พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5398/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: หลักการสันนิษฐานความเป็นเจ้าของตามโฉนด และภาระการพิสูจน์ของฝ่ายอ้างสิทธิ
การที่จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินโดยมีหลักฐานการรับโอนมาด้วยการซื้อขาย ซึ่งในเบื้องต้นต้องสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินและบ้าน โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาพิสูจน์หักล้างพยานหลักฐานของจำเลย เช่นนี้ ต้องฟังว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินและบ้านดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4059/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์: การไม่แจ้งความดำเนินคดีในทันทีอาจสันนิษฐานได้ว่ามีการยกทรัพย์ให้แก่ผู้ต้องหา
ผู้เสียหายแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยลักทรัพย์เพียง 2 รายการ คือตุ้มหูทองคำและแหวนเพชรรัสเซียเมื่อพนักงานสอบสวนไปตรวจค้นบ้านญาติจำเลยก็ไม่พบทรัพย์ดังกล่าวคงพบแต่หมวกพลาสติกสำหรับใส่อาบน้ำในกระเป๋าเสื้อผ้าจำเลย ผู้เสียหายก็ไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยเกี่ยวกับหมวกพลาสติกในทันที กรณีอาจเป็นได้ว่าผู้เสียหายให้หมวกดังกล่าวแก่จำเลยแล้วการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาถึงที่สุดและการสันนิษฐานการล้มละลาย หากถูกยึดทรัพย์
คู่ความย่อมต้องผูกพันในผลแห่งคำพิพากษาของศาลซึ่งถึงที่สุดหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวถือว่าเป็นหนี้ซึ่งอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนจำเลยจะอ้างเหตุในชั้นขอให้มีการพิจารณาคดีใหม่ ซึ่งศาลยังไม่อนุญาตให้พิจารณาใหม่เพื่อที่จะไม่ผูกพันตามคำพิพากษาหาได้ไม่ การที่จำเลยถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี ย่อมเข้าข้อสันนิษฐานของ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8(5) ว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวโจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ โดยไม่จำต้องมีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ก่อนตามมาตรา 8(9).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายจากหนี้ตามคำพิพากษาและการสันนิษฐานหนี้สินล้นพ้นตัว
โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับยึดทรัพย์จำนองของจำเลยออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินมาชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษายังไม่ครบถ้วน โดยคำนวณหนี้ที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระคิดถึงวันฟ้องไม่น้อยกว่า 50,000 บาท การที่จำเลยถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดีดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 8(5) ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ โดยไม่จำต้องมีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ก่อนตามมาตรา 8(9) อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินเช่า, สิทธิไม่ชำระค่าเช่าเมื่อทรัพย์สินชำรุด, สันนิษฐานการชำระหนี้
สัญญาเช่าโรงภาพยนตร์ข้อหนึ่งซึ่งมีข้อความว่า "ผู้เช่าสัญญา ว่าจะจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย และบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เสมอด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเอง หากมีการชำรุดบกพร่อง แตกหักเสียหายด้วยประการใด ๆผู้เช่าจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบทันที และดำเนินการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเองทั้งสิ้น" นั้น หมายถึง การซ่อมแซมบำรุงรักษาตามปกติและเป็นการซ่อมแซมเล็กน้อยเท่านั้น ผู้เช่าจึงจะมีหน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่า แต่ปรากฏว่าอาคาร โรงภาพยนตร์ทรุด และพื้นคอนกรีตแตกร้าวเสียหายมากหลายแห่ง เป็นความเสียหายร้ายแรงจนอาจเกิดการพังทลายเป็นอันตรายแก่ ผู้เข้าชมภาพยนตร์ได้ จึงเป็นเรื่องมีความจำเป็นและสมควรที่จะต้อง ซ่อมแซมใหญ่อย่างรีบด่วนเพื่อรักษาโรงภาพยนตร์อันเป็นทรัพย์สิน ที่เช่าให้สามารถใช้การต่อไปไม่ให้พังทลายไปเสียก่อนมิใช่กรณี ต้องซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย ผู้ให้เช่าจึงมีหน้าที่ต้องซ่อมแซม ทรัพย์สินที่เช่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 547 หาใช่หน้าที่ของผู้เช่าไม่ โจทก์อ้างว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 แต่โจทก์รับค่าเช่าจากจำเลยโดยไม่ได้ทวงถามค่าเช่าเดือนดังกล่าวจนล่วงเลยมา ถึงเดือนกันยายน 2526 การรับเงินค่าเช่าโจทก์ได้ออกใบรับเงินให้จำเลยทุกครั้ง กรณีจึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของ ป.พ.พ. มาตรา 327 ที่ว่าในกรณีชำระดอกเบี้ยหรือชำระหนี้อย่างอื่นอันมีกำหนดชำระเป็น ระยะเวลานั้น ถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จรับเงินให้เพื่อระยะหนึ่งแล้วโดย มิได้อิดเอื้อน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ เพื่อระยะก่อน ๆ นั้นด้วยแล้ว เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่มี น้ำหนักมาหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายนี้ได้ จึงต้องฟังตามบท สันนิษฐานนี้ว่าจำเลยได้ชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 ให้โจทก์แล้ว โจทก์ปิดและบูรณะปรับปรุงโรงภาพยนตร์ที่ให้เช่า จำเลยผู้เช่าจึงไม่อาจใช้โรงภาพยนตร์ดังกล่าวฉายภาพยนตร์ได้ตามสิทธิการเช่าของตน สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยย่อมมีสิทธิไม่ยอมชำระค่าเช่า ในระหว่างที่โรงภาพยนตร์ต้องปิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า การที่โจทก์ไม่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่ให้จำเลยเช่า ทำให้จำเลยเสียหาย แต่ค่าเสียหายของจำเลย จำเลยไม่สามารถแสดงได้ ไม่พิพากษาให้จำเลยได้รับค่าเสียหายแล้ว กรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยว่า ฟ้องแย้ง เรียกค่าเสียหายดังกล่าวของจำเลยขาดอายุความหรือไม่ เพราะ เป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 849/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหนังสือทวงหนี้ที่จ่าหน้าซองผิดเขต แต่ผู้รับอยู่ในภูมิลำเนา และการสันนิษฐานว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
แม้หนังสือทวงถามที่ส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยจะจ่าหน้าซองจดหมายผิดจากเขตดุสิตเป็นเขตพญาไท แต่มีคนในบ้านดังกล่าวรับไว้แทนจำเลยทั้งสองครั้ง เชื่อว่าหนังสือทวงถามได้ถูกส่งไปยังภูมิลำเนาที่อยู่ของจำเลยและจำเลยได้รับหนังสือทวงถามแล้วเมื่อจำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า2 ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน และจำเลยไม่ชำระหนี้ ย่อมต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8(9) การที่จำเลยไม่สืบพยานหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดจำเลยจึงเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6369/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคัดค้านการประนอมหนี้ของเจ้าหนี้ และการสันนิษฐานว่าผู้ล้มละลายกระทำการโดยรู้ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 52 วรรคสอง เจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้วมีอำนาจคัดค้านต่อศาลได้ ถึงแม้จะได้เคยออกเสียงลงมติยอมรับไว้ในที่ประชุมเจ้าหนี้ก็ตาม ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้วไม่ได้เข้าประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก จึงไม่ได้คัดค้านการประนอมหนี้ แต่ได้ยื่นคำคัดค้านการประนอมหนี้ไว้ก่อนศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจอุทธรณ์ได้ จำเลยที่ 1 ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า จำเลยที่ 1ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำบัญชีแสดงกิจการต้นทุนกำไรย้อนหลังไป 3 ปีนับแต่วันถูกพิทักษ์ทรัพย์ ส่วนจำเลยที่ 2ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า ไม่มีทรัพย์สินส่วนตัวที่มิได้ใช้ในการประกอบธุรกิจ ภริยาจำเลยที่ 2 ไม่ได้ประกอบอาชีพและไม่มีทรัพย์สิน และในการประกอบกิจการค้าขาย จำเลยที่ 2ไม่ได้ทำบัญชีแสดงการขาดทุนกำไร ย่อมเห็นได้ว่า ก่อนล้มละลายจำเลยทั้งสองมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สินและไม่สามารถนำบัญชีและงบดุลประจำปีมาแสดงต่อศาลได้สำหรับระยะเวลา 3 ปี ก่อนล้มละลายโดยไม่มีเหตุสมควร ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยทั้งสองได้ขืนทำการค้าต่อไปอีกโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามมาตรา 74(2)(ข),73,72, และ 53 ศาลย่อมสั่งไม่เห็นชอบด้วยคำขอประนอมหนี้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5544/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและการสันนิษฐานเรื่องส่วนแบ่งเมื่อสารบัญจดทะเบียนไม่ได้ระบุ
โจทก์และจำเลยทั้งหกทำบันทึกข้อตกลงขอรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4แบ่งแยกที่ดินออกไป และโจทก์ยอมรับส่วนที่เหลือจากการแบ่งแยกโดยยอมรับว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการแบ่งแยกเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์ จำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 6 เช่นนี้ การรังวัดแบ่งแยกที่ดินย่อมผูกพันโจทก์ โจทก์ จำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 6 ย่อมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินส่วนที่เหลือ เมื่อสารบัญจดทะเบียนมิได้ระบุเนื้อที่ดินส่วนของโจทก์ไว้เป็นพิเศษ จึงต้องสันนิษฐานว่าโจทก์ จำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 6 มีส่วนคนละเท่ากัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หนี้และการสันนิษฐานลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพื่อการฟ้องล้มละลาย
แม้จำเลยจะโต้แย้งยอดหนี้ที่เพิ่มขึ้นภายหลังวันที่ 4 เมษายน 2528 แต่จำเลยก็ยอมรับว่าในวันที่ 4 เมษายน 2528 จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 208,061.38 บาท จึงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (2)(3)
โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ แต่ส่งให้ไม่ได้เพราะจำเลยย้ายที่อยู่ ได้ตรวจสอบทะเบียนบ้านตามที่จำเลยแจ้งตอนยื่นคำขอเปิดบัญชีเงินฝากก็ไม่ปรากฏชื่อจำเลยอยู่ในทะเบียนบ้าน จึงได้ลงประกาศหนังสือพิมพ์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้รวมสองครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ตามพฤติการณ์ดังกล่าว แม้จำเลยอ้างว่าไม่ทราบการทวงถามก็ถือได้ว่าจำเลยไปเสียจากเคหสถานที่เคยอยู่เพื่อประวิงการชำระหนี้ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (4) ข
โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ แต่ส่งให้ไม่ได้เพราะจำเลยย้ายที่อยู่ ได้ตรวจสอบทะเบียนบ้านตามที่จำเลยแจ้งตอนยื่นคำขอเปิดบัญชีเงินฝากก็ไม่ปรากฏชื่อจำเลยอยู่ในทะเบียนบ้าน จึงได้ลงประกาศหนังสือพิมพ์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้รวมสองครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ตามพฤติการณ์ดังกล่าว แม้จำเลยอ้างว่าไม่ทราบการทวงถามก็ถือได้ว่าจำเลยไปเสียจากเคหสถานที่เคยอยู่เพื่อประวิงการชำระหนี้ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (4) ข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากการครอบครองร่วมกันและการสันนิษฐานถึงส่วนแบ่งเมื่อมีผู้สูญหาย
โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกที่ดินพิพาททั้งหมดซึ่งเป็นที่ น.ส.3 อ้างว่าโจทก์ทั้งสามเป็นผู้ใช้สิทธิครอบครองที่ดินร่วมกันมาโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจนถึงปัจจุบันเกินกว่า 1 ปีแล้ว ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และนาย ม. บิดาของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ครอบครองที่พิพาทร่วมกัน แม้ต่อมานาย ม. ออกจากบ้านแล้วหายสาบสูญไปก็ถือไม่ได้ว่า ม. สละการครอบครองที่พิพาท จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และนาย ม. มีส่วนในที่พิพาทเท่า ๆ กัน ศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นเจ้าของที่พิพาทส่วนของตนได้
การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานจัดรูปที่ดิน ได้งดดำเนินการออกโฉนดที่ดินที่จัดรูปใหม่ให้แก่โจทก์ทั้งสามเพราะจำเลยทั้งสามคัดค้านการออกโฉนดโดยอ้างว่าเป็นทายาทของ ม. ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในที่พิพาท เมื่อมีข้อโต้แย้งและตกลงกันไม่ได้ จำเลยที่ 4 จึงให้คู่กรณีไปดำเนินคดีกันทางศาลก่อน เมื่อศาลมีคำพิพากษาว่าอย่างไรก็จะปฏิบัติไปตามนั้น จึงเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ หาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4
การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานจัดรูปที่ดิน ได้งดดำเนินการออกโฉนดที่ดินที่จัดรูปใหม่ให้แก่โจทก์ทั้งสามเพราะจำเลยทั้งสามคัดค้านการออกโฉนดโดยอ้างว่าเป็นทายาทของ ม. ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในที่พิพาท เมื่อมีข้อโต้แย้งและตกลงกันไม่ได้ จำเลยที่ 4 จึงให้คู่กรณีไปดำเนินคดีกันทางศาลก่อน เมื่อศาลมีคำพิพากษาว่าอย่างไรก็จะปฏิบัติไปตามนั้น จึงเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ หาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4