คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิฟ้องร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1797/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิฟ้องร้องหลังถูกกีดกันสิทธิ การพิพาทเรื่องถนนและภารจำยอม ศาลพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
การที่โจทก์ทำประตูเหล็กปิดกั้นถนนพิพาทไม่ยอมให้จำเลยเข้าออกเว้นแต่จะยอมเสียค่าตอบแทนแก่โจทก์ย่อมทำให้จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าถูกโจทก์โต้แย้งสิทธิดังนั้นที่จำเลยได้ยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลชั้นต้นขอให้เปิดถนนพิพาทและในระหว่างพิจารณาได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาจึงเป็นการใช้สิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แม้ต่อมาศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องแต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฎว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งโดยมีความเห็นหลงไปว่าการมีคำสั่งเช่นนั้นมีเหตุผลอันสมควรโดยความผิดหรือเลินเล่อของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา263(1)การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมิได้ทำละเมิดต่อโจทก์แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าถนนพิพาทเป็นของโจทก์และมิได้ตกอยู่ในภารจำยอมดังที่โจทก์อ้างก็ไม่อาจทำให้ผลของคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปที่ศาลชั้นต้นไม่วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าในการฟ้องเรียกค่าเสียหาย แม้ยังมิได้จดทะเบียนในไทย
จำเลยฎีกาว่าขณะฟ้องคดีโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทโจทก์จะใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534มาตรา46นั้นปัญหานี้แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยจึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ฟ้องของโจทก์และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยเมื่อจำเลยผลิตสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ออกจำหน่ายทำให้ผู้ซื้อสินค้าของจำเลยเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์อันเป็นการลวงขายดังนี้โจทก์ย่อมเป็นฝ่ายได้รับความเสียหายและมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534มาตรา46วรรคสอง ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยได้ผลิตและจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์อันเป็นการลวงขายเป็นการละเมิดต่อสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายส่วนจำเลยให้การเพียงว่าจำเลยนำเครื่องหมายการค้าตามที่นายทะเบียนอนุญาตมาใช้กับสินค้าที่จำเลยผลิตโดยสุจริตจำเลยได้ระงับการผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าพิพาทแล้วและตามฎีกาของจำเลยก็รับว่าจำเลยได้ผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่อ้างว่าผลิตเป็นตัวอย่างเท่านั้นดังนั้นข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าจำเลยได้ผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6645/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน: เจตนาซื้อขายกับผู้ครอบครอง vs. โอนจากเจ้าของโฉนด; สิทธิในการฟ้อง
ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นของ พ.ที่ขายให้แก่โจทก์หรือไม่ หากไม่ใช่โจทก์ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ ในข้อนี้แม้ศาลอุทธรณ์จะฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของ พ.ซึ่งขายให้แก่โจทก์ และจำเลยมิได้ฎีกาโต้แย้งมา ศาลฎีกาก็สามารถฟังข้อเท็จจริงใหม่ที่ถูกต้องได้ เพราะเป็นข้อที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
เมื่อปลายปี 2521 ว.เจ้าของที่ดินพิพาทได้บอกขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนบอกขาย ว.ได้มาดูแลที่ดินพิพาทโดยนำต้นไม้มาปลูกประมาณเดือนละ2 ครั้ง จำเลยทั้งสองจึงร่วมกันซื้อมาและใช้เป็นที่ปลูกบ้านอยู่อาศัย หลังจากนั้นจึงทราบว่าที่ดินพิพาทเป็นโฉนดเลขที่ 23587 โดยมีชื่อ พ.เป็นเจ้าของ ดังนี้ จำเลยทั้งสองมีเจตนาจะซื้อที่ดินพิพาทจาก ว. ซึ่งในขณะนั้น ว.ได้ครอบครองเป็นเจ้าของอยู่เป็นสำคัญยิ่งกว่าที่ดินแปลงตามหน้าโฉนดเลขที่ 23586 ที่จดทะเบียนโอนต่อกัน จึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 23586 แต่อย่างใด และเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของ ว.ไม่ใช่ของ พ. แม้ที่ดินพิพาทจะมีชื่อ พ.ในโฉนดดังกล่าวก็หาทำให้ พ.อ้างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่ง พ.มิได้มีเจตนารับโอนหาได้ไม่และการที่โจทก์รับโอนโฉนดต่อมาจาก พ. โจทก์ก็จะอ้างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่ได้เช่นกัน ที่ดินพิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองด้วยการซื้อมาจาก ว.โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์และจำเลยทั้งสองจะว่ากล่าวเป็นคดีเรื่องใหม่และกรณีเช่นนี้จำเลยที่ 1 ก็มิได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยปรปักษ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5096/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมต้องยินยอมในการขายที่ดินรวมทั้งหมด มิฉะนั้นสัญญาเป็นโมฆะและมีสิทธิฟ้องขับไล่ได้
โจทก์ซี่งเป็นเจ้าของรวมในที่พิพาทมิได้ให้ความยินยอมด้วยในการที่ ว.เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งทำสัญญาจะขายที่พิพาทกับจำเลย จำเลยเข้าครอบครองที่พิพาทโดยทำสัญญาดังกล่าวเป็นการเข้าครอบครองตัวทรัพย์ทั้งหมดหรือที่พิพาททั้งแปลง มิใช่ครอบครองเฉพาะส่วนของ ว. เช่นนี้ ว.จะกระทำได้ก็แต่โดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน สัญญาจะขายที่พิพาทจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ ถือไม่ได้ว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทโดยชอบ โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายและการชำระหนี้บางส่วน ผู้ขายบิดพลิ้ว ผู้ซื้อมีสิทธิฟ้องได้
จำเลยตกลงขายที่พิพาทคืนโจทก์ทั้งสองแต่ยอมให้หักเงินที่โจทก์ทั้งสองชำระให้ในการตกลงซื้อคืนครั้งก่อนก่อนที่จำเลยจะปฏิเสธไม่ยอมขายให้ในเวลาต่อมาและนัดจดทะเบียนซื้อขายกันข้อตกลงนี้เป็น สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทและถือว่าการที่จำเลยยอมให้หักเงินดังกล่าวออกจากราคาที่พิพาทที่ตกลงกันในครั้งหลังเป็นการ ชำระหนี้บางส่วนแล้วโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคสอง จำเลยตกลงขายที่พิพาทคืนโจทก์2ครั้งครั้งแรก วางมัดจำไว้แล้วโจทก์ ผิดสัญญาจึงมีการตกลงราคากันใหม่ในครั้งที่สองโดยจำเลยยอมให้หักเงินมัดจำครั้งแรกออกจากราคาครั้งหลังถือได้ว่าการที่จำเลยยอมให้หักเงินดังกล่าวเป็นการ ชำระหนี้บางส่วนของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายแล้วโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7366/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการอุทธรณ์ค่าทดแทนทำให้ขาดสิทธิฟ้องร้อง
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวง ข้อ 63 ถึงข้อ 80 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 และมาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติว่า การเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไป ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์คือดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 กรณีของโจทก์ขณะที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 พ.ศ. 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะจำเลยยังไม่ได้กำหนดค่าตอบแทนที่ดินให้แก่โจทก์ ดังนั้นการดำเนินการต่อไปจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ซึ่งตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งกำหนดว่า ถ้าผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนการเวนคืนไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาภายใน 60 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือให้มารับเงินค่าทดแทน และตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ แต่เมื่อจำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่จะถูกเวนคืนให้แก่โจทก์แล้วโจทก์ได้รับเงินดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2531 โดยไม่ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ซึ่งเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ก็ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5536/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีภาษีอากร: นับจากวันรับแจ้งคำชี้ขาดของผู้รับประเมิน แม้ผู้มีส่วนได้เสียต้องปฏิบัติตาม
คำว่า "นับแต่วันรับแจ้งความ" ตาม มาตรา 31 วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มีความหมายว่านับแต่วันส่งคำชี้ขาดไปถึงผู้รับประเมิน หรือ นับแต่วันผู้รับประเมินรับคำชี้ขาด ส่วนข้อความตอนท้ายที่ว่า "ให้ทราบคำชี้ขาด" นั้น เป็นเพียงถ้อยคำขยายความให้ชัดเท่านั้นมิได้หมายความเลยไปถึงว่านับแต่วันที่ได้ทราบข้อความในคำชี้ขาด แม้ตาม มาตรา 31 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 จะใช้คำว่า ผู้รับการประเมินก็ตามแต่เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำชี้ขาดแล้วโจทก์จึงต้องนำคดีมาฟ้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากิจการโรงงานสุราได้รับคำชี้ขาดตามบทบัญญัติดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4744/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการคัดค้านการเลือกตั้งและเหตุที่ศาลไม่อาจรับคำร้องได้ เนื่องจากข้อกล่าวหาไม่ชัดเจนและไม่เข้าเหตุตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติ ญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522ไม่มีบทบัญญัติให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งใช้สิทธิทางศาล โดยการยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งอื่นผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้คัดค้าน ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522มาตรา 78 บัญญัติเหตุที่จะร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ เฉพาะกรณีที่มีการฝ่าฝืน มาตรา 26 มาตรา 32 มาตรา 34 มาตรา 51 หรือมาตรา 52เท่านั้น ที่ผู้ร้องอ้างเหตุว่าผู้ได้รับเลือกตั้งทั้งสามกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งตามที่ระบุในคำร้องก็เป็นกรณีมีการกระทำฝ่าฝืนมาตรา 15 มาตรา 35 ซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดต้องระวางโทษตามมาตรา 86และมาตรา 91 มิใช่เหตุที่จะร้องคัดค้านการเลือกตั้ง คำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ไม่ได้บรรยายรายละเอียดให้แจ้งชัดว่าผู้ได้รับเลือกตั้งใช้เงินเกินอย่างไรใช้ที่ไหนเป็นค่าอะไรและจะถือได้ว่าเป็นการใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งได้หรือไม่เป็นคำร้องที่เคลือบคลุม ส่วนที่อ้างเหตุคัดค้านว่าผู้อำนวยการเลือกตั้งประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยไม่บรรยายให้รายละเอียดชัดแจ้งว่าผู้อำนวยการเลือกตั้งประมาทเลินเล่อร้ายแรงอย่างไรปล่อยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายใดของหน่วยใดลดคะแนนของผู้ร้องเท่าใดมากกว่าใครอย่างไร ลดคะแนนผู้ได้รับเลือกตั้งหน่วยไหนจำนวนเท่าใด เพิ่มคะแนนแก่ใครโดยทุจริตอย่างไร มีการดำเนินการเลือกตั้งโดยไม่ให้ผู้เลือกตั้งลงลายมือชื่อในบัญชีใด ขัดกับกฎหมายอย่างไร เลขเรียงของบัตรเลือกตั้งหน่วยใด หีบใดไม่ตรงกับเลขเรียงของกระทรวงมหาดไทยเป็นผลผิดกฎหมายอย่างไร ก็เป็นคำร้องที่เคลือบคลุมเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งการครอบครองที่ดินและผลของการฟ้องแย้งก่อนหน้าต่ออายุความฟ้องร้อง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยแย่งการครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทจากโจทก์แล้วหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยว่าจำเลยครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทเพื่อตนเองมิใช่ครอบครองแทนโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ทั้งมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตามมาตรา 243(1) ประกอบด้วยมาตรา 247 เป็นการไม่ชอบแต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยอีก เดิมจำเลยอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทก่อนที่โจทก์จะซื้อฝากจาก ส.เมื่อส.ไม่ใช้สิทธิไถ่คืนภายในกำหนด โจทก์จึงได้สิทธิครอบครองบ้านและที่ดินพิพาท การที่จำเลยยังคงอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ แต่เมื่อโจทก์มาขับไล่ให้จำเลยออกไป จำเลยไม่ยอมออกโดยอ้างว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย และต่อมาจำเลยได้ยื่นฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างส.กับโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือบ้านและที่ดินพิพาทโดยบอกกล่าวแสดงเจตนาไปยังโจทก์ว่าจะไม่ยึดถือบ้านและที่ดินพิพาทแทนโจทก์ต่อไป อันเป็นการแย่งการครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทนับตั้งแต่วันที่จำเลยยื่นฟ้องโจทก์ จำเลยยื่นฟ้องโจทก์เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2529 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่าง ส.กับโจทก์ โจทก์ในฐานะจำเลยได้ยื่นคำให้การและฟ้องแย้งขอให้ขับไล่จำเลยเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2529การที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากจำเลยไม่นำค่าธรรมเนียมมาวางศาลภายในกำหนดนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยในฐานะที่เป็นโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้น ถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องซึ่งไม่เกี่ยวกับโจทก์ แม้ฟ้องแย้งของโจทก์ซึ่งมีฐานะเป็นจำเลยจะตกไปด้วยก็เป็นไปโดยผลของกฎหมายจะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องแย้งด้วยหาได้ไม่ คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่ลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องแย้งของโจทก์ในคดีก่อนและในคดีดังกล่าวโจทก์และจำเลยต่างอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายื่นโดยมีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2531 การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2531 จึงเป็นกรณีสืบเนื่องมาจากฟ้องแย้งเดิมซึ่งโจทก์ได้ใช้สิทธิฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองแล้ว โจทก์จึงไม่ขาดสิทธิฟ้องร้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกเงินเบี้ยประกันชีวิต: เจตนาทุจริตและสิทธิฟ้องร้อง
จำเลยได้รับเงินเบี้ยประกันชีวิตไว้แทนโจทก์ เมื่อไม่ใช่รับไว้ในฐานะเป็นตัวแทนของผู้เอาประกันชีวิตเพื่อนำไปมอบให้โจทก์แล้ว การที่จำเลยเบียดบังเอาเงินดังกล่าวไปเป็นของตนอันแสดงถึงเจตนาทุจริต โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานยักยอกและมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
การที่จำเลยนำเงินไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์กลางกรมบังคับคดีนั้น โจทก์ไม่ได้ตกลงด้วย จึงไม่เป็นการยอมความตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไป
of 16