พบผลลัพธ์ทั้งหมด 561 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10668/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมไม่ฟ้องคดีหลังยื่นขอรับชำระหนี้: สิทธิฟ้องของเจ้าหนี้ที่ถูกจำกัดภายใต้ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
ตาม พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 มาตรา 26 ได้บัญญัติว่า "ห้ามมิให้บุคคลใดฟ้องบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องเป็นคดีล้มละลายในระหว่างดำเนินการตามแผนเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์การ" แสดงว่าบทบัญญัติดังกล่าวจะนำมาใช้บังคับได้เฉพาะในกรณีที่สถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการอยู่ในระหว่างดำเนินการตามแผนเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินแล้วเท่านั้น และเมื่อคดีรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินให้แก้ไขฟื้นฟูฐานะตามแผนที่จำเลยที่ 2 เสนอเช่นนี้ โจทก์จะอ้างบทกฎหมายดังกล่าวมาเป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์หาได้ไม่ เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สามัญของจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จำเลยที่ 2 ค้างชำระแก่โจทก์ตามประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 (3) และ 16 (3) แห่ง พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 โจทก์จึงต้องอยู่ในบังคับของหลักเกณฑ์ตามประกาศดังกล่าว ซึ่งตามประกาศดังกล่าวข้อ 3.2 เจ้าหนี้ของสถาบันการเงินที่ถูกคำสั่งให้ระงับกิจการที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ต่อคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินตามมาตรา 30 ของพระราชกำหนดดังกล่าวต้องให้ความยินยอมที่จะไม่ฟ้องคดีสถาบันการเงินนั้น ซึ่งตามข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้รายนี้ไว้ต่อคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้จึงเท่ากับว่า โจทก์ต้องผูกพันตามข้อกำหนดในการยินยอมที่จะไม่ฟ้องสถาบันการเงินนั้นเป็นคดีต่อศาลด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6186/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสที่ฝ่าฝืนกฎหมายมีคู่สมรสแล้ว โมฆะ ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องได้
ชายหรือหญิงที่ทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้ว เป็นการสมรสที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 และทำให้การสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ซึ่งมาตรา 1497 ระบุว่า การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1452 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าวอ้างขึ้น หรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้ปรากฏว่าขณะที่ ท.จดทะเบียนสมรสกับจำเลยนั้นท. มีคู่สมรสคือ ป. อยู่แล้ว การที่ ท. มาจดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกโดยที่ยังมิได้หย่าขาดจาก ป. จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 แม้โจทก์ทั้งเจ็ดจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ท. กับ จ. ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว แต่ก็เป็นทายาทโดยธรรมของ ท.เมื่อท. ถึงแก่ความตายโจทก์ทั้งเจ็ดย่อมมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของ ท. โจทก์ทั้งเจ็ดจึงอยู่ในฐานะเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่าง ท. กับจำเลยเป็นโมฆะตามมาตรา 1497 ได้ โจทก์ทั้งเจ็ดมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3542/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฟ้องเครื่องหมายการค้าเกินเวลาทำการ ศาลต้องรับฟ้องได้หากมีสิทธิฟ้องคดีอยู่
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แต่โจทก์ก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนั้นได้ และไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 หรือในกฎหมายอื่นใดบัญญัติให้โจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน 90 วัน นับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องในวันที่ 13 กันยายน 2544 หรือวันใดวันหนึ่งหลังวันที่ 12 กันยายน 2544 โดยไม่จำเป็นต้องขอให้ศาลขยายระยะเวลาในการยื่นคำฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์ลงวันที่ 12 กันยายน 2544 แต่โจทก์นำมายื่นต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ในวันที่ 13 กันยายน 2544 พร้อมกับคำร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งเป็น 2 กรณี กรณีที่ 1 ขอให้ส่งรับคำฟ้องของโจทก์ในวันที่ 12 กันยายน 2544 เพราะโจทก์ไปยื่นคำฟ้องต่อศาลในวันดังกล่าว แต่ไปถึงศาลเมื่อเวลา 16.32 นาฬิกา เจ้าหน้าที่ไม่รับอ้างว่าหมดเวลาราชการแล้ว กรณีที่ 2 หากศาลเห็นว่าไม่สมควรรับคำฟ้องของโจทก์ในวันที่ 12 กันยายน 2544 ก็ขอให้ถือว่าคำร้องนี้เป็นคำร้องขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย โดยขอให้ศาลขยายระยะเวลาให้โจทก์ยื่นฟ้องในวันนี้ได้ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่า โจทก์ยื่นคำฟ้องในวันที่ 12 กันยายน 2544 เมื่อพ้นเวลาราชการจึงไม่อาจมีคำสั่งให้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้ได้นั้นชอบแล้ว แต่เมื่อโจทก์อาจยื่นฟ้องในวันที่ 13 กันยายน 2544 หรือวันถัดไปวันใดวันหนึ่งก็ได้แม้คำฟ้องจะลงวันที่ 12 กันยายน 2544 ก็ต้องถือว่ายื่นคำฟ้องต่อศาลในวันที่ 13 กันยายน 2544 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงชอบที่จะสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาต่อไป
คำฟ้องของโจทก์ลงวันที่ 12 กันยายน 2544 แต่โจทก์นำมายื่นต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ในวันที่ 13 กันยายน 2544 พร้อมกับคำร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งเป็น 2 กรณี กรณีที่ 1 ขอให้ส่งรับคำฟ้องของโจทก์ในวันที่ 12 กันยายน 2544 เพราะโจทก์ไปยื่นคำฟ้องต่อศาลในวันดังกล่าว แต่ไปถึงศาลเมื่อเวลา 16.32 นาฬิกา เจ้าหน้าที่ไม่รับอ้างว่าหมดเวลาราชการแล้ว กรณีที่ 2 หากศาลเห็นว่าไม่สมควรรับคำฟ้องของโจทก์ในวันที่ 12 กันยายน 2544 ก็ขอให้ถือว่าคำร้องนี้เป็นคำร้องขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย โดยขอให้ศาลขยายระยะเวลาให้โจทก์ยื่นฟ้องในวันนี้ได้ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่า โจทก์ยื่นคำฟ้องในวันที่ 12 กันยายน 2544 เมื่อพ้นเวลาราชการจึงไม่อาจมีคำสั่งให้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้ได้นั้นชอบแล้ว แต่เมื่อโจทก์อาจยื่นฟ้องในวันที่ 13 กันยายน 2544 หรือวันถัดไปวันใดวันหนึ่งก็ได้แม้คำฟ้องจะลงวันที่ 12 กันยายน 2544 ก็ต้องถือว่ายื่นคำฟ้องต่อศาลในวันที่ 13 กันยายน 2544 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงชอบที่จะสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินเพื่อแลกอิสรภาพไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
ตามคำฟ้องฎีกาของจำเลยกล่าวแต่เพียงว่าจำเลยใช้เงินคืนให้แก่ผู้เสียหายเพื่อแลกกับอิสรภาพ เมื่อผู้เสียหายยอมรับเงินคืนจากจำเลยย่อมเชื่อหรือสันนิษฐานได้ว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยเท่านั้น จำเลยมิได้อ้างว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลย ทั้งผู้เสียหายก็เบิกความว่า ผู้เสียหายได้รับเงินคืนจากจำเลยแล้ว แต่ยังติดใจให้ดำเนินคดีแก่จำเลยอยู่เพราะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี อันเป็นการยืนยันว่าผู้เสียหายไม่ได้ยอมความกับจำเลย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงจึงไม่ระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินให้ผู้เสียหายไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญาฐานฉ้อโกงยังไม่ระงับ
ฎีกาของจำเลยกล่าวแต่เพียงว่าจำเลยใช้เงินคืนให้แก่ผู้เสียหายเพื่อแลกกับอิสรภาพ เมื่อผู้เสียหายยอมรับเงินคืนจากจำเลยย่อมเชื่อหรือสันนิษฐานได้ว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยเท่านั้น จำเลยมิได้อ้างว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลย ทั้งผู้เสียหายก็เบิกความว่ายังติดใจให้ดำเนินคดีแก่จำเลยอยู่เพราะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี อันเป็นการยืนยันว่าผู้เสียหายไม่ได้ยอมความกับจำเลย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงจึงไม่ระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9870/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่สาธารณะและการไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รุกล้ำหากไม่เกิดความเสียหายเป็นพิเศษ
บ้านจำเลยเฉพาะส่วนที่พิพาทปลูกอยู่ในที่ดินริมคลองอันเป็นที่สาธารณะและบังหน้าที่ดินโจทก์ที่จะออกสู่คลองสาธารณะมีความยาวถึง 16 เมตรแต่โจทก์ยังคงเหลือที่ดินติดคลองมีความยาว 9.5 เมตร ซึ่งไม่ถูกบัง ขณะยื่นฟ้องโจทก์ก็ไม่ได้ปลูกบ้านในที่ดินของโจทก์ โจทก์คงปล่อยที่ดินไว้โดยไม่ได้ทำประโยชน์ ส่วนจำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่ดังกล่าวมาประมาณ 20 ปีแล้ว กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนบ้านพร้อมสิ่งปลูกสร้างส่วนที่พิพาทออกไปจากที่ดินซึ่งเป็นที่สาธารณะหน้าที่ดินโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9569/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีอากรต้องรอผลการพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์ก่อน จึงจะสามารถฟ้องต่อศาลภาษีอากรได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 8 ได้วางข้อห้ามมิให้ฟ้องคดีตามมาตรา 7 (1) ต่อศาลภาษีอากรไว้ซึ่งเป็นการห้ามบุคคลทุกคน หามีข้อยกเว้นให้กรมสรรพากรโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีโดยไม่จำต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว และขณะที่โจทก์ฟ้องคดี คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 หนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์แจ้งการประเมิน ซึ่งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ที่เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดจะต้องร่วมรับผิดด้วยอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งหกต่อศาลภาษีอากรกลางตามมาตรา 7 (1) และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และ 246
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับคำอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไว้พิจารณาแล้ว กรณีจะต้องห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมายหรือไม่อย่างไร คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย โจทก์ไม่มีสิทธิวินิจฉัยแทนคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับคำอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไว้พิจารณาแล้ว กรณีจะต้องห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมายหรือไม่อย่างไร คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย โจทก์ไม่มีสิทธิวินิจฉัยแทนคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันระงับมูลหนี้เช็คและการระงับสิทธิฟ้องคดีอาญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลเป็นหนังสือระบุว่าจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายหรือดำเนินคดีทางแพ่งเกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างที่เป็นมูลเหตุให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทคดีนี้อีก อันเป็นการะงับข้อพิพาท จึงบังคับกันได้ตามกฎหมายไม่ต้องทำต่อหน้าศาลเสมอไป แม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อตกลงว่าหากจำเลยผิดนัดยอมให้โจทก์ดำเนินคดีอาญาต่อไปทันที และเมื่อจำเลยชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้ว ยอมให้หนี้ตามเช็คในคดีอาญาสิ้นผลผูกพัน โจทก์จะถอนฟ้อง ก็มิใช่เป็นเงื่อนไขบังคับก่อนที่เป็นผลให้มูลหนี้ระงับต่อเมื่อจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ครบถ้วน ดังนั้น มูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทจึงได้สิ้นผลผูกพันไปแล้วคดีเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2926/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดแชร์เกิน 3 วง และสิทธิการฟ้องคดีอาญาในความผิด พ.ร.บ.การเล่นแชร์
จำเลยเป็นนายวงแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์รวม 7 วง จำเลยรวบรวมเงินจากผู้เสียหายและโจทก์ร่วมซึ่งเป็นสมาชิกวงแชร์ไปแล้วหลายงวด จำเลยจัดให้มีการประมูลแชร์ไปแล้วหลายงวด โดยสถานที่จัดประมูลแชร์คือที่ร้านของจำเลย การประมูลแชร์ตามวาระมีไปแล้วหลายครั้ง ผู้ที่ประมูลแชร์ได้ต่างก็ได้รับเงินไปแล้ว และตามคำฟ้องโจทก์ ผู้เสียหายและโจทก์ร่วมยังไม่เคยประมูลแชร์ได้จึงยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินกองกลางที่จำเลยรวบรวมไป เงินค่าแชร์แต่ละงวดที่ผู้เสียหายและโจทก์ร่วมส่งให้จำเลยไปแล้ว เมื่อผู้ใดประมูลแชร์ได้ก็ย่อมจะตกได้แก่ผู้นั้นไป กรรมสิทธิ์ในเงินที่ส่งไปแล้วมิได้เป็นของผู้เสียหายและโจทก์ร่วมต่อไปอีก และหากผู้เสียหายและโจทก์ร่วมไม่สามารถประมูลแชร์ได้เพราะแชร์ล้มเลิกไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม จำเลยในฐานะที่เป็นเจ้ามือแชร์ก็จะต้องรับผิดแทน ความรับผิดในกรณีเช่นนี้เป็นความผิดในทางแพ่ง ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยยักยอกเงินของผู้เสียหายและโจทก์ร่วม
แม้ตามฟ้องจะปรากฏว่าวันเวลาที่โจทก์อ้างว่าจำเลยจัดให้มีการเล่นแชร์แต่ละวงจะแตกต่างกันอยู่ และไม่มีวันใดมีการเริ่มเล่นแชร์ขึ้นใหม่พร้อมกันถึง 3 วง ก็ตาม แต่ตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 234 มาตรา 6 บัญญัติไว้แต่เพียงว่าห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่าสามวงเท่านั้น มิได้บัญญัติว่าจะต้องจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มากกว่าสามวงดังกล่าวขึ้นมาพร้อม ๆ กันในวันเดียวกัน จึงจะเป็นความผิดเมื่อแชร์ที่จำเลยจัดให้มีการเล่นทั้งหมดซึ่งมีจำเลยเป็นนายวงแชร์อยู่มีจำนวนรวมกันอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันมากกว่า 3 วง ตามที่จำกัดจำนวนไว้ในกฎหมาย ย่อมต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 6
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 4, 6, 17 และ ป.อ. มาตรา 352, 91 สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์เป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ราษฎรไม่เป็น ผู้เสียหาย โจทก์ร่วมคงเป็นผู้เสียหายและเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้เฉพาะข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 352 เท่านั้น ไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในข้อหาตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในข้อหาตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์และฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
แม้ตามฟ้องจะปรากฏว่าวันเวลาที่โจทก์อ้างว่าจำเลยจัดให้มีการเล่นแชร์แต่ละวงจะแตกต่างกันอยู่ และไม่มีวันใดมีการเริ่มเล่นแชร์ขึ้นใหม่พร้อมกันถึง 3 วง ก็ตาม แต่ตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 234 มาตรา 6 บัญญัติไว้แต่เพียงว่าห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่าสามวงเท่านั้น มิได้บัญญัติว่าจะต้องจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มากกว่าสามวงดังกล่าวขึ้นมาพร้อม ๆ กันในวันเดียวกัน จึงจะเป็นความผิดเมื่อแชร์ที่จำเลยจัดให้มีการเล่นทั้งหมดซึ่งมีจำเลยเป็นนายวงแชร์อยู่มีจำนวนรวมกันอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันมากกว่า 3 วง ตามที่จำกัดจำนวนไว้ในกฎหมาย ย่อมต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 6
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 4, 6, 17 และ ป.อ. มาตรา 352, 91 สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์เป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ราษฎรไม่เป็น ผู้เสียหาย โจทก์ร่วมคงเป็นผู้เสียหายและเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้เฉพาะข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 352 เท่านั้น ไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในข้อหาตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในข้อหาตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์และฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์ต้องมีผู้เสียหายโดยตรง เงินค่าเช่าที่ศาลสั่งคุ้มครองยังไม่ตกเป็นของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้อง
จำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลในข้อหาละเมิดและเรียกค่าเสียหาย ระหว่างพิจารณา ศาลแพ่งได้มีคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวโดยให้จำเลยที่ 1 จัดการเก็บเงินค่าเช่าอาคาร ร้านค้าและแผงลอยในตลาดของโจทก์แล้วนำเงินมาวางศาลทุกเดือน จำเลยทั้งสามได้เก็บเงินค่าเช่าแผงลอยในตลาดจำนวน 11,565 บาท แล้วไม่นำไปวางศาลตามคำสั่งศาลแพ่งในคดีดังกล่าว แต่เงินค่าเช่าที่จำเลยทั้งสามรับไว้ดังกล่าวยังมิใช่เป็นเงินของโจทก์ ดังนั้นไม่ว่าจำเลยทั้งสามจะได้ร่วมกันเบียดบังเอาเงินที่ได้รับไว้นั้นเป็นของตนโดยทุจริตจริงหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่อาจเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของโจทก์ได้ โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง