คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สามีภรรยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3984/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซื้อขายไม่เคลือบคลุม แม้ไม่มีต้นฉบับเอกสาร แต่มีสำเนาที่โจทก์มอบให้จำเลย ศาลรับฟังได้ หนี้ร่วมสามีภรรยา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองได้ซื้อลูกไก่อาหารไก่และ อาหารหมู ไปจากโจทก์รวม 26 ครั้ง เป็นเงิน 115,835บาท จำเลยทั้งสองได้รับ สินค้าไปตามสำเนาภาพถ่ายใบรับฝากสินค้าท้ายฟ้อง จำเลยค้างชำระ ค่าสินค้าเป็นเงิน 51,930 บาท เป็นคำฟ้อง ที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนข้อที่ว่าใครเป็นผู้ซื้อ ผู้รับสินค้าและเป็นสินค้าชนิดใดนั้นเป็นรายละเอียดที่ต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ผู้ขายได้มอบต้นฉบับใบรับฝากสินค้าให้แก่จำเลยผู้ซื้อไป คงเก็บไว้แต่สำเนา ถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้ ศาลรับฟังสำเนาแทนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) จำเลยที่ 1 เป็นสามีของจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองประกอบการค้า ร่วมกันในสถานที่เดียวกัน จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดในหนี้สิน ที่ทำการค้าร่วมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3838/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับให้จดทะเบียนหย่าหลังทำหนังสือยินยอมตามกฎหมาย
สามีภรรยาทำหนังสือยินยอมหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากันไว้ถูกต้องครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1514 ที่ได้ตรวจชำระใหม่แล้วเมื่อสามีไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าให้ภรรยา ก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้บังคับสามีไปจดทะเบียนหย่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2308/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าจากพฤติกรรมอุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นฉันสามีภรรยา แม้จดทะเบียนสมรสซ้อน
ก่อนจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับโจทก์. จำเลยที่ 1 ได้เสียกับนางต.มีบุตรด้วยกันหนึ่งคนหลังจากจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ 2 วัน จำเลยที่ 1 กลับไปจดทะเบียนสมรสกับนางต.ซ้อนขึ้นอีก โดยอ้างว่าเพื่อให้เด็กที่เกิดมาเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 นอกจากนี้นางต.ยังไปๆมาๆที่บ้านจำเลยและจำเลยที่ 1 ยังส่งเสียให้เงินไปใช้จ่าย ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 อุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันสามีภรรยา ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนหย่าที่ไม่สมบูรณ์และมีเจตนาหลอกลวง ทำให้การหย่าไม่มีผลผูกพัน โจทก์จำเลยยังคงเป็นสามีภรรยา
โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่า แต่ยังคงอยู่ร่วมเรือนเดียวกันและร่วมกันสร้างเรือนพิพาทอยู่ด้วยกันอีก 1 หลัง ปรับปรุงที่พิพาททำเป็นนาขุดบ่อเลี้ยงปลา ปลูกต้นผลอาสินเยี่ยงสามีภรรยา ต่างฝ่ายไม่มีคู่ครองใหม่พฤติการณ์ดังนี้แสดงว่าการจดทะเบียนหย่าก็โดยเจตนาไม่ประสงค์จะให้มีผลผูกพันกัน จึงใช้บังคับกันไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ทั้งคู่ยังคงเป็นสามีภรรยากันตลอดมา โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและเรือนพิพาทไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3389/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดกของผู้คบหากันฉันสามีภรรยา และการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามเจตนาผู้ตาย
ทรัพย์สินที่ผู้ร้องกับผู้ตายทำมาหาได้ในระหว่างที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยา เป็นของผู้ร้องกับผู้ตายร่วมกันผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย และมีสิทธิร้องขอให้ตั้ง อ. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วย ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้ร้องจะเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ศาลจะตั้งใครเป็นผู้จัดการมรดกนั้นจะต้องคำนึงถึงประโยชน์แก่กองมรดกและเจตนาของเจ้ามรดกด้วย เมื่อผู้ตายได้ทำหนังสือตั้ง อ. เป็นผู้จัดการมรดกไว้ ส่วนผู้คัดค้านเป็นเพียงพี่สาวร่วมมารดากับผู้ตาย เคยมีเรื่องทะเลาะกันกับผู้ตายจนไม่พูดจากัน จึงควรตั้ง อ. เป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทที่ได้มาจากการยกให้ก่อนอยู่กินเป็นสามีภรรยาไม่จดทะเบียน ไม่ถือเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการทำมาหาได้ร่วมกัน
ผู้ร้องกับจำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยาไม่จดทะเบียน จำเลยแพ้คดีเรื่องเงินกู้ซึ่งเกิดระหว่างอยู่กินด้วยกัน บ้านในที่ดินของผู้ร้องบิดามารดายกให้ผู้ร้องก่อนอยู่กินด้วยกันกับจำเลยมิใช่ทำมาหาได้ร่วมกัน โจทก์ยึดบ้านบังคับคดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสก่อน/หลังใช้ พ.ร.บ. บรรพ 5 และอายุความมรดก กรณีสามีภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ผู้ร้องสอดกับ ล. สมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ดังนั้น หากมีข้อกล่าวอ้างถึงความสมบูรณ์ในเรื่องการสมรสหรือการหย่าขึ้นหลังจากได้มีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ใช้บังคับแล้ว การสมรสหรือการหย่าจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามบทกฎหมายขณะที่ใช้อยู่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ร้องสอดกับ ล. มิได้จดทะเบียนหย่าให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1499 ข้ออ้างการหย่าที่จำเลยยกขึ้นอ้างจึงไม่มีผลตามกฎหมายแม้จะได้ความว่าคู่สมรสจะได้เลิกร้างแยกกันอยู่ ก็หาทำให้การเป็นสามีภรรยาของคู่สมรสขาดจากกันไม่
ที่ดินโฉนดพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องสอดกับ ล.ที่ไม่ได้มีการแบ่งแยกกันมาก่อน ต่อมา ล. ถึงแก่ความตายความเป็นสามีภรรยาระหว่างคนทั้งสองย่อมขาดจากกันนับแต่วันที่ ล. ตาย สินสมรสจึงต้องแยกจากกันและการแบ่งสินสมรสสำหรับบุคคลทั้งสอง แม้จะเป็นกรณีพิพาทกันหลังจากมีพระราชบัญญัติให้ใช้บัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนกับการสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแก่การสมรสนั้นๆ ซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ ตามมาตรา 4(1) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว การแบ่งสินสมรสของคนทั้งสองจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องสอดเป็นฝ่ายที่มีสินเดิมมาฝ่ายเดียวล. ไม่มีสินเดิมที่ดินตามโฉนดพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสจึงตกได้แก่ผู้ร้องสอดผู้เป็นสามีแต่ฝ่ายเดียวไม่เหลือตกเป็นมรดกของ ล.ผู้ตายไว้เลย ด้วยเหตุนี้ผู้ร้องสอดจึงไม่อยู่ในข่ายการนับอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 คดีของผู้ร้องสอดจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในบ้านที่สร้างจากการรื้อถอนและปลูกสร้างใหม่โดยใช้เงินที่ได้มาจากการอยู่กินฉันสามีภรรยา
มารดาผู้ร้องยกบ้านให้ผู้ร้องในขณะที่ผู้ร้องอยู่กินกับจำเลยฉันสามีภรรยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ผู้ร้องรื้อบ้านนั้นและขนย้ายเอามาปลูกขึ้นใหม่เป็นบ้านพิพาท ทั้งนี้ได้ใช้จ่ายเงินเป็นค่าซื้อไม้ฝาและสีทาเพิ่มเติม กับค่าตะปูและค่ารื้อถอนขนย้าย รวมทั้งค่าแรงปลูกสร้างด้วย โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นเงินที่ผู้ร้องและจำเลยทำมาหาได้ระหว่างอยู่กินฉันสามีภรรยา และเมื่อปลูกสร้างเสร็จผู้ร้องกับจำเลยก็อยู่ร่วมกันในบ้านพิพาทตลอดมาดังนี้ ถือว่าผู้ร้องและจำเลยเป็นเจ้าของร่วมในบ้านนั้น โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยนำยึดบ้านพิพาทส่วนของจำเลยได้ผู้ร้องมีสิทธิเพียงร้องขอกันส่วนของผู้ร้องเท่านั้นหามีสิทธิร้องขอให้ปล่อยบ้านพิพาทไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าไปในบ้านโดยมีเหตุอันควรและการไม่มีเจตนาบุกรุก แม้ผู้เสียหายไล่ให้ออก
จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหายโดยบุตรีผู้เสียหายซึ่งเป็นภรรยาโดยพฤตินัยของจำเลยนัดให้ไปพบ ถือได้ว่าเป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันควร และแม้เมื่อผู้เสียหายได้ไล่จำเลยให้ออกไป แต่จำเลยไม่ยอมออก ทั้งนี้ เพื่อขอร้องภรรยาจำเลยให้กลับไปอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาดังเดิม ดังนี้ เห็นได้ว่าจำเลยไม่มีความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการกันเงินจากทรัพย์สินที่ได้มาจากการอยู่กินฉันสามีภรรยา กรณีลูกหนี้ผิดสัญญา
จำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลที่ทำไว้กับโจทก์ โจทก์จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินหนึ่งแปลงพร้อมเรือนหนึ่งหลังซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าว อ้างว่าเป็นของจำเลย ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลกันเงินที่ขายทอดตลาดที่ดิน และโรงเรือนดังกล่าวไว้จ่ายให้ผู้ร้องครึ่งหนึ่ง เพราะทรัพย์ดังกล่าวเป็นผู้ร้องและจำเลยรวมกันได้มาระหว่างอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องและจำเลยอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาและต่างก็มีรายได้ ที่ดินและเรือนพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องและจำเลยทำมาหาได้ร่วมกัน หนี้สินระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นเรื่องเฉพาะตัว ดังนี้ การที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยไปยืมเงินโจทก์มาใช้จ่ายในการดำรงชีพและนำมาซื้อที่ดินพร้อมทั้งปลูกเรือนพิพาท และผู้ร้องรู้เห็นในการกู้ยืมด้วย จึงเป็นการฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 6 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 13