พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4163/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของคู่สมรสที่การสมรสถูกเพิกถอน: ศาลต้องพิจารณาความสุจริตในการสมรสและอายุความ
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกในฐานะภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกจำเลยให้การต่อสู้ว่าการจดทะเบียนสมรสของโจทก์กับเจ้ามรดกเป็นไปโดยทุจริตและคดีโจทก์ขาดอายุความ ในวันนัดชี้สองสถาน คู่ความยอมรับข้อเท็จจริงกันว่า ได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาเพิกถอนการสมรสดังกล่าวไปแล้ว แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทำการสมรสโดยสุจริตหรือไม่ ข้อเท็จจริงส่วนนี้จึงยังไม่ยุติ ซึ่งหากข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ทำการสมรสโดยสุจริตแล้ว โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1499ส่วนที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์กับเจ้ามรดกสมรสกันโดยไม่สุจริต ก็ไม่ปรากฏการวินิจฉัยของศาลฎีกาในข้อนี้แต่อย่างใด ทั้งยังมีประเด็นเรื่องอายุความอีกด้วย ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดชี้สองสถานกับพิพากษาคดีไป และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นการไม่ชอบและเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา มีเหตุสมควรต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งคำสั่งศาล การตรวจเอกสารโดยผู้เชี่ยวชาญ และสิทธิในการรับมรดก
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกา ในกรณีที่ศาลเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจเอกสารในสำนวน และศาลเห็นสมควร ศาลก็ย่อมใช้อำนาจของศาลเองที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99ส่งเอกสารนั้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ได้ โดยไม่จำต้องให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยื่นบัญชีระบุพยานหรือระบุชื่อผู้เชี่ยวชาญ จำเลยเป็นพี่ชายเจ้ามรดก ส่วนโจทก์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก จำเลยเป็นทายาทลำดับหลังโจทก์ ไม่มีสิทธิรับมรดกรายนี้ จำเลยจึงยกอายุความมรดก 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755 มาต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3511/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในโฉนดที่ดิน: ผู้ครอบครองชอบโดยกฎหมายย่อมมีอำนาจครอบครอง ผู้มีสิทธิรับมรดกยังไม่มีชื่อในโฉนดจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดกในที่ดินบางส่วน และต้องการรับมรดก แต่จำเลยไม่ยอมให้โฉนด ขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดแก่โจทก์ดังนี้ เมื่อโฉนดระบุชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยจึงมีอำนาจครอบครองโฉนดไว้โดยชอบ โจทก์ไม่มีสิทธิยึดถือหรือเกี่ยวข้อง หรือติดตามเอาคืน หากจำเลยจะได้โต้แย้งสิทธิก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์อันเป็นที่ดิน ซึ่งโจทก์จะต้องพิสูจน์สิทธิตามขั้นตอน กรณีเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน ถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม: ไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรง จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่
ผู้สืบสันดานโดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1643หมายถึงผู้สืบสันดานในทางสืบสายโลหิตโดยแท้จริง บุตรบุญธรรมนั้นกฎหมายถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตร ที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมแต่บุตรบุญธรรมหาใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรม (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2528)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโมฆะของคู่สมรสเดิมก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และสิทธิในการรับมรดกของทายาท
ด. จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับเดิม) ในขณะที่ ด. มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 อยู่แล้ว การสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ด. จึงเป็นโมฆะตามมาตรา 1490 และ 1445 (เดิม) โจทก์ที่ 1 จึงมิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ด. ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ ด. แม้การสมรสระหว่าง ด. กับโจทก์ที่ 1 จะยังไม่มีคำพิพากษาเพิกถอนหรือพิพากษาว่าเป็นโมฆะ แต่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ เพราะจำเลยได้ต่อสู้เป็นประเด็นไว้
มรดกอยู่ระหว่างจัดการแบ่งให้ทายาท โจทก์ฟ้องคดีแม้จะเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
เอกสารมีข้อความว่า "บัดนี้ ว. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จัดการแบ่งมรดกตามที่ควรได้เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาทไว้เป็นที่เรียบร้อยซึ่งผู้รับได้รับไว้ถูกต้องทุกประการแล้ว และขอรับรองไว้ในหนังสือนี้ว่า ข้าพเจ้าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมดด้วย" ซึ่งโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ลงชื่อไว้ก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกบอกในวันทำเอกสารว่าใครมารับเงินก็ต้องเซ็นชื่อ ในวันทำเอกสารนี้โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ยังไม่ทราบว่ามีที่ดินเป็นทรัพย์มรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่เคยบอกให้ทราบ ทั้งเอกสารก็ไม่ได้ระบุชัดว่าโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่ต้องการที่ดินมรดกดังนั้นที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 รับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกด้วยซึ่งหมายความถึงเฉพาะเงินอันเป็นส่วนแบ่งบางส่วนของกองมรดกซึ่งโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ได้รับไปเท่านั้น โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ยังมีสิทธิรับที่ดินซึ่งเป็นมรดก
มรดกอยู่ระหว่างจัดการแบ่งให้ทายาท โจทก์ฟ้องคดีแม้จะเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
เอกสารมีข้อความว่า "บัดนี้ ว. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จัดการแบ่งมรดกตามที่ควรได้เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาทไว้เป็นที่เรียบร้อยซึ่งผู้รับได้รับไว้ถูกต้องทุกประการแล้ว และขอรับรองไว้ในหนังสือนี้ว่า ข้าพเจ้าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมดด้วย" ซึ่งโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ลงชื่อไว้ก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกบอกในวันทำเอกสารว่าใครมารับเงินก็ต้องเซ็นชื่อ ในวันทำเอกสารนี้โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ยังไม่ทราบว่ามีที่ดินเป็นทรัพย์มรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่เคยบอกให้ทราบ ทั้งเอกสารก็ไม่ได้ระบุชัดว่าโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่ต้องการที่ดินมรดกดังนั้นที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 รับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกด้วยซึ่งหมายความถึงเฉพาะเงินอันเป็นส่วนแบ่งบางส่วนของกองมรดกซึ่งโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ได้รับไปเท่านั้น โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ยังมีสิทธิรับที่ดินซึ่งเป็นมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับโอนที่ดินจากผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม ไม่ใช่ทายาท ไม่อาจยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้ได้
จำเลยมิใช่ทายาทของเจ้ามรดก จะยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม vs น้องร่วมบิดามารดา: ผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการมรดก
บุตรผู้เยาว์ทั้งสามของผู้ร้อง เป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย จึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดานของผู้ตายเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกในลำดับที่ 1 ตามมาตรา1629. ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเพียงน้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ตามมาตรา1630 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามคำสั่งศาลเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในการจัดการมรดก ร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามคำสั่งศาลเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในการจัดการมรดก ร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2087/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง: สิทธิในการรับมรดกเทียบเท่าบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าเป็นพี่ผู้ตายขอให้พิพากษาว่าที่ดินที่ผู้ตายครอบครองอยู่เป็นมรดกที่โจทก์มีสิทธิได้รับจำเลยไม่มีสิทธิรับมรดกห้ามเกี่ยวข้องจำเลยให้การว่าเป็นบุตรผู้ตายได้ยื่นเรื่องราวขอรับมรดกผู้ตายการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วนั้นจึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกคำให้การนอกประเด็นแต่ประการใด
บิดาแจ้งทะเบียนบุตรเกิด ให้ใช้นามสกุล มีพฤติการณ์รู้กันทั่วไปว่าเป็นบุตร รับมรดกของบิดาได้ตาม มาตรา1627
บิดาแจ้งทะเบียนบุตรเกิด ให้ใช้นามสกุล มีพฤติการณ์รู้กันทั่วไปว่าเป็นบุตร รับมรดกของบิดาได้ตาม มาตรา1627
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุตรนอกกฎหมายรับมรดก และสิทธิในการฟ้องคดีมรดกของผู้มีสิทธิ
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของ ข. ระหว่างที่ ข. อยู่กินกับมารดาโจทก์ โจทก์ใช้นามสกุลของ ข. และ ข. เลี้ยงดูโจทก์มา 6-7 ปี ถือได้ว่า ข. ให้การรับรองว่าโจทก์เป็นบุตรจึงเป็นผู้สืบสันดานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 มีสิทธิรับมรดกและมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับมรดกได้
ทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทเท่านั้นที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755 ได้จำเลยซึ่งเป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มิได้เป็นทายาทโดยธรรมไม่มีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้
ทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของบิดามารดา ข. ที่ตกทอดแก่ข. ถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ข. เป็นเจ้าของร่วมกับ ข. ในทรัพย์พิพาทดังกล่าว
ทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทเท่านั้นที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755 ได้จำเลยซึ่งเป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มิได้เป็นทายาทโดยธรรมไม่มีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้
ทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของบิดามารดา ข. ที่ตกทอดแก่ข. ถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ข. เป็นเจ้าของร่วมกับ ข. ในทรัพย์พิพาทดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายทางพฤตินัยและสิทธิในการรับมรดก
ว.ยอมให้จำเลยใช้นามสกุลของว. และพาจำเลยไปเพิ่มเติมชื่อในทะเบียนบ้าน เปลี่ยนนามสกุลจากเดิมเป็นนามสกุลของ ว. รวมทั้งแจ้งกับอำเภอด้วยว่าเป็นบิดาจำเลย ถือได้ว่า ว. ได้รับรองว่าจำเลยเป็นบุตรโดยชัดแจ้งและถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้สืบสันดานของ ว. เหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมมีสิทธิรับมรดกของ ว. ได้