คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิขอคืน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร การพิจารณาตามประมวลกฎหมายอาญา และสิทธิขอคืนของกลาง
ศาลลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13)พ.ศ.2499 มาตรา 4(คือมาตรา 27 ทวิ).ฐานพาเอาของที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นของนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษี ด้วยการพาจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งนั้น. เป็นความผิดขึ้นใหม่อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละอย่างกันความผิดฐานนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2467 มาตรา 27. ซึ่งมีบัญญัติให้ลงโทษไว้แต่เดิม และมีมาตรา 32 เป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางในความผิดฐานนั้น. ฉะนั้น มาตรา 32 ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร.โดยไม่เสียภาษี.จึงมิใช่เป็นบทริบทรัพย์ในความผิดตามมาตรา27 ทวิ. เพราะเป็นความผิดคนละอย่าง การริบทรัพย์ตามมาตรา 27 ทวิ. มิได้มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร.จึงอยู่ในบังคับแห่งหลักว่าด้วยการริบทรัพย์ทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 เมื่อการริบทรัพย์ในกรณีแห่งความผิดของจำเลยเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 แล้ว. การขอคืนทรัพย์ของกลางในคดีนี้ผู้ร้องก็ย่อมร้องขอคืนได้ภายใน 1 ปีนับแต่วันคดีถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ด้วย.
คดีเดิมศาลพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 32 และคดีถึงที่สุดไปแล้ว. คำพิพากษาในคดีซึ่งมีอยู่แล้วแต่เดิมนั้นไม่ผูกพันผู้ร้อง. ซึ่งร้องขอคืนของกลางเพราะเป็นคนภายนอก ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15-16 และ 17/2512).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์จากความผิดป่าไม้: สิทธิขอคืนของผู้ไม่รู้เห็นการกระทำผิด
ศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีไม้แปรรูปไม่รับอนุญาตและริบรถยนต์ของกลาง ที่ใช้บรรทุกไม้นั้น ผู้ร้องยื่นคำร้องว่ารถยนต์ของกลางเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องมิได้มีส่วนรู้เห็นในการกระทำผิดของจำเลย ขอให้ศาลสั่งคืน โจทก์แถลงรับว่าเป็นความจริงแต่จะมาขอคืนไม่ได้
ข้อความตามพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503มาตรา 18 บัญญัติเฉพาะเรื่องริบทรัพย์และมิได้มีข้อความอย่างไรเป็นพิเศษว่าการริบนั้นไม่ต้องคำนึงว่าเป็นของบุคคลใด และเจ้าของจะได้รู้เห็นในการกระทำผิดนั้นหรือไม่ ผู้ร้องจึงขอคืนรถยนต์ของกลางได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนไม้ของกลาง: เจ้าของไม้มีสิทธิแม้ศาลตัดสินแล้วว่าไม้เป็นไม้หวงห้าม หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นไม้ในสวนของตน
ถึงแม้ศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้วว่าไม่ของกลางเป็นไม้หวงห้าม จำเลยมีไว้เป็นความผิดและให้ริบไม้ของกลางแล้วก็ดี เจ้าของไม่ยอมใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ขอคืนไม้ของกลางโดยอ้างว่าไม่ใช่เป็นไม้หวงห้าม เพราะขึ้นอยู่ในสวนของตนได้ เพราะเจ้าของไม้ไม่มีโอกาสต่อสู้คดีกับโจทก์ คำพิพากษานั้นไม่มีผลผูกพันเจ้าของไม้
เมื่อผู้ร้องร้องขอคืนไม้ของกลางในกรณีเช่นนี้ ถึงแม้ศาลแขวงสั่งยกคำร้องก็ดี ผู้ร้องมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ไม่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 22 ที่ห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2504

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนไม้ของกลาง: เจ้าของไม้มีสิทธิแม้ศาลตัดสินถึงที่สุดแล้วว่าไม้เป็นไม้หวงห้าม หากพิสูจน์ได้ว่าไม้ไม่ได้มีลักษณะเป็นไม้หวงห้าม
ถึงแม้ศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้วว่าไม้ของกลางเป็นไม้หวงห้าม จำเลยมีไว้เป็นความผิดและให้ริบไม้ของกลางแล้วก็ดีเจ้าของไม้ย่อมใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ขอคืนไม้ของกลางโดยอ้างว่าไม่ใช่เป็นไม้หวงห้ามเพราะขึ้นอยู่ในที่สวนของตนได้เพราะเจ้าของไม้ไม่มีโอกาสต่อสู้คดีกับโจทก์ คำพิพากษานั้นไม่มีผลผูกพันเจ้าของไม้
เมื่อผู้ร้องร้องขอคืนไม้ของกลางในกรณีเช่นนี้ถึงแม้ศาลแขวงสั่งยกคำร้องก็ดี ผู้ร้องมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 22 ที่ห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984-990/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนที่ดินเวนคืนเมื่อพ้น 5 ปี แม้ยังไม่ได้ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ
การตั้งอนุญาโตตุลาการ กำหนดค่าทำขวัญตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น ก็เพื่อให้ระงับข้อพิพาท เมื่อไม่ได้มีการตกลงหรือชี้ขาดระงับข้อพิพาทแล้ว ก็เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการให้เสร็จใน 5 ปีตามความในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯเมื่อพ้น 5 ปีแล้วถ้ามิได้เข้าทำประโยชน์ในที่ เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนย่อมมีสิทธิขอที่ดินนั้นคืน ตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477 ได้ ไม่จำต้องรอให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนที่ดินเวนคืน หากไม่ตกลงค่าทำขวัญภายใน 5 ปี และที่ดินไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์
ที่ดินที่ถูกเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ นั้นเมื่อไม่มีการตกลงเรื่องค่าทำขวัญภายใน 5 ปี โดยมิใช่ความผิดของเจ้าของที่ดิน และทางฝ่ายรัฐบาลก็ยังไม่ได้เคยใช้ หรือกำลังใช้ที่ดินนั้นตามความประสงค์ในการเวนคืนนั้นแล้ว เจ้าของที่ดินนั้นย่อยมีสิทธิได้รับคืนที่ดินนั้น
ที่ดินถูกเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอหังหาริมทรัพย์ ฯลฯ หลายเจ้าของด้วยกัน ถ้าที่ดินของใครมิได้ถูกใช้หรือถูกใช้แต่บางส่วน ก็ยังของคืนส่วนที่เหลือได้
การฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลยนั้นโจทก์เพียงแต่ระบุชื่อนิติบุคคลเป็นจำเลย ไม่ระบุชื่อบุคคลผู้แทนนิติบุคคลมาด้วย ก็ย่อมใช้ได้ เพราะนิติบุคคลย่อมมีผู้ดำเนินการอยู่ในตัวตามกฏหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนที่ดินเวนคืน หากไม่ถูกใช้ประโยชน์ภายใน 5 ปี และการฟ้องนิติบุคคล
ที่ดินที่ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯนั้น เมื่อไม่มีการตกลงเรื่องค่าทำขวัญภายใน 5 ปีโดยมิใช่ความผิดของเจ้าของที่ดิน และทางฝ่ายรัฐบาลก็ยังไม่ได้เคยใช้ หรือกำลังใช้ที่ดินนั้นตามความประสงค์ในการเวนคืนนั้นแล้ว เจ้าของที่ดินนั้นย่อมมีสิทธิได้รับคืนที่ดินนั้น
ที่ดินถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ หลายเจ้าของด้วยกัน ถ้าที่ดินของใครมิได้ถูกใช้หรือถูกใช้แต่บางส่วน ก็ยังขอคืนส่วนที่เหลือได้
การฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลยนั้นโจทก์เพียงแต่ระบุชื่อนิติบุคคลเป็นจำเลย ไม่ระบุชื่อบุคคลผู้แทนนิติบุคคลมาด้วย ก็ย่อมใช้ได้ เพราะนิติบุคคลย่อมมีผู้ดำเนินการอยู่ในตัวตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินเพื่อขยายท่าเรือ หากไม่ได้ใช้ตามวัตถุประสงค์ เจ้าของที่ดินมีสิทธิขอคืนได้
เมื่อได้มี พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อขยายเขตท่าเรือกรุงเทพ ฯ 2486 เวนคืนที่ดินของราษฎรไปเป็นเวลาเกิน 5 ปีแล้วโดยกระทรวงเจ้าหน้าที่ผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.มิได้จัดการใช้ที่ดินนั้นเลยหรือมิได้จัดการใช้ตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนนั้น เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนนั้นมีอำนาจขอที่ดินที่ถูกเวนคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12131/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเกษียณอายุเร็วตามโครงการของบริษัท และสิทธิขอคืนภาษีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้น
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามประกาศเรื่อง โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดประจำปี 2550 ที่ให้พนักงานออกจากงานก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ โดยความสมัครใจร่วมกันคือข้อกำหนดส่วนหนึ่งในหลักเกณฑ์การเกษียณอายุงาน โดยเพิ่มเติมจากข้อบังคับธนาคารเพื่อการเกษตรฯ ฉบับที่ 4 ที่กำหนดให้เกษียณเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เป็นให้เกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ หรือเกษียณอายุงานก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ การที่โจทก์ใช้สิทธิตามประกาศนี้แม้จะเป็นเวลาที่ยังไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการเกษียณอายุโดยการออกจากงานเมื่อสิ้นกำหนดเวลาการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว
เงินได้ที่โจทก์ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประจำปีภาษี 2550 ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ โจทก์จึงเป็นผู้ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ซึ่งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 63 เดิม ที่ใช้บังคับในขณะพิพากษาคดีนี้ มีเจตนารมณ์ที่จะใช้บังคับแก่บุคคลผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย เป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียเท่านั้น มิได้บัญญัติขยายรวมไปถึงบุคคลผู้ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี แต่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังเช่นโจทก์ในคดีนี้ ซึ่งต่อมาภายหลังจึงได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 63 ดังกล่าว โดยมาตรา 63 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ บัญญัติให้บุคคลผู้ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในปีภาษีแต่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินคืนแต่ต้องยื่นคำร้องขอคืนภายในกำหนด กรณีของโจทก์จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับ ป.รัษฎากร มาตรา 63 เดิม เมื่อกรณีของโจทก์ไม่มีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์จึงมีความชอบธรรมที่จะใช้สิทธิขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามมาตรา 27 ตรี ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้กับกรณีทั่วไป จึงต้องคืนภาษีให้กับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5990/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนทรัพย์สินจากการเช่าซื้อ: การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและการรู้เห็นเป็นใจ
ตามสัญญาเช่าซื้อ ระบุว่า หากผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ 3 งวด ติดต่อกัน ให้เจ้าของมีสิทธิจะเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ทันที และยึดรถจักรยานยนต์กลับคืนมาได้ ในระหว่างสัญญาเช่าซื้อจำเลยที่ 4 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อรวม 6 งวด ติดต่อกัน ผู้ร้องไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อหรือติดตามยึดรถจักรยานยนต์ของกลางคืนจากจำเลยที่ 4 ผู้ร้องยอมรับชำระค่าเช่าซื้อจากจำเลยที่ 4 ต่อไปอีกรวม 3 งวด จากนั้นมาจำเลยที่ 4 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตลอดมาโดยไม่มีการบอกเลิกสัญญาจากผู้ร้อง เป็นเวลาเกือบ 2 ปี ผู้ร้องจึงมอบหมายให้พนักงานของผู้ร้องไปติดตามยึดรถจักรยานยนต์ของกลางคืน ก่อนหน้าวันที่ศาลมีคำสั่งริบ ผู้ร้องยังไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและยังไม่ได้ติดตามยึดรถจักรยานยนต์ของกลางคืนจากจำเลยที่ 4 ผู้ร้องยังเปิดทางให้จำเลยที่ 4 หรือผู้ค้ำประกันชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องได้และผู้ร้องจะดำเนินการให้จำเลยที่ 4 เป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางต่อไป ผู้ร้องจึงมีเจตนาเพียงต้องการที่จะได้รับเงินค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น ส่อแสดงว่าการร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางของผู้ร้องเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 4 ผู้เช่าซื้อ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เข้าลักษณะผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 4 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถจักรยายนต์ของกลาง
of 5