คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,231 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญา แม้คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา และผลกระทบต่อการระงับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 342 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ และ ป.วิ.อ. มาตรา 126 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องทุกข์ที่จะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานยักยอกถือเป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน ถ้าผู้ร้องทุกข์ตายสิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่ทายาท ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้เสียหายซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายจึงมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ได้แม้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา และเมื่อมีการถอนคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาตกทอดแก่ทายาท ผู้จัดการมรดกมีสิทธิถอนคำร้องได้ แม้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา
การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิซึ่ง ป.วิ.อ.มาตรา 126 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องทุกข์ที่จะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ สิทธิถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานยักยอกถือเป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน กรณีผู้ร้องทุกข์ตายสิทธิดังกล่าวย่อมตกทอดแก่ทายาท เมื่อได้ความตามคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ว่าบรรดาทายาททุกคนของผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป และขอถอนคำร้องทุกข์ ดังนั้น ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้เสียหายซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย จึงมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์ได้แม้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา เมื่อมีการถอนคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีติดตามเอาคืนทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิ แม้ฟ้องบุพการีต้องห้าม ก็ไม่กระทบสิทธิฟ้องบุคคลภายนอก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท แต่จำเลยที่ 1 ทำเกินขอบอำนาจโดยจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 จำนองต่อจำเลยที่ 3 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นิติกรรมการซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 และนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 3 จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 และการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว แม้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะเป็นการฟ้องบุพการีต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562 ก็ตาม ก็เป็นเหตุเฉพาะตัวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลถายนอกด้วยไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินมีข้อห้ามตามกฎหมาย: โมฆะ และไม่มีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก
ขณะที่ผู้ร้องและ ป. ผู้ตายทำสัญญาซื้อขายที่ดินกันนั้น ที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่ดินมีข้อกำหนดห้าม ป. โอนที่ดินไปยังบุคคลอื่นภายในสิบปีตาม ป. ที่ดิน มาตรา 31 และยังอยู่ภายในกำหนดเวลาห้ามโอนนั้น สัญญาซื้อขายที่ดินแปลงดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ไม่ว่าผู้ร้องจะครอบครองนานเพียงใด ผู้ร้องก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง และถึงแม้ว่าผู้ตายตกลงจะโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้ว ก็ไม่อาจทำได้เช่นกัน ผู้ร้องจึงไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกของผู้ตายที่จะบังคับให้โอนที่ดินแปลงดังกล่าวแก่ผู้ร้อง และถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในอันที่จะร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3560/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนการพิจารณาซ้ำในคดีถอดถอนผู้จัดการมรดก – สิทธิทายาทรับมรดก
เหตุตามคำร้องของผู้คัดค้านที่ขอให้ศาลสั่งถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. คือ กรณีผู้ร้องได้ขายที่ดินทรัพย์มรดกของ น. และเก็บเงินไว้แต่เพียงผู้เดียวทำให้ ม. และผู้คัดค้านได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นเหตุที่มีอยู่ก่อนที่ผู้คัดค้านจะสืบสิทธิของ ม. ที่จะรับมรดกของ น. ทั้งยังเป็นเหตุเดียวกันกับที่ ม. เคยยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. ด้วย ซึ่งในคดีนั้นเมื่อ ม. ถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านได้ขอเข้ารับมรดกความแทนที่ ม. แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการเฉพาะตัวของ ม. ผู้คัดค้านไม่สามารถเข้าเป็นคู่ความแทนที่ได้ จึงไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ม. ซึ่งคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าววินิจฉัยว่าการขอถอดถอนผู้จัดการมรดกเป็นเรื่องเฉพาะตัวของ ม. ไม่ตกทอดไปยังทายาทของ ม. ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านอ้างเหตุเดียวกันซึ่งเกิดขึ้นมาตั้งแต่ผู้คัดค้านยังไม่ได้สืบสิทธิของ ม. ในการรับมรดกของ น. และเหตุตามคำร้องขอดังกล่าวก็มิได้เป็นเรื่องที่โต้แย้งสิทธิของผู้คัดค้านมาเพื่อให้ศาลพิจารณาว่าเป็นเหตุให้ถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. หรือไม่ ซ้ำอีก ซึ่งศาลต้องวินิจฉัยก่อนว่า เหตุตามคำร้องขอเป็นสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของ ม. ที่จะตกทอดไปยังผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทของ ม. ให้มีอำนาจยกขึ้นอ้างเพื่อถอดถอนผู้จัดการมรดกได้หรือไม่ อันเป็นการวินิจฉัยในข้อที่ศาลได้เคยวินิจฉัยไว้แล้วในคดีที่ ม. ยื่นคำร้องขอให้ศาลถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. นั่นเอง ดังนั้นที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอในคดีนี้ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3560/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนการพิจารณาซ้ำ และสิทธิในการถอดถอนผู้จัดการมรดกที่ตกทอดไปยังทายาท
ผู้คัดค้านและ น. เป็นบุตรของ ม. และผู้ร้อง ม. เคยยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. เนื่องจากผู้ร้องขายที่ดินทรัพย์มรดกของ น. และเก็บเงินไว้แต่เพียงผู้เดียวทำให้ ม. และผู้คัดค้านเสียหาย ต่อมา ม. ถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านได้ขอเข้ารับมรดกความแทนที่ ม. แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการเฉพาะตัวของ ม. ผู้คัดค้านไม่สามารถเข้าเป็นคู่ความแทนที่ได้ จึงไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ม.ดังนั้น เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องอ้างเหตุเดียวกันซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ผู้คัดค้านยังไม่ได้สืบสิทธิของ ม. ในการรับมรดกของ น.และเหตุตามคำร้องมิได้เป็นเรื่องที่โต้แย้งสิทธิของผู้คัดค้านมาเพื่อให้ศาลพิจารณาว่าเป็นเหตุให้ถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. หรือไม่ ซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยก่อนว่า เหตุตามคำร้องเป็นสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆ ของ ม. ที่จะตกทอดไปยังผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทของ ม. ให้มีอำนาจยกขึ้นอ้างเพื่อถอดถอนผู้จัดการมรดกได้หรือไม่ อันเป็นการวินิจฉัยในข้อที่ศาลได้เคยวินิจฉัยไว้แล้วในคดีที่ ม. ยื่นคำร้องคัดค้านขอให้ศาลถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. นั่นเอง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3492/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีสิทธิคำนวณภาษีซื้อย้อนหลังได้หรือไม่ ฎีกาวินิจฉัยว่าไม่มีสิทธิ
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีมูลค่าของฐานภาษีเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ความเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนของโจทก์ย่อมมีผลนับแต่วันที่ระบุไว้ในทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงไม่มีสิทธินำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นก่อนที่โจทก์จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาคำนวณในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อจำเลยโดยตรง แม้ทนายไม่ได้รับแจ้งนัด ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิ
ป.วิ.อ. มาตรา 182 วรรคสองและวรรคสาม กำหนดให้ศาลอ่านคำพิพากษาในศาลต่อหน้าคู่ความโดยเปิดเผย เมื่ออ่านแล้วให้คู่ความลงลายมือชื่อไว้ และมาตรา 2 (15) ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "คู่ความ" ไว้ว่า หมายความถึงโจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมาตรา 2 (3) "จำเลย" หมายความถึงบุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด ดังนั้น ทนายจำเลยจึงมิได้เป็นจำเลยหรือเป็นคู่ความตาม ป.วิ.อ. เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้จำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีฟังและให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้แล้ว โดยจำเลยเคยยื่นคำร้องขอคัดสำเนาเอกสารในสำนวนเพื่อยื่นอุทธรณ์และขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ด้วยตนเอง และจำเลยพูดและฟังภาษาไทยได้บ้าง แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยเข้าใจผลแห่งคำพิพากษาโดยไม่ต้องมีล่าม จึงเป็นการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการอ่านคำพิพากษาโดยชอบแล้ว ส่วนการที่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้ทนายจำเลยทราบ จะเป็นการจำกัดสิทธิของจำเลยที่จะได้รับการปรึกษากับทนายจำเลยในการยื่นฎีกาหรือไม่อย่างไร ก็ไม่เป็นเหตุให้การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่ชอบด้วยกฎหมายกลับกลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3137/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีจำกัดเฉพาะคู่ความหรือผู้ร้องสอด กรณีผู้รับประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีสิทธิบังคับคดี
ป.วิ.พ. มาตรา 271 ผู้มีอำนาจขอให้บังคับคดีได้คือคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจเป็นโจทก์หรือจำเลยในคดีนั้น หรืออาจเป็นบุคคลภายนอกซึ่งร้องสอดเข้ามาในคดี แต่ผู้ร้องมิได้เป็นโจทก์ จำเลย หรือเป็นผู้ร้องสอดในคดีนี้ ผู้ร้องมีฐานะเป็นแต่เพียงผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น ผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ไม่มีสิทธิบังคับคดีในคดีนี้ได้ เมื่อคู่ความไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้ผู้ร้องต้องเสียหายอย่างไร ผู้ร้องก็ชอบที่จะต้องไปดำเนินคดีฟ้องร้องกันเป็นคดีต่างหาก จะใช้สิทธิขอบังคับในคดีนี้ไม่ได้เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3137/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีของผู้รับประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความ: ผู้รับประโยชน์ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นและยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตโดยไม่รอว่าคู่ความฝ่ายอื่นจะยื่นอุทธรณ์และคัดค้านคำร้องดังกล่าวภายในกำหนดเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง หรือไม่ แต่เมื่อปรากฏว่าคู่ความฝ่ายอื่นได้รับสำเนาคำร้องและสำเนาอุทธรณ์แล้วก็ไม่มีผู้ใดยื่นคัดค้านคำร้อง การจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นปฏิบัติตามขั้นตอนให้ถูกต้อง กล่าวคือรอให้ล่วงพ้นเวลาที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว จึงมีคำสั่งอนุญาต ผลก็เป็นเช่นเดียวกัน ศาลฎีกาไม่ย้อนสำนวนและวินิจฉัยคดีไปเสียทีเดียว
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ผู้มีอำนาจขอให้บังคับคดีได้คือคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวอาจเป็นโจทก์หรือจำเลยในคดีนั้น หรือเป็นบุคคลภายนอกซึ่งร้องสอดเข้ามาในคดีนั้นก็ได้ แต่ผู้ร้องมิได้เป็นโจทก์ เป็นจำเลยหรือเป็นผู้ร้องสอด ผู้ร้องมีฐานะเป็นแต่เพียงผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมเท่านั้น จึงมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ไม่มีสิทธิบังคับคดีได้
of 424