พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอาศัยตามคำพิพากษาประนีประนอม และการสละสิทธิโดยการต่อสู้คดี
ที่พิพาทเป็นที่ดินส่วนหนึ่งของที่ดินที่บิดาโจทก์เคยฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท แล้วบิดาโจทก์กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยบิดาโจทก์ยอมให้จำเลยกับลูกหลานมีสิทธิอาศัยอยู่ในที่พิพาทไปตลอดชีวิต และศาลพิพากษาตามยอม สิทธิอาศัยดังกล่าวมิได้มีการจดทะเบียนสิทธิไว้ ต่อมาบิดามารดาโจทก์ยกที่ดินนั้นให้แก่โจทก์และบุคคลอื่น สิทธิที่จำเลยจะได้อยู่ในที่พิพาทตนตลอดชีวิตตามคำพิพากษาตามยอมนั้นเป็นประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่จำเลยมีอยู่ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยอาศัยอยู่ในที่พิพาท จำเลยต่อสู้ว่าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ มิได้ยกประเด็นแห่งเงื่อนเวลาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ ดังนี้ ถือว่าจำเลยได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนไขเวลาดังกล่าวเสียแล้ว ไม่เป็นประเด็นแห่งคดีต่อปี และประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาดังกล่าไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่จำเลยจะอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอาศัยตามคำพิพากษาประนีประนอมและการสละสิทธิ: อำนาจฟ้องขับไล่
ที่พิพาทเป็นที่ดินของที่ดินที่บิดาโจทก์เคยฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท แล้วบิดาโจทก์กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยบิดาโจทก์ยอมให้จำเลยกับลูกหลานมีสิทธิอาศัยอยู่ในที่พิพาทไปตลอดชีวิต และศาลพิพากษาตามยอม สิทธิอาศัยดังกล่าวมิได้มีการจดทะเบียนสิทธิไว้ ต่อมาบิดามารดาโจทก์ยกที่ดินนั้นให้แก่โจทก์และบุคคลอื่น สิทธิที่จำเลยจะได้อยู่ในที่พิพาทจนตลอดชีวิตตามคำพิพากษาตามยอมนั้นเป็นประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่จำเลยมีอยู่ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยอาศัยอยู่ในที่พิพาท จำเลยต่อสู้ว่าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ มิได้ยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ ดังนี้ ถือว่าจำเลยได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาดังกล่าวเสียแล้วไม่เป็นประเด็นแห่งคดีต่อไปและประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาดังกล่าวไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่จำเลยจะอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1256/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอาศัย-เก็บกินจากสัญญาต่างตอบแทน แม้ไม่จดทะเบียนก็ใช้บังคับระหว่างคู่สัญญาได้
การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยมิได้จดทะเบียนนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 บัญญัติไว้เพียงว่า "การที่ได้มาซึ่ง ฯลฯ ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่สมบูรณ์ เว้นแต่จะ ฯลฯ ได้จดทะเบียนการได้มา ฯลฯ" เท่านั้น ฉะนั้น ถ้าหากเมื่อใดได้มีการจดทะเบียนการได้มาเกิดขึ้นแล้ว ก็ย่อมจะกลายเป็นทรัพยสิทธิที่สมบูรณ์ขึ้นมาทันที หาใช่ว่าสิทธิเช่นว่านั้นจะไม่สมบูรณ์เสียเปล่าไปเสียเลยไม่
สัญญาต่างตอบแทนที่จำเลยยอมให้โจทก์มีสิทธิอาศัยและสิทธิเก็บกินในบ้านและห้องแถวที่พิพาทจนกว่าโจทก์จะถึงแก่กรรม เพื่อตอบแทนที่โจทก์ไม่ร้องคัดค้านในการที่จำเลยร้องขอต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดกนั้น แม้ไม่ได้จดทะเบียนการได้มาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ไม่เป็นทรัพยสิทธิที่จะใช้ยันบุคคลภายนอกได้ทั่วไป แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิซึ่งใช้ยันได้ระหว่างคู่สัญญา สัญญาต่างตอบแทนนี้จึงมีผลบังคับกันได้ เมื่อจำเลยจะโอนขายบ้านห้องแถวพิพาทพร้อมทั้งที่ดินซึ่งบ้านและห้องแถวนั้นตั้งอยู่ไปเสีย โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาห้ามมิให้จำเลยโอนขายได้
สัญญาต่างตอบแทนที่จำเลยยอมให้โจทก์มีสิทธิอาศัยและสิทธิเก็บกินในบ้านและห้องแถวที่พิพาทจนกว่าโจทก์จะถึงแก่กรรม เพื่อตอบแทนที่โจทก์ไม่ร้องคัดค้านในการที่จำเลยร้องขอต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดกนั้น แม้ไม่ได้จดทะเบียนการได้มาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ไม่เป็นทรัพยสิทธิที่จะใช้ยันบุคคลภายนอกได้ทั่วไป แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิซึ่งใช้ยันได้ระหว่างคู่สัญญา สัญญาต่างตอบแทนนี้จึงมีผลบังคับกันได้ เมื่อจำเลยจะโอนขายบ้านห้องแถวพิพาทพร้อมทั้งที่ดินซึ่งบ้านและห้องแถวนั้นตั้งอยู่ไปเสีย โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาห้ามมิให้จำเลยโอนขายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1256/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอาศัย/เก็บกินจากสัญญาต่างตอบแทน แม้ไม่ได้จดทะเบียน ก็มีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญา
การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยมิได้จดทะเบียนนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 บัญญัติไว้เพียงว่า 'การได้มาซึ่ง ฯลฯ ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่จะ ฯลฯได้จดทะเบียนการได้มาฯลฯ' เท่านั้น ฉะนั้นถ้าหากเมื่อใดได้มีการจดทะเบียนการได้มาเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมจะกลายเป็นทรัพยสิทธิที่บริบูรณ์ขึ้นมาทันทีหาใช่ว่าสิทธิเช่นว่านั้นจะไม่สมบูรณ์เสียเปล่าไปเสียเลยไม่
สัญญาต่างตอบแทนที่จำเลยยอมให้โจทก์มีสิทธิอาศัยและสิทธิเก็บกินในบ้านและห้องแถวที่พิพาทจนกว่าโจทก์จะถึงแก่กรรม เพื่อตอบแทนที่โจทก์ไม่ร้องคัดค้านในการที่จำเลยร้องขอต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดกนั้น แม้ไม่ได้จดทะเบียนการได้มาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ไม่เป็นทรัพยสิทธิที่จะใช้ยันบุคคลภายนอกได้ทั่วไป แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิซึ่งใช้ยันได้ระหว่างคู่สัญญาสัญญาต่างตอบแทนนี้จึงมีผลบังคับกันได้เมื่อจำเลยจะโอนขายบ้านห้องแถวพิพาทพร้อมทั้งที่ดินซึ่งบ้านและห้องแถวนั้นตั้งอยู่ไปเสีย โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาห้ามมิให้จำเลยโอนขายได้
สัญญาต่างตอบแทนที่จำเลยยอมให้โจทก์มีสิทธิอาศัยและสิทธิเก็บกินในบ้านและห้องแถวที่พิพาทจนกว่าโจทก์จะถึงแก่กรรม เพื่อตอบแทนที่โจทก์ไม่ร้องคัดค้านในการที่จำเลยร้องขอต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดกนั้น แม้ไม่ได้จดทะเบียนการได้มาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ไม่เป็นทรัพยสิทธิที่จะใช้ยันบุคคลภายนอกได้ทั่วไป แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิซึ่งใช้ยันได้ระหว่างคู่สัญญาสัญญาต่างตอบแทนนี้จึงมีผลบังคับกันได้เมื่อจำเลยจะโอนขายบ้านห้องแถวพิพาทพร้อมทั้งที่ดินซึ่งบ้านและห้องแถวนั้นตั้งอยู่ไปเสีย โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาห้ามมิให้จำเลยโอนขายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อและผลของการไม่ชำระเงินตามสัญญา หากโจทก์รับเงินไม่ได้ สัญญาระงับ
จำเลยสลักหลังเช็คลงวันที่ล่วงหน้าของผู้อื่นเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ตามสัญญาโอนสิทธิการเช่าตึกซึ่งมีข้อตกลงกันด้วยว่าจำเลยจะต้องชำระเงินให้โจทก์เป็นงวด ๆ ถ้าไม่ชำระงวดใดให้ถือว่าจำเลยหมดสิทธิอาศัยในอาคาร เมื่อเช็คนั้นถึงกำหนดโจทก์รับเงินไม่ได้ ก็ต้องถือว่าจำเลยผิดสัญญาและสัญญานั้นย่อมเลิกกันไปตามที่ระบุไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระเงินตามเช็คดังกล่าว คงมีสิทธิแต่เพียงไม่ให้จำเลยอาศัยในอาคารและไม่ต้องคืนเงินงวดก่อน ๆ เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1840/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอาศัยที่ได้จากพินัยกรรมต้องจดทะเบียนจึงสมบูรณ์ การเข้าอยู่อาศัยแทนโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นการละเมิด
การได้มาซึ่งสิทธิอาศัยอันเป็นทรัพย์สินเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยพินัยกรรม เป็นการได้สิทธิมาโดยนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคต้น
จำเลยร่วมมิได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งสิทธิอาศัยกับพนักงานเจ้าหน้าที่สิทธิอาศัยของจำเลยร่วมจึงไม่บริบูรณ์
การที่จำเลยเข้าอยู่ในเรือนพิพาทเพราะจำเลยร่วมให้เข้าอยู่แทนตน โดยโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมผู้หนึ่งมิได้ยินยอมเป็นการละเมิดต่อโจทก์
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 20/2514)
จำเลยร่วมมิได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งสิทธิอาศัยกับพนักงานเจ้าหน้าที่สิทธิอาศัยของจำเลยร่วมจึงไม่บริบูรณ์
การที่จำเลยเข้าอยู่ในเรือนพิพาทเพราะจำเลยร่วมให้เข้าอยู่แทนตน โดยโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมผู้หนึ่งมิได้ยินยอมเป็นการละเมิดต่อโจทก์
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 20/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1840/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอาศัยไม่สมบูรณ์หากไม่จดทะเบียน แม้ได้มาโดยพินัยกรรม การเข้าอยู่แทนเจ้าของโดยไม่ยินยอมเป็นการละเมิด
การได้มาซึ่งสิทธิอาศัยอันเป็นทรัพย์สินเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยพินัยกรรม เป็นการได้สิทธิมาโดยนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคต้น
จำเลยร่วมมิได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งสิทธิอาศัยกับพนักงานเจ้าหน้าที่สิทธิอาศัยของจำเลยร่วมจึงไม่บริบูรณ์
การที่จำเลยเข้าอยู่ในเรือนพิพาทเพราะจำเลยร่วมให้เข้าอยู่แทนตนโดยโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมผู้หนึ่งมิได้ยินยอมเป็นการละเมิดต่อโจทก์
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 20/2514)
จำเลยร่วมมิได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งสิทธิอาศัยกับพนักงานเจ้าหน้าที่สิทธิอาศัยของจำเลยร่วมจึงไม่บริบูรณ์
การที่จำเลยเข้าอยู่ในเรือนพิพาทเพราะจำเลยร่วมให้เข้าอยู่แทนตนโดยโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมผู้หนึ่งมิได้ยินยอมเป็นการละเมิดต่อโจทก์
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 20/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 709-710/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การนอกเหนือกรอบเวลาตามกฎหมาย และผลของการไม่ได้จดทะเบียนสิทธิอาศัย
จำเลยมายื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งหลังจากวันชี้สองสถานแล้วถึงหนึ่งเดือนเศษ เมื่อคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ และฟ้องแย้งของจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้อะไรขึ้นใหม่ นอกจากรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมที่มีอยู่ในคำให้การเดิม ข้อต่อสู้ที่ขอเพิ่มเติมใหม่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยย่อมทราบได้ดีว่ามีอยู่แล้วมาแต่ต้น ซึ่งจำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งก่อนวันชี้สองสถานได้แม้จำเลยจะสงวนสิทธิที่จะฟ้องบังคับโจทก์ตามฟ้องแย้งไว้ในคำให้การเดิมและคดีมิใช่เป็นคดีอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งได้โดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180
กรณีได้ความตามที่จำเลยยอมรับว่า จำเลยได้สิทธิอาศัยมาโดยข้อตกลงด้วยวาจาที่โจทก์ให้ไว้กับจำเลย ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ทรัพย์สิทธิมาโดยนิติกรรม กรณีต้องตกอยู่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคแรก เพราะมิใช่การได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมดังบัญญัติไว้ในวรรคสอง เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สิทธิอาศัยอันเป็นทรัพย์สิทธิที่จำเลยกล่าวอ้างได้มา จึงยังไม่บริบูรณ์ตามกฎหมายดังกล่าว
กรณีได้ความตามที่จำเลยยอมรับว่า จำเลยได้สิทธิอาศัยมาโดยข้อตกลงด้วยวาจาที่โจทก์ให้ไว้กับจำเลย ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ทรัพย์สิทธิมาโดยนิติกรรม กรณีต้องตกอยู่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคแรก เพราะมิใช่การได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมดังบัญญัติไว้ในวรรคสอง เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สิทธิอาศัยอันเป็นทรัพย์สิทธิที่จำเลยกล่าวอ้างได้มา จึงยังไม่บริบูรณ์ตามกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมระบุผู้รับทรัพย์ชัดเจน โจทก์มีแต่สิทธิอาศัย
ข้อความในข้อ (1) แห่งพินัยกรรม.มีว่า 'ถ้าข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่ (มี)อยู่และที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า. ข้าพเจ้ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมนี้ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้คือ ฯลฯ' นั้น. ประกอบกับข้อ 7 แห่งพินัยกรรมซึ่งความว่า'ที่ดินที่ข้าพเจ้ายกให้กับนายแสวง เดชแสง (จำเลย) นี้ฯลฯ'. ดังนี้ เห็นว่าหนังสือพินัยกรรมดังกล่าวระบุผู้รับทรัพย์ไว้โดยแจ้งชัดว่าคือจำเลยนั่นเอง.
เมื่อเจ้ามรดกยกทรัพย์สินตามพินัยกรรมให้แก่จำเลย. จำเลยย่อมมีสิทธิรับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม. โจทก์คงมีแต่สิทธิอาศัยเหนือพื้นดินในพินัยกรรมดังกล่าวในข้อ 3 แห่งพินัยกรรมเท่านั้น. ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องขอแบ่งเอากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือขอแบ่งค่าเช่าอันเป็นประโยชน์เกิดจากทรัพย์นั้นๆ.
เมื่อเจ้ามรดกยกทรัพย์สินตามพินัยกรรมให้แก่จำเลย. จำเลยย่อมมีสิทธิรับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม. โจทก์คงมีแต่สิทธิอาศัยเหนือพื้นดินในพินัยกรรมดังกล่าวในข้อ 3 แห่งพินัยกรรมเท่านั้น. ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องขอแบ่งเอากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือขอแบ่งค่าเช่าอันเป็นประโยชน์เกิดจากทรัพย์นั้นๆ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1186/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองในที่ดินมรดก: สิทธิอาศัย-เก็บกินผลประโยชน์ ไม่ถือเป็นการยึดถือเพื่อตนเอง
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมที่พิพาทให้จำเลย แต่ให้โจทก์มีสิทธิอาศัยและเก็บผลประโยชน์กินจนกว่าจะสิ้นชีวิต การที่โจทก์อยู่และเก็บผลประโยชน์ในที่พิพาทตามข้อกำหนดในพินัยกรรม จะถือว่าโจทก์มีเจตนายึดถือเพื่อตัวโจทก์ไม่ได้ โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครอง
การที่โจทก์อยู่และเก็บผลประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกให้บุคคลอื่นไว้โดยพินัยกรรมระบุให้โจทก์มีสิทธิอาศัยและเก็บผลประโยชน์ในที่ดินนั้นถือ ว่าโจทก์อยู่ในฐานะผู้อาศัยสิทธิของผู้เป็นเข้าของทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม แม้โจทก์จะปกครองเก็บผลประโยชน์ในทรัพย์นั้นนานเพียงใด ก็ถือว่าเป็นการปกครองแทนผู้เป็นเจ้าของ จะยกอายุความ มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นใช้ยันผู้เป็นเจ้าของไม่ได้
การที่โจทก์อยู่และเก็บผลประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกให้บุคคลอื่นไว้โดยพินัยกรรมระบุให้โจทก์มีสิทธิอาศัยและเก็บผลประโยชน์ในที่ดินนั้นถือ ว่าโจทก์อยู่ในฐานะผู้อาศัยสิทธิของผู้เป็นเข้าของทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม แม้โจทก์จะปกครองเก็บผลประโยชน์ในทรัพย์นั้นนานเพียงใด ก็ถือว่าเป็นการปกครองแทนผู้เป็นเจ้าของ จะยกอายุความ มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นใช้ยันผู้เป็นเจ้าของไม่ได้