไม้ให้ไว้ สัญญานี้เป็นสัญญาจ้างแรงงานมิใช่สัญญาฝากทรัพย์ เพราะอำนาจการครอบครองไม้ของกลางยังอยู่แก่กรมป่าไม้ผู้จ้างผู้รับจ้างเพียงแต่เฝ้ารักษาระวังมิให้ผู้ใดมาลักหรือเกิดภัยพิบัติไม้ของกลางยังอยู่ในป่าตามเดิม ผู้รับจ้างมิได้ชักลากไปเก็บไว้ในความอารักขาของตน
สิทธิเรียกร้องค่าปรับตามสัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นโดยเฉพาะจึงอยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนดสิบปี
สิทธิเรียกร้องค่าปรับตามสัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นโดยเฉพาะจึงอยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนดสิบปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลาง: สัญญาจ้างแรงงาน มิใช่สัญญาฝากทรัพย์ อายุความ 10 ปี
กรมป่าไม้ทำสัญญาจ้างผู้รับจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลาง. ซึ่งเจ้าพนักงานป่าไม้จับได้และยังอยู่ที่ตอที่ถูกตัดโค่นในป่า. ระบุชื่อสัญญาว่า 'สัญญาจ้างเฝ้ารักษา' มีข้อสัญญาว่าผู้รับจ้างยอมรับเฝ้ารักษาไม้ของกลางโดยคิดอัตราค่าจ้างเป็นรายท่อนต่อเดือน. นับแต่วันทำสัญญา. ถ้าไม้ซึ่งรับจ้างเฝ้ารักษาขาดหายหรือเป็นอันตราย. ผู้รับจ้างยอมให้ปรับไหมเป็นรายท่อนตามจำนวนที่สูญหายหรือเป็นอันตราย. ระหว่างเวลาที่ผู้รับจ้างรับผิดชอบเฝ้ารักษา. กรมป่าไม้ผู้จ้างอาจขนไม้ของกลางทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปจากที่เดิมในเวลาใดๆ ก็ได้. แต่ต้องแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบและทำใบรับไม้ให้ไว้. สัญญานี้เป็นสัญญาจ้างแรงงาน. มิใช่สัญญาฝากทรัพย์. เพราะอำนาจการครอบครองไม้ของกลางยังอยู่แก่กรมป่าไม้ผู้จ้าง. ผู้รับจ้างเพียงแต่เฝ้ารักษาระวัง.มิให้ผู้ใดมาลักหรือเกิดภัยพิบัติ. ไม้ของกลางยังอยู่ในป่าตามเดิม. ผู้รับจ้างมิได้ชักลากไปเก็บไว้ในความอารักขาของตน.
สิทธิเรียกร้องค่าปรับตามสัญญาจ้างแรงงาน. กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นโดยเฉพาะ. จึงอยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนดสิบปี.
สิทธิเรียกร้องค่าปรับตามสัญญาจ้างแรงงาน. กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นโดยเฉพาะ. จึงอยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนดสิบปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1981/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายข้าวเปลือก สัญญาฝากทรัพย์ และเบี้ยปรับ กรณีประกาศห้ามตกข้าวเป็นโมฆะ
ประกาศห้ามมิให้ตกข้าวแก่ชาวนา จ.ศ.1239 นั้น. ได้มีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รวบรวมข้อบัญญัติต่างๆ ในทางแพ่งทั้งหมดขึ้นใช้บังคับแล้ว. และตามมาตรา 656 แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวก็ได้บัญญัติคุ้มครองมิให้เอาของชำระหนี้แทนเงินด้วยการคิดราคาของต่ำกว่าราคาท้องตลาดนั้นอยู่แล้ว. ประกาศห้ามมิให้ตกข้าวแก่ชาวนา จ.ศ.1239 จึงเป็นอันถูกยกเลิกไม่ใช้บังคับต่อไป.
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตกลงจะขายข้าวเปลือกแก่โจทก์และได้รับเงินไปแล้วโดยได้ทำสัญญารับฝากข้าวเปลือกไว้. ถึงหากจะฟังว่าสัญญารับฝากข้าวเปลือกเป็นนิติกรรมอำพราง โจทก์ก็ขอให้บังคับตามสัญญาจะซื้อขายได้.
ตกลงซื้อข้าวเปลือกราคาหนึ่ง และมีข้อสัญญาว่า หากผู้ขายไม่ส่งมอบตามกำหนดจะต้องใช้ราคาข้าวเปลือกสูงขึ้นเป็นอีกราคาหนึ่ง. ย่อมมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับฐานผิดสัญญา หากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้. (ปัญหาตามวรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่28/2511).
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตกลงจะขายข้าวเปลือกแก่โจทก์และได้รับเงินไปแล้วโดยได้ทำสัญญารับฝากข้าวเปลือกไว้. ถึงหากจะฟังว่าสัญญารับฝากข้าวเปลือกเป็นนิติกรรมอำพราง โจทก์ก็ขอให้บังคับตามสัญญาจะซื้อขายได้.
ตกลงซื้อข้าวเปลือกราคาหนึ่ง และมีข้อสัญญาว่า หากผู้ขายไม่ส่งมอบตามกำหนดจะต้องใช้ราคาข้าวเปลือกสูงขึ้นเป็นอีกราคาหนึ่ง. ย่อมมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับฐานผิดสัญญา หากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้. (ปัญหาตามวรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่28/2511).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาฝากทรัพย์: สิทธิเรียกคืนทรัพย์ของผู้ฝาก แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่ามอบฝากเรือมาดไว้ แล้วจำเลยผิดสัญญาขอให้จำเลยคืนเรือนหรือใช้ราคาเรือ จำเลยสู้ว่าไม่ได้รับฝากแต่เคยซื้อเรือโจทก์เมื่อ พ.ศ. 2493 ชำระราคาเสร็จแล้วดังนี้ จึงคงมีประเด็นว่าโจทก์ได้ฝากเรือไว้กับจำเลยแล้ว จำเลยผิดสัญญาฝากนั้นจริงหรือไม่เท่านั้น
ในเรื่องสัญญาฝากทรัพย์นั้น ผู้ฝากย่อมมีสิทธิเรียกคืนทรัพย์นั้นจากผู้รับฝากได้เสมอถึงแม้โจทก์จะแถลงรับว่าเรือนั้นเป็นของผู้อื่น ก็ไม่มีประเด็นถึงเรื่องโจทก์จะมีกรรมสิทธิในเรือนั้นหรือไม่
ในเรื่องสัญญาฝากทรัพย์นั้น ผู้ฝากย่อมมีสิทธิเรียกคืนทรัพย์นั้นจากผู้รับฝากได้เสมอถึงแม้โจทก์จะแถลงรับว่าเรือนั้นเป็นของผู้อื่น ก็ไม่มีประเด็นถึงเรื่องโจทก์จะมีกรรมสิทธิในเรือนั้นหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากสัญญาฝากทรัพย์ ตัวการตัวแทน ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินเลยถึงตัวการที่ไม่เคยอุทธรณ์
ฟ้องโจทก์กล่าวไว้ชัดว่าจำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการในกรมสรรพสามิตต์ จำเลยที่ 1 มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกการเงิน จำเลยที่ 2 ได้รับฝากเงินของโจทก์ไว้ในหน้าที่ราชการ แล้วไม่คืนให้โจทก์ จึงขอให้จำเลยทั้ง 2 ร่วมกันรับผิดชดใช้เงินจำนวนนี้ ดังนี้ เป็นการหาเรื่องผิดสัญญา ไม่ใช่ละเมิด และเป็นการฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานเป็นตัวการ จำเลยที่ 2 ในฐานเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 จึงต้องนำ ป.ม.แพ่งฯมาตรา 820 มาใช้บังคับ คือจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์โดยถือว่าเป็นเรื่องละเมิด ซึ่งไม่ตรงกับท้องเรื่องจำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ แสดงว่าพอใจในคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ผู้เดียวศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง เลยไปถึงจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ เป็นการขัดกับ ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 245 เพราะการชำระหนี้เช่นนี้ไม่ใช่ว่าไม่อาจแบ่งแยกได้อันจะเป็นกรณีเข้าอนุมาตรา 1 แห่งมาตรา 245
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์โดยถือว่าเป็นเรื่องละเมิด ซึ่งไม่ตรงกับท้องเรื่องจำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ แสดงว่าพอใจในคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ผู้เดียวศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง เลยไปถึงจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ เป็นการขัดกับ ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 245 เพราะการชำระหนี้เช่นนี้ไม่ใช่ว่าไม่อาจแบ่งแยกได้อันจะเป็นกรณีเข้าอนุมาตรา 1 แห่งมาตรา 245
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13006/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าคลังสินค้าที่มีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์ ทำให้ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อตกลงจะเป็นสัญญาประเภทใดนั้น จะต้องดูจากเนื้อหาสาระของข้อตกลงเป็นสำคัญ หาใช่ดูแต่เพียงชื่อของสัญญา เมื่อตามสัญญาเช่ามีข้อตกลงกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่จัดหาวัสดุปูพื้นคลังสินค้า จัดหาคนงานขนข้าวสารให้แก่ผู้เช่า จัดเตรียมคลังสินค้าตามสัญญาให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยพร้อมที่จะเก็บข้าวสารของผู้เช่าได้ทันที อีกทั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดหายามเพื่อรักษาความปลอดภัย ข้อสัญญาทั้งหลายเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า โจทก์มิได้ส่งมอบให้ผู้เช่าครอบครองและมีอิสระในการใช้คลังสินค้าเองเยี่ยงสิทธิของผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์ทั่วไป แต่โจทก์ยังคงเป็นผู้ควบคุมดูแลและดำเนินการต่างๆ ภายในคลังสินค้าที่ให้เช่าอยู่โดยตลอดในแต่ละขั้นตอน เพื่อที่โจทก์จะได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อรักษาสินค้าของโจทก์ในฐานะเป็นผู้มีวิชาชีพในกิจการค้าขายของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 659 วรรคสาม ข้อตกลงตามสัญญาดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์ อันถือเป็นการให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5072/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาฝากทรัพย์และขอบเขตความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้า
ตามคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่อ้างมูลเหตุให้จำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ในค่าเสียหายว่า เมื่อจำเลยที่ 4 รับสินค้าจากจำเลยที่ 3 เพื่อขนส่งทางรถยนต์ไปส่งมอบแก่ผู้เอาประกันภัย พบว่าสินค้าเสียหายเพิ่มอีก 1 กล่อง ในระหว่างการจัดเก็บโดยไม่ระมัดระวังและไม่ดูแลสินค้าในคลังสินค้าให้ดีเพียงพอของจำเลยที่ 3 และการขนส่งโดยรถยนต์บรรทุกโดยไม่ระมัดระวังและไม่ดูแลสินค้าให้ดีเพียงพอของจำเลยที่ 4 จึงเป็นการกล่าวอ้างถึงการทำหน้าที่ผู้รับฝากทรัพย์บกพร่องจนเกิดความเสียหายแก่สินค้าที่จัดเก็บไว้อันเป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์ที่ผู้ฝากทรัพย์ใช้สิทธิเรียกร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสัญญาตามที่บัญญัติไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 671 จึงไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัยในความรับผิดในมูลละเมิดที่จะใช้อายุความในเรื่องละเมิดแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3113/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิติดตามและเอาคืนทรัพย์สินจากผู้รับไปโดยไม่ชอบ กรณีสัญญาฝากทรัพย์
จำเลยซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ เมื่อพนักงานโจทก์ปฏิบัติงานผิดพลาดโดยนำเงินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์เข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยตามเช็คที่จำเลยนำเข้าฝากในบัญชี โดยเข้าใจผิดว่าจำเลยมีสิทธิรับเงินตามเช็ค และจำเลยได้ถอนเงินจำนวนตามเช็คไปจากบัญชีเงินฝากของจำเลย จึงเป็นการที่จำเลยได้เงินนั้นไปโดยไม่ชอบ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเงินจำนวนดังกล่าว ย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนจากจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิที่จะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 โดยไม่มีกำหนดอายุความ
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับช่วงสิทธิจากสหกรณ์ ฯ ในการเรียกร้องเงินคืนจากจำเลย แต่คำฟ้องของโจทก์ก็บรรยายข้อเท็จจริงพอเข้าใจได้ว่าโจทก์ได้ชดใช้เงินคืนแก่สหกรณ์ ฯ แล้ว และประสงค์จะเรียกเงินคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิโดยชอบที่จะได้เงินจำนวนนั้น ซึ่งในการฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแต่บรรยายข้อเท็จจริงและมีคำขอบังคับก็เป็นการเพียงพอแล้วโจทก์ไม่จำเป็นต้องยกบทกฎหมายขึ้นกล่าวอ้าง การยกบทขึ้นปรับใช้แก่คดีเป็นหน้าที่ของศาลเมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่า กรณีเป็นเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 และโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเงินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนจากจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิโดยชอบที่จะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ว่ากรณีเป็นเรื่องดังกล่าว
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับช่วงสิทธิจากสหกรณ์ ฯ ในการเรียกร้องเงินคืนจากจำเลย แต่คำฟ้องของโจทก์ก็บรรยายข้อเท็จจริงพอเข้าใจได้ว่าโจทก์ได้ชดใช้เงินคืนแก่สหกรณ์ ฯ แล้ว และประสงค์จะเรียกเงินคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิโดยชอบที่จะได้เงินจำนวนนั้น ซึ่งในการฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแต่บรรยายข้อเท็จจริงและมีคำขอบังคับก็เป็นการเพียงพอแล้วโจทก์ไม่จำเป็นต้องยกบทกฎหมายขึ้นกล่าวอ้าง การยกบทขึ้นปรับใช้แก่คดีเป็นหน้าที่ของศาลเมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่า กรณีเป็นเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 และโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเงินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนจากจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิโดยชอบที่จะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ว่ากรณีเป็นเรื่องดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8772/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาฝากทรัพย์, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, สิทธิเรียกร้องเงินฝาก, สัญญาเลิกกัน, การคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา
แม้โจทก์จะฝากเงินไว้กับจำเลยเมื่อปี 2504 แต่จำเลยก็ไม่เคยบอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์ สัญญาฝากทรัพย์จึงยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ การที่โจทก์ขอถอนเงินจากบัญชีเงินฝากแล้วจำเลยไม่ยอมจ่ายเงินให้อ้างว่า ไม่พบว่ามียอดเงินในบัญชีจึงเป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้ ไม่พบว่ามียอดเงินในบัญชีจึงเป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้ ต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อโจทก์ขอถอนเงินในระหว่างเดือนธันวาคม 2544 ถึงเดือนมกราคม 2545 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 10 เมษายน 2545 ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ