พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5530/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ซื้อตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การคุ้มครองสิทธิเมื่อถูกฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นของโจทก์ จำเลยเช่าที่ดินจากอ. กับพวกเจ้าของที่ดินเดิม ต่อมาโจทก์ประสงค์จะใช้ที่ดินได้บอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินกับจำเลยให้จำเลยรื้อถอนห้องแถวและขนย้ายทรัพย์สินกับบริวาร และใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การว่า ห้องแถวไม่ใช่ของจำเลย จำเลยไม่ได้ละเมิดโจทก์ ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องว่า ห้องแถวเป็นของผู้ร้องสอดและโจทก์ตกลงขายที่ดินให้ผู้ร้องสอดแล้ว โดยตกลงให้ตึกแถวของผู้ร้องสอดตั้งอยู่ในที่เดิมได้ โจทก์มีหน้าที่ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขาย คำฟ้องของโจทก์ที่ขอให้บังกับจำเลยรื้อถอนห้องแถวและขนย้ายทรัพย์สินกับบริวารออกไปจากที่ดินเช่นนี้มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิของผู้ร้องสอด คำร้องของผู้ร้องสอดดังกล่าวเป็นคำร้องเพื่อขอคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องสอดอันเกิดจากข้อพิพาทคดีนี้ผู้ร้องสอดเป็นผู้มีส่วนได้เสียในมูลความแห่งคดีย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอเข้าเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด ซึ่งแม้คำร้องสอดจะกล่าวว่าขอเข้าเป็นคู่ความร่วม แต่เนื้อหาแห่งคำร้องก็เป็นการขอเข้ามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) แล้วศาลย่อมพิจารณาคำร้องสอดตามเนื้อหาที่ปรากฏนั้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5039/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ซื้อตามสัญญาสัญญาประนีประนอมยอมความ vs. การบังคับคดี การคุ้มครองสิทธิผู้ซื้อก่อนเจ้าหนี้
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทภายในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามยอมให้จำเลยซึ่งเป็นคู่ความแทนที่จำเลยในอีกคดีหนึ่ง โอนขายที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์คดีนั้น ทำให้การโอนที่ดินพิพาทไม่อาจกระทำได้ การที่ผู้ร้องไม่ชำระราคาที่ดินพิพาทภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นฝ่ายผิดสัญญา
เมื่อศาลได้พิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยโอนขายที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 โจทก์จะบังคับคดียึดที่ดินพิพาทให้กระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้องอันอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
กรณียื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ถือได้ว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้ไต่สวนคำร้องต่อไปและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แต่สั่งให้ผู้ร้องใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์เกินอัตราขั้นสูงในคดีไม่มีทุนทรัพย์จึงไม่ชอบ
เมื่อศาลได้พิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยโอนขายที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 โจทก์จะบังคับคดียึดที่ดินพิพาทให้กระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้องอันอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
กรณียื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ถือได้ว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้ไต่สวนคำร้องต่อไปและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แต่สั่งให้ผู้ร้องใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์เกินอัตราขั้นสูงในคดีไม่มีทุนทรัพย์จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การซื้อขายที่ดินที่ไม่ชอบ และผลกระทบต่อสิทธิของผู้ซื้อ
เดิม ท. กับจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันถือได้ว่าต่างมีสิทธิครอบครองคนละครึ่ง เมื่อ ท. ตายสิทธิครอบครองในส่วนของ ท.ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ว. ผู้เป็นบุตร แม้ ว. จะมิได้เข้าครอบครองก็ตามก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองแทน ว.ตลอดมาการที่ส.ค.1มีชื่อท.ถือสิทธิครอบครองเพียงผู้เดียว ก็จะถือว่า ท. ตลอดทั้งว. ผู้สืบสิทธิทางมรดกมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่ผู้เดียวหาได้ไม่ เมื่อ ว. มีสิทธิครอบครองเพียงครึ่งหนึ่งแต่ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) สำหรับที่ดินพิพาททั้งแปลงเป็นของ ว. ผู้เดียว จึงไม่ชอบ การจดทะเบียนสิทธิใด ๆ ใน น.ส.3 ก. ที่ทำขึ้นย่อมไม่มีผลในกฎหมายแม้โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทมาจาก ว. โดยจดทะเบียนใน น.ส.3 ก. ก็ตาม ก็ไม่ทำให้ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผู้ครอบครองที่ดินพิพาทนั้นอยู่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1684/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ซื้อที่ดินตามคำพิพากษาเดิมกับการบังคับคดีชั่วคราว: การคุ้มครองสิทธิก่อนมีคำพิพากษา
ผู้ร้องร้องว่าโจทก์และจำเลยในคดีนี้ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องในคดีก่อนให้ผู้ร้องซื้อที่ดินซึ่งพิพาทกันในคดีนี้จากจำเลย จนศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมและผู้ร้องได้ชำระราคาแก่จำเลยแล้ว ดังนี้ หากเป็นความจริงผู้ร้องย่อมมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จำเลยจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 อันจะบังคับคดีในคดีนี้ให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิดังกล่าวของผู้ร้องมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 การที่ศาลชั้นต้นออกคำสั่งอายัดที่ดินพิพาท และมีหมายห้ามโอนไปยังเจ้าพนักงานที่ดินเป็นวิธีการชั่วคราวก่อนคำพิพากษาเพื่อคุ้มครองปกป้องผลประโยชน์ของโจทก์ให้ได้รับผลตามคำพิพากษาโดยสมบูรณตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ซึ่งมาตรา 259 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีมาใช้บังคับแก่วิธีการชั่วคราวโดยอนุโลมฉะนั้นหากได้ความตามคำร้องของผู้ร้อง คำสั่งอายัดและหมายห้ามโอนนั้นก็กระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้อง อาจต้องเพิกถอนเสีย จึงควรรับคำร้องของผู้ร้องไว้ดำเนินการพิจารณาต่อไปศาลล่างมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3332/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดติดจำนอง: สิทธิของผู้ซื้อและภาระการตรวจสอบหนี้จำนอง
เมื่อมีการบังคับคดีขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งติดจำนองไม่มีบทบัญญัติบังคับผู้รับจำนองให้จำต้องแสดงหลักฐานการเป็นหนี้หรือยอดหนี้ของผู้จำนองต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือต่อศาล เมื่อผู้รับจำนองไม่ประสงค์จะใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ซึ่งให้สิทธิแก่ผู้รับจำนองที่จะยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดในกรณีที่จะขอให้เอาเงินจากการขายทอดตลาดชำระ แก่ผู้รับจำนองก่อนหรือจะเอาทรัพย์จำนองหลุด สิทธิของผู้รับจำนองหาได้ระงับไปไม่ เพราะสัญญาจำนองจะระงับสิ้น ไป ก็เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744เท่านั้น จำนองเป็นทรัพย์สิทธิติดไปกับตัวทรัพย์เสมอ แม้ประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีจะระบุว่าไม่มียอดหนี้จำนองก็ หมายความเพียงเจ้าหนี้จำนองมิได้แจ้งยอดหนี้มาให้ทราบมิใช่เป็นการปลอดหนี้จำนอง เมื่อประกาศขายทอดตลาดของ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีเงื่อนไขในการขายว่าไม่รับรองและ ไม่รับผิดในการรอนสิทธิ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้ซื้อจะต้องระวังและสอบสวนถึงจำนวนหนี้จำนอง การละเลยจึงเป็น การเสี่ยงต่อความเสียหายของโจทก์เอง โจทก์ผู้รับโอนที่ดินซึ่งติดจำนองอยู่กับจำเลย ย่อมมีสิทธิที่จะปลดเปลื้องภาระจำนองโดยการไถ่ถอนจำนองตามบทบัญญัติ ลักษณะ 12 หมวด 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2342/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด แม้ทรัพย์สินไม่ใช่ของจำเลย ศาลสั่งออกใบแทน น.ส.3 ได้
สิทธิของผู้ซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริตย่อมไม่เสียไป แม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมิใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 และแม้ผู้ร้องยึดถือ น.ส.3 ก. สำหรับที่ดินดังกล่าวโดยชอบ เมื่อไม่ยอมมอบต่อศาล ศาลก็มีอำนาจสั่งให้นายอำเภอออกใบแทน น.ส.3 ก. สำหรับที่พิพาทเพื่อจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินให้แก่ผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2342/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล แม้ทรัพย์สินพิสูจน์ภายหลังว่าไม่ใช่ของลูกหนี้
สิทธิของผู้ซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริตย่อมไม่เสียไป แม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมิใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330และแม้ผู้ร้องยึดถือ น.ส.3 ก. สำหรับที่ดินดังกล่าวโดยชอบ เมื่อไม่ยอมมอบต่อศาล ศาลก็มีอำนาจสั่งให้นายอำเภอออกใบแทนน.ส.3 ก. สำหรับที่พิพาทเพื่อจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินให้แก่ผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ซื้อตามสัญญาจะซื้อขายและการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ความตายของผู้ขายไม่เป็นเหตุให้ทายาทปฏิเสธสัญญา
เมื่อผู้จะขายได้ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้แก่จำเลย และจำเลยได้เข้าครอบครองที่พิพาทตลอดมาตามสัญญาจะซื้อขาย แม้สิทธิครอบครองจะยังไม่โอนมาเป็นของจำเลยเพราะคู่สัญญาประสงค์จะให้มีการโอนทางทะเบียน แต่การที่จำเลยเข้าครอบครองที่พิพาทตามสัญญาโดยความยินยอมของผู้จะขายนั้นหาเป็นการละเมิดหรือผิดสัญญาไม่ ทั้งยังมีสิทธิยึดหน่วงอันมีผลให้ยึดหน่วงที่ดินนั้นไว้จนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ได้ด้วย ดังนี้ ความตายของผู้จะขายไม่เป็นเหตุให้ทายาทผู้รับมรดกปฏิเสธ ไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญา (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 253/2497)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดที่สมบูรณ์เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาแล้วว่าราคาสมควร ผู้ซื้อได้สิทธิโดยชอบ
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ขายทอดตลาดได้พิจารณาเห็นว่ามีผู้ให้ราคาสมควร และได้เคาะไม้ตกลงขายแล้ว การขายทอดตลาดเป็นอันสมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 509 ผู้ซื้อทอดตลาดได้สิทธินั้นโดยชอบตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 และไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้กระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษา อันจะเป็นเหตุให้จำเลยยกขึ้นคัดค้านได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จำเลยจึงไม่มีอำนาจที่จะร้องขอให้ขายทอดตลาดใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองสิทธิผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยสุจริต แม้ผู้ขายไม่มีสิทธิในทรัพย์สิน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดของศาลโดยสุจริต แม้ภายหลังโจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินที่แท้จริง จะขอนำสืบพิสูจน์ว่าที่ดินพิพาทมิใช่ของจำเลยที่ 3 ก็ไม่อาจทำให้จำเลยที่ 2 ผู้ซื้อทรัพย์นั้นเสียสิทธิไปถ้าจำเลยที่ 2 สุจริต โจทก์มิได้นำสืบว่าจำเลยที่ 2 ไม่สุจริตอย่างไร ดังนั้น โจทก์ผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทที่แจ้ง จะอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 ขอให้บังคับให้จำเลยที่ 2 คืนหรือใช้ราคาที่ดินพิพาท หาได้ไม่