คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิลูกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานที่ปฏิบัติงานบกพร่อง แต่ไม่ร้ายแรง และสิทธิในเงินบำเหน็จ
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า การสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนมิได้เป็นไปโดยรอบคอบเป็นเหตุให้จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลย การเลิกจ้างที่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าก่อน เป็นการมิชอบด้วย ป.พ.พ.และเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากโจทก์มิได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับที่ให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงาน ให้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมค่าขาดรายได้ประจำ เงินโบนัส ส่วนรายละเอียดในการจ้าง การเลิกจ้าง และข้อกล่าวหาที่คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำความผิด เป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
แม้โจทก์มีส่วนร่วมในความผิดพลาดในการวิเคราะห์ลูกหนี้ และการประเมินราคาหลักทรัพย์ และโจทก์ประเมินความสามารถในการชำระหนี้โดยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังให้รอบคอบเพียงพอให้สมกับตำแหน่งผู้จัดการสาขาธนาคารจำเลยที่มีหน้าที่ดูแลระมัดระวังผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องตามระเบียบอย่างเคร่งครัด เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่การกระทำผิดของโจทก์ดังกล่าวไม่ปรากฏว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจทำให้จำเลยเสียหาย และการปล่อยสินเชื่อของโจทก์ก็เป็นการแสวงหาประโยชน์ให้แก่จำเลยโดยตรง กรณีจึงถือไม่ได้ว่าการกระทำผิดของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรง แต่ขณะเกิดเหตุโจทก์เป็นผู้จัดการสาขาธนาคารจำเลย และโจทก์เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในสาขา มีหน้าที่รับผิดชอบงานทุกอย่างในสาขา การที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องย่อมทำให้จำเลย เสียหายแม้ความเสียหายดังกล่าวจะยังไม่พอที่จะถือว่าทำให้จำเลยเสียหายร้ายแรงก็ตามแต่ก็ถือได้ว่าการกระทำของโจทก์มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่จำต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์
โจทก์เพียงแต่บกพร่องต่อหน้าที่ ไม่ควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่ไม่ถึงขั้นกรณีที่ร้ายแรง และจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้เตือนเป็นหนังสือก่อน ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จงใจขัดคำสั่งของจำเลยอันชอบด้วยกฎหมายหรือกระทำผิดในประการอื่นอีกจำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
ตามระเบียบว่าด้วยเงินบำเหน็จของจำเลยกำหนดว่า พนักงานที่จำเลยให้ออกหรือไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ บำนาญ และเงินพิเศษใด ๆ (1) ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาต่อจำเลย (2) จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย (3) ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยและจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว (4) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำการติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควร (5) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง (6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท (7) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง(8) มีพฤติการณ์ที่ทำให้ขาดความไว้วางใจ หรือมีมลทินมัวหมอง หากให้ปฏิบัติงานต่อไปจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อจำเลย แต่การกระทำของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและไม่พอที่จะถือว่าทำให้จำเลยเสียหายร้ายแรง จึงไม่เข้ากรณีที่โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์ตามระเบียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7061/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง, ค่าชดเชย, สิทธิลูกจ้าง, การพิพากษาเกินคำขอ, อุทธรณ์ข้อเท็จจริง
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้ววินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 2ยื่นหนังสือเลิกจ้างให้โจทก์ย่อมเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นนายจ้างที่ไม่ประสงค์จะจ้างโจทก์ให้ทำงานต่อไป จึงเป็นการเลิกจ้างและมีผลสมบูรณ์นับแต่ยื่นหนังสือเลิกจ้างดังกล่าว แม้ภายหลังโจทก์รับหนังสือเลิกจ้างแล้วโจทก์ยื่นหนังสือลาออกให้จำเลยที่ 2 ก็มิใช่เป็นการตกลงกันใหม่ให้ถือเป็นการลาออกดังที่จำเลยที่ 1 อ้าง ดังนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานปรับข้อกฎหมายคลาดเคลื่อนจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
รายได้พิเศษอื่น ๆ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือผ่านสิทธิและรับรองเงินเดือนเป็นเงินค่าภาษีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ต่อกรมสรรพากร จำเลยที่ 1ผู้เป็นนายจ้างจึงออกภาษีเงินได้ให้แก่กรมสรรพากรแทนโจทก์ โดยมิได้หักจากเงินเดือนของโจทก์ ดังนี้ภาษีเงินได้ดังกล่าวเป็นเพียงสวัสดิการ และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่เงินที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย180 วัน หรือ 6 เดือน จำเลยทั้งสองจ่ายให้โจทก์เพียง 3 เดือน ยังคงค้างค่าชดเชยอีก 3 เดือน แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือ 6 เดือน โดยมิได้ยกเหตุใด ๆขึ้นอ้างเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ย่อมไม่ชอบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5880/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างในระหว่างการชำระบัญชีองค์กร, สิทธิลูกจ้างชั่วคราว, และการคำนวณค่าชดเชย
จำเลยที่ 10 และที่ 11 มิได้เป็นนายจ้างของโจทก์มิได้เกี่ยวกับการเลิกจ้าง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 10 และที่ 11 ให้รับผิดในส่วนนี้เกี่ยวกับการเลิกจ้าง
ตาม พ.ร.ฎ.ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่พ.ศ.2520 พ.ศ.2528 มาตรา 4 องค์การเหมืองแร่จำเลยที่ 1 ซึ่งได้ถูกยกเลิกตามมาตรา 3 ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีและมาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตั้งบุคคลขึ้นคณะหนึ่งเป็นคณะกรรมการผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยที่ 11 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เป็นคณะกรรมการผู้ชำระบัญชีจำเลยที่ 1 และให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 มีอำนาจแต่งตั้งคณะผู้ช่วยผู้ชำระบัญชีเพื่อดำเนินการชำระบัญชีได้ และการที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 มีคำสั่งจ้างโจทก์เป็นผู้ช่วยผู้ชำระบัญชีก็เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.ฎ.ดังกล่าวเพื่อให้การดำเนินการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 เสร็จสิ้นไป หากพนักงาน ลูกจ้าง และคนงานผู้ใดหมดหน้าที่หรือหมดความจำเป็นที่จะปฏิบัติงานต่อไป จำเลยก็ย่อมมีสิทธิเลิกจ้างเป็นรายบุคคลได้ดังนี้ เมื่องานเกี่ยวกับการชำระบัญชีหมดลง กรณีไม่จำเป็นที่จะต้องจ้างโจทก์เพื่อปฏิบัติงานต่อไป การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามพ.ร.ฎ.ดังกล่าวที่ให้อำนาจไว้ จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามิใช่เป็นหนี้เงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจะตกเป็นผู้ผิดนัดรับผิดชำระดอกเบี้ยต่อเมื่อลูกจ้างทวงถาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อใดจำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ค่าจ้าง
สำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่โจทก์มิได้หยุดและค่าชดเชยเป็นหนี้เงินที่กฎหมายบัญญัติให้นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้างโดยไม่ต้องทวงถามดังนั้น จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินแต่ละจำนวนดังกล่าวนับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ดังกล่าว
คำฟ้องโจทก์ระบุอัตราค่าจ้างของโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 8ไว้แล้ว และจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธอัตราค่าจ้างของโจทก์แต่ละคนดังกล่าวไว้ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้อง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าชดเชยแก่โจทก์ผิดพลาดจากข้อเท็จจริงในสำนวน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 5 คำนวณค่าชดเชยตามคำขอท้ายฟ้องมาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อความเป็นธรรมศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์ดังกล่าวได้รับค่าชดเชยในจำนวนที่ถูกต้อง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว การที่โจทก์มาทำงานภายหลังวันที่จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างในวันดังกล่าว
ศาลฎีกาเคยย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในประเด็นเรื่องค่าบำเหน็จแล้ว แต่ศาลแรงงานไม่ได้วินิจฉัย เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความ ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนอีกได้
จำเลยจ้างโจทก์มีกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจ้างเพียงฉบับละ 1 เดือน เป็นการจ้างชั่วคราวเพื่อให้การชำระบัญชีของจำเลยที่ 1เสร็จสิ้นไป หากพนักงานลูกจ้างและคนงานผู้ใดหมดหน้าที่หรือหมดความจำเป็นที่จะพึงปฏิบัติงานต่อไป จำเลยก็จะเลิกจ้างเป็นรายบุคคลไป แต่ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จผู้ปฏิบัติงานในองค์การเหมืองแร่ ข้อ 5กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี เมื่อออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ นอกจากถูกลงโทษ ปลดออก หรืออื่น ๆ มีสิทธิได้รับบำเหน็จเท่ากับเงินเดือนหรือค่าจ้างเดือนสุดท้ายที่พ้นจากตำแหน่งคูณด้วยระยะเวลาที่ได้ปฏิบัติงานคิดเป็นปีและโจทก์จะทำงานติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีก็ตาม แต่เมื่อการนับเวลาทำงานตามข้อ 6 ให้ถือหลักเกณฑ์โดยนับแต่วันที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับการบรรจุในอัตราประจำ ดังนี้การที่จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานในระหว่างการชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 เป็นการชั่วคราวมีระยะเวลาจ้างครั้งละ 1 เดือน หาได้บรรจุในอัตราประจำไม่ โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 หนังสือเรื่องโครงสร้างเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ปรับโครงสร้างเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจใหม่ ประกอบบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนของพนักงานและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจและโครงสร้างเงินเดือนกับโครงสร้างเงินเดือนที่ปรับใหม่มีระบุอัตราเงินเดือน ขั้นเงินเดือนถึง 53 ขั้น และมีขั้นวิ่ง ซึ่งการปรับโครงสร้างเงินเดือนของพนักงานลูกจ้างรัฐวิสาหกิจนั้นใช้กับพนักงานลูกจ้างที่ทำงานประจำโดยมีการบรรจุในอัตราประจำ แต่เมื่อจำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานในระหว่างการชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 เป็นการชั่วคราว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับการปรับค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าชดเชย โดยไม่ระบุให้จำเลยคนใดต้องรับผิดนั้น ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5759/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างในการได้รับค่าตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระตามสัญญาจ้างต่อเนื่อง แม้สัญญาฉบับแรกสิ้นสุด
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยฉบับแรกในส่วนที่เกี่ยวกับตั๋วเครื่องบินมีข้อความว่า "เริ่มต้นของสัญญานี้ ท่านไม่มีสิทธิได้รับตั๋วเครื่องบินไปกลับและจากบ้าน อย่างไรก็ดีเมื่อสัญญาฉบับ1 ปีเต็ม ได้ตกลงกัน ปี 2539 ท่านมีสิทธิได้รับตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัดในการเดินทางแบบเที่ยวเดียว จำนวน 4 ใบ จากภูเก็ตไปที่ใด ๆ สำหรับท่านและครอบครัวของท่านทันที นอกจากนั้นค่าธรรมเนียมในการขนย้ายทรัพย์สินของท่านไปภูเก็ต และจากภูเก็ตไปที่อื่นจะได้รับการชดใช้โดยรีสอร์ทในวงเงินสูงสุดเท่ากับเงินเดือนที่ท่านได้รับ 1 เดือน" โดยสัญญาจ้างฉบับแรกนี้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2538 มีระยะเวลาการจ้างตั้งแต่วันที่8 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 ต่อมาจึงมีการทำสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.2 ขึ้นก่อนสัญญาจ้างฉบับแรกครบกำหนด โดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้าง 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่1 ธันวาคม 2538 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2539 มีข้อความในตอนแรกว่า "ตามสัญญาจ้างของเรากับท่านฉบับลงวันที่ 26 ตุลาคม 2538และอาศัยการตกลงด้วยวาจาโดยการอนุมัติของไคจ์แอนดรีเช่นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2538 ข้าพเจ้ามีความยินดีต่อสัญญาจ้างให้ท่านใหม่อีก 1 ปี" ข้อความในสัญญาจ้างฉบับหลังดังกล่าวย่อมแสดงโดยชัดแจ้งว่าการทำสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 เป็นผลสืบเนื่องมาจากสัญญาจ้างฉบับแรกเมื่อสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างโจทก์ต่อมีกำหนด 1 ปี ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างฉบับแรก ดังนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระก็ย่อมเกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการทำสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างฉบับแรก โดยไม่จำต้องระบุสิทธิของโจทก์ในเรื่องนี้ไว้ในสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 อีก และสิทธิของโจทก์ดังกล่าวจะลบล้างได้ก็โดยคู่กรณีตกลงกันยกเลิกเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 มีการยกเลิกสิทธิเกี่ยวกับค่าตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระของโจทก์แต่อย่างใด จึงต้องถือว่าข้อตกลงในเรื่องดังกล่าวตามสัญญาจ้างฉบับแรก ยังคงมีผลผูกพันจำเลยทั้งสองให้ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นต่อไป แม้ว่าสัญญาจ้างฉบับแรกจะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 ให้ คำนิยามคำว่า นายจ้างในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เมื่อ จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการทั่วไปและมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์ จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ แต่กิจการใดอันตัวแทนได้กระทำ ไปในขอบอำนาจของตัวแทนนั้นเป็นการกระทำของตัวการ จำเลยที่ 1ผู้เป็นตัวการจึงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ไม่ต้องผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9783/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงานกับเลิกจ้าง: ความแตกต่างตามกฎหมายแรงงานและสิทธิค่าจ้าง
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง นั้น มีความหมายว่า เป็นการที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปโดยเด็ดขาด โดยไม่จ่ายค่าจ้างให้ด้วย ซึ่งสภาพความเป็นนายจ้างและลูกจ้างสิ้นสุดลง ไม่ใช่เรื่องการให้ลูกจ้างหยุดงานเพียงชั่วคราว ซึ่งสภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างยังไม่สิ้นสุดลงและลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับค่าจ้าง ถ้านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างให้หยุดงานชั่วคราวลูกจ้างก็มีสิทธิเรียกเอาได้ ส่วนข้อความที่ว่า"ไม่ว่าเพราะเหตุอื่นใด" ในกฎหมายดังกล่าว นั้น ก็หมายถึงมูลเหตุของกรณีที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปโดยเด็ดขาดโดยไม่จ่ายค่าจ้างนั่นเอง มิใช่กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานชั่วคราวหรือพักงานแต่อย่างใด เช่นนี้ การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยเพื่อรอการลงโทษจนกว่าคดีอาญาที่โจทก์ต้องหาว่าลักทรัพย์ของนายจ้างจะถึงที่สุดนั้น นับว่าเป็นการให้ลูกจ้างหยุดงานเป็นการชั่วคราว สภาพการเป็นนายจ้างลูกจ้างยังคงมีอยู่ต่อไป ไม่ใช่เป็นกรณีจำเลยไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไปโดยเด็ดขาดเพราะเมื่อคดีถึงที่สุดปรากฏว่าโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยก็ต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปเสมือนหนึ่งว่าไม่เคยเลิกจ้างและจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานให้แก่โจทก์ เพราะการที่โจทก์ไม่ได้ทำงานนั้นเนื่องมาจากฝ่ายจำเลยเองก็ไม่มอบงานให้ทำแต่จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ การสั่งพักงานโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5141-5146/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: การปฏิเสธคำสั่งโอนย้ายงาน การตักเตือน และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย
ตามระเบียบข้อบังคับจำเลยอาจออกคำสั่งให้โจทก์ทั้งหกไปทำงานนอกสถานที่ได้ จำเลยจึงออกคำสั่งให้โจทก์ทั้งหกไปทำงานที่บริษัท อ. ได้ ส่วนในการไปทำงานที่บริษัทดังกล่าวของโจทก์ทั้งหกต้องเดินทางออกจากที่อ้อมน้อยเวลา 6 นาฬิกาและขากลับถึงที่อ้อมน้อยเวลา 19 นาฬิกานั้น เป็นเรื่องของเวลาเดินทางกรณีจะถือเอาเวลาเดินทางไปทำงานมารวมเป็นเวลาทำงานหาได้ไม่จึงถือไม่ได้ว่าคำสั่งของจำเลยขัดต่อเวลาทำงาน ตามที่จำเลยกับโจทก์ทั้งหกตกลงให้เข้าทำงานเวลา 8.30 นาฬิกา และเลิกงานเวลา 17.30 นาฬิกา คำสั่งของจำเลยชอบด้วยระเบียบข้อบังคับและกฎหมายแล้ว การที่โจทก์ทั้งหกปฏิเสธไม่ไปทำงานตามคำสั่งของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 โจทก์ทั้งหกไม่มีสิทธิเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้การที่โจทก์ทั้งหกปฏิเสธไม่ไปทำงานตามคำสั่งของจำเลยเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย แต่กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายและลำพังเหตุที่โจทก์ทั้งหกปฏิเสธไม่ไปทำงานตามคำสั่งของจำเลยก็ไม่ใช่กรณีร้ายแรงยังไม่อาจทำให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องตักเตือนเป็นหนังสือแล้วด้วยจึงจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6715/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ไม่มีความผิดทางวินัยร้ายแรง โจทก์ยังมีสิทธิได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์สมทบ
โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงถึงขึ้นไล่ออกหรือปลดออกจากงาน จำเลยได้ตั้งกรรมการสอบสวนการกระทำของโจทก์ ทางสอบสวนไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะฟังว่า โจทก์กระทำผิดวินัยที่จะต้องถูกลงโทษไล่ออกหรือปลดออกจากงาน แต่มีมลทินมัวหมอง และมีพฤติการณ์อันไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ หากจะให้ปฏิบัติงานต่อไปอาจเป็นการเสียหายแก่จำเลย จำเลยจึงมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานตามข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยระเบียบพนักงาน พ.ศ. 2517 ข้อ 34(3)และให้ถือว่าออกจากงานเพราะกระทำผิด ไม่มีสิทธิได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์สมทบตามข้อ 36 แห่งข้อบังคับฉบับเดียวกัน แต่เมื่อข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยระเบียบพนักงานเอกสารหมาย ล.7 ข้อ 36 มีข้อความว่า"พนักงานผู้ใดต้องพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ตามข้อ 34ซึ่งไม่ใช่เป็นการออกจากตำแหน่งหน้าที่เพราะการกระทำผิดมีสิทธิได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์สมทบตามข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์และการสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค"และข้อ 34 แห่งข้อบังคับฉบับเดียวกันมีข้อความว่า"การสั่งให้พนักงานผู้ใด พ้นจากตำแหน่งหน้าที่โดยการให้ออกให้พิจารณาโดยเหตุดังนี้"(3) มีข้อความว่า"พนักงานผู้นั้นต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและการสอบสวนไม่ได้ความเป็นสัตย์ว่าได้กระทำผิดที่จะถูกไล่ออกหรือปลดออกแต่มีมลทินหรือมัวหมองหรือมีพฤติการณ์อันไม่น่าเป็นที่ไว้วางใจซึ่งจะให้ปฏิบัติงานต่อไปอาจเป็นการเสียหายแก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค" ดังนี้ ผลการสอบสวนที่สรุปว่าจำเลยไม่มีความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อกล่าวหาที่จะต้องมีโทษถูกไล่ออกหรือปลดออกจากงานแต่มีมลทินหรือมัวหมอง หรือมีพฤติการณ์อันไม่น่าเป็นที่ไว้วางใจฯ ซึ่งต้องด้วยข้อบังคับฉบับดังกล่าวข้อ 34(3)นั้น ซึ่งตามเนื้อหาแล้วไม่ได้เป็นการระบุว่าโจทก์กระทำผิดวินัยในข้อใด แต่เป็นเรื่องที่ตามทางสอบสวนปรากฏจากพยานหลักฐานในสำนวนว่ามีเหตุสงสัยตามสมควรว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ในกรณีเช่นนี้แม้จำเลยจะอาศัยข้อบังคับฉบับดังกล่าวสั่งให้โจทก์ออกจากงานได้ก็ตาม แต่จะถือว่าโจทก์ออกจากตำแหน่งหน้าที่เพราะกระทำผิดยังไม่ได้ คำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์ออกจากงานโดยให้ถือว่าได้กระทำผิดจึงเป็นเรื่องเกินเลยไปจากที่ข้อบังคับกำหนดไว้โจทก์ยังคงมีสิทธิได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์สมทบตามข้อ 36 แห่งข้อบังคับฉบับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5506/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นผลผูกพันตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ และสิทธิการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญาจ้าง
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มิได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องและตกลงกันตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา13,18,22ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา20นายจ้างและลูกจ้างย่อมมีสิทธิทำข้อตกลงเปลี่ยนแปลงระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงานให้มีผลบังคับแตกต่างไปจากระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเดิมได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน บริษัท จ. และบริษัทในเครือรวมทั้งจำเลยที่1ออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและการโอนย้ายโจทก์ระหว่างบริษัทในเครือของบริษัท จ. โดยให้นับอายุงานต่อเนื่องกันไปและคงให้สิทธิต่างๆเช่นเดียวกันเมื่อโจทก์โอนจากบริษัท จ.มาเป็นพนักงานของจำเลยที่1ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จจึงผูกพันโจทก์กับจำเลยที่1ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4957/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งเลิกจ้างที่ไม่สมบูรณ์และการแนะนำให้ลาออกไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
บันทึกของ พ. ถึง ป.ผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลย มีข้อความว่า "โปรดดำเนินการพิจารณาเลิกจ้าง ค.ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกจัดเลี้ยงด้วย(หมายถึงโจทก์) เหตุผลขาดงาน ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2536 ถึง 8พฤษภาคม 2536 โดยมิได้แจ้งให้ผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่มทราบ อีกทั้งในการปฏิบัติหน้าที่มักจะหยุดงานอยู่เสมอ ให้มีผลวันที่ 8 พฤษภาคม 2536" นั้นเป็นเรื่องที่ พ.มีความเห็นว่าควรเลิกจ้างโจทก์และได้ขอให้ ป.ดำเนินการพิจารณาอีกขั้นตอนหนึ่งตามลำดับของการบังคับบัญชา หาได้มีผลเป็นการสั่งหรือบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ทันทีไม่ ป.จึงยังมีหน้าที่จะต้องดำเนินการพิจารณา หากเห็นชอบด้วยแล้วก็ต้องดำเนินการบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์เป็นขั้นตอนตามระเบียบข้อบังคับและวิธีปฏิบัติของจำเลยต่อไป การที่ ป.มิได้ดำเนินการบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ตามขั้นตอนปฏิบัติ แต่กลับขอให้โจทก์ลาออกเพื่อพักรักษาตัวก่อนเมื่อหายดีแล้วจึงค่อยกลับเข้ามาทำงานใหม่นั้น เป็นเรื่องที่ ป.พิจารณาแล้วดำเนินการไปตามความเห็นของ ป.เอง ในเชิงไม่ต้องการมีการเลิกจ้างโจทก์ และเป็นข้อแนะนำในเชิงให้ทางเลือกที่จะเป็นผลดีแก่โจทก์ เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้โจทก์ต้องถูกเลิกจ้างกรณีเช่นว่านี้จึงเป็นสิทธิของโจทก์จะปฏิบัติตามที่ ป.แนะนำหรือไม่ก็ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่า ป.ได้รับมอบหมายจากจำเลยให้ทำการแทนในการแนะนำโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่าง ป.กับโจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำของจำเลยผู้เป็นนายจ้าง เมื่อยังมิได้มีการบอกเลิกจ้างโจทก์ตามขั้นตอนปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว
ประเด็นเรื่องค่าจ้างค้างจ่าย ค่าบริการตามคำขอโจทก์ และเงินประกันการทำงานนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้เป็นอย่างอื่น จำเลยจึงต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5609/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าล่วงเวลา: ศาลต้องวินิจฉัยสิทธิลูกจ้างตามที่ฟ้อง
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชำระดอกเบี้ยของค่าล่วงเวลาในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี และศาลแรงงานกลางได้กำหนดประเด็นพิพาทไว้แล้ว การที่ศาลแรงงานกลางมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยของค่าล่วงเวลาตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่เพียงใด จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 51
นายจ้างที่ไม่ชำระค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้าง ลูกจ้างย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากนายจ้างในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันที่ผิดนัด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก ซึ่งตามข้อ29 (1) ลูกจ้างจะได้รับค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่าเดือนละหนึ่งครั้ง เมื่อนายจ้างมิได้ชำระแต่ละเดือน จึงถือว่าผิดนัดตั้งแต่วันที่จะต้องชำระในแต่ละเดือน
of 17