คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิเจ้าของที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินมือเปล่าโดยไม่มีอำนาจ แม้ผู้ซื้อสุจริต ก็ไม่อาจล้มล้างสิทธิเจ้าของที่ดินได้
เอาที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญของผู้อื่นไปขายโดยไม่มีอำนาจ แม้ผู้ซื้อจะรับซื้อไว้โดยสุจริต ผู้ซื้อก็จะอ้างการซื้อขายซึ่งทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มาทำลายสิทธิของเจ้าของที่นั้นหาได้ไม่กรณีไม่ต้องด้วย ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1299

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยไม่มีอำนาจ แม้ผู้ซื้อสุจริตก็ไม่ทำให้สิทธิเจ้าของที่ดินสิ้นไป
เอาที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญของผู้อื่นไปขายโดยไม่มีอำนาจ แม้ผู้ซื้อจะรับซื้อไว้โดยสุจริต ผู้ซื้อก็จะอ้างการซื้อขายซึ่งทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มาทำลายสิทธิของเจ้าของที่นั้นหาได้ไม่ กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสร้างสพานรุกล้ำที่ดินสาธารณะ: สิทธิของเจ้าของที่ดิน vs. ประโยชน์สาธารณะ
จำเลยสร้างสพานข้ามคูสาธารณะขึ้นใหม่แทนสพานเก่าได้สร้างตามแนวสพานเก่าซึ่งสาธารณชนใช้มานมนานหลายสิบปีแล้ว แม้จำเลยจะเพิ่งสร้างขึ้นใหม่เพียง 2-3 ปี เพราะสพานเก่าชำรุดแล้วและแม้ปรากฎว่าเชิงสพานล้ำเข้าไปในเขตต์โฉนดของโจทก์ 2 เมตรเศษ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1024/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตมาตรา 74 พ.ร.บ.รถไฟฯ: ห้ามปลูกสร้างเฉพาะทางรถไฟ ไม่กระทบสิทธิเจ้าของที่ดินข้างเคียง
มาตรา 74 แห่ง พระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวง เป็นบทบัญญัติห้ามเฉพาะทางรถไฟ มิให้ปลูกสร้างในระยะ 4 เมตรไม่ใช่ห้ามเจ้าของที่ข้างเคียงมิให้ปลูกสร้างในที่ดินของเขา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 28/2491)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำลายทรัพย์สินของผู้อื่นในที่ดินพิพาท แม้เจ้าของที่ดินมีสิทธิ แต่ต้องใช้สิทธิทางศาล ไม่ใช่การใช้กำลังเอง
จำเลยทำลายเรือนที่ผู้อื่นเข้าไปปลูกในที่ของจำเลยนั้น มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1024/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยได้รับอนุญาตทางวาจา ย่อมไม่ตัดสิทธิเจ้าของที่ดินในการขอรื้อถอน และการบังคับชดใช้ค่าที่ดินแทนการรื้อถอนไม่ถือว่าเกินคำขอ
ปลูกเรือนชายคาล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยเจ้าของที่เขายินยอมให้ทำด้วยปากเปล่า เจ้าของยังมีสิทธิขอให้รื้อชายคาออกเสียจากที่ดินของเขาได้
อายุความฟ้องร้อง 1 ปีตามม.1375 ใช้ฉะเพาะในเรื่องซึ่งผู้ถูกแย่งมีสิทธิเพียงครอบครอง ไม่ใช่ผู้ถูกแย่งมีกรรมสิทธิตัดสินเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรื้อหลังคาที่ปลูกรุกล้ำเข้ามาในเขตต์ที่ดินของโจทก์ศาลตัดสินให้จำเลยใช้เงิน 25 บาทแทนการรื้อชายคาตาม ป.พ.พ.ม.1312 ไม่เรียกว่าเป็นการตัดสินเกินคำขอตามประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับคดีและการวินิจฉัยศาลเกินฟ้อง กรณีการจัดการศพในที่ดิน
ฟ้อง ตัดสิน ตัดสินไม่เกินคำขอ พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์คนบังคับอังกฤษเปนจำเลย คู่ความฎีกาได้แต่บัญชาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินริมน้ำ vs. ผู้บุกรุก; สัญญาซื้อขายครอบคลุมพื้นที่ติดแม่น้ำ แม้รังวัดไม่ชัดเจน
เจ้าของที่ดินริมแม้น้ำ มีสิทธิที่จะห้ามไม่ให้ผู้ใดทำการกีดขวางน่าที่ดินของตนได้ ซื้อขายที่ดินทั้งหมดแม้จะระบุเขตต์ผิดไป ผู้ซื้อก็ได้ที่ทั้งหมด ถ้าปรากฎว่ามีที่มากขึ้น ประมวลแพ่ง ม.132-456-714 ซื้อขายหรือจำนองทีดินทำหนังสือกันเองจะนำมาใช้ยันแก้เจ้าของที่ดินไม่ได้เพ่งเล่งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าตัวอักษร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 783/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินห้ามผู้อื่นเดินผ่าน แม้เคยใช้ทางเป็นเวลานาน หากไม่ใช่ทางสาธารณะ
ที่ดินทางเดิรอิสเมนต์ทางหลวง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703-704/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญาเช่า - การใช้สิทธิของเจ้าของที่ดินหลังสัญญาหมดอายุ - ค่าเสียหายจากการไม่ขนย้ายทรัพย์สิน
สัญญาเช่ากำหนดระยะเวลาการเช่าเพียง 3 ปี และมีข้อตกลงเรื่องการต่อสัญญาไว้ในข้อ 10 ว่า ผู้เช่ามีสิทธิขอต่ออายุสัญญาเช่าได้อีก 1 ช่วง คือต่ออีก 3 ปี แต่ทั้งนี้จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและอัตราค่าเช่าซึ่งผู้ให้เช่าและผู้เช่าได้ทำความตกลงร่วมกัน และโดยที่ผู้เช่าจะต้องมีหนังสือบอกกล่าวแจ้งความประสงค์เช่นว่านั้นให้ผู้ให้เช่าทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 90 วัน ก่อนวันครบกำหนดอายุการเช่าตามสัญญานี้ ทั้งนี้อัตราค่าเช่าใหม่จะต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าเช่าเดิมที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ ไม่มีข้อความบ่งบอกว่ามีข้อตกลงพิเศษที่จำเลยให้โจทก์เช่าไปจนกว่าโจทก์ประสงค์จะเลิกเอง และตามสัญญาเช่านี้ นอกจากผลประโยชน์ที่จำเลยจะได้รับจากโจทก์เป็นค่าเช่าตามที่กำหนดไว้แล้ว จำเลยไม่ได้รับผลประโยชน์อื่นใดจากโจทก์อีก ส่วนที่โจทก์ใช้เงินลงทุนไปกว่า 3,000,000 บาท ทำให้ร้านค้าของโจทก์เป็นร้านค้าที่ทันสมัย ลูกค้าที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลของจำเลยได้รับความพึงพอใจ ช่วยให้โรงพยาบาลของจำเลยเจริญรุดหน้านั้น สิ่งที่โจทก์ลงทุนไปเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจของโจทก์เอง หากลูกค้ามีความพึงพอใจโจทก์ก็ย่อมได้รับผลประโยชน์ในทางธุรกิจมากขึ้น ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงหรือจะมีส่วนสำคัญที่จะทำให้กิจการของจำเลยซึ่งเป็นการประกอบกิจการโรงพยาบาลเจริญรุดหน้าแต่อย่างใด สัญญาเช่าพื้นที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา
หลังจากครบกำหนดระยะเวลาเช่าตามสัญญาเช่าแล้ว ได้มีการต่อสัญญาเช่า ต่อมาโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาเช่าพื้นที่พิพาทกันใหม่ มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี หลังจากนั้นจำเลยมีหนังสือแจ้งต่อสัญญาเช่าพื้นที่ให้แก่โจทก์เรื่อยมา โดยต่อสัญญาเช่าออกไปครั้งละ 1 ปี โจทก์รับทราบการต่อสัญญาเช่าดังกล่าว จนกระทั่งครั้งสุดท้ายจำเลยมีหนังสือแจ้งต่อสัญญาเช่าพื้นที่ให้แก่โจทก์มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2553 สิ้นสุดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งตามหนังสือฉบับนี้ จำเลยระบุว่าอัตราค่าเช่าพื้นที่ 88 ตารางเมตร จำเลยขอคิดค่าเช่าเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นราคาตารางเมตรละ 1,126 บาท เงื่อนไขอื่น ๆ ยังคงเหมือนสัญญาฉบับแรกและหนังสือการต่ออายุสัญญาเช่าพื้นที่ฉบับก่อน ๆ สัญญาเช่าพื้นที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาเช่ามีกำหนดเวลา คือตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2553 สิ้นสุดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 โจทก์ผู้ให้เช่าจะสามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่พิพาทได้ต่อไปก็ต่อเมื่อมีการต่ออายุสัญญาเช่า หรือเป็นกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 570 กล่าวคือ เมื่อสิ้นสุดเวลาเช่าซึ่งได้ตกลงกันไว้ ถ้าผู้เช่ายังครองทรัพย์สินอยู่ และผู้ให้เช่ารู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง ถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่โดยไม่มีกำหนดเวลา จำเลยส่งหนังสือถึงโจทก์เพื่อแจ้งให้ทราบล่วงหน้าว่า จำเลยจำเป็นต้องปรับปรุงอาคารรวมทั้งพื้นที่ใช้สอยบริเวณชั้นล่างของอาคารทั้งหมด ดังนั้น จำเลยจึงไม่ประสงค์ให้มีการต่ออายุสัญญาเช่าออกไปอีก เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 ขอให้โจทก์ขนย้ายทรัพย์สิน ตลอดจนอุปกรณ์และสิ่งของต่าง ๆ ออกจากพื้นที่ภายในวันที่ 30 มีนาคม 2554 ต่อมา โจทก์ขอขยายระยะเวลาขนย้ายทรัพย์สินออกไปอีก 1 เดือน เป็นวันที่ 30 เมษายน 2554 จำเลยตกลงตามที่โจทก์ขอ ซึ่งจำเลยมีหนังสือบอกกล่าวโจทก์ว่า เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการขนย้ายในวันที่ 30 เมษายน 2554 แล้ว จำเลยจะเข้าครอบครองพื้นที่เช่าทันทีจนกระทั่งปลายเดือนเมษายน 2554 ใกล้จะครบกำหนดเวลาสิ้นสุดการขนย้าย จำเลยพบว่าโจทก์ยังไม่มีทีท่าว่าจะเริ่มดำเนินการขนย้ายทรัพย์สินออกจากพื้นที่พิพาท ในวันที่ 26 เมษายน 2554 จำเลยจึงได้ส่งหนังสือบอกกล่าวแจ้งสิ้นสุดสัญญาเช่าอีกครั้ง เพื่อเตือนให้โจทก์ขนย้ายทรัพย์สินออกจากพื้นที่พิพาทให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 เมษายน 2554 ฟังได้ว่า จำเลยไม่ประสงค์จะให้โจทก์ทำสัญญาเช่าพื้นที่พิพาทอีกต่อไป และจำเลยก็ได้ดำเนินการตามสัญญา ซึ่งมีการแก้ไขสัญญาในข้อ 9.3 โดยจำเลยได้มีหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์ทราบไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนวันครบกำหนดอายุสัญญา ซึ่งฝ่ายโจทก์ได้รับหนังสือฉบับนี้ไว้แล้ว สัญญาเช่าพื้นที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมสิ้นสุดลงในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 อันเป็นวันสิ้นสุดอายุการเช่า ส่วนที่โจทก์มีสิทธิขนย้ายทรัพย์สินออกจากพื้นที่พิพาทได้จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2554 ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่า ข้อ 8.18 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยโจทก์ผู้เช่าต้องขนย้ายทรัพย์สินออกจากสถานที่เช่า และส่งมอบสถานที่เช่าให้จำเลยผู้ให้เช่าไม่ช้ากว่า 30 วัน นับแต่วันที่สิ้นสุดการเช่า รวมกับระยะเวลาที่จำเลยผ่อนผันให้โจทก์ดังกล่าว และกรณีนี้แม้โจทก์จะไม่ได้ประพฤติผิดสัญญาก็ตาม เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วและจำเลยไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาเช่าให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิใช้ประโยชน์ในพื้นที่พิพาทต่อไป สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลย และที่แก้ไขเพิ่มเติมไม่ได้มีข้อสัญญาที่เป็นคำมั่นจะให้เช่า ดังนั้น แม้โจทก์เสนอที่จะเช่าต่อแต่จำเลยไม่สนองรับคำเสนอของโจทก์ สัญญาเช่าก็ไม่เกิดขึ้น
โจทก์ฎีกาว่า ม. ไม่ได้รับมอบหมายจากกรรมการจำเลยให้ทำหนังสือแจ้งบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ และ อ. ผู้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาไม่ใช่พนักงานของโจทก์นั้น โจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างประเด็นนี้ในคำฟ้องแม้โจทก์จะนำสืบประเด็นนี้ไว้ ก็เป็นเรื่องนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยในประเด็นนี้เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง จึงชอบแล้ว เมื่อโจทก์ยังฎีกาประเด็นนี้อีก จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 5