พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2488
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งศาลต้องมีการโต้แย้งคำสั่งในสำนวน การโต้เถียงทั่วไปไม่ถือเป็นการโต้แย้งคำสั่ง
สิทธิที่จะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งศาลตาม ม.226 (2) นั้น ผู้อุทธรณ์หรือฎีกาจะต้องได้ทำการโต้แย้งคำสั่งศาลให้ปรากฏในสำนวน จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้
การที่คู่ความโต้เถียงคัดค้านกันในเรื่องหน้าที่นำสืบว่าใครต้องสืบก่อนสืบหลังดังปรากฏตามรายงานศาลนั้นเป็นเพียงคำคัดค้านโต้เถียงระหว่างคู่ความซึ่งแถลงต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่งหาใช่เป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลตามมาตรา 226 (2) ไม่
การที่คู่ความโต้เถียงคัดค้านกันในเรื่องหน้าที่นำสืบว่าใครต้องสืบก่อนสืบหลังดังปรากฏตามรายงานศาลนั้นเป็นเพียงคำคัดค้านโต้เถียงระหว่างคู่ความซึ่งแถลงต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่งหาใช่เป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลตามมาตรา 226 (2) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2487
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าจ้างความเมื่อไม่ได้ตกลงกัน ศาลใช้สำนวนเดิมและพฤติการณ์ประกอบได้ ไม่ถือเป็นการอนุญาโตตุลาการ
กรณีที่ไม่ได้กำหนดค่าจ้างว่าความไว้ แล้วคู่ความขอให้ศาลเป็นผู้กะนั้นศาลอาจดูสำนวนเดิมและยกพฤติการณ์ต่างๆ ขึ้นประกอบการกำหนดค่าจ้างได้และกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าตั้งศาลเป็นอนุญาโตตุลาการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2486
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลอุทธรณ์ระหว่างพิจารณา: การส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิพากษา
คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่สั่งศาลชั้นต้นสืบพยานแล้วส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษานั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2485
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อจากสำนวนอื่น - ต้องนับจากสำนวนที่โจทก์อ้างหากไม่มีเหตุพิเศษ
การขอให้นับโทษต่อจากอีกสำนวนหนึ่งนั้น. เมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุพิเศษอะไรก็ต้องนับโทษต่อจากสำนวนที่โจทก์อ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2483
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฎีกา: ศาลชั้นต้นและศาลฎีกามีอำนาจอนุญาตได้ก่อน/หลังส่งสำนวน
เมื่อโจทก์ถอนฎีกาก่อนที่ศาลชั้นต้นส่งสำนวนมายังศาลฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตได้ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 225, 202, แต่เมื่อศาลชั้นต้นส่งสำนวนมา ศาลฎีกาศาลฎีกาก็สังอนุญาตให้ถอนฎีกาได้และจำหน่านคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยคดีโดยอาศัยพฤตติการณ์และเหตุผลจากสำนวน ไม่ถือว่าฟังข้อเท็จจริงผิดจากสำนวน
+อุทธรณ์พฤตติการณ์ที่ไม่เป็นการฟัง+พะยานผิดจากสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความเท็จในคดีแพ่ง: ประเด็นสำคัญเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องพิจารณาตามสำนวน
ข้อเท็จจริง ในเรื่องหาว่าเบิกความเท็จ+คำที่เบิกความจะเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีลักจับปลาในโป๊ะ ศาลอุทธรณ์สั่งย้อนสำนวนให้ดำเนินคดีอาญา
ศาลอุทธรณ์ตัดสินว่าเห็นว่าคดีมีมูลทางอาชญาจึงย้อนสำนวนให้ศาลเดิมรับฟ้องของโจทก์ไว้ดำเนินคดีต่อไปตามกระบวนความนั้น จำเลยฎีกาไม่ได้ อ้างฎีกาที่ 179/2461 ที่ 358/65 ที่ 381/ ที่ 897/2474 อาชญา ม.288 - 293 เรื่องลักจับปลาในโป๊ะ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นคดีมีมูลในทางอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบพยานไม่สมบูรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งให้สืบพยานใหม่จนกว่าจะเสร็จสำนวน
คดีอาชญาเมื่อศาลเดิมยังสืบพะยานโจทก์ไม่สิ้นกระแสความ แลงดสืบพะยานจำเลยเสียแลตัดสินให้ยกฟ้องโจทก์เช่นนี้ไม่ชอบ
ศาลอุทธรณ์สั่งให้สืบพะยานใหม่จนเสร็จสำนวน คำสั่งระวางพิจารณา
ศาลอุทธรณ์สั่งให้สืบพะยานใหม่จนเสร็จสำนวน คำสั่งระวางพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาต้องฟังพยานเบิกความต่อหน้าศาล การอ้างสำนวนคดีอื่นมาวินิจฉัยไม่ชอบ
การพิจารณาคดีอาชญาทั้งปวง ศาลต้องได้ฟังคำพะยานที่เบิกความต่อหน้าศาลโดยฉะเพาะคดีนั้น ๆ การวินิจฉัยคดีอาชญาจะอ้างสำนวนในคดีอื่นซึ่งแม้คู่ความรับว่ามีโอกาสซักถามแล้วก็ดีแต่อย่างเดียวนั้นไม่พอฟังลงโทษจำเลยได้ เทียบฎีกา 52 -53 /60