พบผลลัพธ์ทั้งหมด 103 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2468/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการครอบครองที่ดินหลังขายทอดตลาด: กรณีจำเลยปลูกอ้อยก่อนการขายทอดตลาด และการที่การบังคับคดีทำให้ฎีกาไม่เป็นประโยชน์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนต้นอ้อยออกไปจากที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากการขายทอดตลาดของศาล จำเลยให้การว่า จำเลยปลูกอ้อยโดยสุจริตจึงมีสิทธิตัดต้นอ้อยได้อีก 2 ปี โจทก์ไม่มีสิทธิให้จำเลยรื้อถอนโดยพลัน คงมีสิทธิได้เพียงค่าเช่า หรือค่าเสียหายเท่านั้น ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนต้นอ้อยออกจากที่ดินดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้จัดการให้โจทก์เข้าครอบครองที่ดินแล้วตามบันทึกการมอบการครอบครองที่ดินโดยบันทึกดังกล่าวปรากฏข้อความด้วยว่าที่ดินอยู่ในสภาพว่างเปล่า มีตออ้อยถูกเผาตายอยู่เพียงเล็กน้อยกับมีพงหญ้าขึ้นสูงเต็มไปหมด ดังนี้ ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดของศาลจะเข้าครอบครองที่ดินได้ต่อเมื่อได้ใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1310 วรรคแรก และมาตรา 1314 จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งยังดำเนินได้แม้ฟ้องเดิมถูกจำหน่ายคดี: สิทธิจำเลยในการเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์
ศาลสั่งรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณา แม้ต่อมาโจทก์จะทิ้งฟ้องและศาลได้สั่งจำหน่ายคดีอันทำให้ไม่มีฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปก็ตาม แต่ก็ยังมีตัวโจทก์ที่ยังคงเป็นจำเลยขอฟ้องแย้งอยู่ จึงมีคู่ความครบถ้วนทั้งสองฝ่ายที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5248/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการบังคับคดีและการโต้แย้งสิทธิ: ต้องยื่นคำร้องก่อนการบังคับคดีเสร็จสิ้น และสิทธิซื้อขายเป็นสิทธิของจำเลย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีได้กระทำการละเมิดโจทก์โดยดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องการบังคับคดีและมีคำขอในลักษณะที่จะให้มีการเพิกถอนการบังคับคดี โดยไม่ได้เรียกค่าเสียหายเอาจากจำเลยที่ 1กรณีเช่นนี้โจทก์จะต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง โดยยื่นคำร้องต่อศาลก่อนการบังคับคดีเสร็จสิ้นลงโจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีเป็นคดีใหม่ไม่ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 โจทก์กล่าวในฟ้องว่า โจทก์เพียงขอซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ไม่ยอมขายคืนให้ การที่จำเลยที่ 2จะขายคืนให้โจทก์หรือไม่เป็นสิทธิของจำเลยที่ 2 โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามคำขอท้ายฟ้องได้ที่โจทก์ขอซื้อจึงเป็นเพียงการแสดงเจตนาต่อจำเลยที่ 2 เท่านั้น จำเลยที่ 2จะสนองรับเจตนาของโจทก์หรือไม่จึงอยู่ที่ความพอใจของจำเลยที่ 2เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่สนองรับเจตนาของโจทก์จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 366/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในคดีอัตราโทษประหารชีวิต: ศาลต้องตั้งทนายให้ แม้จำเลยไม่ร้องขอ
คดีซึ่งมีอัตราโทษประหารชีวิต ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 ที่แก้ไขใหม่ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ก่อนเริ่มพิจารณา ให้ศาลถาม จำเลยว่ามีทนายหรือไม่ ถ้า ไม่มีก็ให้ศาลตั้งทนายให้ เป็นคนละกรณีกับวรรคสองของบทมาตราดังกล่าวที่ศาลต้องสอบถามว่าจำเลยต้องการทนายหรือไม่ดังนั้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคหนึ่งที่แก้ไขใหม่ เมื่อจำเลยไม่มีทนายศาลก็ต้องตั้งทนายให้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยต้องการทนายหรือไม่ เมื่อไม่มีการตั้งทนายให้จำเลย การพิจารณาจึงเป็นการไม่ชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งดบังคับคดีลูกหนี้ร่วม: พิจารณาทรัพย์สินจำนองร่วม และสิทธิจำเลยที่ 1 ที่มีคำสั่งงดบังคับคดีแล้ว
จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นคดีใหม่ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มิได้ฟ้องโจทก์เป็นคดีใหม่ด้วย จึงมิใช่กรณีที่จะงดการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 แต่การบังคับคดีเพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาสำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จะต้องบังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่จำนองก่อน หากไม่พอชำระหนี้จึงจะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เมื่อยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าราคาทรัพย์สินจำนองพอชำระหนี้หรือไม่ และทรัพย์สินที่จำนองส่วนมากเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จำนองร่วมกับจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจแบ่งแยกบังคับทรัพย์สินที่จำนองร่วมกันโดยไม่กระทบต่อสิทธิของจำเลยที่ 1 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้วตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 กรณีเป็นเรื่องจำเป็นและสมควรที่จะให้งดการบังคับคดีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ไว้ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5103/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการนำสืบพยานเมื่อถูกกล่าวหาว่าเอกสารปลอม และอำนาจศาลในการวินิจฉัยข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำปลอมหนังสือมอบอำนาจว่าผู้ตายให้จำเลยโอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้จำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่าหนังสือมอบอำนาจของผู้ตายเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ถูกต้องแท้จริงอันมีเหตุอยู่ในตัวแล้วว่า หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่ใช่เอกสารปลอมและได้ให้การไว้ในตอนต้นถึงเหตุที่ผู้ตายโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ จำเลยเพราะเดิมผู้ตายถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนบิดาและจำเลยคำให้การของจำเลยได้อ้างเหตุแห่งการ ปฏิเสธไว้แล้ว จำเลยจึงมีสิทธินำพยานเข้าสืบว่า หนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องเป็นเอกสารที่แท้จริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน: เมื่อข้อเท็จจริงใหม่ปรากฏหลังการชี้สองสถาน จำเลยมีสิทธิแก้ไขคำให้การได้
เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานในวันที่ 18 มิถุนายน 2527 แล้วจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งว่าจากการตรวจสภาพอาคารพิพาทเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2527 ปรากฏว่าคานคอนกรีตรองรับชั้นดาดฟ้าแตกร้าวรวม 18 แห่ง ซึ่งจำเลยทั้งสองได้แจ้งให้โจทก์ทราบในวันเดียวกัน โจทก์ไม่ยอมรับผิดในงานที่ชำรุดบกพร่องดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงจ้างให้บุคคลภายนอกซ่อมแซมสิ้นค่าใช้จ่ายไปเป็นเงิน 81,800 บาท จำนวนค่าเสียหายที่โจทก์ต้องรับผิดจึงเพิ่มขึ้นเป็นเงิน 258,490 บาท ข้อความที่จำเลยทั้งสองขอแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองเพิ่งทราบภายหลังจากการชี้สองสถานแล้ว ฉะนั้น จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งหลังจากชี้สองสถานแล้วได้เพราะเป็นข้อที่จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถานตามมาตรา 180(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2337/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานและการแก้ไขคำให้การ: ศาลพิพากษาได้แม้จำเลยไม่ขอแก้ไขคำให้การก่อนฟังคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนการชี้สองสถานกับวันนัดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษา ดังนี้ จำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้ก่อนศาลพิพากษา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4084/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ: การเบิกความตนเอง & การสืบพยานเพิ่มเติม
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การมาศาล ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าจำเลยไม่ได้แถลงข้อความอะไร เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ จำเลยมีสิทธิอ้างตนเองเบิกความเป็นพยาน แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยหาจำต้องยื่นบัญชีระบุพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 แต่อย่างใดไม่ เพราะเป็นการสืบพยานตามที่กฎหมายบัญญัติอนุญาตให้จำเลย ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การมาศาลและศาลไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ สาบานตนให้การเป็นพยานเองได้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบเฉพาะที่จำเลยอ้างตนเองเบิกความเป็นพยาน จึงเป็นคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบไม่ได้ปฏิบัติ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีและการพิจารณาพยานหลักฐานแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาข้อนี้ขึ้นมาก็ตาม ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำสั่งและ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบนั้นเสียได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบด้วย มาตรา247 ในวันนัดฟังคำพิพากษา จำเลยยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การอ้างว่าจำเลยเพิ่งทราบเรื่องมีการส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องเมื่อศาลมีหมายแจ้งนัดสืบพยานโจทก์ไปให้ทราบการขอยื่นคำให้การของจำเลย จึงเป็นการร้องขอเมื่อเสร็จการพิจารณาแล้วก่อนมีคำพิพากษา กรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่จำเลยอ้างต่อศาลว่าไม่ได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ เมื่อเริ่มต้นสืบพยานหรือแจ้งให้ศาลทราบก่อนเริ่มสืบพยานดังที่ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 ที่ศาลอุทธรณ์จะสั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งในเรื่องดังกล่าวจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3306/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ชายตลิ่งสาธารณสมบัติ: จำเลยมีสิทธิก่อนโจทก์ แม้โรงร้านกีดขวางที่ดินโจทก์บ้าง
โรงร้านที่จำเลยปลูกอยุ่ในที่ชายตลิ่งอันเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหน้าที่ดินโจทก์ มิได้เกี่ยวกับที่ดินโจทก์ และจำเลยได้ปลูกโรงร้านพิพาทในที่ชายตลิ่งมาก่อนโจทก์ จำเลยย่อมมีสิทธิในที่ชายตลิ่งดีกว่าโจทก์ นอกจากนี้โจทก์ยังสามารถเข้าออกที่ดินโจทก์ ได้สะดวก เพราะยังมีที่ว่างที่เหลือคือที่จำเลยที่ 4 ได้รื้อไปแล้วและ
ที่ถูกพายุพัดพังไป ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ตามพฤติการณ์ที่ได้เปลี่ยนแปลงไปยังไม่เป็นเหตุเพียงพอที่จะบังคับให้จำเลยรื้อถอน โรงร้านพิพาท
ที่ถูกพายุพัดพังไป ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ตามพฤติการณ์ที่ได้เปลี่ยนแปลงไปยังไม่เป็นเหตุเพียงพอที่จะบังคับให้จำเลยรื้อถอน โรงร้านพิพาท