พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4736/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่รายงานเท็จและกระทำการทุจริต สิทธิในการเรียกร้องค่าชดเชยและสิทธิประโยชน์หลังเกษียณ
โจทก์รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจบริหารสูงสุดของจำเลยในเรื่องที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบและโจทก์ก็มิได้ทำงานกับจำเลยจนเกษียณอายุโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องสิทธิประโยชน์ในเรื่องบัตรโดยสารเครื่องบิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่านายหน้าเป็นค่าจ้าง: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้รวมค่านายหน้ากับเงินเดือนเพื่อคำนวณค่าชดเชยและสิทธิประโยชน์อื่น ๆ
ค่านายหน้าที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างโจทก์จ่ายให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนนั้น แม้ว่าจะเป็นการจูงใจให้ขายสินค้าได้มากขึ้นแต่ขณะเดียวกันก็คือเงินที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานตามผลงานที่โจทก์ทำได้โดยตรงนั่นเอง ส่วนที่จำเลยได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายอย่างไร รวมทั้งจะมีการเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นก็ไม่ใช่ข้อสำคัญ เมื่อวิธีการจ่ายค่านายหน้าอาจปรับได้กับความหมายของคำว่า"ค่าจ้าง"ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 จึงถือว่าค่านายหน้าเป็นค่าจ้างที่จะต้องนำมารวมกับเงินเดือนครั้งสุดท้ายของโจทก์เพื่อเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2578/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การนับอายุงานต่อเนื่อง และสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างหลังกลับเข้าทำงาน
เดิมโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ โจทก์นำคดีไปสู่ศาลแรงงาน ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้างคำขออื่นให้ยก คำพิพากษาของศาลแรงงานดังกล่าวแม้มิได้กำหนดให้นับอายุงานต่อเนื่องไว้แต่ตามผลและรูปคดีที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานดังกล่าว ย่อมแสดงว่าเป็นการสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปในฐานะเดิมก่อนการเลิกจ้าง การนับอายุงานจึงต้องนับต่อเนื่องจากอายุงานเดิม มิใช่เริ่มนับอายุงานใหม่หลังจากที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน เมื่อจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้ว ต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์อีกครั้งด้วยเหตุละทิ้งหน้าที่ตามรายงานลับของพนักงานของจำเลยคนหนึ่ง ซึ่งกล่าวว่าโจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานแต่ปรากฏว่าเวลาส่วนใหญ่ที่โจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานนั้นเป็นระหว่างเวลา 11 นาฬิกาเศษ และ 13 นาฬิกา และตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุว่า "ให้พนักงานหยุดพักได้วันละ1 ชั่วโมง ระหว่างเวลา 11.30-13.30 น." การที่โจทก์ไม่อยู่ปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงานจึงเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เมื่อพิจารณาประกอบกับวินัยพนักงานที่เกี่ยวกับการละทิ้งหน้าที่ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่งระบุว่า "พนักงานต้องไม่ละทิ้งหน้าที่ของตน หรือขาดงานหรือไม่ปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 วัน ทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร" แล้ว โจทก์มิได้กระทำผิดวินัยพนักงานตามข้อดังกล่าว จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุเพียงเท่าที่ปรากฏในรายงานลับจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ไม่อยู่ที่โต๊ะทำงานย่อมถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งการงานไปเสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า คดีเดิมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2533โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอบังคับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหากศาลเห็นว่าโจทก์ไม่อาจทำงานร่วมกับจำเลยได้ขอให้ศาลกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายและเงินต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเลิกจ้างรวมทั้งเงินสะสมจำนวน 68,312.24 บาท ด้วย ศาลแรงงานวินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวกับข้อหาการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม และพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง โดยมิได้วินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวกับเงินสะสมแต่อย่างใด โจทก์มาฟ้องคดีใหม่ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2534 โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายและจ่ายเงินต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเลิกจ้างรวมทั้งเงินสะสมจำนวน 125,274.33 บาท ด้วยคำฟ้องในส่วนของเงินสะสมคดีหลังจึงอาศัยเหตุเลิกจ้างคนละคราวกับคดีก่อน และยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดที่ศาลได้วินิจฉัยไว้โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกและสิทธิประโยชน์: การคำนวณค่าชดเชยตามอายุและข้อบังคับธนาคาร
โจทก์มีอายุ 50 ปี ยื่นหนังสือลาออกจากงานต่อจำเลย มีข้อความว่า "ข้าพเจ้า (โจทก์) มีความประสงค์ขอลาออกจากงานเพื่อขอรับเงินชดเชยและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่ข้าพเจ้า เต็มตามสิทธิของพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานธนาคารมาด้วยดีจนอายุครบ 55 ปี" คำว่า "สิทธิของพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานมาจนอายุครบ 55 ปี"นั้น เมื่อตามคำสั่งของจำเลยที่ 6/2525 เรื่อง กำหนดระยะเวลาจ้าง ตลอดจนกำหนดการจ่ายค่าชดเชยและเงินทดแทน ข้อ 9 มีข้อความว่าพนักงานชายอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป และพนักงานหญิงอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป หากกรรมการผู้จัดการใหญ่พิจารณาเห็นว่าสมควรอนุมัติให้ในกรณีพิเศษให้ลาออกเพื่อรับค่าชดเชยก็อาจทำได้ แต่ทั้งนี้ให้คำนวณค่าชดเชยตามข้อ 13.2 และตามข้อ 13.2 การจ่ายค่าชดเชย ให้คำนวณจ่ายให้เท่ากับเงินเดือนสุดท้าย คูณด้วยปีที่ทำงาน ดังนั้น พนักงานชายที่อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปเท่านั้นที่มีสิทธิพิเศษได้รับค่าชดเชยตามข้อ 9 นี้ ส่วนพนักงานชายที่มีอายุยังไม่ครบ 55 ปี แต่ปฏิบัติงานมานานเช่นโจทก์ในคดีนี้เมื่อลาออกจากงานจะได้รับค่าชดเชยตามข้อ 10 คือเท่ากับเงินเดือนสุดท้าย คูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน หารด้วยสอง ทำให้ค่าชดเชยลดลงกึ่งหนึ่งการที่โจทก์ระบุข้อความไว้ในหนังสือลาออกทำนองว่า ขอให้โจทก์ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานมาจนมีอายุ 55 ปีดังกล่าว ก็เพื่อหวังผลให้ตนได้รับประโยชน์จากการคำนวณค่าชดเชย อันเป็นการอิงสิทธิของพนักงานที่มีคุณสมบัติตาม ข้อ 9 เท่านั้นหามีความหมายนอกเหนือไปจากนี้ไม่ ที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกจากงานโดยยินยอมตามเงื่อนไขในหนังสือลาออกของโจทก์ จึงเป็นคุณแก่โจทก์เท่าที่ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจะเอื้อให้
เมื่อข้อความในหนังสือลาออกของโจทก์มีความชัดเจนในตัวและมีความหมายเป็นนัยเดียวไม่อาจแปลความเกินเลยไปถึงว่าจำเลยยังมีหน้าที่ต้องจ่ายสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่โจทก์เรียกร้องข้างต้นโดยคำนวณจนถึงโจทก์มีอายุครบ 55 ปี ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องนอกเหนือจากข้อความที่ระบุไว้ในหนังสือลาออกอีก ดังนั้น ที่จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ โดยคำนวณตามหลักเกณฑ์ในข้อ 9จึงเป็นการชอบแล้ว
เมื่อข้อความในหนังสือลาออกของโจทก์มีความชัดเจนในตัวและมีความหมายเป็นนัยเดียวไม่อาจแปลความเกินเลยไปถึงว่าจำเลยยังมีหน้าที่ต้องจ่ายสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่โจทก์เรียกร้องข้างต้นโดยคำนวณจนถึงโจทก์มีอายุครบ 55 ปี ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องนอกเหนือจากข้อความที่ระบุไว้ในหนังสือลาออกอีก ดังนั้น ที่จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ โดยคำนวณตามหลักเกณฑ์ในข้อ 9จึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพักงานและลงโทษทางวินัยของลูกจ้าง กรณีชักชวนเพื่อนร่วมงานละเลยหน้าที่ จนทำให้องค์กรเสียหาย และสิทธิประโยชน์อื่นของลูกจ้าง
แม้ข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 46 ไม่มีข้อความห้ามพนักงานจัดนำเที่ยวหรือชักชวนพนักงานอื่นไปเที่ยวก็ตาม แต่หมวดว่าด้วยวินัยของพนักงานมีว่า พนักงานต้องตั้งใจปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบคำสั่ง แบบแผน และวิธีปฏิบัติของจำเลยด้วย การที่โจทก์ชักชวนพนักงานที่มีเวรหยุดและวันทำงานตรงกับวันเกิดเหตุไปเที่ยวโจทก์ย่อมเล็งเห็นว่าจะไม่มีพนักงานเพียงพอที่จะนำรถยนต์โดยสารออกแล่นได้ ทำให้จำเลยขาดรายได้ ถือว่าโจทก์ทำผิดวินัย จำเลยสั่งพักงานโจทก์ได้ เงินช่วยเหลือบุตรเป็นสวัสดิการที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานเป็นสิทธิประโยชน์อื่นตามข้อบังคับของจำเลย แม้โจทก์จะถูกพักงานก็มีสิทธิได้รับเงินจำนวนนี้ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้จำเลยรับผิด หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทเศษแต่พิพากษาให้จ่ายเป็นเงินจำนวนหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทเศษเป็นการผิดพลาดในการรวมจำนวนเงิน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งและสิทธิประโยชน์
การคำนวณค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ให้ถือเอาอัตราค่าจ้างสุดท้ายเป็นฐานในการคำนวณ ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 ต้องถือเอาตามจำนวนสินจ้างที่ลูกจ้างควรได้รับการเลิกจ้าง เมื่อโจทก์มิได้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายตั้งแต่วันที่23 กันยายน 2533 ต่อมาวันที่ 9 เมษายน 2534 จึงถูกเลิกจ้างโจทก์จึงไม่มีสิทธินำเงินส่วนแบ่งการขายจำนวนเดือนละ 300,000 บาท มาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้ค้างชำระค่าส่วนแบ่งการขายเพราะโจทก์ไปดำรงตำแหน่งอื่น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ยังมีสิทธิได้เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงไม่ชอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 จำเลยไม่เคยยกเหตุที่โจทก์ยักยอกเงิน 40,000 บาท ของจำเลยในคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ จึงไม่มีเหตุดังกล่าวที่จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีของโจทก์ว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกกิจการของผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีและการประเมินภาษี
แม้คดีนี้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาแต่ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยศาลอาจสืบพยานตามที่เห็นจำเป็นเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์ และจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 205 วรรคแรก ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17ดังนั้น เมื่อศาลภาษีอากรพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จำเลยย่อมอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลภาษีอากรว่าข้ออ้างของโจทก์ทั้งสองไม่มีมูลให้ชนะคดีได้ ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 24 ประกอบมาตรา 29
ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็นประเด็นที่จำเลยจะต้องให้การไว้ คดีนี้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ถูกยกเลิกบัตรส่งเสริมการลงทุน เพราะจำเลยที่ 1เลิกกิจการ มิใช่ถูกคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับตามบัตรส่งเสริมอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดไว้ในบัตรส่งเสริมดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 แห่งพ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2522 ซึ่งจะทำให้ผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องเสียภาษีอากรโดยถือสภาพของของ ราคาและอัตราภาษีที่เป็นอยู่ในวันนำเข้าเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากร ตามมาตรา 55 วรรคแรก
ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน ฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่งได้บัญญัติเรื่องผู้ได้รับการส่งเสริมเลิกกิจการ รวมกิจการกับผู้อื่น หรือโอนกิจการให้แก่ผู้อื่น ให้บัตรส่งเสริมนั้นใช้ได้ต่อไปอีกไม่เกิน 3 เดือน นับแต่วันเลิก รวมหรือโอนกิจการ ส่วนวรรคสองเป็นเรื่องที่ผู้ซึ่งดำเนินกิจการที่ร่วมกันขึ้นใหม่ หรือโอนกิจการ ประสงค์จะขอรับช่วงดำเนินกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริมต่อไป ก็ให้ยื่นคำขอรับการส่งเสริมภายในเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าไม่สมควรให้การส่งเสริม ก็ให้สั่งให้เพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมด ดังนี้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า ตามมาตรา 56 วรรคสองมิได้บัญญัติถึงเรื่องการเลิกกิจการ อันจะถือเท่ากับว่าสิทธิและประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมถูกเพิกถอนแล้วไม่
ปัญหาเรื่องบัตรส่งเสริมถูกยกเลิกเพราะมีการเลิกกิจการสิทธิและประโยชน์ที่ผู้ได้รับการส่งเสริมเคยได้รับโดยเฉพาะเรื่องภาษีอากรนี้จะเรียกเก็บอย่างไร มิได้มีบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน ฯ จึงต้องบังคับตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ก. (ฉบับที่ 45) พ.ศ.2528 มิใช่บังคับตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราภาษีศุลกากร พ.ศ.2530 เพราะจำเลยที่ 1 เลิกกิจการและสำนักงานส่งเสริมการลงทุน ประกาศยกเลิกบัตรส่งเสริมของจำเลยที่ 1 ก่อนที่ พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 จะมีผลใช้บังคับ
ตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 มาตรา 10วรรคหนึ่ง ของนำเข้าใดเคยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากร ถ้าสิทธิที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนสิ้นสุดลง ของนั้นจะต้องเสียอากรโดยถือสภาพของของ ราคาและอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่สิทธิดังกล่าวสิ้นสุดลงเป็นเกณฑ์ในการคำนวณอากรโดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรต้องไปดำเนินการเพื่อชำระอากรตามที่กำหนดไว้ ส่วนในช่วงก่อนที่สิทธิที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรจะสิ้นสุดลง ผู้นั้นก็ได้รับสิทธิและประโยชน์ต่อไป และน่ายังถือว่าเป็นสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับไปแล้ว หากผู้นำของเข้าหมดสิทธิที่จะได้รับสิทธิและประโยชน์ต่อไปมิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้น คือ มิได้ดำเนินการเพื่อชำระอากรดังกล่าว ก็ให้ถือว่าของนั้นได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้เสียอากรถูกต้อง อันอาจถูกพนักงานศุลกากรกักยึดเพื่อประเมินเรียกเก็บภาษีอากร รวมทั้งต้องเสียเงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา เท่านั้น แต่ก็ยังต้องถือว่าเป็นของที่ต้องเสียภาษีอากรโดยทั้งสภาพของของ ราคา และอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่สิทธิได้รับยกเว้นอากรสิ้นสุดลงตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 อยู่ หาได้หมายความว่า เมื่อผู้นำของเข้ามิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้นแล้ว ให้ถือว่าของนั้นได้นำเข้าโดยยังมิได้เสียอากรถูกต้องตามสภาพของของ ราคา และอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่นำเข้าไม่
หลังจากจำเลยได้รับแจ้งประเมินให้เสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยจึงหมดสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล ซึ่งรวมถึงหมดสิทธิที่จะฟ้องหรือยกขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลว่าการประเมินดังกล่าวมิชอบด้วย
ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็นประเด็นที่จำเลยจะต้องให้การไว้ คดีนี้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ถูกยกเลิกบัตรส่งเสริมการลงทุน เพราะจำเลยที่ 1เลิกกิจการ มิใช่ถูกคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับตามบัตรส่งเสริมอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดไว้ในบัตรส่งเสริมดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 แห่งพ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2522 ซึ่งจะทำให้ผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องเสียภาษีอากรโดยถือสภาพของของ ราคาและอัตราภาษีที่เป็นอยู่ในวันนำเข้าเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากร ตามมาตรา 55 วรรคแรก
ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน ฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่งได้บัญญัติเรื่องผู้ได้รับการส่งเสริมเลิกกิจการ รวมกิจการกับผู้อื่น หรือโอนกิจการให้แก่ผู้อื่น ให้บัตรส่งเสริมนั้นใช้ได้ต่อไปอีกไม่เกิน 3 เดือน นับแต่วันเลิก รวมหรือโอนกิจการ ส่วนวรรคสองเป็นเรื่องที่ผู้ซึ่งดำเนินกิจการที่ร่วมกันขึ้นใหม่ หรือโอนกิจการ ประสงค์จะขอรับช่วงดำเนินกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริมต่อไป ก็ให้ยื่นคำขอรับการส่งเสริมภายในเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าไม่สมควรให้การส่งเสริม ก็ให้สั่งให้เพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมด ดังนี้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า ตามมาตรา 56 วรรคสองมิได้บัญญัติถึงเรื่องการเลิกกิจการ อันจะถือเท่ากับว่าสิทธิและประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมถูกเพิกถอนแล้วไม่
ปัญหาเรื่องบัตรส่งเสริมถูกยกเลิกเพราะมีการเลิกกิจการสิทธิและประโยชน์ที่ผู้ได้รับการส่งเสริมเคยได้รับโดยเฉพาะเรื่องภาษีอากรนี้จะเรียกเก็บอย่างไร มิได้มีบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน ฯ จึงต้องบังคับตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ก. (ฉบับที่ 45) พ.ศ.2528 มิใช่บังคับตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราภาษีศุลกากร พ.ศ.2530 เพราะจำเลยที่ 1 เลิกกิจการและสำนักงานส่งเสริมการลงทุน ประกาศยกเลิกบัตรส่งเสริมของจำเลยที่ 1 ก่อนที่ พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 จะมีผลใช้บังคับ
ตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 มาตรา 10วรรคหนึ่ง ของนำเข้าใดเคยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากร ถ้าสิทธิที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนสิ้นสุดลง ของนั้นจะต้องเสียอากรโดยถือสภาพของของ ราคาและอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่สิทธิดังกล่าวสิ้นสุดลงเป็นเกณฑ์ในการคำนวณอากรโดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรต้องไปดำเนินการเพื่อชำระอากรตามที่กำหนดไว้ ส่วนในช่วงก่อนที่สิทธิที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรจะสิ้นสุดลง ผู้นั้นก็ได้รับสิทธิและประโยชน์ต่อไป และน่ายังถือว่าเป็นสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับไปแล้ว หากผู้นำของเข้าหมดสิทธิที่จะได้รับสิทธิและประโยชน์ต่อไปมิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้น คือ มิได้ดำเนินการเพื่อชำระอากรดังกล่าว ก็ให้ถือว่าของนั้นได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้เสียอากรถูกต้อง อันอาจถูกพนักงานศุลกากรกักยึดเพื่อประเมินเรียกเก็บภาษีอากร รวมทั้งต้องเสียเงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา เท่านั้น แต่ก็ยังต้องถือว่าเป็นของที่ต้องเสียภาษีอากรโดยทั้งสภาพของของ ราคา และอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่สิทธิได้รับยกเว้นอากรสิ้นสุดลงตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 อยู่ หาได้หมายความว่า เมื่อผู้นำของเข้ามิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้นแล้ว ให้ถือว่าของนั้นได้นำเข้าโดยยังมิได้เสียอากรถูกต้องตามสภาพของของ ราคา และอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่นำเข้าไม่
หลังจากจำเลยได้รับแจ้งประเมินให้เสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยจึงหมดสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล ซึ่งรวมถึงหมดสิทธิที่จะฟ้องหรือยกขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลว่าการประเมินดังกล่าวมิชอบด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์พนักงานรัฐวิสาหกิจ: การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ และสิทธิลาพักผ่อน
พ.ร.บ. พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 18(2) มีความหมายเพียงว่า ถ้าโจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ก็ให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์นั้นได้ แต่หาได้มีความหมายว่า ถ้าโจทก์ทั้งหกไม่ได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์แล้ว โจทก์ทั้งหกจะนำคดีมาฟ้องศาลไม่ได้
ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตราของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 45 วรรคสอง บัญญัติว่า"การเลิกจ้างตามข้อนี้ หมายความว่า การที่รัฐวิสาหกิจให้ออกจากงาน ปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงานโดยที่พนักงานไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 46 ฯลฯ"ซึ่งไม่มีข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษแก่กรณีที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพาะเหตุขาดคุณสมบัติตาม พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ หรือเพราะเกษียณอายุแต่อย่างใด การที่จำเลยให้โจทก์ทั้งหกออกจากงานเมื่อโจทก์ทั้งหกมีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์หรือเกษียณอายุ จึงต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างตาม ข้อ 45 วรรคสอง ดังกล่าว ส่วนการที่โจทก์ทั้งหกไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้กำหนดล่วงหน้าให้โจทก์ทั้งหกหยุดพักผ่อนประจำปีในวันเวลาใดตามที่กำหนดในระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 8 จึงถือไม่ได้ว่า การที่โจทก์ทั้งหกไม่ใช้สิทธิลาดหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ทั้งหกจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 21
เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฎในคำฟ้องโดยมิได้อ้างเหตุผลความเห็นธรรมแก่คู่ความแต่ประการใด ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไข
ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตราของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 45 วรรคสอง บัญญัติว่า"การเลิกจ้างตามข้อนี้ หมายความว่า การที่รัฐวิสาหกิจให้ออกจากงาน ปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงานโดยที่พนักงานไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 46 ฯลฯ"ซึ่งไม่มีข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษแก่กรณีที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพาะเหตุขาดคุณสมบัติตาม พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ หรือเพราะเกษียณอายุแต่อย่างใด การที่จำเลยให้โจทก์ทั้งหกออกจากงานเมื่อโจทก์ทั้งหกมีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์หรือเกษียณอายุ จึงต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างตาม ข้อ 45 วรรคสอง ดังกล่าว ส่วนการที่โจทก์ทั้งหกไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้กำหนดล่วงหน้าให้โจทก์ทั้งหกหยุดพักผ่อนประจำปีในวันเวลาใดตามที่กำหนดในระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 8 จึงถือไม่ได้ว่า การที่โจทก์ทั้งหกไม่ใช้สิทธิลาดหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ทั้งหกจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 21
เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฎในคำฟ้องโดยมิได้อ้างเหตุผลความเห็นธรรมแก่คู่ความแต่ประการใด ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเกษียณอายุ ถือเป็นการเลิกจ้างตามระเบียบสิทธิประโยชน์ และสิทธิการได้รับค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี
พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2434มาตรา 18(2) มีความหมายเพียงว่า ถ้าโจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นพนักงาน รัฐวิสาหกิจได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ในเรื่อง เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ก็ให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์มีอำนาจพิจารณา คำร้องทุกข์นั้นได้ แต่หาได้มีความหมายว่า ถ้าโจทก์ทั้งหกไม่ได้ ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์แล้วโจทก์ทั้งหกจะนำคดีมาฟ้อง ศาลไม่ได้ ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของ สิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45 วรรคสอง บัญญัติว่า "การเลิกจ้างตามข้อนี้ หมายความว่า การที่รัฐวิสาหกิจให้ ออกจากงาน ปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงานโดยที่พนักงานไม่ได้ กระทำความผิดตามข้อ 46 ฯลฯ" ซึ่งไม่มีข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษแก่กรณี ที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเหตุขาดคุณสมบัติตาม พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯหรือเพราะเกษียณอายุแต่อย่างใด การที่จำเลยให้โจทก์ทั้งหกออกจากงาน เมื่อโจทก์ทั้งหกมีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์หรือเกษียณอายุ จึงต้องถือ ว่าเป็นการเลิกจ้างตาม ข้อ 45 วรรคสอง ดังกล่าว ส่วนการที่โจทก์ ทั้งหกไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้กำหนด ล่วงหน้าให้โจทก์ทั้งหยุดพักผ่อนประจำปีในวันเวลาใดตามที่กำหนดใน ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิ ประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 8 จึงถือไม่ได้ว่า การที่โจทก์ทั้งหกไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นการใช้สิทธิ โดยไม่สุจริต โจทก์ทั้งหกจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุด พักผ่อนประจำปีตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 21 เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องโดยมิได้ อ้างเหตุผลความเห็นธรรมแก่คู่ความแต่ประการใด ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คู่สมรสตามพรบ.ประกันสังคม ต้องเป็นการจดทะเบียนสมรส การอยู่กินฉันสามีภริยาไม่ถือเป็นคู่สมรส
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "คู่สมรส" ว่า มีความหมายอย่างไร จึงต้องแปลความหมายโดยเทียบเคียงกับคำว่า "คู่สมรส" ในกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา 4แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งก็คือบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่ง-และพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว บทบัญญัติดังกล่าวให้ความหมายคู่สมรสว่าหมายถึงชายหญิงที่ทำการสมรสกันและการสมรสจะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น คำว่าคู่สมรสตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 65วรรคแรก จึงหมายถึงสามีภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายด้วย ขณะภริยาโจทก์คลอดบุตร โจทก์และภริยายังมิได้จดทะเบียนสมรสกัน จึงมิใช่คู่สมรสของโจทก์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีภริยาคลอดบุตร