พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5852/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น
เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ได้สิ้นสุดลงแล้วไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก ทั้งไม่ปรากฏรายการการนำเงินเข้าเพื่อหักทอนหนี้ของยอดเงินที่ยังค้างชำระของฝ่ายจำเลย พฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยอาศัยข้อตกลงตามสัญญาพิพาทได้อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2112/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง: เจ้าหนี้มีสิทธิขอศาลสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการแทนตนเองตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนครัวที่รุกล้ำออกจากที่ดินของโจทก์ ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนให้โจทก์รื้อถอนได้โดยค่าใช้จ่ายเป็นของจำเลย ปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่10) พ.ศ. 2527 ออกใช้บังคับซึ่งมาตรา 12 ให้เพิ่มเติมบทมาตรา 296 ทวิ เป็นว่า 'ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาถูกพิพากษาให้ขับไล่ หรือต้องออกไป หรือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัยหรือทรัพย์ที่ครอบครอง ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำบังคับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียว โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จัดการให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครองทรัพย์ดังกล่าว' ดังนั้นโจทก์จึงชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการรื้อถอนครัวของจำเลยที่รุกล้ำออกไปได้ จะให้โจทก์รื้อถอนเองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย: สิทธิของลูกหนี้ร่วมและเจตนาสุจริตของธนาคาร
ผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมร่วมกัน โดยตกลงชำระหนี้ให้แก่ธนาคารให้ครบถ้วนภายใน 6 เดือน ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินมีโฉนดไว้แก่ธนาคารดังกล่าว เพื่อเป็นประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และบริษัท ย. ตามลำดับ จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องล้มละลายและศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาด ดังนี้ผู้ร้องจะอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการจำนองที่ดินดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะธนาคารเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 ที่จะบังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 หรือผู้ร้องซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมได้โดยไม่จำต้องบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน หากผู้ร้องเห็นว่า จำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้ ก็ชอบที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมให้แก่ธนาคารแล้วใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 เมื่อผู้ร้องในฐานะลูกหนี้ร่วมยังมิได้ชำระหนี้จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 และไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งการที่จำเลยที่ 1 เอาที่ดินไปจำนองก็ไม่เป็นการกระทำทั้งที่รู้ว่าเป็นทางให้ผู้ร้องซึ่งมิใช่เจ้าหนี้เสียเปรียบ ประกอบกับจำเลยที่ 1 นำที่ดินไปจำนองเพื่อกิจการค้าของห้าง ฯ และบริษัท ฯ ที่ตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและกรรมการผู้จัดการอยู่ โดยไม่มีเหตุส่อแสดงว่าธนาคารรับจำนองไว้โดยไม่สุจริตและรู้อยู่ว่า เป็นทางทำให้ผู้ร้องเสียเปรียบ กรณีจึงไม่เข้าข่ายที่ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3139/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ที่ถูกยึดขายทอดตลาด: ศาลมีอำนาจไต่สวนก่อนสั่ง
ผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมตามส่วนในทรัพย์ที่ถูกยึดมาขายทอดตลาดมีสิทธิร้องขอให้จ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 การร้องขอไม่มีกำหนดระยะเวลาไว้ ร้องขอภายหลังจากการขายทอดตลาดแล้วได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้จ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินซึ่งผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยให้แก่ผู้ร้องตามส่วน ศาลชั้นต้นสั่งจ่ายเงินให้แก่ผู้ร้องโดยมิได้สอบถามโจทก์ก่อน ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านอ้างว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิร้อง ผู้ร้องไม่มีกรรมสิทธิ์ร่วมและเป็นหนี้ร่วม ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งจ่ายเงินให้แก่ผู้ร้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งโดยมิได้ยกคำร้องของผู้ร้อง แต่ให้ทำการไต่สวนคำร้องต่อไป ถือได้ว่าศาลชั้นต้นรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณา และคำร้องของผู้ร้องไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องโดยไม่ต้องทำการไต่สวนก่อน เมื่อโจทก์คัดค้านคำร้อง ศาลชั้นต้นมีอำนาจทำการไต่สวนก่อนที่จะสั่งคำร้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 21 (4) คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งทำการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อคดีอยู่ระหว่างไต่สวนพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้อง โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ยกเลิกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ทำการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 (1)
ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้จ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินซึ่งผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยให้แก่ผู้ร้องตามส่วน ศาลชั้นต้นสั่งจ่ายเงินให้แก่ผู้ร้องโดยมิได้สอบถามโจทก์ก่อน ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านอ้างว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิร้อง ผู้ร้องไม่มีกรรมสิทธิ์ร่วมและเป็นหนี้ร่วม ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งจ่ายเงินให้แก่ผู้ร้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งโดยมิได้ยกคำร้องของผู้ร้อง แต่ให้ทำการไต่สวนคำร้องต่อไป ถือได้ว่าศาลชั้นต้นรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณา และคำร้องของผู้ร้องไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องโดยไม่ต้องทำการไต่สวนก่อน เมื่อโจทก์คัดค้านคำร้อง ศาลชั้นต้นมีอำนาจทำการไต่สวนก่อนที่จะสั่งคำร้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 21 (4) คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งทำการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อคดีอยู่ระหว่างไต่สวนพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้อง โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ยกเลิกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ทำการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3622/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัดชำระหนี้ สิทธิของเจ้าหนี้ในการบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเช่าซื้อค้างชำระ
สัญญาเช่าซื้อมีข้อตกลงว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติดต่อกัน โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเข้าครอบครองเครื่องมือทันตกรรมที่เช่าซื้อไปได้ทันที จำเลยที่ 1 จำต้องชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ทั้งหมด และต้องส่งมอบเครื่องมือทันตกรรมที่เช่าซื้อคืนให้แก่โจทก์ หากโจทก์ได้รับคืนและจำหน่ายไปได้เงินไม่ครบถ้วนตามที่ค้างชำระ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้จนครบ ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติดต่อกันและโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบเครื่องมือทันตกรรมที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างทั้งหมดแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและการล้มละลาย: สิทธิคิดดอกเบี้ยและการรู้ถึงหนี้สินล้นพ้นตัว
สัญญาบัญชีเดินสะพัดนั้น เมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลายในระหว่างที่สัญญามีผลใช้บังคับอยู่ ย่อมถือได้ว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอันต้องยกเลิกกันไปโดยปริยายนับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอากับลูกหนี้ได้จนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้น
การที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่เป็นจำนวนมากและไม่ได้ติดต่อกับธนาคารเจ้าหนี้ทางบัญชีมาประมาณ 2 ปีทั้งไม่เคยชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้จนกระทั่งวันที่มาทำสัญญากู้ ซึ่งลักษณะการติดต่อทางบัญชีเช่นนี้ ผู้ประกอบธุรกิจเยี่ยงธนาคารย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่าลูกหนี้ขณะนั้นมีสภาพเช่นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่อาจชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ได้เป็นเวลาถึง 2 ปีเมื่อลูกหนี้มาขอกู้เงินจากธนาคารเพิ่มอีก ธนาคารเจ้าหนี้ยังให้กู้ไป เช่นนี้ ถือได้ว่าธนาคารเจ้าหนี้รู้ถึงความเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้ในขณะที่ยินยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้ตามสัญญากู้ขึ้นอีก หนี้ดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้นำมาขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 94(2)
การที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่เป็นจำนวนมากและไม่ได้ติดต่อกับธนาคารเจ้าหนี้ทางบัญชีมาประมาณ 2 ปีทั้งไม่เคยชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้จนกระทั่งวันที่มาทำสัญญากู้ ซึ่งลักษณะการติดต่อทางบัญชีเช่นนี้ ผู้ประกอบธุรกิจเยี่ยงธนาคารย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่าลูกหนี้ขณะนั้นมีสภาพเช่นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่อาจชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ได้เป็นเวลาถึง 2 ปีเมื่อลูกหนี้มาขอกู้เงินจากธนาคารเพิ่มอีก ธนาคารเจ้าหนี้ยังให้กู้ไป เช่นนี้ ถือได้ว่าธนาคารเจ้าหนี้รู้ถึงความเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้ในขณะที่ยินยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้ตามสัญญากู้ขึ้นอีก หนี้ดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้นำมาขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 94(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 662/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการโอนเงินเข้ากองทรัพย์สินล้มละลายก่อนการบังคับคดีสำเร็จ และผลต่อสิทธิของเจ้าหนี้
วันที่ 26 กันยายน ธนาคารส่งเงินที่มีคำสั่งอายัดไว้ก่อนคำพิพากษาให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อนำมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา แต่เมื่อวันที่ 10 เดือนเดียวกัน ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยไว้ชั่วคราวในคดีล้มละลายศาลจึงสั่งให้โอนเงินไปไว้ในคดีล้มละลาย วันที่1 ตุลาคม โจทก์แถลงขอรับเงิน ศาลสั่งยกคำขอ โจทก์ไม่โต้แย้งคัดค้านคำสั่ง วันที่ 2 ตุลาคม จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในอีกสำนวนหนึ่ง ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีเดิม แล้วสั่งโอนเงินไปไว้ในคดีใหม่ดังนี้ โจทก์จะอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 110 มาอ้างว่า การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์เพื่อยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีใหม่ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 553/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมของผู้เยาว์ในการกู้เงินและจำนองทรัพย์สิน: สิทธิของเจ้าหนี้ในการยึดทรัพย์
โจทก์ทั้งสองเป็นผู้เยาว์ บิดาตายไปแล้ว มารดาโจทก์ไปกู้เงินจำเลยและได้นำโฉนดที่ดินของโจทก์ไปให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันโดยโจทก์รู้เห็นยินยอมกรณีเช่นนี้ไม่อยู่ใต้บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 และตามพฤติการณ์ถือได้ว่ามารดาผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ได้ให้ความยินยอมในการกระทำดังกล่าวนั้น ถึงแม้ว่าโจทก์มิใช่ผู้กู้เงินจากจำเลยจำเลยก็มีสิทธิที่จะยึดโฉนดของโจทก์ไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีไม่ขาดอายุ แม้พ้น 10 ปีจากคำพิพากษา และสิทธิเจ้าหนี้บุริมสิทธิยังคงมีผล
บทบัญญัติในมาตรา 271 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง บังคับให้ฝ่ายชนะคดียื่นคำร้องขอบังคับคดีภายใน 10 ปี หาใช่ให้บังคับคดีให้เสร็จสิ้นภายใน 10 ปีไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีภายใน 10 ปีแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิบังคับคดีได้ตลอดไป แม้จะพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาและคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิ์จำนองของผู้ร้องซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้บุริมสิทธิได้ ก็ยังมีผลบังคับต่อไปเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีไม่ระงับ แม้พ้น 10 ปีจากคำพิพากษา และสิทธิเจ้าหนี้บุริมสิทธิยังคงมีผล
บทบัญญัติในมาตรา 271 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งบังคับให้ฝ่ายชนะคดียื่นคำร้องขอบังคับคดีภายใน 10 ปีหาใช่ให้บังคับคดีให้เสร็จสิ้นภายใน 10 ปีไม่ ดังนั้นเมื่อโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีภายใน 10 ปีแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิบังคับคดีได้ตลอดไป แม้จะพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาและคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองของผู้ร้องซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้บุริมสิทธิได้ ก็ยังมีผลบังคับต่อไปเช่นเดียวกัน
แม้จำเลยจะได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่า โจทก์หมดสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไปเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก ก็ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องรอการชี้ขาดคดีนี้ ซึ่งผู้ร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนอง เพราะหากศาลสั่งในอีกคดีหนึ่งนั้นว่า โจทก์หมดสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไป การบังคับคดีเอาทรัพย์ที่ยึดไว้ขายทอดตลาดย่อมไม่อาจกระทำได้มีผลให้หนี้จำนองของผู้ร้องซึ่งยังไม่ได้รับชำระคงติดเป็นภาระกับทรัพย์จำนองต่อไปอยู่เอง
แม้จำเลยจะได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่า โจทก์หมดสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไปเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก ก็ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องรอการชี้ขาดคดีนี้ ซึ่งผู้ร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนอง เพราะหากศาลสั่งในอีกคดีหนึ่งนั้นว่า โจทก์หมดสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไป การบังคับคดีเอาทรัพย์ที่ยึดไว้ขายทอดตลาดย่อมไม่อาจกระทำได้มีผลให้หนี้จำนองของผู้ร้องซึ่งยังไม่ได้รับชำระคงติดเป็นภาระกับทรัพย์จำนองต่อไปอยู่เอง